ผู้เขียน หัวข้อ: // ดีลล่ม ! Mercedes-Benz EQC : EV 100% ไม่ทำตลาดในไทย หลังเจรจา BoI ไม่ลงตัว //  (อ่าน 9545 ครั้ง)

ออฟไลน์ sedan lover

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
ส่วนตัวแอบเดาว่า ถ้า BM ชิงปิด Deal เอารถแบบนี้มาขายในราคาดีๆ อาจจะเห็นอะไรดีๆใน Mercedes-Benz รุ่นนี้นะครับ อิอิ

ธรรมชาติของมนุษย์ครับ เมื่อยังไม่มีคู่แข่ง ก็คงยังไม่ต้องกระตือรือร้นอะไร

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,949
    • อีเมล์
Re: // ดีลล่ม ! Mercedes-Benz EQC //
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 12:52:12 »
ผมเฉยๆนะ แต่จะเสียดายสุดๆถ้ามีข่าว MB ไปตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ แล้วนำเข้ามาขายในไทยด้วยสิทธิ์ทางภาษี
ผมยังหาเหตุผลที่จะไม่ผลิตไทยยังไม่ได้เลยครับ หากเทียบในอาเซียน
แค่ทำราคา CBU ในไทย ไม่ได้ คิดว่าไปขาย อินโด จะขาย 4 ล้านได้เหรอ เฮ้อ ไม่มีทางซะละ

