ผู้เขียน หัวข้อ: บทความเรื่อง การเช่าซื้อเครื่องจักรทางการเกษตร ภัยร้ายปั่นทอนฐานะชาวนา  (อ่าน 31748 ครั้ง)

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเกษตรพัฒนาไปมาก ล้วนมีเครื่องมือเครื่องจักกลใหม่ๆออกมาให้เกษตรกรซื้อหาไปทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงคุ้มค่าต่อการลงทุน

หากจะกล่าวถึงเฉพาะการทำนาแล้ว ในปัจจุบันการทำนาแตกต่างกับอดีตอย่างมาก เพราะในอดีตนั้นการทำนาจะพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติ ทำนาเพียงปีละ 1 ครั้งและเป็นการทำนาเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันเกษตรกรในบางที่ ทำนาปีละ 3 ครั้งเป็นนาปี(น้ำฝน)1ครั้งและนาปรัง(น้ำบาดาล,น้ำบ่อ,หรือน้ำจากการชลประทาน)อีก1-2ครั้ง ชาวนาจึงต้องเร่งรีบในการปรับพื้นที่เพื่อปลูกข้าวใหม่หลังจากเก็บเกี่ยวไปแล้ว

เดิมชาวนาจะใช้รถไถนาขนาดใหญ่(แทรคเตอร์)ไถนากลบฟางข้าวทิ้งไว้ เพื่อเป็นปุ๋ย วิธีนี้ใช้เวลานานและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าพื้นที่นั้นจะพร้อมปลูกข้าว ปัจจุบันชาวนาต้องทำนามากกว่าปีละ 2 ครั้งจึงไม่มีเวลารอฟางข้าวย่อยสลาย
ชาวนายกเลิกการไถนา หันมาใช้เครื่องมือที่เรียกว่าจอบหมุน(โรตารี่)เป็นแกนใบมีดหมุนตีดินให้แตกละเอียด(นึกถึงการทำงานของกบไสไม้ไฟฟ้า แต่ความเร็วจอบหมุนต่ำกว่ามาก)
แรกเริ่มทดลองกับรถไถนาขนาดใหญ่ พบว่าทำงานได้ช้า กินน้ำมันมากและติดหล่มบ่อย เนื่องจากรถไถนาขนาดใหญ่ขับเคลื่อนล้อหลังเท่านั้น

จึงมีรถไถนาขนาดเล็กขับเคลื่อน 4 ล้อเข้ามาขาย ทำงานได้รวดเร็วกว่ารถขนาดใหญ่ กินน้ำมันน้อยกว่า แต่ก็แลกมาด้วยราคาค่าตัวรวมอุปกรณ์เสริมที่แพงพอๆกับรถเก๋งป้ายแดง

ยกตัวอย่างรถไถนารุ่นเล็กสุดที่สามารถใช้งานในที่นาหล่มได้ มีกำลัง34-36แรงม้า ปัจจุบันมีขายแต่ 36 แรงม้า ราคาตัวรถ 4.39แสนบาท ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากไม่มีจอบหมุน

ต้องซื้อขอบหมุนอีก ราคา 53000 บาท หากต้องการแบบครบเครื่อง ต้องซื้อใบมีดดันดินด้านหน้ารถ ราคา 45000 บาท เมื่อมีใบมีดแล้วต้องมีผานพรวนอีก เพื่อไถดินช่วยเวลาดันดินและถ่วงล้อหลังให้หนักกันล้อฟรี ราคา 33500 บาท

เมื่อรวมราคาทั้งหมดแล้วเป็นเงิน 5.7 แสนบาท ชาวนาไม่มีเงินมากขนาดนั้น จึงเลือกดาวน์ต่ำๆ ประมาณ1แสนบาทต้นๆ เพื่อเก็บเงินไว้ลงทุนทำนาต่อไป โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยและรายรับที่ไม่แน่นอนของตัวเอง

การส่งงวดของรถไถนาไม่เหมือนกับรถยนต์ที่ต้องส่งทุกเดือน แต่ชาวนานั้นสามารถเลือกส่งงวดได้ทุกๆ 3,6หรือ12เดือน เรียกว่า งวดใหญ่ แต่ทุกเดือนต้องส่งงวดเล็กประมาณ 2 พันบาทเลี้ยงไว้ตลอด
เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้ว มูลค่าเกิน 7 แสนบาทไปไกล หากเลือกส่งทุก 6 เดือน งวดใหญ่ต้องจ่ายครั้งละ 7 หมื่นกว่าบาท เฉลี่ยนเดือนละเกิน 1 หมื่นบาท จะเห็นได้ว่าค่างวดแพงกว่ารถยนต์

ทำให้ชาวนาจำนวนมากหาเงินส่งงวดรถไม่ทันต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ เพื่อรักษาเครื่องมือหากินที่มีเอาไว้ ยังไม่คิดกรณีที่นาเกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำแห้งหรือโรคในนาข้าว ยิ่งทำให้รายได้ของชาวนาลดลงไปอีก

เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่า ชาวนาได้กำไรจากการขายข้าวไม่เกินไร่ละ 5 พันบาทต่อการทำนา 1 ครั้ง(ทำนา 1 ครั้งใช้เวลา 4 เดือน)การจะมีเงิน 7 หมื่นบาทส่งค่างวดรถจะต้องทำนาอย่างน้อย 20ไร่ หากนาที่ลงทุนไว้น้ำท่วมหรือเป็นโรค

