ผู้เขียน หัวข้อ: ใครมีความรู้ในด้านโลหวิทยาบ้างครับ ว่าด้วยเหล็ก Boron หรือ High Strength Steel  (อ่าน 12380 ครั้ง)

ออฟไลน์ U9WS

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,176
  • slower is better
อยากสอบถามเรื่องของ เหล็ก Boron หรือ พวก High Strength Steel และอื่นๆอีกหลายชนิดที่ไม่ได้จำกัดแค่ โครงสร้างของ Fiesta เท่านั้น
เพราะเข้าใจว่ายังมีค่ายอื่นๆ และโลหะชนิดอื่นๆ ที่หลากหลายอีกมากมาย

จากข้อมูลข้างต้น
http://www.engineeringtoolbox.com/young-modulus-d_417.html


ค่า MPa เราต้องดูจากไหนครับ

รวมถึงรีวิว CR-Z ที่มีรูปโครงสร้าง พร้อมสี และ Class ความแข็งเป็น MPa
http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1596:-honda-cr-z-15-ima-cvt-by-tsl-small-sporty-hybrid&catid=70:sport-a-specialty&Itemid=89

Ultimate Tensile Strength
- Su -
(106 N/m2, MPa)
หรือ

Yield Strength
- Sy -
(106 N/m2, MPa)

อย่าง Titanium Alloy = 900 / 730
Boron =  (-) / 3100
Steel, High Strength Alloy ASTM A-514 = 760 / 690
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2010, 00:43:46 โดย U9WS »

ออฟไลน์ AIMU

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 283
ใช้ค่า Yield Strength เพราะถ้าเกินกว่าค่านี้ เหล็กจะเสียรูป ไม่กลับคืนสภาพ


ออฟไลน์ Satanic za'

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,072
ต้องดูก่อนครับว่าสิ่งที่เราต้องการจะทราบคืออะไร

2 ช่องทางซ้าย ขออนุญาตไม่กล่าวถึงแล้วกันนะครับแต่จะอธิบายคร่าวๆ

ค่ายัง โมดูลัส เป็นค่าที่ได้มาจาก ความเค้นของวัสดุ หารด้วยความเครียดของวัสดุ ช่องทางซ้ายหน่อยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว ช่องที่ 2 หน่วยมันเป็นนิวตั้น/ตารางเมตร


ส่วนช่องที่ 3 กับ 4 นั้น ลองสังเกตุว่า ช่องที่ 3 ค่าจะมากกว่าช่องที่ 4

ช่องที่ 3 Tensile Strength หมายถึง ค่าต้านทานแรงดึง ซึ่งจะทำการดึงจนขาด แล้ววัดค่าเก็บเอาไว้ (ลองสังเกตุบางช่องจะเขียนว่า compress หมายถึงการ test โดยการกด)

ส่วนช่องที่ 4 Yield Strength จะหมายถึง จุดคราก แปลง่ายๆก็แรง วัสดุชนิดนั้น สามารถรับแรงได้เท่าไหร่ แล้ววัสดุนั้นจะเสียรูป (หมายความว่า ยืด แล้วไม่หดกลับ เหมือน คห บนบอกครับ )

จุด Yield  จะเป้นจุดที่เป็นรอยต่อระหว่าง Elastic (เมื่อดึงแล้วปล่อย จะกลับคืนสภาพ) กับ Plastic (ดึงแล้วปล่อย จะไม่กลับสภาพ) ครับ

งงป่าวเอ่ย

ปล ถ้าผิดตรงไหน ช่วยแก้ไขด้วยนะครับ



ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,088
ต้องดูก่อนครับว่าสิ่งที่เราต้องการจะทราบคืออะไร

2 ช่องทางซ้าย ขออนุญาตไม่กล่าวถึงแล้วกันนะครับแต่จะอธิบายคร่าวๆ

ค่ายัง โมดูลัส เป็นค่าที่ได้มาจาก ความเค้นของวัสดุ หารด้วยความเครียดของวัสดุ ช่องทางซ้ายหน่อยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว ช่องที่ 2 หน่วยมันเป็นนิวตั้น/ตารางเมตร


ส่วนช่องที่ 3 กับ 4 นั้น ลองสังเกตุว่า ช่องที่ 3 ค่าจะมากกว่าช่องที่ 4

ช่องที่ 3 Tensile Strength หมายถึง ค่าต้านทานแรงดึง ซึ่งจะทำการดึงจนขาด แล้ววัดค่าเก็บเอาไว้ (ลองสังเกตุบางช่องจะเขียนว่า compress หมายถึงการ test โดยการกด)