          ถ้าผลิตอินโด ภาษีนำเข้า 0% แล้วสามารถตั้งราคาขายเองได้ไม่ใช่หรือ

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,949
    • อีเมล์
Re: // ดีลล่ม ! Mercedes-Benz EQC
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 13:02:50 »
ข้อ 2 การนาเข้ารถยนต์ CBU ที่จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อทดลองตลาด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) จะต้องเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม
(2) จะต้องนาเข้ารถยนต์ภายใน 2 ปีนับแต่วันออกบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ จะต้องติดตั้งสายการประกอบและทดสอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
(3) การกาหนดปริมาณการนาเข้าสูงสุดจะพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่
(3.1) ค่าเฉลี่ยต่อปีของปริมาณการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ภายใต้โครงการ ในช่วงเวลาสองปีแรกนับจากวันที่เริ่มผลิต (นับวันชนวัน)
(3.2) ปีที่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่คันแรกเพื่อจาหน่ายในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ
(3.3) ขนาดการลงทุนจริงไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนนับถึงวันครบ 2 ปี หลังจากออกบัตรส่งเสริม
(3.4) การใช้ชิ้นส่วนสาคัญที่ผลิตในประเทศในช่วงสองปีแรกของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โดยชิ้นส่วนสาคัญ ได้แก่ แบตเตอรี่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ (DCU)
(4) สูตรการคานวณปริมาณสูงสุดในการนาเข้ารถยนต์ CBU ที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า
ปริมาณนาเข้าสูงสุด = ค่าเฉลี่ยต่อปีของปริมาณการผลิตจริงในช่วงสองปีแรก x (คะแนน ด้านปีที่เริ่มผลิต + คะแนนด้านขนาดการลงทุน+ คะแนนด้านชิ้นส่วนสาคัญในประเทศ) / 100 (หากมีเศษให้ปัดทิ้ง)
การกาหนดคะแนนในแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้
- คะแนนด้านปีที่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่คันแรกเพื่อจาหน่ายในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ ปีที่เริ่มผลิตรถยนต์ คะแนน
ปี พ.ศ. 2563     5.0
ปี พ.ศ. 2564     3.0
ปี พ.ศ. 2565     1.0
- คะแนนด้านขนาดการลงทุนจริงไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนนับถึงวันครบ 2 ปี หลังจากออกบัตรส่งเสริม ขนาดการลงทุน (ล้านบาท) คะแนน
ตั้งแต่ 3,200 ขึ้นไป                         10.0
ตั้งแต่ 1,600 –– น้อยกว่า 3,200          8.0
ตั้งแต่ 800 –– น้อยกว่า 1,600             6.0
ตั้งแต่ 400 -- น้อยกว่า 800                 4.0
ตั้งแต่ 200 -- น้อยกว่า 400                 2.0
- คะแนนด้านชิ้นส่วนสาคัญในประเทศในช่วงสองปีแรกของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ แบตเตอรี่ โดยชิ้นส่วนสาคัญ ได้แก่ แบตเตอรี่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) จานวนชิ้นส่วนสาคัญ ที่ผลิตหรือใช้ในประเทศ (ชิ้น) คะแนน
4          5.0
3          3.5
2          2.0
1          1.0
(ตัวอย่างการคานวณปริมาณการนาเข้าสูงสุดปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศ)
(5) รถยนต์ CBU ที่นาเข้าต้องเป็น Brand และ Segment เดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่จะผลิตตามโครงการ โดยจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน Type Approval ของ UN Regulations ตามมาตรฐานของประเภทรถ L M หรือ N และสามารถจดทะเบียนรถได้ตามที่กรมการขนส่งทางบกกาหนด
(6) ราคาจาหน่ายภายในประเทศของรถยนต์ CBU ที่นาเข้าจะต้องไม่เกินเพดานราคาที่ได้รับความเห็นชอบจากสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อ 3 การนาเข้ารถยนต์ CBU โดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อทดลองตลาด มีขั้นตอนการ ขออนุญาต ดังนี้
(1) การยื่นขออนุมัติปริมาณการนาเข้ารถยนต์ CBU
(1.1) ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องยื่นขออนุมัติปริมาณการนาเข้ารถยนต์ CBU ต่อสานักงานภายในวันทาการสุดท้ายของปี พ.ศ. 2563 โดยมีเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้
1) แผนการลงทุนภายใต้โครงการ ในระยะเวลาสองปีแรกนับจากวันออกบัตรส่งเสริม
2) แผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ภายใต้โครงการ ในระยะเวลา สองปีแรกนับจากวันที่เริ่มผลิตเพื่อจาหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งระบุข้อมูล ต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย ได้แก่ เดือนที่เริ่มการผลิตรถยนต์ ปริมาณการผลิต รถยนต์ และรุ่นของรถยนต์ที่จะผลิต
3) แผนการใช้ชิ้นส่วนสาคัญที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ แบตเตอรี่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) ในระยะเวลาสองปีแรกนับจากวันที่เริ่มผลิตเพื่อจาหน่ายในเชิงพาณิชย์
4) รายละเอียดรถยนต์ที่คาดว่าจะนาเข้า และ/หรือ ที่คาดว่าจะผลิตในประเทศไทย รวมทั้งราคาจาหน่ายของรถยนต์ดังกล่าวในประเทศต้นทาง
๕) เอกสารอื่นๆ ตามที่สานักงานขอเพิ่มเติมเป็นรายกรณีไป
(1.2) สานักงานจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 และออกหนังสือรับรองปริมาณการนาเข้ารถยนต์ CBU ที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

https://www.boi.go.th/upload/content/por1_2563_5e2a5a364c87e.pdf

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์
Re: // ดีลล่ม ! Mercedes-Benz EQC //
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 13:24:07 »
ผมเฉยๆนะ แต่จะเสียดายสุดๆถ้ามีข่าว MB ไปตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ แล้วนำเข้ามาขายในไทยด้วยสิทธิ์ทางภาษี
ผมยังหาเหตุผลที่จะไม่ผลิตไทยยังไม่ได้เลยครับ หากเทียบในอาเซียน
แค่ทำราคา CBU ในไทย ไม่ได้ คิดว่าไปขาย อินโด จะขาย 4 ล้านได้เหรอ เฮ้อ ไม่มีทางซะละ

