ผู้เขียน หัวข้อ: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย  (อ่าน 9151 ครั้ง)

ออฟไลน์ Samart

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
ใครเก่งเรื่องพลังงานอยากให้มาช่วยกันคิดครับ

1. ถ้าเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ากันหมด จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตจากการไฟฟ้า อีกเท่าไหร่ครับ
2. ถ้าคำนวนแล้ว ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการ ชาร์ตไฟ แต่ละครั้งของไฟฟ้า ขนาดเท่าไหร่ ถึงขั้นโรงงานนิวเคลียร์ เลยรึเปล่า หรือแค่ โซล่าร์ฟาร์ม ที่รัฐบาลทำอยู่ก็เพียงพอแล้ว
3. ตอนนี้เราใช้น้ำมันวันละกี่ลิตร สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่รวมภาคขนส่งครับ
4. กทม มีอากาศที่สะอาดขึ้น แต่จะไปสร้างมลภาวะที่เมืองเล็กๆตามต่างจังหวัด ในกรณีที่สร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ คนต่างจังหวัดจะ โอเค ไหมครับ เพราะเราได้บทเรียนมาเยอะแล้วจากในอดีต ที่คนพื้นที่ไม่ยอม มีการข่มขู่ ยิงกันเสียชีวิต ประท้วงกันวุ่นวาย ฟ้องศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว
5. ฮ่องกง ได้เพิ่มภาษีรถไฟฟ้า เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ลดมลภาวะจริง เพราะไปก่อมลภาวะในชุมชนที่กำเนิดแหล่งไฟฟ้า และฮ่องกงต้องซี้อพลังงานจากเมืองจีน
6. ในกรณีที่เราซื้อพลังงานจากเพื่อนบ้าน จะกลายเป็นข้อต่อรองในอนาคต เหมือนที่สิงคโปร์ซื้อน้ำจากมาเลเซียหรือเปล่า (ถ้าจำไม่ผิดสิงคโปร์ได้ทำทะเลสาบเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ไว้รองรับแล้ว)


ออฟไลน์ 2k

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,752
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 16:53:44 »
มีเรื่องของการกำจัดแบตเตอรี่ทิ้งแล้วด้วยครับ...จำได้ว่าตอนรีวิวพรีอุสออกใหม่ๆจิมมี่เขียนไว้ว่าคนไทยจะกำจัดแบตเตอรี่แบบมักง่ายส่งเดชกลายเป็นว่าฝ่ายญี่ปุ่นต้องมากำหนดมาตรการในการกำจัดแบตเตอรี่ให้แทน  :(
หมาเฝ้าบ้านแจกฟรีจ้า www.dogfindhome.com


ออฟไลน์ Nouiii1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 359
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 16:55:57 »
สร้างเองเลยครับ แบบเมือง Toyota ในฝัน :-X

ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 17:11:45 »
เคยตอบไว้ในกระทู้ก่อนตามนี้ครับ

ถ้าดูจาก list โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กำลังมากสุด 850 MW
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_photovoltaic_power_stations

Tesla Model S กินไฟเวลาชาร์ตประมาณ 11 kW
https://en.wikipedia.org/wiki/Tesla_Model_S

ถ้าเอาไฟฟ้าไปใส่รถอย่างเดียวก็ตีคราวๆว่าสามารถชาร์ตไฟได้ 77273 คันพร้อมกัน

ส่วนโรงไฟฟ้าบางประกง 3729.68 MW ครับ ชาร์ตได้ 339062 คันพร้อมกัน
http://bpkinfo.egat.co.th/history.asp

ทั้งนี้ยังไม่ได้รวม lost ทั้งสิ้นครับ

ออฟไลน์ alpha14

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,109
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 17:47:29 »
ผลเสียคือ ปตท.อาจล้มหายตายจาก ผลดีคือไม่ต้องมานั่งปวดกะบาลดูราคาน้ำมันขึ้นลงก่อนไปเติม :-X