ส่วนช่องที่ 4 Yield Strength จะหมายถึง จุดคราก แปลง่ายๆก็แรง วัสดุชนิดนั้น สามารถรับแรงได้เท่าไหร่ แล้ววัสดุนั้นจะเสียรูป (หมายความว่า ยืด แล้วไม่หดกลับ เหมือน คห บนบอกครับ )

จุด Yield  จะเป้นจุดที่เป็นรอยต่อระหว่าง Elastic (เมื่อดึงแล้วปล่อย จะกลับคืนสภาพ) กับ Plastic (ดึงแล้วปล่อย จะไม่กลับสภาพ) ครับ

งงป่าวเอ่ย

ปล ถ้าผิดตรงไหน ช่วยแก้ไขด้วยนะครับ



ขอแก้ไขนะครับ
1.โมดูลัสคือ Stress/Strain ครับ คือ ความเครียดส่วนด้วยความเค้นครับ เป็นค่าที่บอกความแข็งแรง(ไม่ใช่ความแข็ง)

ไอ่ค่าที่หาดูเป็น Pa ทั้งหลาย คือ Stress แต่อย่าไปดูที่ Ultimate Tensile strength ครับ เพราะความดันที่จุดนั้น อาจทำให้วัสดุมันเสียรูปไปแล้วก็ได้ (วิธีวัด ต่างกันไปตามมาตรฐานครับ ไม่ใช่ว่ามันเหมือนกันทั่วโลก)
ควรพิจารณาค่า Yield Strength ครับ โดยทั่วไปจะเป็นแรงที่วัสดุรับได้ การที่มันจะไม่สามารถคืนสภาพได้ (เป็นพลาสติก) แต่ว่า ค่านี้ก็เช่นเดียวกับ Ultimate คือวิธีการวัด นั้น ไม่ตายตัว เด็กวิดวะที่เรียนต่างที่กัน อาจหาค่านี้ จากกราฟ ได้คนละจุดกันครับ (แต่ก็ใกล้ๆกัน) และหลายๆครั้ง ค่าYield กับ ultimate tensile เป็นค่าเดียวกันครับ

ส่วนเหล็กแต่ละชนิด แต่ละโรงงาน มันมีสูตรผสมไม่เหมือนกันครับ มันไม่ได้แข็งเท่ากันซะทีเดียว (บางทีก็มีความลับทางการค้า)

แต่อย่างที่บอกคับ ความแข็งแรง ดูได้จาก มอดูลัส มันคือ Stress/Strain แต่ ค่าที่เขาบอกมันเป็น Stress เราไม่รู้ว่ามันจะแข็งแรง หรือยืดหยุ่นได้แค่ไหนครับ รู้แค่ว่าทนแรงได้แค่ไหน (โดนแรงมันจะยืดหดแค่ไหนก็ไม่รู้)

ไม่แน่ใจว่า จขกท.ต้องการทราบอะไร แต่ว่าค่าเหล่านี้ ถ้าพูดถึงตอนลดชนแรงๆ เละหมดครับแน่นอน เพราะMpa คือความดัน มันคือแรงส่วนด้วยพื้นที่ รถซัก1ตัน วิ่งมา100 บวกความเร็วเราอีก100 ถ้าชนจังๆ รับรองเละครับ ส่วนวิธีคำนวณ ใช้ฟิสิกส์ม.ต้นแหละครับ

ออฟไลน์ Satanic za'

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,072
ขอบคุณที่มาช่วยแก้ไขให้ครับ เรียนมานานแล้ว ลืมหมดแล้ว แหะๆ

ออฟไลน์ ek

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 29
Boron Steel ไม่ทราบเกรดและส่วนผสมที่แน่ชัดเพราะไม่เห็นมีใครออกมาเปิดเผย (หรือเปิดเผยแล้วก็เราไม่รู้) ที่เอามาผลิตโครงสร้างตัวถังรถ Fiesta ก็เหมือนเห็นแว๊บๆ ใช้ผลิตโครงสร้างตัวถังรถ Volvo, BMW, VW บางรุ่นอยู่ครับ ส่วนเจ้า CR-Z ก็มีข้อมูลว่าเป็นเหล็กทนแรงดึงสูง แต่ไม่ได้บอกว่าเป็น Boron Steel หรือเปล่า หรือมีการนำไปใช้ในรถรุ่นอื่นๆอีกหรือไม่ อันนี้ไม่ทราบครับ