          ถ้าผลิตอินโด ภาษีนำเข้า 0% แล้วสามารถตั้งราคาขายเองได้ไม่ใช่หรือ
  ตั้งมั่วไม่ได้ครับ​ เค้าเอาราคาปลีกขายมาคิดภาษีเลยครับ​ ง่ายๆ​ อยากได้กำไรเยอะก้ต้องจ่ายภาษีเยอะครับ​
แต่ก่อนมันโกงงี้ดหลาะพวก​ CBU.​ซื้อมาไม่แพง​ แต่ันกำไรหัวแบาะ

ออฟไลน์ bingoman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,367
Re: // ดีลล่ม ! Mercedes-Benz EQC : E
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 13:32:11 »
น่าสนใจที่ MB อยากขายที่ 4M ในภาวะปลอดภาษี
แต่คู่แข่งขายในราคา 5M up ในภาวะที่เสียภาษีเต็ม

ก็คิดอะไรอยู่น่ะ ... ดูออกนะ

เอาน่ะ ถ้าอยากขายราคานั้นก็ใจๆ หน่อย
รีบๆ มาประกอบในประเทศซะละกันนะ

BoI

มุมมองของ BoI : การขอภาษีนำเข้าอัตราพิเศษ หรือ 0% ทาง BoI เล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของประชาชน โดยกำหนดให้ Mercedes-Benz ต้องขาย EQC ในราคาเดียวกับต้นทางที่นำเข้ามา หรือ บวกกำไรจากราคาที่ต่างประเทศได้เพียงเล็กน้อย เพราะ BoI มองว่า ภาษีที่ยกเว้นให้ ประชาชนจะได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูก

โดยการสืบค้นข้อมูล พบว่า ราคาของ EQC ที่ต้นทางเยอรมนี นั้น มีค่าตัวที่ 67,900 ยูโร หรือ ประมาณ 2,300,000 บาท นั่นเท่ากับว่า BoI ต้องการให้ Mercedes-Benz ขาย EQC 400 4MATIC ที่ราคาประมาณ 2 ล้านกว่าบาท

Mercedes-Benz

มุมมองของ Mercedes-Benz : การทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV 100% นั้น ไม่เหมือนกับรถยนต์สันดาปปกติทั่วไป ต้องมีการลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นสถานีชาร์จไฟฟ้าตามที่สาธารณะ หรือ ตามห้างสรรพสินค้า / โรงแรมต่างๆ จับมือกับพันธมิตร ลงทุนติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้าตามที่จอดรถห้าง, โรงแรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV 100% ไป รวมถึง การให้ดีลเลอร์ลงทุนสถานี DC : Quick Charge ชาร์จแบบด่วน อีก 36 ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เป็นเงินกว่าอีก 30 กว่าล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า กรณีต้องการชาร์จไฟ ดังนั้นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมตรงส่วนนี้

สถานีชาร์จไฟฟ้า DC Quick Charge ต่อ 1 สถานี มูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท รวมถึงค่าการตลาด การประชาสัมพันธ์ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV 100% อีกด้วย ดังนั้น Mercedes-Benz มองว่าต้องมีต้นทุนในส่วนนี้เพิ่มเติม มากกว่าแค่กำไรต่อคัน แล้วจบกันไป รวมไปถึงต้องลงทุนตั้งไลน์ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทย ที่ธนบุรีประกอบรถยนต์ที่ใช้เม็ดเงินอีกมหาศาล ไหนจะเรื่องบริการหลังการขาย และ ดีลเลอร์ต่างๆที่ต้องมีกำไรต่อคันอีกทอดหนึ่งด้วย เพื่อหล่อเลี้ยงโชว์รูม และ พนักงาน

ขอบคุณครับ  เป็นข้อมูลที่ดีมากๆ 

เป็นเรื่องที่ผมเห็นด้วยกับ BOI อย่างมาก ในการกำหนดราคาขาย

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,407
ถ้าตัวเลขมันไปไม่ได้ การลงทุนก็ไม่เกิด ก็เข้าใจเค้านะ

