ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีคิดแรงม้าและแรงบิดอย่างคร่าวๆแบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ  (อ่าน 3888 ครั้ง)

ออฟไลน์ love street

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 185
  • Thailand international automotive
    • อีเมล์
เช่น เครื่องยนต์ 2.0 ลิตรคร่าวๆจะอยู่ที่ 200+- แรงม้า แรงบิดประมาณ 200+- nm ถ้ามีเทอร์โบด้วยให้คูณ 2 เข้าไปคือกำลังสูงสุดในรูปแบบการ balance ที่ดียกเว้นเครื่อง rotary เช่น 654×2 จะได้ประมาณ 392.4 แรงม้า ถ้าเครื่องไม่ร้อนเกินซะก่อน ถ้ามีเทอร์โบก็คูณ 2 เข้าไปเหมือนเดิมแต่ต้องดูอุณหภูมิเครื่องอีกทีเพราะ rotary ปกติจะร้อนเร็ว
สรุปคือ เอาเลขความจุหน่วยลิตรมาคูณ 100 จะได้ทั้งแรงม้าและแรงบิดอย่างคร่าวๆที่เครื่องยนต์ควรจะทำได้
แต่ถ้าเป็น rotary ให้เอาเลขความจุ(cc.)หาร 10(หรือก็คือหน่วยลิตรแล้วคูณ 100 แล้วคูณ 3 เข้าไ ุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุปถ้ามีเทอร์โบให้คูณอีก 2 แบบนี้น่าจะได้กำลังอย่างคร่าวๆหรือป่าวนะแต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ไฮบริดนี่ไม่รู้เหมือนกันเช่น 1.8 hybrid ใน prius gen 3 ได้ 136 แรงม้าแต่พอเป็น chr อยู่ที่ 122 แรงม้าซึ่งยังคิดหา pattern ไม่ออกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2020, 12:06:00 โดย Pro love street »

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,050
Boost 1 bar ควรได้ราวๆ 1 เท่าของเครื่อง NA พิกัดเดียวกันครับ (ภายใต้สมมุติฐานว่าขนาดเทอร์โบเหมาะสม flow ไอดี-ไอเสีย เพียงพอ)

Rotary ไม่รู้ครับ

AquaFlash

  • บุคคลทั่วไป
ไม่น่าถึงกับ คูณ2 นะครับ
จำได้ว่า คูณ 1.4 ถึงราวๆ 1.6 ถ้าเป็นเทอร์โบใช้งานทั่วๆไป

อย่าง City 1.0 แรงพอๆกับเครื่อง 1.7-1.8
กำลังแรงม้าเท่ากับเครื่อง 1.0 ที่คูณ 1.4-1.5 ด้วย rate ประมาณนี้
แต่แรงบิดนี่ ให้แรงบิดสูงกว่าที่รอบต่ำกว่า และยาวกว่า

อยู่ที่ความต้องการมากกว่าครับ คุณต้องการอะไรจากมัน
สมัยผมวัยรุ่น เพื่อนๆเอา Vios City Jazz เซตโบลูกเล็กๆ บู๊สเบาะๆ ได้ 140-150 ม้า
แต่แรงบิดนี่ ดึงรถวิ่งตัวปลิวเลย ขับแรงก็ได้ ขับช้าๆชิวๆก็มี 14 โลลิตรให้เห็น

แต่บางคนเล่นวีออส ซีวิค โบใหญ่ๆบู๊สหนักๆ แรงบิดประเภทถ้าบู๊สมา ยางยังเอาไม่อยู่
พวกนี้สูตร คูณ 2 คูณ 2.2 จากแรงม้าเดิม อันนี้เซตไว้เพื่อ"เร็ว" แต่ไม่ควรแช่นานๆ

หรือนึกภาพพวกวีโก้ เทอร์โบเดิมลูกเล็กๆ แถมมีครีบแปรผัน แรงบิดดี ตีนต้นดี แต่ปลายโครตเหี่ยว
ถอดโบทิ้ง หรือวิ่งตอนโบพัง แรงม้ารถมัน drop ลงไม่มาก แต่แรงบิดหดหายไปชัดเจน
สูตรคำนวนมันจึงแปรผันตามขนาดเทอร์โบ ตามบู๊ส และไอเสียที่เครื่องผลิตได้

