ผู้เขียน หัวข้อ: แท่นอัดประจุคงไม่ต้องกังวลว่าคนจะแย่งกันเติมเท่าไร เพราะราคาขนาดนี้  (อ่าน 15174 ครั้ง)

ออฟไลน์ ซิ่งเข้าส้วม

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,150
อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้า

- อัตราบริการค่าอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charger) ในช่วง Peak เท่ากับ 7.5887 บาท/หน่วย และในช่วง Off-Peak เท่ากับ 4.2061 บาท/หน่วย (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

- อัตราบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในช่วง peak เท่ากับ 7.5887 บาท/หน่วย และในช่วง Off-Peak เท่ากับ 4.2061 บาท/หน่วย (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)


เฉลี่ยรถ EV วิ่งทางไกลใช้ไฟประมาณ 0.18 unit แปลว่าค่าเดินทางราวๆ 1.5 บาทต่อ กม. เลยทีเดียว พอๆ กับรถ c segment เติม e20

ถ้าไม่ฉุกเฉินจริงๆ คงไม่เติมไฟตามแท่นครับ

ออฟไลน์ Nutcracker

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 387
    • อีเมล์
อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมคือ การหาที่จอดด้วยครับ

ออฟไลน์ koko86

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,593
    • อีเมล์
คงเจอค่า demand charge เข้าไป คือเอา ค่าสร้างโรงไฟฟ้า กับค่าเดินสายมาคำณวนด้วย ราคาก็เลยเป็นแบบนี้แท่นชาร์จเอกชนเลยไม่ค่อยได้เปิดใช้งาน  แต่เห็นว่ากำลังแก้ปัญหากันอยู่
ถ้าชาร์จที่บ้านเคยเห็นคุยกันในคลับ 530e ตกประมาณ กิโลละ 50 สตางค์ครับ

เรื่องรถไฟฟ้า PHEV  ถ้าใช้กันได้ ก็ชาร์จๆ กันเถอะครับ ประหยัด และ ช่วยลดมลพิษด้วย

ออฟไลน์ panjap

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,259
มติ กพช ออกมาแล้วสำหรับคำนวณค่าไฟฟ้าใหม่ เป็นประเภท EV โดยเฉพาะ จะทำให้ค่าไฟลดลง ไม่ต้องคำนึงถึง demand charge อีกต่อไป

ออฟไลน์ delete

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,963
    • อีเมล์
ว่าแต่ว่า ทำไมต้องคำนวแบ่งเป้น on peak off peak ครับ
แล้วยิ่ง dc fast charge ออกมาก็เพื่อจะทำให้คนใช้เวลาในการชาร์จให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ต้องรอคิวกันนาน ก็ควรจะจูงใจทำราคาให้จุงใจมากกว่า เลยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบ่ง on peak off peak

ออฟไลน์ XMSL

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 827
นโยบายภาครัฐเปลี่ยนทุกอย่างได้ครับ เอกชนลงทุนตอนนี้ก็เหมือนซื้อหวยรอ...ค่าโทรทางไกลนาทีละ 12/18 บาทสมัยก่อนยังจำไม่เคยลืมครับ ToT

ออฟไลน์ DriveOnly

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,450
    • อีเมล์
การจะรักษ์โลกมักต้องจ่ายอะไรๆ แพงกว่าปกติเสมอ ค่าตัวรถแพง+ค่าชาร์จไฟแพง+ค่าประกันแพง+ขายต่อราคาถูก น่าเห็นใจครับ หวังว่าในเร็ววันจะมีมาตราการมาจูงใจให้คนหันมาใช้รถปล่อยมลพิษน้อยๆ บ้างนะครับ เช่น ฟรีภาษีประจำปี, ลดหย่อนภาษี บลาๆ

ออฟไลน์ polwath

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 886
ตอนนี้รอแค่กฎหมายอนุญาตระบบชาร์จเร็ว DC ที่เป็นไฟกระแสตรง ทุกตู้มันมีอยู่แล้ว แต่ยังให้บริการไม่ได้ เพราะยังไม่อนุญาตเนี่ยแหละ

ต่อให้ค่าไฟฟ้าจะถูกแค่ไหน ถ้าแท่นชาร์จสาธารณะยังชาร์จช้าแบบพวก AC แรงดันต่ำ ได้ไฟนิดเดียว วิ่งไม่เยอะก็แบตหมด ใครเข้าจะมาใช้รถไฟฟ้า เว้นแค่คนรวยที่มีบ้านเดี่ยวติดตู้ชาร์จในบ้าน หรือคอนโดที่มีจุดชาร์จให้ทุกช่องจอดพร้อมระบุเจ้าของชัดเจนก็ยังมีคนซื้อบ้าง แต่ไม่เยอะ

