ผู้เขียน หัวข้อ: ธุรกิจน้ำมันในโลกนี้จะเป็นอย่างไร ในยุครถ Hybrid และ EV ?  (อ่าน 7200 ครั้ง)

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,427
เปลี่ยนไวไม่ได้หรอกครับ ลงทุนไปมาก ยังไม่คุ้ม ไม่ว่าจะผู้ประกอบการขนาดไหน การค้าน้ำมัน ลงทุนไม่น้อยเลย แม้จะเป็นแค่ปั็มเล็กๆ 4 หัวจ่าย ยังลงทุนเป็นล้านๆ

ออฟไลน์ seraph228

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 48
บริษัทน้ำมันไม่น่าห่วง แต่ว่ารถไฟฟ้าevเยอะขึ้นจะเอาไฟฟ้าที่ไหนไปชาร์จ เอาแค่ขายแสนคันต่อปีก็ไปไม่รอดแล้ว ขนาดแบต40-80kwhต่อคัน ยิ่งถ้าขายรถไฟฟ้าซัก30%ของยอดทั้งหมดสองสามแสนคันต่อปี เย็นถึงบ้านชาร์จกันพร้อมๆกัน ไฟฟ้าไม่พอใช้แน่นอน
ลองคิดเล่นๆดูนะครับ ยอดบริโภคเบนซินประมาณวันละ 30 ล้านลิตร ดีเซลประมาณวันละ 50 ล้านลิตร ตีซะว่า 1ลิตรรถขนาด1 ตันวิ่งได้ประมาณ(ในเมือง,นอกเมืองเฉลี่ย)10 กม. ในขณะที่รถไฟฟ้า 1kwh วิ่งได้ประมาณ4-5 กม.(วิ่งช้าๆ) ประมาณ3 กม./kWh วิ่งปกติ
น้ำมันเบนซิน+ดีเซล 80 ล้านลิตร/วัน เทียบเท่า ไฟฟ้าประมาณ 24-270 ล้าน kWh/วัน = /24 = ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ ชั่วโมง ยอด ใช้ไฟ peak ของไทยปี61 ประมาณ 31-32,000 mw มีกำลังสำรอง 2-30 %  ถ้าโรงไฟฟ้าของ gulf energy โรงใหม่กำลังผลิต 5,000 mwและเขื่อนไชยะบุรี 1,285mwสร้างเสร็จในอีก2-3ปี ก็เพียงพอรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเทศ ซึ่งเป็นการดีด้วยเพราะตอนนี้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของไทยเกินความต้องการไปเยอะเนื่องจาก4/5ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ กว่าการคาดการณ์ของกฟผ.ที่ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าไปล่วงหน้าครับ ข้อดีอีกข้อ ก็คือ efficiency การใช้พลังงานจากเครื่องสันดาบภายในอยู่ที่3-40% ในขณะที่ค่าefficiency การใช้พลังงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอยู่ที่ประมาณ90% จะทำให้ใช้เชื่อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริโภคปิโตรเลียมสำหรับภาคการขนส่งทางบกน้อยลง2-3เท่าตัวครับ

ไฟฟ้าจะพอใช้โดยไม่ดับง่ายๆ ไม่ห่วยมีคุณภาพ(ไฟตก-ไฟเกิน-ความถี่ไม่เป๊ะ) ต้องดูจากกำลังผลิตพึ่งได้ครับ ไม่ดูจากกำลังผลิตติดตั้ง เปรียบเปรยง่ายๆ เหมือน eco cars คันนึงวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 180 km/h (กำลังผลิตติดตั้ง) ซึ่งในความเป็นจริงต่อให้มีถนนวิ่งได้ 180 km/h ตลอดเวลาก็ไม่มีใครเอาไปทำแบบนั้น ไม่งั้นเครื่องพังอย่างรวดเร็วแน่นอน มีไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น  ส่วนการวิ่งในชีวิตจริงก็ 20 40 90 100 120 คละๆ กันไป (กำลังผลิตพึ่งได้) คือเป็นการใช้งานจริงๆ ที่ไม่ทำให้เครื่องยนต์พินาศในเวลาอันสั้น