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
 :) แรงม้า แรงบิดนี่ตัวแปรเยอะ
แต่ความจุนี่ เทอโบร์คูณ1.7 สำหรับรถแรงสูง รถบ้านก็ลดลงไป 1.4 1.5
โรต้ารี่เจ้าพ่อรอบจัด คูณ2   8)

ออฟไลน์ #อินเดียหน้าโจร

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,404
    • Need for slow - ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุน
    • อีเมล์
ถ้าเอารถ na เดิมๆกล่องเดิมมาเซ็ตโบเพิ่มบูสต์ 1 บาร์ มันจะได้ประมาณ 1 เท่าตัวครับ เพราะอากาศเพิ่ม 1 เท่าจากเดิมนั่นเอง

ยกตัวอย่างเครื่องที่ผมใช้งาน อย่างถ้าเอา 2zz-ge ที่เดิมๆไม่จูนกล่อง วัดม้าลงพื้นได้ 170+ ถ้าจูนกล่องแล้วได้ประมาณ 180-185 แรงม้า เอาไปเซ้ทเทอร์โบ ถ้าบูส 0.4 จะได้ประมาณ 240 แรงม้า ถ้าบูส 0.5 จะได้ประมาณ 260 แรงม้าครับ เวลาเซ็ทเทอร์โบ จะรีตาร์ดองศาไฟลงด้วย ทำให้แรงม้าลดลงนิดหน่อยจากที่คำนวน จะไม่ได้ถึงกัย + 1 เท่าตัวเป๊ะๆครับ นอกนั้นยังมีเรื่องอัตราส่วนกำลังอัด และการออกแบบรอบเครื่อง (เครื่ิองทอร์ค vs สแควร์) ที่มีผลต่อแรงม้าอีกด้วยครับ

ส่วนถ้าเป็นเครื่องคนละตัว เอารถ 1.0 Turbo โรงงาน ไปเทียบกับ 1.5 Turbo ตรงๆอาจจะไม่ได้คครับ เพราะพื้นฐานเครื่องต่างกัน เช่น ด้วยเทคโนโลยี รถ 1.5 วันนี้ก็แรงม้ามากกว่า 1.5 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และเครื่องที่ทำมาเพื่อเป้นรถเทอร์โบ ถ้าถอดเทอร์โบออก ก็จะไม่แรงเท่าเครื่องขนาดเท่ากันที่ไม่มีเทอร์โบ อะไรอย่างนี้เป็นต้นครับ

ปล. ไม่เคยทำ จำมาอีกที
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2020, 15:56:50 โดย #อินเดียหน้าโจร »
Altis 1.6 AT 2004 (Swap 2zz-ge 6MT)
Mazda 1.3 Sky

TheRealMeaw

  • บุคคลทั่วไป
ไม่ได้ครับ คิดง่าย ๆ ไม่มีทางถูกแน่นอน เพราะที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ ก็ยังไม่ถูกเลยครับ

เราต้องรู้ว่า ประสิทธิภาพในการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้นอยู่ที่กี่เปอร์เซ็น ปกติแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 20-30% เครื่องแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน ตามแต่การออกแบบทั้งในด้านของ software และ hardware ทุกส่วนจะมีความสำคัญครับ เช่นอัตราส่วนกำลังอัด องศาการจุดระเบิด ค่า air:fuel ตัว friction ในเครื่องยนต์ ฯลฯ

อีกส่วนหนึ่งที่เราต้องรู้ คือ เครื่องยนต์นี้สามารถเคลื่อนไหวอากาศได้มากแค่ไหน เพราะเครื่อง Internal Combustion จริง ๆ มันก็คือ air pump เอาไว้ใช้เคลื่อนไหวอากาศ ปัจจัยย่อยในประเด็นนี้ก็จะมีพวก องศาแคม ขนาดความจุของเครื่องยนต์ และรอบสูงสุดที่เครื่องสามารถเคลื่อนย้ายอากาศได้โดยยังมีประสิทธิภาพ แล้วถ้ามีระบบอัดอากาศเข้ามาช่วย จะสามารถเริ่มแรงดันอากาศจาก atmospheric เป็นกี่เท่า ก็ว่ากันไป