เงินที่ลงทุนไว้จะหายไปทั้งหมดทันที ทำให้ชาวนาเป็นหนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ชาวนาเกือบทั้งหมดไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ รู้แค่เพียงว่าทั้งหมดต้องจ่ายเท่าไร รู้ว่าแพงมากแต่จำใจต้องจ่าย เพื่อทำนาต่อไปได้ทุกๆปี หน่วยงานเดียวที่คอยช่วยเหลือชาวนาคือ ธกส.แต่ ธกส.ไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำได้ทั้งหมด

เพราะชาวนาไม่ได้เริ่มต้นการซื้อรถไถโดยไม่มีหนี้สินเลย ทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่นับเครื่องมือการเกษตรอื่นๆที่ไม่ได้ช่วยให้การทำนาได้ผลผลิตมากคุ้มต่อเงินลงทุนซื้อเครื่องมือนั้นๆ
อยากให้ชาวนาคิดคำนึงถึงการลงทุนใดๆที่คุ้มค่า ทุกๆนาทีที่ทำนาคือการลงทุนอยู่แล้ว เคมีเกษตร,ปุ๋ยเคมีต่างๆมีแต่ราคาขึ้นไม่มีราคาลง ดังนั้นคิดจะซื้อเครื่องมือใดๆควรคำนึงถึงความคุ้มค่าให้มากที่สุด ควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยในแต่ละสถาบันการเงินให้คุ้มค่า

และยอมเลือกที่จะจ้างแทนการซื้อหากทำนาเป็นจำนวนน้อย ชาวนาควรมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติต่างๆของเงินที่ใช้ลงทุนในการทำนาแต่ละครั้ง เพื่อเปรียบเทียบราบรับ-รายจ่ายก่อนที่จะคิดลงทุนซื้อเครื่องมือทำนาราคาแพง ทั้งนี้เพื่อชาวนาจะสร้างเนื้อสร้างตัวลดภาระหนี้สิน
รับมือกับราคาสินค้าอื้นๆในชีวิตประจำวันที่ปรับราคาสูงขึ้นต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2011, 13:16:37 โดย johnlee »
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
ทดลองเขียนน่ะครับ  อ่านแล้ว ติชมกันด้วย  จะได้ปรับปรุงกันต่อไปน่ะครับ

อ้อ บทความนี้กล่าวถึงชาวนาที่ทำนาปีละ 2-3 ครั้งนะ  ถ้าอีสานทำนาปีละ 1 ครั้ง เลิกคิดไปเลยว่าจะมีส่งงวด

รถดำนา คันละ แสนกว่าบาท ทดลองแล้ว ได้ข้าวเท่ากับหว่านด้วยมือ ซื้อไปใช้ไม่ได้ผล

รถเกี่ยวข้าว ถังเก็บข้าวเก็บได้ 600กก. ขณะที่รถไทยเก็บได้ถึง 2.5 ตัน เกี่ยวข้าวไม่ทันรถใหญ่ แถมเสียง่าย ซ่อมยาก อะไหล่ผูกขาด โทรเรียกรถบริการ หลงทางมาที่นาไม่ถูก

เป็นแบบนี้ แล้วจะไม่ปั่นทอนฐานะชาวนาได้ไง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2011, 13:25:37 โดย johnlee »
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t

ออฟไลน์ kowit1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 525
เดียวนี้ตามงานเกษตร จะมีพวกเครื่องมือแบบนี้เยอะมาก รถไถคันเล็กๆเดินตาม รถปลูกข้าวเกี่ยวข้าวเดินตาม

มีระบบผ่อนให้ทั้งนั้น

ออฟไลน์ H.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
เป็นบทความที่ดีครับ ว่าแต่จะแก้ไขยังไงละครับ - -"
H.

ออฟไลน์ MJunior

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 343
    • อีเมล์
ผมว่าคนในชนบทส่วนใหญ่ไม่รู้หลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน อันเป็นผลทำให้ประชากรส่วนใหญยังยากจน มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว
แค่สมการง่ายๆ   กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน
คนส่วนใหญที่ยังยากจนอยู่ยังมักไม่เข้าใจ ไม่รู้ หรือลืมที่จะคิด หรือไม่พยายามเข้าใจ
คนส่วนใหญที่ยังยากจนจึงมักจะเน้นแค่ ราคาขาย ปริมาณการผลิต แต่ไม่เคยรู้เลยว่าต้นทุนที่ทำนั้นมันไม่คุ้มกันเลย
ยิ่งเพิ่มผลผลิต ก็ยิ่งขาดทุน ยิ่งขาดทุนก็ยิ่งกู้ เอาเงินมาซื้อปุ้ยเพิ่ม ฉีดยาเพิ่ม.... ต้นทุนก็ยิ่งเพิ่มเข้าไปใหญ่

ดังนั้นนี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่จะต้องรีบแก้ไข

ออฟไลน์ FlavorWheel

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 345
เมื่อผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าที่ตนผลิตเองได้

คำว่า ร่ำรวย (เอาแค่ ความเป็นอยู่ที่ดี) จากการขายนะ้ ลืมไปได้เลยครับ
รถที่ผ่านมือ มีแต่คนบอกว่า Thumbs Down

'97 Soluna AL50 _'03 Camry ACV30 2.4Q _05'VIGO 3.0 D-cab ECTi
94' Volvo 460 GLT Sold  93' Corolla  AE101 4Auto Sold

ออฟไลน์ H.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
เมื่อผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าที่ตนผลิตเองได้

คำว่า ร่ำรวย (เอาแค่ ความเป็นอยู่ที่ดี) จากการขายนะ้ ลืมไปได้เลยครับ
ใช่ครับ กำลังจะบอกพอดี

เพราะข้าวทุกวันนี้ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และพ่อค้าคนกลางกำหนดราคาครับ
H.