ส่วนค่าefficiency ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอยู่ที่ประมาณ90% ถูกต้องครับ แต่ปัจจุบันแต่ละคนติด solar cell กันเองเยอะมาก ซึ่งมีผลต่อการวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าครับ เพราะต้องหยุดเดินบางส่วนเพื่อใช้ไฟฟ้าจาก renew ทั้งหลาย (รวมถึงตามบ้านที่ใช้ solar เลยใช้ไฟฟ้าในระบบหลักลดลงด้วย) ไม่งั้นไฟจะเกินในระบบ ถ้าจู่ฟ้ามืดฝนตก ไฟจาก solar จะหายไปทั้งหมด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั้งหลายมันไม่ได้เปิดปุ๊ปติดปั๊ป ต้องใช้เวลาในการ startup พอสมควร ซึ่งตรงนี้แหละครับต่อให้ค่า efficiency ดีแค่ไหนก็เป็นปัญหา เพราะโรงไฟฟ้ามันไม่ได้เดินตลอดเวลา มันหยุดทำงานอยู่

และเรื่องไฟฟ้าทั้งหลาย ทั้งกำลังการผลิตพึ่งได้ กำลังผลิตติดตั้ง กำลังผลิตสำรอง กำลังผลิตตามสัญญา ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด PDP ระบบส่งไฟฟ้า ฯลฯ อื่นๆ อีกเพียบบ รวมถึงไฟฟ้ากว่าจะถึงบ้านแต่ละท่านมันไม่ได้มีตัวเลขเป๊ะๆ ใช้แค่ + - เอาง่ายๆ เหมือนเด็ก ป.3 แบบที่ ngo ทั้งหลายชอบเอามาอ้างกันมั่วๆครับ มีตัวแปรมากมายเลยทีเดียว ล่าสุดแค่ไฟฟ้าจากหงสาส่งเข้ามาไม่ได้แค่ 1000 กว่าเมกะวัตต์ สะเทือนไปทั้งประเทศเลยทีเดียว

ออฟไลน์ alpha14

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,109
ปัญหาเรื่องไฟฟ้าไม่พอนี่สงสัยค่ายรถต้องเอาไปทำเป็นการบ้าน คิดต่อไปอีกว่า ควรจะใช้พลังงานที่ผลาญไประหว่างทางกลับมาใช้งานอีกโดยการแปรผันพลังงาน กลับมาใช้อีกครั้ง อืม มโนอย่างงี้จะเป็นไปได้ไหมหนอ?

ออฟไลน์ bravo

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,469
    • อีเมล์
บริษัทน้ำมันไม่น่าห่วง แต่ว่ารถไฟฟ้าevเยอะขึ้นจะเอาไฟฟ้าที่ไหนไปชาร์จ เอาแค่ขายแสนคันต่อปีก็ไปไม่รอดแล้ว ขนาดแบต40-80kwhต่อคัน ยิ่งถ้าขายรถไฟฟ้าซัก30%ของยอดทั้งหมดสองสามแสนคันต่อปี เย็นถึงบ้านชาร์จกันพร้อมๆกัน ไฟฟ้าไม่พอใช้แน่นอน
ลองคิดเล่นๆดูนะครับ ยอดบริโภคเบนซินประมาณวันละ 30 ล้านลิตร ดีเซลประมาณวันละ 50 ล้านลิตร ตีซะว่า 1ลิตรรถขนาด1 ตันวิ่งได้ประมาณ(ในเมือง,นอกเมืองเฉลี่ย)10 กม. ในขณะที่รถไฟฟ้า 1kwh วิ่งได้ประมาณ4-5 กม.(วิ่งช้าๆ) ประมาณ3 กม./kWh วิ่งปกติ
น้ำมันเบนซิน+ดีเซล 80 ล้านลิตร/วัน เทียบเท่า ไฟฟ้าประมาณ 24-270 ล้าน kWh/วัน = /24 = ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ ชั่วโมง ยอด ใช้ไฟ peak ของไทยปี61 ประมาณ 31-32,000 mw มีกำลังสำรอง 2-30 %  ถ้าโรงไฟฟ้าของ gulf energy โรงใหม่กำลังผลิต 5,000 mwและเขื่อนไชยะบุรี 1,285mwสร้างเสร็จในอีก2-3ปี ก็เพียงพอรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเทศ ซึ่งเป็นการดีด้วยเพราะตอนนี้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของไทยเกินความต้องการไปเยอะเนื่องจาก4/5ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ กว่าการคาดการณ์ของกฟผ.ที่ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าไปล่วงหน้าครับ ข้อดีอีกข้อ ก็คือ efficiency การใช้พลังงานจากเครื่องสันดาบภายในอยู่ที่3-40% ในขณะที่ค่าefficiency การใช้พลังงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอยู่ที่ประมาณ90% จะทำให้ใช้เชื่อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริโภคปิโตรเลียมสำหรับภาคการขนส่งทางบกน้อยลง2-3เท่าตัวครับ