ออฟไลน์ Urielle

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
ผมว่าให้สถานีชาร์จมันแพร่หลายทั่วประเทศก่อนคงจะดีกว่า จังหวัดผมนี่ซื้อมาคงชาร์จได้แต่ที่บ้าน ขนาดในห้างแบบเซนทรัลยังไม่มีจุดชาร์จเลย

ออฟไลน์ MyName

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 8,143
  • I'm............................
ส่วนตัวไม่รู้นะว่าที่เยอรมันเค้า support สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากส่วนกลางหรือหน่วยงานภายนอกได้ดีขนาดไหน
แต่บ้านเรานี่ MBTH คงต้องลงทุนเพิ่มในจุดนี้เองด้วยเพราะตอนนี้บ้านเราก็ยังไม่ support เต็มที่

ก็ไม่รู้จะเห็นใจใครดีครับ BOI ก็พูดถูกในแง่ผู้บริโภคเอง
Cars
2022 - Nissan Almera 1.0 Turbo VL
2016 - Mazda 2 1.5XD High Plus L
2008 - Mitsubishi Space Wagon 2.4 GLS Ltd. !User'Review Click here!
1997 - Daihatsu Mira

Motorcycles
2023 - Vespa Sprint S 150 i
2012 - Yamaha Mio 125 GTX

ออฟไลน์ Ty ESC

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,786
ธรรมดา ผมไม่ค่อยถือหางBOI นะ


แต่งานนี้ผมมองว่า

เบนส์เอง นะได้มาตลอดจนลืมตัว เหมือนเด็กสปอย์ ตลาดไทยเหมือนเมียน้อยที่คอยส่งเงินส่งเสียเลี้ยงเบนส์มาตลอด พอเริ่มแข็งข้อไม่ได้ดั่งใจเลยฮึดฮัด

อีกข้อ ที่ผมมองจริงๆ คือ นายใหม่เบนส์ คนนี้เขี้ยว มาจากสายแขก อะไรไม่ได้ไม่คุ้มไม่ทำแถมช่วงนี้จริงๆ บ เยอรมันนะการเงินไม่แข็งแกร่ง จริงๆอาจจะอยากถอนการลงทุนอยู่แล้ว
พอดีลมันมาแบบนี้ก็เข้าทาง เอามาเป็นข้ออ้างงอน ถอนตัว ซึ่งผมว่าจริงๆเลยคือไม่มีเงินเยอะช่วงนี้อะไรถอนได้ถอนไปก่อน รอจังหวะ

เรื่องการลงทุนจุดชารจ อินฟรา การลองทุนกับ ดีลบเลอ นะ ข้ออ้าางชัดๆ เพราะถ้ามีการขายจิง ภาระพวกนั้นนะ เบนส์ ผลักไปที่คนอื่นๆอยู่แล้ว

เลยขอฟันธงเองแบบข้างๆคูๆว่า งานนนี้ ฝรั่งหมดตูดถอดใจไปเอง โดยเอา BOI มาเป็น เหยื่อ ครับ

ผมว่าไม่ต้องไปง้อครับ ค่ายอื่นนำเข้ามาก็ได้ ออดี้ วอลโว่ บีเอ็ม เอามาเลย เด๋ว เบนส์ก็ต้องมาตามเกมเอง จุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี มันมักจะวัดใจกันตรงเรื่องแบบนี้แหละครับ
มันถึงเป้นเรื่องที่คนต้องลงทุนในเทคโนโลยีให้ทัน พอไม่ทัน มันจะเป็นการเปิดโอกาส ให้คู่แข่งเดินเกมได้ ถ้าทำดีก็มีสิทธิ กินก่อนตอนยังไม่เปน เรดโอเชี่ยน