JONNY

  • บุคคลทั่วไป
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 17:47:42 »
ตอนนี้ผลเสียจะเยอะหน่อย  เมื่อไหร่ปตท.ได้ขายเองถึงมีผลดี เหมือนทำมันมาในอดีต

ออฟไลน์ tvm

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,488
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 17:51:29 »
ตอนนี้ผลเสียจะเยอะหน่อย  เมื่อไหร่ปตท.ได้ขายเองถึงมีผลดี เหมือนทำมันมาในอดีต
ในอดีต ปตท. มันยังไง เกิดอะไรขึ้นครับ ขอความรู้หน่อยครับ

ออฟไลน์ NINENOI

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,728
  • Nine & Knight
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 18:12:46 »
ผลเสียที่คิดได้ตอนนี้ก็
1. ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ตัวรถจะยังแพงอยู่แต่ถ้าใช้นิยมใช้กันเรื่อยๆเดี๋ยวก็ถูกลงเอง
2. เวลาในการชาร์จแต่ละครั้ง อนาคตคงเร็วเขึ้นอยากใด้แบบก้อนเล็กๆเหมือนเปลี่ยนถ่านไฟฉายหมดก็เปลี่ยนง่ายๆแล้วเอาก้อนเก่าไปชาร์จ
3. เสียง เงียบเกินไปทำให้อาจเกิดอันตรายกับคนอื่นแต่แก้ได้ด้วยการทำเสียงหลอก
4. เทคโนโลยีแล้วขั้นตอนในการกำจัดแบตที่เสื่อม ผมเชื่อในเทคโนโลยีแต่ไม่เชื่อคนอีกกี่ปีก็เถอะ
5. ค่า FT ขึ้นอีกแน่ๆทั้งๆที่ตอนนี้ก็ยังงงว่าคิดทำไม
ถ้าเราซื้อของที่ไม่จำเป็น สุดท้ายเราต้องขายของที่จำเป็น

ออฟไลน์ O_o"

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,415
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 18:16:17 »
เห็นเรื่องไฟฟ้าแล้ว นึกถึง Bill Gates วิจารณ์ประเทศไทยคือตัวอย่างการวางโครงสร้างพื้นฐานสายไฟที่ไม่ดีพอ



Bill Gates ได้โพสต์ภาพเป็นอัลบัมโดยกล่าวถึงปัญหาเรื่องไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

ในบางประเทศต้องจุดเทียนทำคลอด บางประเทศไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นต้น แต่แล้วก็มีภาพประเทศไทยหลุดเข้ามาด้วยอีกหนึ่งประเทศครับ

Bill Gates กล่าวว่า เพราะโครงสร้างพื้นฐานการวางสายไฟในประเทศไทยนั้นยังไม่ดีพอ อนาคตจะมีปัญหาการเข้าถึงอย่างแน่นอน







ออฟไลน์ akewizard

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,618
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 18:17:34 »
ผมมองไปถึง ให้แต่ละบ้านติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แล้วสำรองไฟไว้ใช้เติมพลังงานให้รถไฟฟ้านะครับ  จะได้ช่วยลดภาระการใช้ไฟฟ้าส่วนกลางลงไป

ส่วนค่าลงทุนเกี่ยวกับแผงโซลาเซลล์กับชุดแบตเตอรี่สำรองไฟอาจจะแพง  แต่เทียบกับราคารถไฟฟ้าแล้วคงไม่ถึงกับแพงจนเกินไป

ออฟไลน์ mew123765

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 212
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 18:32:12 »
เห็นคำถามข้อ 1 และ 2 แล้วถ้าไม่มีการป้องกันแต่ต้น ต่อไปคงต้องสร้างโรงไฟฟ้าไม่มีที่สิ้นสุด