ออฟไลน์ pach_top

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
จริงๆ แล้วผมกลับมองว่าการเสียดอกเบี้ยเป็นทางเลือกครับ
อันเนื่องจากเหมือนเราซื้อรถ ถ้าเงินเราไม่พอ ก็ต้องซื้อผ่อน แต่ ในทางกลับกัน แทรกเตอร์ รถดำนา รถเกี่ยวนวดข้าว ๆ ต่างๆ เหล่านั้น สามารถนำกลับมาสร้าง "รายได้" มากกว่ารถที่เราๆ ท่านๆขับอยู่อีกครับ รถยังไงก็ลดวันยังค่ำ ซื้อมามีแต่ขาดทุน แถมในหลายๆ ท่านยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ ดังนั้นหากมองว่า เป็นการบั่นทอน ท่านทราบหรือไม่ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถหารายได้จากการทำการเกษตร ได้มากพออยู่ จากการวิจัยพบว่า การทำนา หรือ การเกษตรต่างๆ นั้น คนทำเป็นคนกลุ่มเดิมครับ เพียงแต่อายุมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เข้ามาทดแทน แรงงาน ได้ คือ เครื่องจักร เพียงแต่ เครื่องจักรที่นำไปใช้นั้น มีความเหมาะสมกับ งานที่ใช้อยู่หรือไม่ เช่น เราเอา ซิตี้ คาร์ไปลุยป่า ก็คงไม่เหมาะสม ดังนั้น ผมว่า เราควรมองที่ การนำไปใช้ก่อน ไม่ต่างกับการเลือกซื้อรถที่ใช้ให้เหมาะ หรือการเลือกใช้ที่เราชอบ
ต่อมาครับ การผ่อนงวดรถ ผมว่า ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก็ไม่แปลกนะครับ เพราะว่า ลีสซิ่งเค้าอยู่ได้ด้วยดอกเบื้อ ถ้าท่านอยู่ในวงการลีสซิ่งจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน รถยนต์ มีการซื้อมาขายไปที่เร็ว และมีการเปลี่ยนมือที่ไว อีกทั้ง เรื่องของการสึกหรอ ซ่อมบำรุงนั้น ไม่ค่อยมีปัญหา ง่ายๆ คือ ต่อให้ยึดมาบริษัทก็ไม่ขาดทุน ต่างกับเเครื่องจักกรกลทางการเกษตรนะครับ ที่สิ่งในนา ในไร่ อีกทั้งการชำรุดทรุดโทรมอันเนื่องมาจากการใช้ผิดวิธี นั้น เมื่อเทียบกับอัตรดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก็ไม่ถือว่าโหดจนเกินไป ครับ
ลองมองดูนะครับว่า เกษตรหลายๆ ท่านก็ไม่ได้จนนะครับ หลายคน มีรถกระบะ ก่อนมีแทรกเตอร์ด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ออกมาเพื่อความโก้หรู ตามสังคม หรืออะไรก็แล้วแต่ เพียงแต่ ผมมองเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองมากกว่า ในเมื่อเค้าไม่ได้ไปโกงใคร ไม่ได้ ทำให้ใครเดือดร้อน ผม ว่าเป็นสิทธิ ของเค้าเหล่านั้นครับ
แน่นอน บอกว่าซื้อรถอย่างเดียวทำงานไม่ได้ นั้นคือรถเป็นแค่ต้นกำลังที่จะต้องทำงานร่วมกับเครื่องมือต่างๆ ทั้งโรตารี่ ผาน ต่างๆ อีกทั้งใบมีดดันดินหน้า นั้นก็เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งาน มากกว่าครับ
การเลือกซื้อ รถเกี่ยวนวดข้าว ในปัจจุบันรถไทย นั้นสามารถอุ้มได้ใน 2.5 - 4 ตัน รวมน้ำหนักตัวก็ มากโข ไม่ต้องคิด แต่ในขณะที่รถที่มีขายจากบ. ญี่ปุ่น นั้นที่บรรทุกได้เพียง 0.6 ตันอันเนื่องมาจากไม่ต้องการให้ น้ำหนัก กดทับที่ดิน ที่สามารถก่อให้เกิดการทรุดตัวไปถึงชั้นดินแข็ง จึงทำให้เกิด "หล่ม" คิดง่ายๆ ครับ คนตัวหนักกับคนตัวเบา ยืนบนดินนุ่มๆ ใครจะจมลึกกว่ากัน แน่นอนครับ เมื่อเกิดหล่ม เราต้องใช้เครื่องจักรที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อต้องการทำงานหนีหล่มเหล่านั้น จึงไม่แปลกครับที่นาภาคกลาง และเหนือล่าง มีการเกิดหล่มมาก ยิ่งใน กำแพงเพชร นครสววรรค์ สุพรรณ จะพบเห็นได้บ่อย เครื่องจักรที่มีน้ำหนักนั้นก็เป็นอีก 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดหล่ม
ต่อมาเรื่องรถดำนา ในเมื่อเงื่อนไขของรถดำนานั้นง่ายมากครับ ถ้ามีนี้แปลว่า สามารถปักดำได้ ฉะนั้นอ่าจจะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้งานก่อนหรือไม่ หรือมองไปถึงการใช้งานให้ถูกวิธีอีกด้วย ทั้งหมดที่เขียนมายืดยาวก็เพื่อให้ ท่านๆ หลาย ๆ คนได้มีมุมมองอีก 1 มุมมอง ที่แตกต่างออกไป
และคุณเชื่อหรือไม่ ว่าการบริการหลังการขายที่ผมเจอมานั้นดีกว่ารถยนต์หลายๆ ยี่ห้อที่เราเคยใช้ ผมใช้มาตั้งแต่ ค่ายดังยันยุโรป แต่ยังไม่เคยเห็นที่ไหน จะกล้าบริการได้ดีเท่าที่นี่เลยครับ
เคยเจอ 1 เคส ผมขอเล่าให้ฟัง รถเกี่ยวนวดข้าวกระบอกไฮดรอกลิกเสีย 1 ข้าง แต่บริษัททำการเคลมให้ 1 คู่โดยการเบิกใหม่จากญี่ปุ่น ในราคา 60000 (หกหมื่นกว่าบาท) ซึ่งในประเทศไทยไม่ใครทำแน่นอน
ทั้งหมดนี้ ผมขอยืนยันการมีตัวตนได้นะครับ คุณพ่อผมท่านก็เปนเกษตรกรเช่นกัน เครื่องจักรกลที่ท่านพูดถึงก็เป็นทางเลือกให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เพียงแต่ท่านจะเลือกหรือไม่ ที่เรากล่าวมาผมว่า สิ่งที่สำคัญนะครับ คือการให้ความรู้ ให้เค้าได้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และจะทำให้เกษตรกรไทย ลืมตาอ้าปากได้ รวยแบบพอเพียง ผมเชื่อมั่นในองค์ความรู้ที่เราพยายามจะทำให้สังคมของเกษตรกรดียิ่งขึ้น
ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่ตั้งมาให้เราได้ แลกเปลี่ยนกัน ได้พูดคุยกัน และไม่คิดว่าจะมีกระทู้ดีๆ แบบนี้ในสังคมรถยนต์ ขอบคุณที่ทุกท่านเปิดใจอ่าน ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ Elros