ออฟไลน์ XMSL

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 827
ว่าแต่ว่า ทำไมต้องคำนวแบ่งเป้น on peak off peak ครับ
แล้วยิ่ง dc fast charge ออกมาก็เพื่อจะทำให้คนใช้เวลาในการชาร์จให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ต้องรอคิวกันนาน ก็ควรจะจูงใจทำราคาให้จุงใจมากกว่า เลยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบ่ง on peak off peak
off peak rate ที่ถูกกว่า เป็นการจูงใจให้คนไปใช้กระแสไฟในช่วงนอก peak นัยว่าช่วยกระจายการใช้ให้คุ้มค่าลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า..โดยรัฐจะได้ไม่ต้องมาเน้นสร้างโรงไฟฟ้ารองรับช่วง peak ที่มาแค่เป็นช่วงๆครับ บางครั้งจะเห็นคำว่าการคิดมิเตอร์แบบ TOU (time of use)

ออฟไลน์ polwath

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 886
ว่าแต่ว่า ทำไมต้องคำนวแบ่งเป้น on peak off peak ครับ
แล้วยิ่ง dc fast charge ออกมาก็เพื่อจะทำให้คนใช้เวลาในการชาร์จให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ต้องรอคิวกันนาน ก็ควรจะจูงใจทำราคาให้จุงใจมากกว่า เลยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบ่ง on peak off peak
off peak rate ที่ถูกกว่า เป็นการจูงใจให้คนไปใช้กระแสไฟในช่วงนอก peak นัยว่าช่วยกระจายการใช้ให้คุ้มค่าลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า..โดยรัฐจะได้ไม่ต้องมาเน้นสร้างโรงไฟฟ้ารองรับช่วง peak ที่มาแค่เป็นช่วงๆครับ บางครั้งจะเห็นคำว่าการคิดมิเตอร์แบบ TOU (time of use)

ตอนนี้ต่อให้บอกให้ใช้ไฟฟ้าช่วง Off-peak ไฟฟ้าบ้านเราผลิตเองก็ไม่พอแล้ว ต้องไปพื่งเพื่อนบ้านที่เราไปลงทุนสร้างทั้งเขื่อนผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าต่างๆ แล้วทำข้อตกลงซื้อไฟจากเพื่อนบ้าน กลายเป็นว่าความมั่นคงทางไฟฟ้าแทบไม่มี ซึ่งบ้านเราควรจะเพิ่มโรงไฟฟ้าใช้งานเองในประเทศให้รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้แล้ว แทนที่จะไปพึ่งเพื่อนบ้านอย่างในตอนนี้ หากมีปัญหากับเพื่อนบ้านขึ้นมาแล้วตัดไฟนี่ เราเดือดร้อนแน่นอน

แต่ก็มาติดเพราะชาวบ้านและกลุ่มคนประท้วง ที่บางครั้งก็มาจากการจ้างวานจากคนมีอิทธิพลในท้องถิ่นอีก มันก็ไม่ไปไหนสักที ความมั่นคงทางไฟฟ้าก็แย่ลงไปมากกว่าเดิมจนมันจะสายเกินไปแล้วนะ

ออฟไลน์ KKOOB

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 155
สงสัยได้โครงสร้างราคามาจากยุโรปมั้งครับ ฝั่งโน้นเค้ามี Fast charger ยี่ห้อ Ionity ซึ่งก็คิดราคามาโหดร้ายเหมือนกัน ถึงขนาดว่าใช้ดีเซลถูกกว่าชาร์จไฟจากที่นี่ แต่ของเค้าได้ Fast charger จริงๆ ถ้าจำไม่ผิดจะได้สูงสุดถึง 350kw แต่คนฝั่งยุโรปเค้าก็เข้าใจว่ารถไฟฟ้าก็ต้องชาร์จรถที่บ้านนะครับ จะใช้ super charger เฉพาะตอนเดินทางไกลๆเท่านั้น



ออฟไลน์ HHHsung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,385
การไฟฟ้าขายไฟ 2 ราคาครับ on peak จะแพงกว่า off peak ดังนั้นค่าชาร์จจึงสะท้อนตรงกับราคาขาย

ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป มิเตอร์ไฟเป้นแบบจานหมุน ทำให้คิดแยกค่าไฟไม่ได้ เพราะไม่รู้เวลา

แต่อนาคตถ้าเป้นมิเตอร์ดิจิตอล ค่าไฟคงคิดแยกตามเวลา on peak off peak

ปล. ค่าชาร์จแพง สาเหตุมาจากหัวชาร์จราคาแพง กับใช้เวลาชาร์จนาน

รถน้ำมัน 1 คัน เติมเต็มถัง ยังงัยก็ไม่ถึง 5 นาที ขณะที่รถไฟฟ้าช่าร์จด่วน ไวสุดก็ 30 นาที ต่างกัน 6 เท่า

ไม่แปลกว่าทำไมถึงแพง เพราะระยะเวลาคืนทุนปกติ มันต่างกัน 6 เท่าตามเวลาที่ใช้ต่างกัน

 