MPa ค่าที่มักจะนำไปใช้งาน ดูที่ Yield Strength (ตามที่ท่านอื่นบอกเลยครับ) เพราะเป็นค่าความเค้นของวัสดุที่จุดคราก คือแรงดึงที่วัสดุรับได้สูงสุด ก่อนที่จะเปลี่ยนรูปถาวร วัสดุยังไม่เกิดการเสียหาย

MPa = เม็กกะ ปาสคาล เป็นหน่วยแบบนึงของแรงดึง
1 MPa = 106 N/m2 (ตามตารางเขาแปลงหน่วยเป็น MPa ให้แล้ว ใช้ตัวเลขนั้นได้เลยครับ)
GPa = กิกะ ปาสคาล = 109 N/m2
psi = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แต่ 1 MPa = กี่ psi อันนี้แปลงหน่วยยังไงผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
psi = Pound/ince2 => N/m2 => MPa ถึงแปลงได้ก็คงวุ่นวายน่าดูเลยครับ ขอผ่าน

Young's Modulus (มอลดูลัสของยัง) คือ ค่าคงที่ ของอัตราส่วนระหว่างความเค้นตามยาว กับ ความเครียดตามยาว กล่าวคือ เป็นค่าคงที่ความยืดหยุ่นของวัสดุ เมื่อเอามันมาดึงตามยาวมันยืดออก พอปล่อยแล้วมันกลับคืนรูปเดิมนั่นแหละครับ ไม่ได้ดึงจนเปลี่ยนรูปไปหรือขาดออก วัสดุแต่ละชนิดจะมีค่าคงที่นี้ไม่เหมือนกันครับ
ความเค้น (Stress) คือ แรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
ความเครียด (Strain) คือ การเปลี่ยนรูปร่างของวัสดุ เมือมีแรงมากระทำ
Young?s Modulus เป็นค่าคงที่ = ความเค้น / ความเครียด
ถ้าถามว่า Young?s Modulus เป็นค่าคงที่ แต่ทำไม!!! มันมีหน่วยเป็น MPa หรือ N/m2
ก็เพราะว่า ความเค้นมันมีหน่วยเป็น แรง/พื้นที่, ความเครียดมีหน่วยเป็น พื้นที่/พื้นที่
ดังนั้นหน่วยของ Young?s Modulus = (แรง/พื้นที่) / (พื้นที่ที่ยึดออก/พื้นที่เดิม) พอแก้สมการ จะตัดกันแล้วออกมาเหลือแค่ (แรง/พื้นที่) ก็คือ N/m2 จากนั้นก็แปลงหน่วยเป็น Pa, MPa หรือ GPa อีกทีนึงครับ
เค้นมาก / เครียดน้อย วัสดุจะมีค่า Young's Modulus มาก แสดงว่ามันยืดได้น้อย เช่นเหล็ก
เค้นน้อย / เครียดมาก วัสดุจะมีค่า Young's Modulus น้อย ก็จะยืดได้มาก เช่นยาง


Ultimate Tensile Strength คือ ค่าของแรงดึง ที่เอาวัสดุมาดึงจนยึด พอปล่อยแล้วมันไม่คืนรูปเดิม แต่ยังไม่ถึงกับขาด ก่อนขาดนิดนึง เพราะถ้าเลยจุดนี้ดึงจนขาด ความเค้นมันจะลดลงครับ

ออฟไลน์ traveller

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 266
วิศวกร กางตำราคุยกัน ต่างจากงานผลิตของจริงนะครับ
ถามตัวเองก่อนซิครับว่า ถ้าเป็นผู้ผลิตรถ จะสั่งเหล็กอย่างไร จึงจะทำให้ Productivity สูงที่สุด
เฟียสต้า สร้างที่โรงงานเดียวกับ มาสด้า2 ใช่หรือไม่
มาสด้า 2 ขายก่อน โฆษณาว่า ใช้เหล็กเกรดพิเศษ
เฟียสต้า ขายทีหลัง เพิ่มคำว่า โบรอน ขึ้นมาอีก
แล้ว โรงงานที่ผลิตเฟียสต้าและมาสด้า2 สั่งเหล็ก จากที่ไหนครับ
เหล็กอินเดียจากทาทา หรือ เหล็กญี่ปุ่นจากนิปปอนสตีล ซูมิโตโม ฮิตาชิ มิตซูบิชิ
มีทางเป็นไปได้ไหมครับ ที่ จะสั่งเหล็กบางส่วนแตกต่างกัน ระหว่าง มาสด้า2 กับ เฟียสต้า
ลองคิด ตรอง ตอบคำถามพวกนี้ดู
แล้วจะได้คำตอบที่แน่ใจได้เลยว่า นี่เป็น เรื่องของหาจุดโฆษณาของฝ่ายการตลาดฝ่ายขาย
ฝ่ายการผลิต เขาก็ใช้เหล็กรีดร้อน รีดเย็น มีมาตรฐานทั่วๆไป
สั่งเข้ามาเป็นม้วนใหญ่ เต็มลำเรือ
อาจจะสั่งจากผู้ผลิตเหล็กรายเดียวด้วยซ้ำ
แล้วก็ส่งให้ทุกยี่ห้อ โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน อีซูซุ ฮีโน่ เบนซ์ บีเอ็ม มิตซู ฟอร์ด มาสด้า และอื่นๆ