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 79
ผมว่าถ้าจะแก้ปัญหาเหล่านี้
สิ่งที่ต้องให้แก่เกษตรกรไม่ใช่เงินกู้ แต่เป็นความรู้
เกษตรกรควรจะรู้วิธีที่จะลดต้นทุน ก่อนที่จะคิดถึงวิธีเพิ่มผลผลิต
ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะมุ่งไปที่การเพิ่มผลผลิต
แต่หารู้ไม่ว่า การเพิ่มผลผลิตของเขาเหล่านั้น
มันมีต้นทุนเพิ่มมามากขึ้นอย่างมาก
ทั้งเครื่องจักร ทั้งปุ๋ย ทั้งค่าจ้างแรงงาน และอีกสารพัด
ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่กำไรไม่ได้โตตามผลผลิต
ในทางกลับกลัน ถ้าผลผลิตราคาตกต่ำ หนี้ท่วม
เป็นปัญหาซ้ำซาก

ถามว่าความรู้ที่ต้องมีคืออะไร
ผมว่าใครๆในประเทศนี้ก็ต้องจะเคยได้ยิน
"เศรษฐกิจพอเพียง" "การเกษตรทฤษฎีใหม่"
แต่จะมีซักกี่คน เอาไปปฏิบัติ
เพราะมันเหนื่อยยาก เห็นผลช้า (แต่ผลที่ได้นั้นยั่งยืน)
คนส่วนใหญ่ยังชอบอะไรที่มันง่ายและเห็นผลเร็ว
(แน่นอนว่าถ้าเขามีความรู้พอ เขาก็น่าจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ยั่งยืนกว่าได้)

พี่สาวผมเคยไปดูงาน ของฟาร์มเกษตรอินทรีย์
รู้ไหมครับว่า ต้นทุนของพืชผักปลอดสารน่ะ
มันถูกกว่าผักแบบใช้สารเคมี และมันยังขายได้ราคากว่า
เพราะเป็น niche market
แต่มันต้องเหนื่อยยากกว่า ลงแรงมากกว่า
และช่วง 5 ปีแรกของการเปลี่ยนจากเกษตรแบบเคมี
มาเป็นเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตมันจะได้น้อย
จนกว่าดินมันจะกลับมาดีได้จากการไม่ใช้สารเคมี
แต่หลังจากผ่านจุดนั้นไปได้ ทีนี้ก็สบายแล้วครับ
(หมายถึงสบายกว่า พวกทำเกษตรแบบใช้เคมี)

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
ขอบคุณ ที่เสนอความคิดเห็นครับ

ผมจขกท มองว่า ถ้าต้องการให้ชาวนามีกำไร ในเมื่อราคาเครื่องจักรหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมว่าน่าจะไปลดความเสี่ยงในการทำนาจากปัจจัยอื่นลง

ถ้าจัดการเรื่องน้ำได้ ชาวนามีกำไรแน่

ส่วนเรื่องดินหล่ม ผมมองว่าสาเหตุเกิดจากการทำนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดินไม่ได้แห้งเลย การที่ที่ดินใดๆมีน้ำแช่ตลอดเวลาย่อมเกิดดินเลนมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมสังเกตุและวิจัยที่นา 2 แปลงๆแรกทำนามีละ 3 ครั้ง ไม่หยุดเลย อีกแปลงหนึ่งทำปีละ 1 ครั้งเพราะไม่มีน้ำ นา 2 แปลงนี้อยู่เกือบติดกัน ห่างกันแค่ 100 เมตร

