ผู้เขียน หัวข้อ: การออกแบบรถรุ่นใหม่ โดยพัฒนาจากรถคู่แข่งที่ออกมาก่อนหน้า !!!  (อ่าน 4545 ครั้ง)

ออฟไลน์ min

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 240
สมมุตินะครับ   มีรถยนต์ค่ายหนึ่ง  เปิดตัวรถรุ่น A ( Model change )  มาในช่วงต้นปีที่ผ่านมา   แล้วมาช่วงปลายปี มีรถของอีกค่าย  เปิดตัว รถรุ่น B ตามออกมาเหมือนกัน ( segment เดียวกัน , Model change เหมือนกัน )  รูปร่างหน้าตาใก้เคียงกันมากๆ    อยากจะถามดังนี้ครับ

1 )  เป็นไปได้มั้ยครับที่รถรุ่น B  จะพัฒนารถยนต์ของตน ( งานออกแบบ ) มาจากรถยนต์รุ่น A  ของอีกค่าย ซึ่งเปิดตัวก่อนหน้าเป็นเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น

2 )  ถ้าเป็นไปไม่ได้  โดยปกติแล้วควรจะมีเวลาห่างจากการเปิดตัวระหว่างรถรุ่น A และรถรุ่น B  ประมาณกี่ปีครับ  จึงจะเรียกได้เต็มปากว่า Copy มา ( นำงานออกแบบของรถที่เปิดตัวก่อนหน้าซึ่งประสบความสัมเสร็จมากๆ มาต่อยอด งานออกแบบรถยนต์ของตน )

3 )  ตัวอย่างเช่น  Civic  ซึ่งเปิดตัวมาก็หลายปีแล้ว  สักพัก  Kia ก็เปิดตัว รถยนต์รุ่น Kia Forte ออกมา ซึ่งมีรูปร่างหน้าตา  ใกล้เคียงกันมากๆ  ในกรณีนี้  เรียกได้มา นำงานออกแบบของ Civic มาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบรถยนต์ของตนมั้ยครับ  !!!

4 )  อย่างกรณีของ Altis ก็เช่นกัน  ที่เมื่อครั้งเห็น Civic เปิดตัวใหม่ๆ  ถึงกลับต้องกลับไปแก้ไขรถยนต์ของตนซะใหม่ เพื่อให้ต่อกรได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ  แต่ผมเองก็มองว่า  คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทาง toyota จะกลับไปออกแบบ และพัฒนาใหม่ทั้งหมดใช่มั้ยครับ  น่าจะเป็นแค่เพียงการปรับเปลี่ยนรายละเอียดอื่นๆ ให้ดูดีขึ้นเท่านั้น ไม่เช่นนั้น ก็คงต้องยืดเวลาเปิดตัวไปอีกนานโข  ...... อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ  หรือว่าทาง Toyota เขาออกแบบใหม่เลยครับ  ช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับ  !!!!

ขอบคุณล่วงหน้า สำหรับทุกความคิดเห็นนะครับ

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,624
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า

การพัฒนารถรุ่นนึงนั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี ยกเว้นกรณี โครงการเพิ่งเริ่มต้น หรือจำเป็นต้องทำรถรุ่นใหม่ ถอดด้าม
เพื่อเปิดศักราชใหม่ของค่ายตน อันนั้น มักจะเกิน 5 ปี บางโปรเจกต์ ที่เจอสารพัดโรคเลื่อนรุมเร้า อาจจะยาวนานกว่านั้น
Odyssey รุ่นแรก ยังล่อไป 6 ปี MX-5 รุ่นแรก ก็ 6-7 ปี แถมตอนแรกผู้บริหารญี่ปุ่น ยังไม่สนใจมากเท่าที่ควร ทั้ง 2 รุ่นเลย
NSX ล่อเข้าไป 7 ปี Soluna รุ่นแรก 5 ปี Lexus LS-400 / Celsior ตัวแรก รุ่นปี 1990 ก็ 7 ปี

และแม้แต่ โครงการ Honda Eco-Car ที่จนป่านนี้ก็ยังไม่คลอดซะที เจอสารพัดอุปสรรคมากมายเหลือเกิน
ก็เริ่มพัฒนาเมื่อราวๆ ปี 2003-2004 จนป่านนี้ยังไม่ได้ออกขาย!

ส่วนเมื่อ รถรุ่นนั้น ออกขายไปแล้ว การเปลี่ยนโฉม จะขึ้นอยู่กับ ความสำเร็จของรถรุ่นนั้น ว่าคุ้มทุน คืนทุนเร็วแค่ไหน
และ ถึงเวลาจะต้องทำรถรุ่นใหม่ แล้วหรือยัง เงินทุนพอหรือไม่ คู่แข่งเป็นอย่างไร ฯลฯ อีกหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง

ดังนั้น มาตอบคำถามดีกว่า

ถ้าจะถามว่า หากรถรุ่นใดออกมา รถอีกรุ่นคลานตามออกมา ในอีกเพียง 1 ปี หลังจากนั้น จะถือว่า copy มาหรือไม่
ก็คงตอบว่า เป็นไปได้ แต่ยากมาก เพราะว่า ในช่วง 1 ปี ก่อนรถเปิดตัว พิมพ์เขียวของ อะไหล่ชิ้นต่างๆ จะต้องถูกส่งถึงมือของ Part Maker
ผู้เป็น Vendor ของบริทรถยนต์ที่ถูกคัดเลือกกันเอาไว้แล้ว การแก้ไขจะทำได้ แต่ก็ จะเป็นเฉพาะชิ้นส่วนตัวถังภายนอก ในส่วนที่พอจะปรับปรุงได้เท่านั้น
ซึ่งก็ อย่างที่บอกครับว่า ยาก