สิ่งนึงที่อยากเห็นตอนรถไฟฟ้าขายทั่วไปคือการขายเป็น Package แบบ
รถไฟฟ้า พ่วงกับ Solar Cells และระบบเก็บไฟในบ้าน
เพื่อลดการใช้ไฟจาก Grid

ตัวอย่างแบบ Tesla ถ้า Utilize ผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือเข้าด้วยกันคงดีไม่ใช่น้อย
ขายเป็นแพคเกจ รถไฟฟ้า (Tesla) แบตบ้าน (Power Wall) และ Solar Cells (Solar City)

แบบ

ออฟไลน์ rosaniyomdeelerd

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 95
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 19:00:43 »
ไม่มีความรู้เรื่องพลังงานครับ แต่คิดว่ายังไงก็มีผลดีมากกว่านะครับ ถ้ารถทุกคันใช้ไฟฟ้า มลพิษที่กระจายอยู่ทั่วไปลดลงแน่ๆ

ส่วนมลพิษที่ต้องเพิ่มจากการผลิตไฟฟ้าเพิ่ม ก็ยังคงสามารถโซนนิ่งได้ครับ แต่รถไฟฟ้าจะเกิดหรือไม่ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมาถกปัญหา1234 ตามที่ว่ามานะผมว่า ความ

จริงมันขึ้นกับเรื่องผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้าคนมีระดับเขาได้ผลประโยชน์จากรถไฟฟ้าที่มากกว่าการขายน้ำมันและก๊าซ รับรองครับได้เห็นรถไฟฟ้าวิ่งกันเต็มเมืองแน่


ออฟไลน์ Jacob

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,803
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 19:29:20 »
ถ้ามีจริง  คงไม่ใช่ทุกบ้านจะซื้อเทสล่า บางคนอาจซื้อนิสสันลีฟ หรือมีรถประหยัดไฟฟ้าใหม่ๆออกมา และการเปลี่ยนแปลงมันไม่ใช่จะหันมาใช้ไฟฟ้ากันทันทีทุกคน ทุกอย่างคงค่อยๆเปลี่ยนแปลง พร้อมกับการพัฒนากระบวนการผลิตไฟฟ้าใหม่ๆ การพัมนาคุณภาพแบต

ถึงตอนนั้นอาจจะมีรถไฟความเร็วสูง คนอาจจะใช้รถกันน้อยลง... อย่างน้อยตอนรถติดก็ไม่ติดเครื่องทิ้งเปล่าๆ การจัดการมลพิษที่จุดผลิตเป็นจุดๆก็คุมง่ายกว่า...

ถ้าเอาน้ำมันที่เติมรถตอนนี้ไปปั่นไฟอาจจะประหยัดกว่าด้วยซ้ำ (เพราะรถกินน้ำมันเเวลาเร่งเครื่อง ถ้าให้มันทำงานคงที่ก็ประหยัด) บ้านเราถ้าจะทำโรงไฟฟานิวเคลียร์ก็น่าจะปลอดภัยกว่าญี่ปุ่นที่เกิดแผ่นดินไหวประจำ แต่ถึงไม่ทำก็เชื่อว่าน่าจะหาทางออกได้ เช่นปรับปรุงเขื่อนให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น พลังงานลม แสงอาทิตย์ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด... แต่ละครอบครัวก็อาจจะคิดหาวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้ากันเองก็ยังได้ ต่อไปปั่นจักรยานออกกำลังกายเพื่อชาร์จรถตัวเองก็คงมี... ต่างกับน้ำมันที่ผลิตเองไม่ได้เลย

ถ้าไม่กล้าเริ่ม กลัวจะเริ่ม เราก็ไม่ได้ใช้กันสักที

ปล. เมืองนอกก็พัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากสายฟ้า ฟ้าผ่ากันแล้ว ไม่รู้ไปถึงไหน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 19:48:40 โดย Jacob »