เครื่องจักรเครื่องมือและวิธีการทำนาเหมือนกันทั้ง 2 แปลง

2 ปีผ่านไป พบว่า ที่นาที่ทำนาตลอดหล่มลึกมาก เลนเยอะ จนต้องเว้นระยะเพื่อให้ดินได้ตากแดด ส่วนนาแปลงที่ทำปีละ 1 ครั้ง กลับไม่เป็นหล่ม

เรื่องรถเกี่ยวขนาดใหญ่น้ำหนักร่วมๆ10ตัน แต่อย่างลืมว่า มีความกว้างและความยาวของตีนตะขาบมากกว่ารถเล็ก ผมเคยจ้างรถใหญ่เดินลงไปในนาแปลงที่รถเล็กลง พบว่าจมลึกกว่ารถเล็กไม่ถึงเท่าตัว รถเล็กจม 5 ซ.ม. รถใหญ่จม 7 ซ.ม.

จึงสรุปได้ว่า การเกิดหล่ม ไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักรถ แต่อยู่ที่ นาแปลงนั้น จมน้ำเป็นเวลานาน

ขอบคุณครับ
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
ชาวนา ----->> พ่อค้าคนกลาง หรือ โรงสี ---------->> ผู้บริโภค

ชาวนา ผลิตข้าวออกมา มีต้นทุน ประมาณหนึ่ง ---------->> พ่อค้าคนกลาง หรือเถ้าแก่โรงสี มารับซื้อ กดราคาโดยอ้างความชื้นของข้าว และคุณภาพของข้าว -------->> ขายให้ผู้บริโภค ด้วยราคาที่ นายทุนกำหนด


ข้าวราคาดีขึ้น ปุ๋ยก็ดันขึ้นราคาอีกซะงั้น ......

พอจะไถนา น้ำมันก็ดันมาแพงอีก ..... แถมพ่วงทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้นด้วย ..

ถ้าเป็นผมนะ ทำนา กินเอง ไม่ขาย ประชดมันไปเลย ถ้าเราไม่ปลูก ดูซิ มันจะเอาอะไรกินกัน ....

สงสารชาวนา แต่ทำไรไม่ได้อะ


ออฟไลน์ VVC_77

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 94
    • อีเมล์
ผมว่า คนที่ซื้อรถไถ มา
ส่วนใหญ่ ฐานะปานกลางครับ
มีที่นา อย่างน้อย 20 ไร่ขึ้นไป

ออกรถมาแล้ว เค้าก็เอาไปรับจ้าง ชาวนาอื่นๆ
รถไถนา รถเกี่ยวข้าว เครื่องจักรกลพวกนี้ มีส่วนช่วยให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันเวลา
มันมีคุณค่า ในตัวของมัน
แต่เรื่อง ผู้ผลิต ผู้ขายจะขายราคาแพง อันนี้ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่กรมการค้าภายใน หรือ กระทรวงพานิชย์ ต้องมาจัดการดูแล

เช่น ทำไม Kubota ต้องขายราคาแพง
สิ่งที่ผมค้นพบ ก็คือ ก็เพราะชิ้นสว่นส่วนใหญ่ เกือบ 100% ยังนำเข้าจาก ญี่ปุ่น
ค่าขนส่ง ค่าภาษีนำเข้า อื่นๆ อีกจิปาถะ

ส่วนนี้ กระทรวงอุตสหกรรม และกรมศุลกากร ต้องจับมือหารือกัน เพื่อหาโอกาสควบคุมเพื่อปกป้องประโยช์ของประชายชนคนไทย

แต่ถ้ามองในหลัก economic แล้ว 

ผมว่า ผู้บริหารประเทศต้องหาทางสร้างรายได้ให้ชาวนามากกว่านี้ (GDP) เช่น การสร้างแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ของแต่ละชุมชุน ที่จะสามารถเอื้ออำนวยให้ชาวนา ทำนา ได้มากกว่า ปีละครั้ง 

การลดต้นทุน ช่วยได้เพียงน้อยนิด และทำลำบากมาก
เช่น ปุ๋ยเคมี ก็นำเข้าเหมือนกัน ทำเองไม่ได้
ชาวนารับภาระเต็มๆ

ข้อนี้ต่างหากละ ที่เป็นปัญหาใหญ่

ออฟไลน์ FlavorWheel

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 345
แต่เดี๋ยวนี้ นา/สวน/ไร่ ที่ใช้ จุลินทรีย์ชีวภาพ ในการปลูก ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆระครับ
แต่ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซนต์แล้วยังน้อยอยู่

ท่าที่ถามมา บอกว่า ลดปริมาณปุ๋ยไปได้มาก ทำให้ดินไม่่แข็ง (เสียเร็ว)
และที่สำคัญ สุขภาพดีขึ้นเยอะ

แต่ตอนนี้ก็จะติดตรงที่ว่าจุลินทรีย์ชีวภาพใช้ กากน้ำตาล (โมลาส) และ เศษ ผัก ผลไม้
 ในการ หมักขยายจำนวน
ซึ่ง ตอนนี้ ต้นทุนกากน้ำตาลก็สูงขึ้นมาก แต่ก็ยังพอรับได้อยู่ เมื่อเทียบกับการใช้ สารเคมีเพียงอย่างเดียว

รวมถึง น้ำส้มควันไม้ ด้วยที่ตอนนี้ ใช้แทนยาฆ่าแมลงได่มากมาย(แต่ต้องผสมให้ถูกต้องด้วยนะครับ)