ไฟฟ้าจะพอใช้โดยไม่ดับง่ายๆ ไม่ห่วยมีคุณภาพ(ไฟตก-ไฟเกิน-ความถี่ไม่เป๊ะ) ต้องดูจากกำลังผลิตพึ่งได้ครับ ไม่ดูจากกำลังผลิตติดตั้ง เปรียบเปรยง่ายๆ เหมือน eco cars คันนึงวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 180 km/h (กำลังผลิตติดตั้ง) ซึ่งในความเป็นจริงต่อให้มีถนนวิ่งได้ 180 km/h ตลอดเวลาก็ไม่มีใครเอาไปทำแบบนั้น ไม่งั้นเครื่องพังอย่างรวดเร็วแน่นอน มีไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น  ส่วนการวิ่งในชีวิตจริงก็ 20 40 90 100 120 คละๆ กันไป (กำลังผลิตพึ่งได้) คือเป็นการใช้งานจริงๆ ที่ไม่ทำให้เครื่องยนต์พินาศในเวลาอันสั้น

ส่วนค่าefficiency ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอยู่ที่ประมาณ90% ถูกต้องครับ แต่ปัจจุบันแต่ละคนติด solar cell กันเองเยอะมาก ซึ่งมีผลต่อการวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าครับ เพราะต้องหยุดเดินบางส่วนเพื่อใช้ไฟฟ้าจาก renew ทั้งหลาย (รวมถึงตามบ้านที่ใช้ solar เลยใช้ไฟฟ้าในระบบหลักลดลงด้วย) ไม่งั้นไฟจะเกินในระบบ ถ้าจู่ฟ้ามืดฝนตก ไฟจาก solar จะหายไปทั้งหมด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั้งหลายมันไม่ได้เปิดปุ๊ปติดปั๊ป ต้องใช้เวลาในการ startup พอสมควร ซึ่งตรงนี้แหละครับต่อให้ค่า efficiency ดีแค่ไหนก็เป็นปัญหา เพราะโรงไฟฟ้ามันไม่ได้เดินตลอดเวลา มันหยุดทำงานอยู่

และเรื่องไฟฟ้าทั้งหลาย ทั้งกำลังการผลิตพึ่งได้ กำลังผลิตติดตั้ง กำลังผลิตสำรอง กำลังผลิตตามสัญญา ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด PDP ระบบส่งไฟฟ้า ฯลฯ อื่นๆ อีกเพียบบ รวมถึงไฟฟ้ากว่าจะถึงบ้านแต่ละท่านมันไม่ได้มีตัวเลขเป๊ะๆ ใช้แค่ + - เอาง่ายๆ เหมือนเด็ก ป.3 แบบที่ ngo ทั้งหลายชอบเอามาอ้างกันมั่วๆครับ มีตัวแปรมากมายเลยทีเดียว ล่าสุดแค่ไฟฟ้าจากหงสาส่งเข้ามาไม่ได้แค่ 1000 กว่าเมกะวัตต์ สะเทือนไปทั้งประเทศเลยทีเดียว

ขอบคุณ คุณ seraph228 ที่แบ่งปันความรู้ครับ