2. ถ้าจะให้เรียกได้เต็มปาก ต้อง 1 ปี ครึ่ง ขึ้นไปครับ

3. เคสนี้ ไม่ถือว่า copy ครับ เพราะไม่เหมือนเลย และเอาเข้าจริง สังเกตไหมว่า City กับ Forte ยังดูเหมือนกันมากกว่า
และ เอาตรงๆนะ ถ้า Kia สั่ง Forte มาขายในเมืองไทย ก็ไม่แน่ว่า รถที่จอดอยู่ในบ้านผมตอนนี้ อาจจะเป็นไปได้ ทั้ง Forte หรือ Lancer หน้าฉลาม
ถ้า ณ วันที่ผมซื้อรถ เมื่อปีที่แล้ว มี 2 คันนี้มาขาย (แต่แน่ละ มันไม่เกิดขึ่นจริง)

4. เคสนั้น ณ วันที่ Civic เปิดตัว Toyota แก้อะไรไม่ทันแล้วละครับ ทำได้อย่างมาก คือการปรับดีเทล ของ แผงตัวถังด้านหน้า ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับ
ฝากระโปรงหน้า (หรืออาจเกี่ยวก็ได้ ถ้าจะออกแบบโดยไม่ต้องคำนึงถึง Pedestrian Saferty มากนักอย่างในสมัยก่อน) กระจังหน้า
หรือโคมไฟหน้า (ซึ่งรายการหลังนี่ ก็ใช้เวลานานอยู่ กว่าจะทำเสร็จ ทดลอง ปรับแก้แบบ อันนี้ คนที่เคยทำงานใน ผู้ผลิตชุดโคมไฟหน้า
ในรถยี่ห้อดังๆของเมืองไทยมาก่อน เคยเล่าขั้นตอนให้ฟัง และดูแล้ว ก็ต้องเตรียมการกัน เกิน 1 ปีขึ้นไปทั้งนั้น ครับ


ออฟไลน์ benley

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 405
ตามที่คุณจิมมี่ว่าละครับ
ส่วนที่นานซะส่วนใหญ่ น่าจะมาจากการออกแบบ ปรับปรุง แก้ไข ตัวพิมพ์เขียวหรือแปลน รวมถึงการลองทำตัวอย่าง
ส่วนขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนทั่วๆไปที่สามารถแก้ไขโมลได้ ถ้าพร้อมแล้ว ไม่น่าจะนาน
เพราะงานอะไหล่เป็นงานแมสหรือชาวบ้านเรียกว่างานโหล(แต่มีคุณภาพกว่า โรงกลึงห้องแถว)
ยิ่งปัจจุบันแล้ว ใช้ซีเอนซี งานเร็วขึ้นเยอะ
แต่ก็ยังสามารถมีปัญหาจากการผลิตอีก เพราะยังไงๆ มันก็ต้องมีส่วนที่ผิดพลาด ไม่มีอะไร 100%
อยู่ที่ว่าเค้าจะQCดีแค่ไหน


อาจจะไม่ตรงกับรถยนต์เท่าไหร่ แต่่ที่บ้านก็เป็นโรงงานผลิตเครื่องจักร ขั้นตอนการผลิตก็เลยพอเข้าใจบ้าง ไม่มากก็น้อย

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,624
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
เอ่อ อีกสิ่งหนึ่งที่นาน คือ การทดสอบ Durability Test ครับ

ออฟไลน์ benley

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 405
เอ่อ อีกสิ่งหนึ่งที่นาน คือ การทดสอบ Durability Test ครับ

พวกทนร้อนทนหนาวทนฝน ทดสอบวิ่งบนถนนจริงด้วยใช่ใหม่ครับ

ว่าแต่

ช่วง crash test แล้วเกิดผลการทดสอบไม่ดีนักจะทำยังไง ?

น่าจะกลับไปแก้ไขในแง่ของงานวิศวกรรมนะครับ เพราะเค้าน่าจะดูผลของการชนแล้ว มาวิเคราะห์ว่าส่วนไหนที่เป็นปัญหาหรือควบที่จะปรับปรุง
แต่กรณีนี้จะยกเว้นรถยี่ห้อนึงจากจีนที่รูปทรงคล้าย Isuzu Wega ที่หลังจากทดสอบชนแล้ว กลับโรงงานเพิ่มคานเหล็กเท่านั้น ทั้งที่สภาพมัน เออ... เละมากๆๆ

ออฟไลน์ Satanic za'

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,073
ผมทำงานเป็นวิศวกรของ บ suplier อยุ่ เวลามี new item มา ใช้เวลาอย่างน้อยๆ 6 เดือนเลยครับ กว่าจะเริ่มผลิตจริงๆ

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,624
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
จากที่ผมเคยสอบถามกับวิศวกรของศูนย์ทดสอบการชนของฮอนด้า ที่ศูนย์โตชิกิ มาเมื่อ ตุลาคม 2007

โดยเฉลี่ยแล้ว ก่อนรถรุ่นหนึ่งออกสู่ตลาด จะมีการทดสอบการชน ประมาณ รุ่นละ 50 ครั้ง ในหลากรูปแบบการชน ครับ

ออฟไลน์ Mr.DoZR

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 114
    • อีเมล์
อยากรู้จังว่ารถจีนบางยี่ห้อก่อนส่งออกมาขายนี่เค้าได้ทดสอการชน้างหรือเปล่า

ดูสภาพแล้วแบบว่า....

ชนแล้วแบบไม่กะให้หมอทำงานกันเลย




ปล.เน้นอีกทีว่าบางยี่ห้อ