ถึง Adimin ที่เคารพทุกท่าน
โปรดอย่ามองว่าไม่เกี่ยวกับรถยนต์เพียงอย่างเดียวเลยครับ
การให้ความรู้เยาวชนและบุคคลทั่วไปนั้นนั้นสำคัญกว่า
ถ้ากระทู้นั้นเป็นกระทู้ที่ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปจริงๆ
แต่ทุกกระทู้ ทุกท่านก็ต้องใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ
รถที่ผ่านมือ มีแต่คนบอกว่า Thumbs Down

'97 Soluna AL50 _'03 Camry ACV30 2.4Q _05'VIGO 3.0 D-cab ECTi
94' Volvo 460 GLT Sold  93' Corolla  AE101 4Auto Sold

ออฟไลน์ pladaek

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,016
  • FF1.5SMG
ผมอ่านแล้วมันรู้สึกขัดๆอ่ะครับ..
เหมือนจะเน้นไปในเรื่องของการผ่อนชำระมากเกินไป ไม่เน้นเรื่องงานที่จะได้จากรถไถเท่าไหร่

มองที่ความเป็นจริงนะ ผมมีเพื่อนที่เขามีรถไถอยู่
การที่จะซื้อรถไถสี่ล้อเนี่ย.. เขาไม่ได้เอาไว้แต่ไถนาตัวเองอย่างเดียวครับ..
เสร็จจากนาไร่ของตัวเอง เขาจะมีการเดินสายรับจ้างไถนาไปเรื่อยครับ มีงานตลอดปี..
ไถพรวน ไถดะ นาข้าว ไร่อ้อย จะปลูกอ้อยแบบเครื่องปลูกยังต้องใช้รถไถเลยครับ
แล้วส่วนมากเขาก็ใช้เครื่องปลูกด้วย แบบนี้ไงครับ เขาถึงจะมีเงินจ่ายค่างวดรถไถ
ทุกวันนี้ เพื่อนผมมีรถไถแล้วสี่คัน รถหกล้ออีกสองคัน..

คล้ายๆกับรถสิบล้อคันละ3-7ล้าน ราคาแพงพอๆกับ BENZ BMW
แต่รถพวกนี้สามารถหาเงินได้ครับ.. รถไถก็เช่นกัน..

ไม่ได้ขับรถเพื่อทำเวลาที่ดีที่สุด.. แต่ขับรถเพื่อเจอช่วงเวลาที่ดีที่สุด..

ออฟไลน์ LimitedEdition

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,410
แนะนำให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม จากฝั่งผู้ประกอบการด้วยครับ
รวมถึงสภาวการณ์ของตลาดในปัจจุบัน ว่าทั้งสองฝ่ายมีวิธีแก้ปัญหาร่วมกันอย่างไร
เพราะที่เขียนมาทั้งหมดเป็นการพูดในเชิงจำนวนเงินที่เสียไปของชาวนาฝ่ายเดียว
แต่ยังขาดมุมมองด้านความจำเป็น ที่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักร เพื่อประกอบอาชีพ
และแนวทางที่เป็นไปได้เพื่อที่จะจัดซื้อเครื่องจักรเหล่านั้นมาใช้งาน

ผมทำงานอยู่ SCG ครับ บริษัทในเครือผมคือ Siam Kubota
เราต้องออกโครงการเงินผ่อนแบบพิเศษ เพื่อให้ชาวนาสามารถซื้อรถไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
และในขณะเดียวกัน เราก็ยังต้องมีรายได้พอประมาณให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
รวมทั้งมีเงินพัฒนาเครื่องจักรรุ่นใหม่ใหม่ ประสิทธิภาพดีขึ้น ต้นทุนการใช้งานต่ำลง ออกมาด้วย
ดังนั้น กลไกตลาดไม่ได้ดำเนินไปโดยฝ่ายเดียวครับ ขอให้มองทั้งสองฝ่าย
มิฉะนั้น จะเป็นลักษณะการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเดียว แต่มิได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
ซึ่งเท่ากับว่า เป็นคอลัมน์ทั่วไปในหนังสือพาดหัวเท่านั้นเอง

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
ผมมีความคิดบ้าๆ อยู่อย่างนะครับ

สำหรับผม ทำไมชาวนาถึงจน ก็เพราะชาวนามีจำนวนมากมายมหาศาลน่ะสิครับ อาชีพไหนคนแห่กันทำ อาชีพนั้นคนย่อมจน เหมือนที่ฐานปิระมิดกว้างกว่ายอดปิระมิด

ลองคิดง่ายๆ ในประเทศที่ชาวนามี 200 คน กับ 2000 คน ที่ๆ มีชาวนา 200 คน ย่อมรวยกว่าแน่นอน (ถ้าจำนวนประชากรเท่าๆ กัน) เพราะ demand เท่ากัน แต่ชาวนา 200 คน ที supply ต่ำกว่า จึงสามารถเรียกร้องราคาได้สูงกว่า

เรื่องที่แห่กันไปปลูกพืชตามราคาตลาดก็เหมือนกัน ผลผลิตเยอะ ราคาก็ตก margin ก็ไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดาครับ

ผมเชื่อว่าการเกษตรเมืองไทย ในอนาคตคงต้องเอาระบบโรงงานมาใช้ ชาวนากินเงินเดือนจากนายทุนเป็น fixed cost ไป ไม่งั้นผลผลิตกับราคาสินค้าไม่คงที่ พวกชาวนารายเล็กที่ไม่มีเงินเก็บก็เดี้ยงแน่นอนครับ