ออฟไลน์ S6

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,134
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 19:47:20 »
ที่เห็นยุ่งเหยิงนั้น เป็นสายสื่อสารต่างๆทั้งนั้น ไม่ใช่สายไฟฟ้า ทำไมบอกกันเป็นสายไฟฟ้า
ผมไม่เห็น ประโยคภาษาอังกฤษที่โพสว่า เป็น Cable อย่างเดียว หรือ Electric cable

ออฟไลน์ Jacob

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,803
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 19:53:26 »
อันนี้แค่มีลวดอยู่ในอากาศ(ไม่เข้าใจหลักการทำงานอ่ะ) ก็ทำให้มอเตอร์หมุนได้

ออฟไลน์ bahamu

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 685
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 20:27:59 »
สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ข้างบ้านใครก่อนดีเพื่อให้ชาวบ้านใช้รถไฟฟ้า
สร้างโรงกำจัดถ่าน ข้างบ้านใครก่อนดีเพื่อให้ชาวบ้านใช้รถไฟฟ้า

มลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าและกำจัดถ่าน มากขนาดต้องอยู่ในเขตนิคม
ถ่านไม่อึด ราคาแพงมาก ผลิตมากี่สิบปียังไม่ถูก เพราะหาทดแทนยังไม่ได้
ถ่านอึดๆ นน.เบา อัดซ้ำได้มากครั้ง ราคาแพงมากๆ คนไม่เคยซื้อคงไม่รู้

ได้แต่อ่านที่โม้จนเคลิ้ม แต่ปัญหาทิ้งให้คนจน คนบ้านนอก รับเคราะห์แทน
แล้วมาบอกว่ารักโลก ทีเครื่องบิน เรือบรรทุก มลพิษมากไม่แพ้รถ เอาไปไว้ไหน
ไหนจะหม้อต้มขนาดใหญ่ตามโรงงานอีก เคยไปดูโรงหลอมไหมว่ามลพิษสูงขนาดไหน
ทะเลสกปรกขนาดเต่ายังผิวหนังอักเสบได้ ยังมีที่ไหนในโลกที่มลพิษเข้าไม่ถึงบ้าง
ถ้าไม่มีคนไปอยู่เป็นชุมชน แล้วระบบบำบัดดีแค่ไหน ขนาดบ่อน้ำทิ้ง ดักไขมันยังไม่มี
แล้วขยะไฟฟ้าจะควบคุมไหวรึ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิสชั่นเยอรมันยังเลิกสร้าง ญี่ปุ่นปลอมรายงาน
คนไทยกลัวเรื่องแบบนี้มากกว่ากัมมันตรังสี เพราะถ้าพลาดจะเป็นอย่าฟุกุจิม่ะ
เป็นเมืองร้างที่ปนเปื้อนรังสีทั้งเขตโรงไฟฟ้า รั่วลงน้ำไปด้วย

รอให้แน่นอนก่อนค่อยมาไม่สาย รถไฮบริดทำคนหายเห่อไปเยอะ
เจอค่าซ่อมทีจากรักโลก มารักกระเป๋าตังค์แทน
ไฮโดรเจนยังดูเป็นจริงมากกว่า แต่เอาน้ำมันมาปั่นไฟดูจะใกล้เคียงที่สุด
จนกว่าเครื่องสองจังหวะจะหมดมุก ยังไงไฟฟ้าก็แทนที่ยากมีแต่ควบคู่
ที่แน่ๆรถก่อสร้าง อีแต๋น รถไถ เรือหางยาว คงยากจะเป็นไฟฟ้า