ออฟไลน์ Sleepy Boy

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,418
    • อีเมล์
จริงๆไม่ต้องอ้างเรื่องลงทุนที่จอดชาร์จหรอก แรกเริ่มคุณขายราคายุติธรรม โดยผลักภาระให้ผู้ซื้อหาที่ชาร์จเอง พอขายได้มากขึ้น สถานที่ต่างๆก็จะเริ่มหันมาเพิ่มจุดชาร์จไปโดยปริยาย เพื่อให้ผู้ใช้รถอยากมาใช้บริการ
รอดู Tesla บอกว่าปีหน้าจะได้แบตรุ่นใหม่ใช้กันยันรุ่นลูก แถมราคาถูกลง น่าจะเห็นอะไรชัดเจนมากขึ้นครับ

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์

ใครว่าผลิต bev ในประเทศใครว่าเสียเปรียบรถนำเข้ามาจากจีนเรื่องภาษีคับ ลองไปค้นข้อมูลดูยังมีภาษีตัวอื่นที่ไม่ใช่ภาษีนำเข้าที่รถ ckd (ถ้ามีผลิตหรือประกอบ) ยังได้เปรียบ คือภาษีสรรพสามิต อันนี้รถ ckd ได้เรท 0-2% ส่วนรถนำเข้าไม่ว่าจะมาจากที่ไหนก็โดนเรท 8%

Vat กับ มหาดไทย เสียเท่ากัน

ประเด็นหลักคือแข่ง human capital, raw material กับ cost ไม่ได้   

ผมพูดตรงไหน ว่า เสียเปรียบเรื่องภาษี ครับ​ เสียเปรียบในภาพรวมเลยละ
ผมพูดเรื่อง CBU ของ Mercedes-Benz  ไม่ได้ พูดเรื่อง BEV ผลิตในไทยเสียเปรียบหรือได้เปรียบ รถนำเข้าจีน
เอาให้ถูกประเด็น อย่าออกนอกประเด็น เลย ไมเกี่ยวกัน คนละเรื่อง
คือ Mercedes-Benz  ไม่ได้ขาย ฟันกำไรจาก CBU ก็ไม่ยอม ลงทุนทำ BEV
ส่วนค่ายอื่น ก็ยื่นเรื่อง รับสิทธิ BOI ผลิตไป จะลงทุนเมือ่ไหร่ก็ได้ รุ่นใหม่ก็ได้ ตามเวลา ไม่มางอแง จะเอา CBU เข้ามา แบบ Benz
ไม่ใช่ว่า Benz จะไม่ทำ BEV เค้าก็รอเวลา ที่ตลาดมันโต ทำแล้วคุ้ม
ทำรถขาย ต้องได้กำไรนะเข้าใจ


ส่วน จะออกนอกเรื่อง ฺ BEV ผลิตไทย กับนำเข้าจีน
ผลิตใหม่เสียเปรียบ เต็มๆ สิ BEV  จีนไม่ตอ้งลงทุนสักบาท เอาเข้ามาได้เลย ก็เจอ ภาษี ตามเรื่องตามราวไป ขายได้ ไม่ได้ ไม่เดือดร้อน สั่งมาจากจีน​ ลงทุน​ =  0
ฺBEV ในประเทศ ต้องลงทุนเพิ่มจาก้ดิมที่มีโรงผลิตอยู่แล้วที่เยอรมัน ระดับ มหาศาล แค่เงื่อนไข แบต ก็ต้อง ยกมาทั้งโรงงานแล้ว

ไม่ต้องคิดเยอะ ตัวเลขซับซ้อน ให้ งง คิดง่าย ๆ ใครเค้าก็รู้  ว่ายังไงก้แข่งยาก
กว่าจะมาเป็น ราคารถ Mass 1 คัน เค้าทำงานกันหนัก ฝ่ายกำหนดราคา คิดกันจนปวดกระบาล พอทำแล้ว ไม่คุ้มค่า ก็พับกระดาน ไม่ได้มานั่ง มโน อวดรู้ คิดเองเออเอง เก่งกว่า ผู้ผลิตรถ ถ้ามันดีกว่าจริง เค้าก็แจ่งไปแล้ว
คำพูดคุณมันย้อนแยงตัวเองมากครับ