ส่วนเรื่องเครื่องมือเนี่ย ผมว่าพวกมหาวิทยาลัยต่างๆ น่าจะลองทำขายในราคาถูกดูนะครับ อาจจะไม่ต้องดีเท่าของญี่ปุ่น แต่ถ้าตัวเครื่อง และอะไหล่ถูกกว่า มันก็น่าจะพอไปได้
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
ขอบคุณทุกๆท่านที่ร่วมเสนอข้อคิดเห็นครับ จะนำไปพัฒนาการเขียนในครั้งต่อๆไป
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t

ออฟไลน์ Jittarin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
ผมชอบความเห็นคุณ pach_top  นะ
แล้วก็การที่มีระบบผ่อนชำระแบบงวดใหญ่เนี่ย เค้าตั้งใจทำเพื่อช่วยลูกค้านะครับ เพราะว่ารายได้ของลูกค้าเครื่องจักรกลการเกษตรเนี่ยมันจะมาเป็นฤดู อย่างเช่นรถดำนา คุณจะสามารถใช้รถเพื่อสร้างรายได้แค่ในช่วงที่ชาวนาเริ่มปลูกข้าวเท่านั้น ซึ่งทางบริษัทเค้าเล็งเห็นถึงจุดนี้ เค้าเลยออกระบบการผ่อนงวดแบบนี้มา






ป.ล.ผมทำงานคูโบต้าอ่ะ

ออฟไลน์ Jittarin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่า ชาวนาได้กำไรจากการขายข้าวไม่เกินไร่ละ 5 พันบาทต่อการทำนา 1 ครั้ง(ทำนา 1 ครั้งใช้เวลา 4 เดือน)การจะมีเงิน 7 หมื่นบาทส่งค่างวดรถจะต้องทำนาอย่างน้อย 20ไร่ หากนาที่ลงทุนไว้น้ำท่วมหรือเป็นโรค
ตรงนี้ผมว่ามันผิดประเด็นนะ ความเป็นจริงแล้วไม่มีลูกค้าคนไหนออกเครื่องจักรกลการเกษตรมาเพื่อทำนาของตัวเองเพียงอย่างเดียว ยกเว้นจะมีที่เยอะมาก ลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้รถเพื่อการรับจ้างเป็นหลัก เพราะความเร็วในการทำงานของอุปกรณืทุกชนิดไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ต่อวันอยู่แล้ว ถ้าเค้าใช้เอง ในพื้นที่เพียง 20 ไร่ ก็เท่ากับว่าซื้อรถมาใช้งาน 2 วัน ต่อ crop เท่ากับ 6 วันต่อปี ซึ่งคงจะไม่มีใครทำอย่างนั้นหรอกมั้ง
ป.ล. ภาษาอาจไม่สละสลวย ต้องขออภัย

ออฟไลน์ Jittarin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
เพิ่มเติม
รถดำนา คันละ แสนกว่าบาท ทดลองแล้ว ได้ข้าวเท่ากับหว่านด้วยมือ ซื้อไปใช้ไม่ได้ผล
ตรงนี้ผมขอค้านแบบสุดใจ ยังไงดำนาก็ได้ผลผลิตดีกว่าหว่าน ซึ่งการดำนาเนี่ยมันเป็นกรรมวิธีปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยโบราณ ใช้กันทั่วโลก คุณเคยเห็นภาพเก่าๆที่ชาวบ้านเค้าดำนามั้ยครับ ถ้าหากว่ามันไม่ดีจริง ผมว่าเค้าคงไม่ทำกันจนมาถึงทุกวันนี้ สาเหตุหลักที่ชาวบ้านหันมาหว่านข้างแทนคือเรื่องของแรงงาน ซึ่งในปัจจุบันคนต่างจังหวัดเปลี่ยนอาชีพจากชาวไร่ชาวนามาสู่ภาคอุตสาหกรรมกันเยอะ เป็นผลให้ขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ทางออกก็คือการหว่านข้าว ซึ่งใช้แรงงานคนน้อยกว่า เร็วกว่า

ออฟไลน์ nuch n14

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 170
    • อีเมล์
 ผมว่า จขกท. ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวนาที่แท้จริงก่อนครับ
ผมซื้อรถไถ คูโบต้ามือสองมาในราคาถูกกว่าครึ่งจากราคารถใหม่ แถมโรตารี่อีกด้วย
ผ่อนดอกเบี้ยประมาณรถมือสอง แถมไม่บวก vat 7% ด้วยมีประกัน
ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์หมดทุกอย่างอีกเกิน 5000 บาท รับประกันอีก 500 ชั่วโมง
เอามาทำนาครั้งเดียว กันไถไร่อ้อยก็เกือบคึนทุนแล้วครับ พ่อตาไปรับจ้างลากริบเปอร์
ไร่อ้อย สองวันได้ เจ็ดพันกว่าบาท หักค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุงยังเหลือ 5000 ครับ
ถ้าคูโบต้าไม่นำมาขาย ชาวนาชาวไร่ต้องจ้างอยู่วันยังค่ำ แล้วรถไถฟอร์ดมือสอง
คันละเท่าไหร่ครับ ซื้อสดอย่างเดียว คันใหญ่ลงนาไม่ได้ กินน้ำมัน
เรื่องซ่อมโทรวันเดียวก็วิ่งมาซ่อมให้ถึงบ้านแล้ว ไม่มีตุกติกเลย แถมเลี้ยงข้าวด้วย
ผมเชื่อสโลแกนที่ว่า ให้ชาวนาอยู่ดีกินดี มันเป็นความจริง
ถ้าเขาไม่ให้ผ่อนทีละ 6 เดือนคุณจะเอาเงินที่ไหนไปส่งครับนาเกษตรก็มีอย่างน้อย 3 เดือนทั้งนั้น
กว่าจะขายผลผลิตได้ ผมว่าเขามาช่วยชาวไร่ชาวนามากกว่าครับ
ที่ชาวนายากจนมันอยู่ที่วิธีปลูกข้าว ทำบ่อย ใส่แต่ปุ๋ย ค่าปุ๋ยค่ายาเอาไปกินหมด
ต้องให้ความรู้ชาวนามากๆ และช่วยเรื่องตลาด ผมไม่เห็นว่าที่รัฐบาล ประกันราคา
มันจะทำได้จริงขายข้าวปีที่แล้วก็โดนกดราคาเหมือนเดิม
 แล้วก็ไม่มีใครซื้อรถไถเพื่อทำนาตัวเองโดยไม่คิดจะไปรับจ้างคนอื่นเขา