แล้วสองส่วนนี้มันก็คานกันอยู่ด้วย คือมันส่งผลกระทบซึ่งกันและกันในการปรับแต่ง พอเราเอามารวมกัน คือ ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ รวมกับปริมาณที่สามารถเผาไหม้ได้ เราถึงจะได้แรงม้า ที่เครื่อง โดยไม่มี อุปกรณ์ส่วนควบ และเราต้องไม่ลืมว่า การดูตัวเลขแบบนี้ เราต้องพล็อตกราฟออกมาตามรอบต่อนาทีด้วย เพราะที่รอบ 2500 กับ 2700 ทุกสิ่งอย่างที่กล่าวมาก็เปลี่ยนไปหมดแล้วครับ

ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราจะหาตัวเลขอัตราเร่งจากแรงม้าจริง ๆ เราก็ต้องรู้ว่าระบบส่งกำลังสูญเสียพลังไปมากแค่ไหน อุปกรณ์ส่วนควบทุกตัวดึงแรงม้าไปมากแค่ไหน น้ำหนักของรถนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ อัตราทดเกียร์อยู่ที่เท่าไหร่ เราถึงจะได้อัตราเร่งออกมาเป็นรูปธรรม

ผมแนะนำว่าถ้าอยากรู้ถึงที่มาของค่าแรงม้าจริง ๆ ควรที่จะเริ่มต้นที่หน่วยวัดเองครับ แรงม้าจริง ๆ คือ แรงบิด x รอบ / 5252 ซึ่งนั่นแปลว่าเราต้องรู้ต่อไปอีกว่าแรงบิดคืออะไร แล้วมันก็มีเหตุผลด้วยว่าทำไมต้อง 5252 แต่ถ้ารู้มากไปก็ปวดหัวครับ อย่าไปคิดมาก ศึกษาเอาเท่าที่อยากรู้ รู้มากไปเดี๋ยวคนก็ถามอีกว่าเป็นวิศวกรเหรอ ขอย้ำนะครับว่าที่ผมกล่าวมาคือแบบ คร่าวมาก ยังไม่ครบ แถมยัง oversimplified ให้เข้าใจง่ายด้วย ซึ่งมันก็ไม่ถูกต้องทั้งหมดด้วยซ้ำครับ หวังว่าจะพอเห็นภาพนะครับว่าค่าที่เอามาแปะโบรชัวร์สวย ๆ เนี่ย มันมีที่มามากมายวายปวงขนาดไหน ผมแนะนำว่า อย่ามองข้ามความสำคัญของสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ มันมีที่มาทั้งหมด มั่วไปก็ไม่ได้อะไรหรอกครับ

ออฟไลน์ EVA01

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 528
ถ้าจะเอาไว้กะสเปคแรงม้าง่ายๆ หรือดูว่าเครื่องขนาดนี้ควรจะได้ม้าเท่าไหร่ ปกติผมจะกะคร่าวๆประมาณนี้ครับ
1. เครื่อง NA เอาความจุ x 100 เช่น เครื่อง 2.0 ก็ประมาณ 200 ม้า ครับ ยกเว้นเครื่องรอบจัดอย่างของพวกฮอนดาก็ x ซัก 120 ส่วนถ้าโมเพิ่มก็ได้ประมาณ 140 ก็เหนื่อยสุดๆละ
2. เครื่อง Turbo พวกใช้งานพื้นฐานก็เอาความจุ x 120 ส่วนถ้าเครื่องพวกเน้นแรงหน่อยก็ x 150 ส่วนพวกรถ hi performance จริงๆ ก็จะอยู่ราว 180 ขึ้นไป

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,967
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
กว้างมากเกินไปครับ  และไม่มีบรรทัดฐานใดๆ