MacH1

  • บุคคลทั่วไป
BEV ขับมันส์กว่าพวกรถเทคโนเก่าเยอะคับ ออกตัวที ดึงกันหลังติดเบาะ  เสียงมอเตอร์เหมือนเครื่องเจ็ท

พวกรถดีเซล  เทคโนเก่าๆมาโละแบบไฮบริด ใน segment และราคาไล่ๆกันนี้  นี้เทียบไม่ได้เลย 

เทียบกันแบบง่ายๆ

BEV ---> Airbus 330NEO ที่หางแดงเอ็กซ์ใช้
ICE, HEV ---> Turbo-prop ของสีเหลือง เสียงดังมาก คุยกันบนเครื่องไม่ได้ยิน

ออฟไลน์ delete

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,963
    • อีเมล์
ว่าแต่ว่า ทำไมต้องคำนวแบ่งเป้น on peak off peak ครับ
แล้วยิ่ง dc fast charge ออกมาก็เพื่อจะทำให้คนใช้เวลาในการชาร์จให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ต้องรอคิวกันนาน ก็ควรจะจูงใจทำราคาให้จุงใจมากกว่า เลยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบ่ง on peak off peak
off peak rate ที่ถูกกว่า เป็นการจูงใจให้คนไปใช้กระแสไฟในช่วงนอก peak นัยว่าช่วยกระจายการใช้ให้คุ้มค่าลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า..โดยรัฐจะได้ไม่ต้องมาเน้นสร้างโรงไฟฟ้ารองรับช่วง peak ที่มาแค่เป็นช่วงๆครับ บางครั้งจะเห็นคำว่าการคิดมิเตอร์แบบ TOU (time of use)

ตอนนี้ต่อให้บอกให้ใช้ไฟฟ้าช่วง Off-peak ไฟฟ้าบ้านเราผลิตเองก็ไม่พอแล้ว ต้องไปพื่งเพื่อนบ้านที่เราไปลงทุนสร้างทั้งเขื่อนผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าต่างๆ แล้วทำข้อตกลงซื้อไฟจากเพื่อนบ้าน กลายเป็นว่าความมั่นคงทางไฟฟ้าแทบไม่มี ซึ่งบ้านเราควรจะเพิ่มโรงไฟฟ้าใช้งานเองในประเทศให้รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้แล้ว แทนที่จะไปพึ่งเพื่อนบ้านอย่างในตอนนี้ หากมีปัญหากับเพื่อนบ้านขึ้นมาแล้วตัดไฟนี่ เราเดือดร้อนแน่นอน

แต่ก็มาติดเพราะชาวบ้านและกลุ่มคนประท้วง ที่บางครั้งก็มาจากการจ้างวานจากคนมีอิทธิพลในท้องถิ่นอีก มันก็ไม่ไปไหนสักที ความมั่นคงทางไฟฟ้าก็แย่ลงไปมากกว่าเดิมจนมันจะสายเกินไปแล้วนะ

กำลังการผลิตทุกวันนี้อยู่ที่ 43,000 เมกกะวัตต์ การใช้งานประจำวัน อยู่ที่ 29,000 พีคอยู่ที่ 30,000 ยังเหลือกำลังการผลิตอีก 13,000 เมกกะวัตต์  ต่อให้มีรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 1 ล้านคัน ก็เพิ่มปริมาณการใช้ไฟไป4-5,000 เมกกะวัตต์ ก็ยังอยู่ในพิสัยของกำลังการผลิตอยู่ (มีคนคิดแล้ว อยู่ในเวบต้องห้าม เอามาแปะในนี้ไม่ได้
ซึ่ง ณ ตอนนี้ มีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ไม่ถึง 3พันคัน phev อีกไม่น่าเกิน2-3 พันคัน อีกนาน กว่าจะถึง ล้านคัน

ส่วนเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน อีกเรื่องนึง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม ก็ใช้ไฟจากแหล่งเดียวกัน รัฐบาลก็ต้องมีหน้าที่บริหารจัดการความมั่นคงด้านพลังงานนี้อยู่แล้ว

ปอลิง จากการสอบถามในกลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้ามา ได้คำตอบว่า กฟภ.คิดตามราคามิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมากกว่านี้ (คือต้องรอรัฐมาชี้อีกที) ตอนนี้แค่ทำไปก่อนด้วยตัวเอง ลงทุนเอง คิดค่าไฟเอง
ถ้าในอนาคตรัฐบาลก็คงจะกำหนดเป็นอัตราค่าไฟที่ผ่านการศึกษามาอีกทีว่า จะคิดแบบไหน มีผลการศึกษาการจัดเก็บของ
ประเทศอื่นๆมาเทียบว่าเขาคิดแบบไหน ยังไง อีกทีนึง

สรุปสั้นๆ คือ แค่เอาแค่ต้นทุนตามจริงไปก่อน ในระหว่างที่รอรัฐออกเกณฑ์ราคาอีกที