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
ตอบแบบเหมารวมเลยนะครับ

เรื่องของวิธีการปลูกข้าวนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่า มีหรือไม่มีแรงงานครับที่จะเลือกว่าจะดำหรือจะหว่าน
ตัวแปรที่เป็นตัวตัดสินใจว่าจะกำหรือจะหว่าน คือปริมาณน้ำครับ

ถ้าน้ำเยอะล้นคันนา ไม่มีที่ที่จะปล่อยน้ำออกไป ก็หว่านไม่ได้ หว่านไปข้าวก็จมน้ำเน่าเปล่าๆ แบบนี้ต้องดำครับเพราะน้ำเยอะ
ก่อนจะตัดสินใจดำต้องเตรียมกล้าอย่างน้อย 15 วัน หรือสั่งจองรถดำนาไว้ 15 วันนี้อะไรก็เกิดชึ้นได้ถ้าน้ำลดล่ะ แช่ข้าว 1 คืน รุ่งขึ้นก็หว่านได้แล้ว
รถดำนาโดนยกเลิกอีก อิอิ
สรุปว่านาดำเหมาะกับนาปี ที่ลงทุนครั้งเดียวได้ยาว แบบนาแถวอีสาน
ถ้าเป็นนาที่ลุ่มภาคกลาง ทำได้ปีละ3ครั้ง ข้าวเบา ผมพบว่าน้อยมากที่จะเลือกดำนา

แต่ถ้าชาวนาคุมน้ำได้ น้ำสูงกว่าดินราวๆครึ่งคืบ หรือน้ำเยอะ แต่มีลู่ทางที่จะสูบออกไปได้ เลือกหว่านดีกว่าครับ
ต้นทุนถูกกว่า เสี่ยงน้อยกว่า เพราะจ่ายน้อยกว่า ทำไปถ้าน้ำท่วม แห้ง หรือโรคลง ไม่ว่าจะดำนา หรือหว่านก็เจ๊งเรียบเหมือนกัน
ชาวนาจึงเลือกหว่านเพราะลงทุนน้อยกว่าครับ แล้วเอาส่วนต่างไปซื้อปุ๋ยซื้อยาดีกว่า สิ่งที่ผมกล่าวคอ่นข้างแน่นอนในพื้นที่จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลกและล่างลงไป
ไม่ใช่ว่ารถดำนาจะไม่ได้งานสักแปลงนะครับ แต่สัดส่วนเมื่อเทียบนาหว่านแล้ว ผมมองว่าตีตลาดไม่ผ่านครับ

ข้อต่อไป เรื่องจำนวนที่นาและการมีผ่อนไม่มีผ่อน
ผมวิเคราะห์อย่างนี้นะครับ เมื่อช่วงที่รถไถนาน้องคูฯมาใหม่ๆ ตอนนั้นราคาข้าวราคาดี หมื่น+
และชาวนาที่มีกำลังซื้อในยุคแรก เป็นชาวนาที่มีหนี้สินน้อยจึงสามารถซื้อรถเอามาทำงานได้ มีที่นาเยอะ และมีที่นาของคนอื่นให้รับจ้างได้ ชาวนาพวกนี้ตั้งตัวได้ อยู่ดีกินดี
ที่บ้านผมเองก็เกือบได้เป็นลูกค้า ตอนนั้นไม่มีเงินพอ ที่นาตัวเองที 25ไร่ พอดีได้โอกาสคนที่ผ่อนไม่ไหว ขายต่อให้ผ่อนต่อ ก็ได้ 3408 มาครอบครอง1คัน ไม่ต้องเอาส่วนอื่นมาจ่ายรถเลี้ยงตัวเองได้

ต่อมาเป็นชาวนายุค2 ยุคราคาข้าวไม่ถึง 1 หมื่น แต่เห็นคนอื่นมีรถไถก็อยากมีบ้างและหวังว่าจะทำงานได้ดีเหมือนคนที่ซื้อตอนแรกๆ
ฝันไม่ได้ดีเช่นนั้น เพราะรายได้น้อย ข้าวราคาถูก ที่นาที่เคยได้รับจ้างเหลือน้อยลง รถไถมีเยอะส่วนแบ่งจึงถูกตอนลง ถึงแม้ประสิทธิภาพของรถไถจะดีกว่ายุคแรกก็ตาม
ผมสังเกตุว่าช่วงนี้ ตามเวบรถมือสอง เห็นรถไถนาขายต่อเยอะมาก บางส่วนยกให้ผ่อนต่อฟรีๆเพราะส่งงวดไม่ไหว
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t