"ใครว่าผลิต bev ในประเทศใครว่าเสียเปรียบรถนำเข้ามาจากจีนเรื่องภาษี"
"ประเด็นหลักคือแข่ง human capital, raw material กับ cost ไม่ได้"


ไม่มีใครมาแข่งหรอกครับ ถ้ารู้ว่าแพ้ ก็คือแข่งไม่ได้ หรือ ไม่แข่งดีกว่า นั่นละ สรุป ก็ใช้รถ BEV จีนกันไป เพราะแข่งไม่ได้ จบนะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2020, 18:18:20 โดย mamaman »

ออฟไลน์ XyteBlaster

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,292
    • อีเมล์
ส่วนนึงมาจากนโยบาย MB Global ด้วยครับ รัดเข็มขัดประหยัดในช่วงนี้เป็นพิเศษ ไม่อยากลงทุนอะไรที่ไม่คุ้มทุนแน่ ๆ จริง ๆ

มอเตอร์โชว์ 15 นี้ ยังไม่เข้าร่วมเลยครับ เพียงแค่จังหวะนี้ EQC มันต้องตัดสินใจก็เลยต้องงดไป รอโควิดหาย ปลายปีนี้ ต้นปีหน้า อาจจะรื้อแผนใหม่ก็ได้ครับ

MacH1

  • บุคคลทั่วไป

ใครว่าผลิต bev ในประเทศใครว่าเสียเปรียบรถนำเข้ามาจากจีนเรื่องภาษีคับ ลองไปค้นข้อมูลดูยังมีภาษีตัวอื่นที่ไม่ใช่ภาษีนำเข้าที่รถ ckd (ถ้ามีผลิตหรือประกอบ) ยังได้เปรียบ คือภาษีสรรพสามิต อันนี้รถ ckd ได้เรท 0-2% ส่วนรถนำเข้าไม่ว่าจะมาจากที่ไหนก็โดนเรท 8%

Vat กับ มหาดไทย เสียเท่ากัน

ประเด็นหลักคือแข่ง human capital, raw material กับ cost ไม่ได้   

ผมพูดตรงไหน ว่า เสียเปรียบเรื่องภาษี ครับ​ เสียเปรียบในภาพรวมเลยละ
ผมพูดเรื่อง CBU ของ Mercedes-Benz  ไม่ได้ พูดเรื่อง BEV ผลิตในไทยเสียเปรียบหรือได้เปรียบ รถนำเข้าจีน
เอาให้ถูกประเด็น อย่าออกนอกประเด็น เลย ไมเกี่ยวกัน คนละเรื่อง
คือ Mercedes-Benz  ไม่ได้ขาย ฟันกำไรจาก CBU ก็ไม่ยอม ลงทุนทำ BEV
ส่วนค่ายอื่น ก็ยื่นเรื่อง รับสิทธิ BOI ผลิตไป จะลงทุนเมือ่ไหร่ก็ได้ รุ่นใหม่ก็ได้ ตามเวลา ไม่มางอแง จะเอา CBU เข้ามา แบบ Benz
ไม่ใช่ว่า Benz จะไม่ทำ BEV เค้าก็รอเวลา ที่ตลาดมันโต ทำแล้วคุ้ม
ทำรถขาย ต้องได้กำไรนะเข้าใจ