ขนาดเครื่องบินใบพัดที่แรงหลายพันแรงม้า บางคนนึกว่าไฟฟ้าแทนได้

ออฟไลน์ Jacob

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,803
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 20:40:46 »
เมืองนอกเค้าเลิกใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจจะเพราะเค้าคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ๆมาทดแทนได้แล้ว อย่างอเมริกาก็มีวิธีการใหม่ แต่เค้าไม่ได้มาประกาศให้ชาวโลกรู้แค่นั้นเอง (เค้าบอกว่าเทคโนโลยีแบบสตาร์วอร์ส แต่ไม่บอกรายละเอียด ไม่เข้าใจเหมือนกัน ใช้ได้ทั้งรัฐแถมยังส่งไปนอกรัฐได้อีก เยอะกว่าผลิตจากนิวเคลียร์ ปลอดภัยกว่าด้วย)
ก็หวังว่าประเทศไทยจะมีคนคิดค้นกันเยอะๆ รัฐบาลสนับสนุน (ลม แสงแดด น้ำ คลื่น ... เราก็มีเกือบทั้งหมดพวกที่เป็นพลังงานสะอาด)
อย่างรถมอไซไฟฟ้าที่ใช้แม่เหล็กผลักไดนาโมก็เป็นไอเดียที่ดี
ส่วนเรื่องน้ำมันก็คงยังใช้ต่อไปอีกนาน เทคโนโลยีมันก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนกันไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 20:57:19 โดย Jacob »

ออฟไลน์ lacked

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 328
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 21:05:51 »
น้ำมันเราถูกประเทศอื่นควบคุม
แต่ไฟฟ้าเรายังพอควบคุมเองได้บ้างครับ

ใช้รถไฟฟ้า ก็ใกล้เคียงกับประเทศเลิกเป็นทาสนะผมว่า

ออฟไลน์ HHHsung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,378
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 21:19:02 »
1. ถ้าเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ากันหมด จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตจากการไฟฟ้า อีกเท่าไหร่ครับ

ืnissan leaf 1 คัน วิ่ง 120 โล ใช้พลังงาน 24 kWh หรือ ต้องใช้โรงไฟฟ้า 1 kW ถ้ารถ 10 ล้านคัน ก็ 10 ล้านกิโลวัตต์ หรือประมาณ 10000 MW หรือประมาณ 30 % ของกำลังผลิตปัจจุบัน

2. ถ้าคำนวนแล้ว ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการ ชาร์ตไฟ แต่ละครั้งของไฟฟ้า ขนาดเท่าไหร่ ถึงขั้นโรงงานนิวเคลียร์ เลยรึเปล่า หรือแค่ โซล่าร์ฟาร์ม ที่รัฐบาลทำอยู่ก็เพียงพอแล้ว

ตามข้อ 1 โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆ ก็หลัก 1000 MW นิวเคลียร์ก็ราวๆ นี้ โซลาทั้งประเทศยังงัยก็ไม่พอ

3. ตอนนี้เราใช้น้ำมันวันละกี่ลิตร สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่รวมภาคขนส่งครับ

หาข้อมูลในเวปได้เลย

4. กทม มีอากาศที่สะอาดขึ้น แต่จะไปสร้างมลภาวะที่เมืองเล็กๆตามต่างจังหวัด ในกรณีที่สร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ คนต่างจังหวัดจะ โอเค ไหมครับ เพราะเราได้บทเรียนมาเยอะแล้วจากในอดีต ที่คนพื้นที่ไม่ยอม มีการข่มขู่ ยิงกันเสียชีวิต ประท้วงกันวุ่นวาย ฟ้องศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว

ยังมีปัญหาเรื่องการกำจัดขยะสารพิษ (แบตเตอร๊่อีกนะครับ)


5. ฮ่องกง ได้เพิ่มภาษีรถไฟฟ้า เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ลดมลภาวะจริง เพราะไปก่อมลภาวะในชุมชนที่กำเนิดแหล่งไฟฟ้า และฮ่องกงต้องซี้อพลังงานจากเมืองจีน

รูปแบบประเทศไม่เหมือนกัน อย่าอ้างเลยครับ ทางสแกนเนียเค้าไม่เห้นมีปัญหาแบบนี้ มีแต่ปัญหาดุลประเทศ เนื่องจากนำเข้ารถไฟฟ้าเยอะไป