ถ้าจะสนใจเรื่อง ส่วนผสม 0.00x % ที่ใช้ผสมในเนื้อเหล็ก
ผมคิดว่า ไปสนใจเรื่อง ใช้โลหะที่ใช้สร้างเรือดำน้ำ ยานอวกาศ พวกไทเทเนียม มาสร้างรถยนต์ ยังจะน่าสนใจ น่าตีข่าวมากกว่าเยอะเลย
ท่อไอเสียญี่ปุ่น บางยี่ห้อใช้ไทเทเนียมทำ น่าสนใจกว่าเหล็กโบรอนที่คุยในเฟียสต้าเยอะเลยครับ
เทคโนโลยี่ไทเทเนียม สูงห่างชั้นจากเหล็กโบรอนผสมเจือจาง แบบ ฟ้ากับเหวครับ

คงจะเป็นที่ขำกลิ้ง ถ้า เฟียสต้าใช้เหล็กโบรอนจากทาทาอินเดีย
คนเชื่อฝรั่ง คงเสียใจถ้ารู้ว่าเป็นเหล็กอินเดีย
นี่ผมเดานะครับ ยังไม่ต้องเสียใจไป
ที่แน่ๆคือ ผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลกคือ บริษัทอินเดียครับ และ ทาทา น่าจะอยู่อันดับ 2 นะ
ส่วนเหล็กเกรดสูงสุด ฮิตาชิ เป็นผู้นำของโลกเวลานี้ครับ
ใครใช้เหล็กจากฮิตาชิ แสดงว่า ใช้เหล็กดีจริง
ฮิตาชิ จากญี่ปุ่น เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ นี่แหละครับ ตัวจริง เรื่องเหล็ก

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,088
Boron Steel ไม่ทราบเกรดและส่วนผสมที่แน่ชัดเพราะไม่เห็นมีใครออกมาเปิดเผย (หรือเปิดเผยแล้วก็เราไม่รู้) ที่เอามาผลิตโครงสร้างตัวถังรถ Fiesta ก็เหมือนเห็นแว๊บๆ ใช้ผลิตโครงสร้างตัวถังรถ Volvo, BMW, VW บางรุ่นอยู่ครับ ส่วนเจ้า CR-Z ก็มีข้อมูลว่าเป็นเหล็กทนแรงดึงสูง แต่ไม่ได้บอกว่าเป็น Boron Steel หรือเปล่า หรือมีการนำไปใช้ในรถรุ่นอื่นๆอีกหรือไม่ อันนี้ไม่ทราบครับ

MPa ค่าที่มักจะนำไปใช้งาน ดูที่ Yield Strength (ตามที่ท่านอื่นบอกเลยครับ) เพราะเป็นค่าความเค้นของวัสดุที่จุดคราก คือแรงดึงที่วัสดุรับได้สูงสุด ก่อนที่จะเปลี่ยนรูปถาวร วัสดุยังไม่เกิดการเสียหาย

MPa = เม็กกะ ปาสคาล เป็นหน่วยแบบนึงของแรงดึง
1 MPa = 106 N/m2 (ตามตารางเขาแปลงหน่วยเป็น MPa ให้แล้ว ใช้ตัวเลขนั้นได้เลยครับ)
GPa = กิกะ ปาสคาล = 109 N/m2
psi = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แต่ 1 MPa = กี่ psi อันนี้แปลงหน่วยยังไงผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
psi = Pound/ince2 => N/m2 => MPa ถึงแปลงได้ก็คงวุ่นวายน่าดูเลยครับ ขอผ่าน