ส่วน จะออกนอกเรื่อง ฺ BEV ผลิตไทย กับนำเข้าจีน
ผลิตใหม่เสียเปรียบ เต็มๆ สิ BEV  จีนไม่ตอ้งลงทุนสักบาท เอาเข้ามาได้เลย ก็เจอ ภาษี ตามเรื่องตามราวไป ขายได้ ไม่ได้ ไม่เดือดร้อน สั่งมาจากจีน​ ลงทุน​ =  0
ฺBEV ในประเทศ ต้องลงทุนเพิ่มจาก้ดิมที่มีโรงผลิตอยู่แล้วที่เยอรมัน ระดับ มหาศาล แค่เงื่อนไข แบต ก็ต้อง ยกมาทั้งโรงงานแล้ว

ไม่ต้องคิดเยอะ ตัวเลขซับซ้อน ให้ งง คิดง่าย ๆ ใครเค้าก็รู้  ว่ายังไงก้แข่งยาก
กว่าจะมาเป็น ราคารถ Mass 1 คัน เค้าทำงานกันหนัก ฝ่ายกำหนดราคา คิดกันจนปวดกระบาล พอทำแล้ว ไม่คุ้มค่า ก็พับกระดาน ไม่ได้มานั่ง มโน อวดรู้ คิดเองเออเอง เก่งกว่า ผู้ผลิตรถ ถ้ามันดีกว่าจริง เค้าก็แจ่งไปแล้ว
คำพูดคุณมันย้อนแยงตัวเองมากครับ

"ใครว่าผลิต bev ในประเทศใครว่าเสียเปรียบรถนำเข้ามาจากจีนเรื่องภาษี"
"ประเด็นหลักคือแข่ง human capital, raw material กับ cost ไม่ได้"




ไม่มีใครมาแข่งหรอกครับ ถ้ารู้ว่าแพ้ ก็คือแข่งไม่ได้ หรือ ไม่แข่งดีกว่า นั่นละ สรุป ก็ใช้รถ BEV จีนกันไป เพราะแข่งไม่ได้ จบนะ

"ส่วนค่ายอื่น ก็ยื่นเรื่อง รับสิทธิ BOI ผลิตไป จะลงทุนเมือ่ไหร่ก็ได้ รุ่นใหม่ก็ได้ ตามเวลา ไม่มางอแง จะเอา CBU เข้ามา แบบ Benz"

คุณดูเงื่อนไข BOI ละเอียดยังคับ ถ้า BOI อนุมัติแผนขอส่งเสริมลงทุนแล้ว ค่ายรถตัดสินใจรับสิทธิเมื่อไร หมายความว่าเค้าต้องเริ่มผลิต BEV โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตหรือประกอบในไทยภายในสองปีหลังจากรับบัตรส่งเสริมลงทุนมา ความจริงที่ผมได้สัมผัสมาคือ ทุกค่ายที่ขอยืนส่งเสริมไป งอแงไม่ต่างจาก Merc คับ ค่ายยุ่น และค่ายยุโรปที่ยื่นแผนกันไปจ้องเกี่ยวกับ สูตรคำนวณโควต้านำเข้ามาสองปีไม่ต้องเสียภาษีของ BOI มากตั้งแต่ยังมีแค่ร่างของสูตรคำนวณโควต้าออกมากลางๆปีที่แล้ว พอเห็นแค่ร่างพวกค่ายรถก็ไม่พอใจมาก อย่าลืมพวกนี้เค้าเอามาจากโรงงานที่จีนได้เสมอ ค่ายฝรั่งอย่างน้อยหนึ่งค่ายเค้าเตรียมเอาเข้ามาจากที่จีนแล้ว เป็น strategy อีวีในภูมิภาคเค้าแต่แรกที่ จีนจะเป้นศูนย์กลางผลิตอีวี สำหรับป้อนในภูมิภาค

โดยรวมแล้วผมมองว่า พลาดกันทั้งสองฝั่ง BOI เข้มงวดสำคัญตัวเองผิดข้านี้เป็นฮับเกินไป  ส่วน Merc เกี่ยวกับการตั้งราคา เล็ง margin 