6. ในกรณีที่เราซื้อพลังงานจากเพื่อนบ้าน จะกลายเป็นข้อต่อรองในอนาคต เหมือนที่สิงคโปร์ซื้อน้ำจากมาเลเซียหรือเปล่า (ถ้าจำไม่ผิดสิงคโปร์ได้ทำทะเลสาบเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ไว้รองรับแล้ว)

ปัจจุบันเราซื้อไฟ ทั้งจาก พม่า และ ลาว โดยเฉพาะพม่า ที่ เราซื้อก๊าชธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า เป้นจำนวนมาก แค่เค้าปิดซ่อมท่อแต่ละครั่้ง เราก็โกลาหลเป้นพักๆ แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 21:23:40 โดย HHHsung »

ออฟไลน์ HHHsung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,378
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 21:20:50 »
เห็นเรื่องไฟฟ้าแล้ว นึกถึง Bill Gates วิจารณ์ประเทศไทยคือตัวอย่างการวางโครงสร้างพื้นฐานสายไฟที่ไม่ดีพอ



Bill Gates ได้โพสต์ภาพเป็นอัลบัมโดยกล่าวถึงปัญหาเรื่องไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศทั่วโลก



ในบางประเทศต้องจุดเทียนทำคลอด บางประเทศไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นต้น แต่แล้วก็มีภาพประเทศไทยหลุดเข้ามาด้วยอีกหนึ่งประเทศครับ

Bill Gates กล่าวว่า เพราะโครงสร้างพื้นฐานการวางสายไฟในประเทศไทยนั้นยังไม่ดีพอ อนาคตจะมีปัญหาการเข้าถึงอย่างแน่นอน


อยากจะหัวเราะ ในภาพผมไม่เห้นสายไฟฟ้าซักเส้น มีแต่สายสื่อสารล้วนๆ บิลเกตก็มโนเป้นนะจะบอกให้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 21:24:41 โดย HHHsung »

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,871
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 21:45:19 »
ลิเที่ยมจะอยู่กับเราได้อีกนานแค่ไหนครับ

แร่ตัวใหม่จะมาแทนที่ แล้วก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว

ออฟไลน์ Arado_kung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,066
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 21:55:31 »
น้ำมันเราถูกประเทศอื่นควบคุม
แต่ไฟฟ้าเรายังพอควบคุมเองได้บ้างครับ

ใช้รถไฟฟ้า ก็ใกล้เคียงกับประเทศเลิกเป็นทาสนะผมว่า

แน่ใจเหรอครับว่าไฟฟ้าเราควบคุมได้ คุณทราบมั้ยครับว่าไฟฟ้าที่ใช้กันในประเทศไทยตอนนี้ครึ่งนึงต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงหรือกระแสไฟฟ้า คุณลองคิดดูว่าอนาคตประเทศเค้ามีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าขึ้นมาเค้าจะขายให้เราในอัตราส่วนเท่าดิมมั้ย ส่วนโรงไฟฟ้าใหม่ในไทยเกิดยากเพราะ NGO โง่ๆพร้อมจะออกมาค้านทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น