ยกตัวอย่างเครื่องที่ผมใช้

ตัวไม่มีโบ  90 hp.
มีโบเพิ่มเป็น  121  ได้แค่ 1.3เองมั้งครับ

พอผมเอา  121 hp เปลี่ยนเทอร์โบโมโข่งหลัง. ทำท่อไอเสียใหม่ 
ได้มา  190 นิด  พอทำแคมชาร์ฟ ตั้งวาล์ว ทำระบบเพิ่มแรงดันน้ำมัน

กลายเป็น  210 ตัวได้ 

แต่ขับลำบากเลยรอบไปติด  2,200 รอบ  ลากยาวไปยัน 5,000 
ทั้งที่โบเดิม  121 hp รอบติด 1,500ถึง 2,700  ขับในเมืองสบายกว่าเยอะ   
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ akewizard

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,618
ลองใช้วิธีของผมดูก็ได้นะครับ  ปกติผมจะใช้วิธีเทียบเครื่องยนต์ที่มีลักษณะการทำงานเหมือนกันแล้วเทียบอัตราส่วนจากกำลังอัดเอา

ผมเคยคำนวณเครื่อง FB20 ของ XV (เครื่องสูบนอน NA 2000 cc) เพื่อหาว่าถ้าบูสเทอร์โบ 3 psi. แล้วพละกำลังจะเพิ่มขึ้นเท่าใด
โดยไปเทียบในตารางกำลังอัดว่าเมื่อบูสเพิ่ม 3 psi แล้วกำลังอัดจะเพิ่มขึ้นกี่ %

จากนั้นเอาตารางอัดเทียบกลับทางกับเครื่อง FB16 เทอร์โบ (เครื่องสูบนอน 1600 cc ที่มีลักษณะลูกสูบแบบเดียวกับ FB20) ที่บูสประมาณ 9 - 11 psi
เพื่อหาอัตราส่วนระหว่างกำลังอัดที่เพิ่ม กับแรงบิดแรงม้า แล้วเอาไปเทียบอัตราส่วนกับเครื่อง FB20 เพื่อคาดคะเน Power Band ของเครื่องอีกที

ซึ่งผมพยากรณ์ไว้ว่าเครื่อง FB20 เดิมๆ 150 ม้าที่ 6200 รอบ แรงบิด 196 nm
ถ้าบูส 2 psi จะได้แรงบิดเพิ่มเป็น 230 nm มารอบต้นตั้งแต่ 1800-4800 rpm แรงม้าเพิ่มเป็น 158-160 (ในตารางคำนวณได้ 170+ แต่ในความเป็นจริงโข่งเทอร์โบจะขวางลมในรอบปลาย)

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,225
    • อีเมล์
ผมว่าไม่เกี่ยวเลยครับ

เครื่อง NA กับ TURBO จะวัดแบบนี้ เป็น บรรญัติไตรยางค์ คงไม่ถูกนัก

เพราะเครื่องยนต์แต่ละตัว ก็ต้องดูพื้นฐานของเครื่องยนต์ ชิ้นส่วน และ การออกแบบด้วย (เครื่องยนต์ตัวเดียวกัน แค่บางอย่างต่างกัน output ก็ต่างกันเลย)

แค่เครื่องยนต์ NA ขนาด CC เท่ากัน ยัง output ไม่เท่ากันเลยครับ

ซึ่งถ้าว่าด้วยเรื่อง "แรงม้า และ แรงบิด" จริงๆ มันต้องดูหลายองค์ประกอบครับ

ยิ่งพอเป็น TURBO แล้วละก้อ ยิ่งตัวแปรเยอะ

แต่ถ้าจะดูว่าใครเจ๋ง หรือ แจ๋ว ก็ดู แรงม้า : ซีซี ครับ

ส่วนเครื่อง Rotary น่าจะคิดไม่เหมือนกัน เพราะการทำงานต่างกัน มันคล้ายรถยนต์ 2 จังหวะ แต่ 1 รอบจุดระเบิด 3 ครั้ง (ตามเหลี่ยมโรเตอร์ 3 เหลี่ยม)