Young's Modulus (มอลดูลัสของยัง) คือ ค่าคงที่ ของอัตราส่วนระหว่างความเค้นตามยาว กับ ความเครียดตามยาว กล่าวคือ เป็นค่าคงที่ความยืดหยุ่นของวัสดุ เมื่อเอามันมาดึงตามยาวมันยืดออก พอปล่อยแล้วมันกลับคืนรูปเดิมนั่นแหละครับ ไม่ได้ดึงจนเปลี่ยนรูปไปหรือขาดออก วัสดุแต่ละชนิดจะมีค่าคงที่นี้ไม่เหมือนกันครับ
ความเค้น (Stress) คือ แรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
ความเครียด (Strain) คือ การเปลี่ยนรูปร่างของวัสดุ เมือมีแรงมากระทำ
Young’s Modulus เป็นค่าคงที่ = ความเค้น / ความเครียด
ถ้าถามว่า Young’s Modulus เป็นค่าคงที่ แต่ทำไม!!! มันมีหน่วยเป็น MPa หรือ N/m2
ก็เพราะว่า ความเค้นมันมีหน่วยเป็น แรง/พื้นที่, ความเครียดมีหน่วยเป็น พื้นที่/พื้นที่
ดังนั้นหน่วยของ Young’s Modulus = (แรง/พื้นที่) / (พื้นที่ที่ยึดออก/พื้นที่เดิม) พอแก้สมการ จะตัดกันแล้วออกมาเหลือแค่ (แรง/พื้นที่) ก็คือ N/m2 จากนั้นก็แปลงหน่วยเป็น Pa, MPa หรือ GPa อีกทีนึงครับ
เค้นมาก / เครียดน้อย วัสดุจะมีค่า Young's Modulus มาก แสดงว่ามันยืดได้น้อย เช่นเหล็ก
เค้นน้อย / เครียดมาก วัสดุจะมีค่า Young's Modulus น้อย ก็จะยืดได้มาก เช่นยาง


Ultimate Tensile Strength คือ ค่าของแรงดึง ที่เอาวัสดุมาดึงจนยึด พอปล่อยแล้วมันไม่คืนรูปเดิม แต่ยังไม่ถึงกับขาด ก่อนขาดนิดนึง เพราะถ้าเลยจุดนี้ดึงจนขาด ความเค้นมันจะลดลงครับ

Mpa มันไม่ใช่แรงดึงครับ คนละเรื่องคนละความหมายเลยนะครับ แรงมันคือ F แต่Mpa เป็นหน่วยความดัน แล้ว แรงต่อพื้นที่ คือความเครียดครับ ไม่ใช่ความเค้น
แล้วความเค้น มันคือ  ความยาว/ความยาว ครับ ไม่ใช่พื้นที่/พื้นที่ แต่สุดท้ายมันก็ไม่มีหน่วยเหมือนกัน(ตอนแรกก็พิมไว้ถูกแล้วนี่ครับ มันเป็นความเครียดตามยาว) แต่พื้นที่ก็หาความเค้นได้เหมือนกัน แต่ชื่อมันคนละชื่อ ไม่แน่ใจ ไม่ขอพูดถึงละกันครับ
Young's Modulus บอกความแข็งแรง ไม่เกี่ยวว่าจะยืดน้อยหรือมาก  กระดาษ ก็ค่านี้น้อย แถมยืดได้น้อยเหมือนกัน จะยืดได้มากหรือน้อย ต้องดูที่%Elongationนะ
ต้องพูดว่า พวกยางจะมอดูลัสน้อยครับ เหล็กมอดูลัสมาก   แต่มอดูลัสไม่จำเป็นต้องเป็นพวกยาง และมอดูลัสมากก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเหล็ก (เหมือนว่า คนที่มีแรงยกของได้เยอะๆ คือคนแข็งแรง  แต่คนแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องยกของได้เยอะๆ คนแก่ก็แข็งแรงได้)
ค่าUltimate ก็ไม่เกี่ยวครับว่ามันต้องก่อนขาดนิดนึง มันแล้วแต่พฤติกรรมของวัสดุ และค่านี้ ไม่มีมาตรฐานตายตัวด้วย ผู้ผลิตอ้างมา เราจะฟันธงไม่ได้ ว่าค่านี้ จะทำให้วัสดุเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน(ขาดหรือเปล่า)
ที่สำคัญ มอดูลัสจะเป็นยังไง ถึงจะเป็นค่าคงที่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับหน่วยมันครับ วิธีแปลง ก็คิดถึงความดันบรรยากาศว่า 14.7psi=101.3kpaอ่ะครับ ไปแปลงต่อได้
และก็อย่างที่ท่านtraveller บอกครับ วิศวกร กางตำราคุยกัน กับที่ผลิตจริงๆ ก็ต่างกันครับ