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์
คำว่าจะทำเมื่อไหร่ก็ได้ ของผมก็คือ ไม่ ยื่นเสนอ  CBU พ่วงไปในเงื่อนไข หมือน Benz ไงครับ
หลายๆ ค่าย ยัง ไม่พร้อมจะยื่นเลย อยู่ระหว่างขั้นตอน การยื่น
แต่ Benz มันเล่นแง่ไงครับ  จะเอารถมาขายแล้ว แต่ ตัวเองยังไม่พร้อมก็เลยกะหากำไร 2 เท่าไปก่อนเลย
ทีนี้ ก็จะต้องเริ่มลงทุนภายใน 2 ปี แล้ว

ทีนี้ ถ้าจะลงทุนทั้งที การผลิตแบตใหม่หมด ก็ต้อง มีอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป แต่ Benz มันสาย CKD อยู่แล้ว คงกะจะทำ ราคา พรีเมี่ยม
ซึ่งรัฐบาล ก็มองว่า เวอร์ไป เค้า่สนับ สนุนให้ทำรถให้คนทั่วไป ไม่ใช่ รถเศรษฐี  จะ เนียน เอามาขายฟันกำไร คันละ 2 ล้าน ฟรีๆ 300 คัน ซัดไป 600 ล้านฟรี แต่ ยอดผลิค CKD EV รอบนี้เงือนไข เคี่ยวกว่า CKD พรีเมี่ยมนี่สิ นิสัยเสีย ฟันกำไร จาก CKD เยอะไป จนลืมตัว

ส่วนค่ายรถ อื่น ที่ไม่มี EV แบบค่ายรถ ุย่น เค้าก็กำลังยื่นศึกษาวางแผน คือ เริ่มใหม่หมด ไม่ได้ เอา CBU มาต่อรอง
ที่นี้ก็ต้องมาศึกษา วางแผน การผลิต แบตเตอรี่ เทคโนโลยี่ต่ำ ที่คุณบอกนั่นละ พอขายจริง อาจได้ใช้เทคโนโลยีหใม่แล้ว
แค่ วิจัย สร้างโรงงานผลิตแบต เอารถ EV มาแข่งขัน ก็ต้องทำให้ ประสิทธิภาพมันเท่ากัน ก็ 2 ปี เป็นอย่างน้อย แค่เรื่องของแบต
ไม่รวมรถ 1 คัน ที่ใช้ เวลาออกแบบ วิจัย สร้างกว่าจะ Mass ก็มากกว่า 3 ปี

ถ้า คุณ พูดถึง Tesla ผมก็อยู่ในวงการ ทำไมผมจะไม่รู้ครับ
เคยมาทดลองผลิต ชิ้นส่วนที่ไทย ส่งกลับ อเมริกาด้วยซ้ำไป แต่
พับกระเป๋ายกเลิกโครงการไปแล้ว เพราะ เงือนไข ต่างๆ ทำให้ไทยไม่เหมาะที่จะลงทุน EV มองแล้ว ตลาดอาเซียนไม่โต ในเร้วๆนี้
ก็คงรอ สั่งจากจีนนั่นละ ลงทุนทีเดียวจบ

ไม่แน่ อีก 3-4 เมือ่ รถ เข้าร่วมโครงการ  BOI ค่าย ยุ่น อาจ สร้างความแปลกใจ ในเทคโนโลยีแบตชนิดใหม่ อันนี้ผมมโนนะ
เพระาก่อน ผลิตรถ  ค่ายรถเค้ามองอนาคตครับ เค้าไม่เอา เทคโนโลยีเก่า มาแข่งให้คนด่าหรอกครับ

ออฟไลน์ jade_da

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
ผมว่า มันกระทบ โครงสร้างราคาของรถรุ่นอื่นใน MB

แต่ เชียร์ เจ้แป้งเอา e-tron มาประกอบไทย ครับ ชั่งหัว MB