- โรงไฟฟ้าถ่านหิน กลัวมลภาวะโดยเอากรณีแม่เมาะเมื่อ 30-40 ปีก่อนเป็นตัวอ้างอิง ซึ่งไม่ได้แหกตาดูกันเลยว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินยุคใหม่นี้เค้าใช้ถ่านหินบีทูบีนัสหรือแอนทราไซต์อันเป็นถ่านหินเกรดดีกว่าลิกไนต์มากๆ ปล่อยมลภาวะน้อยอยู่แล้วบวกกับปัจจุบันเทคโนโลยีกำจัดมลภาวะดีกว่าสมัยก่อนมากๆอีกเช่นกัน
- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กลัวระเบิด คนไทยส่วนใหญ่พูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือกลัวระเบิดมากที่สุด =_= แม้จะอธิบายกันจนปากหักว่าเทียบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกแล้ว โอกาสที่มันระเบิดแบบเชอร์โนบิลหรือฟุกุชิมะคือ 0.1% ยังไงก็กลัวอยู่นั่นแหละ สุดท้ายพอบอกว่าในกทม.มีเตาปฏิกรณ์อยู่มา50ปีแล้วไม่เห็นมันจะระเบิดซักทีก็ทำหน้างงอีกหาว่าแต่งเรื่องหลอกเค้า ส่วนเรื่องมลภาวะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดที่ไทยอยากจะสร้างมีกากนิวเคลียร์แค่ปีละถังน้ำมัน200ลิตรเท่านั้นเองนะครับ ถ้านับมลภาวะจากการใช้งานแล้วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่ำที่สุดเลย
- โรงไฟฟ้าพลังน้ำ(เขื่อน) ทำลายธรรมชาติ,สัตว์ป่า นักอนุรักษ์ออกมาให้พรึ่บไปหมด
- โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ราคาแพงเทียบกับพลังงานที่ได้รับกลับมา อีกทั้งประเทศไทยนั้นมีแดดเยอะก็จริง แต่ความเข้มของลำแสงก็ไม่ได้เยอะมากมายเช่นกันเลยผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น อ้อ ล่าสุดมีNGOนำชาวบ้านมาประท้วงโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่แถวๆเชียงใหม่โดยอ้างว่ากลัวมลภาวะ 555
- โรงไฟฟ้าพลังงานลม ประเทศไทยมีจุดที่ลมแรงพอจะตั้งกังหันแล้วคุ้มค่าได้ไม่เยอะครับ อีกทั้งกังหันลมยักษ์นี่สร้างมลภาวะทางเสียงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ในต่างประเทศเราจะสังเกตได้ว่าทุ่งกังหันลมพวกนี้จะอยู่ห่างจากตัวเมืองมากเพราะเสียงมันดังเนี่ยแหละ

สรุป ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมืองไทยมันจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบไหนเพิ่มได้เพราะค้านดะกันไปหมดเนี่ยแหละ =_=

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:02:51 »
หนังสือพิมพ์ "ลาวพัดทะนา" รายงานเรื่องนี้สัปดาห์ที่ผ่าน โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า พิธีในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ เป็นเพียงการเปิดใช้อย่างเป็นทาง ที่ประกอบด้วยหน่วยปั่นไปเพียง 2 หน่วยแรก หรือ รวมทั้งหน่วยที่ 3 (ที่ติดตั้งแล้วเสร็จก่อนกำหนด?) ด้วย สื่อของทางการระบุแต่เพียงว่า ปัจจุบันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหงสาแล้วเสร็จเกือบจะสมบูรณ์ 100% ในขณะที่เว็บไซต์ของบริษัทผู้ดำเนินการ ยังระบุกำหนดเวลาเดิม คือ มี.ค.ปีหน้า
       
        อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นของสมาคมนักข่าวแห่งชาติ กล่าวว่ารัฐบาลได้ใช้มาตรการต่างๆ ตามมาตรฐานธนาคารโลก ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ การก่อสร้างและการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าใหญ่ ติดตั้งระบบสกัดคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้ง "อุปกรณ์ดักจับสิ่งเศษเหลือ" ในกระขวนการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานสากล และ กลายเป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ได้รับการยอมรับจากชุมชนในท้องถิ่น
       
        สื่อของทางการกล่าวว่า บริษัทเจ้าของโครงการ ได้เคร่งครัดในการตรวจตรามาตลอดระยะเวลาก่อสร้าง และ จะดำเนินต่อไปตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี รับประกันจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และ สุขภาพของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เมืองหงสา กับพื้นที่ใกล้เคียงอย่างแน่นอน
       
        โรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้ถ่านหินผลิตจากเหมือง ที่อยู่ในเขตเดียวกัน ซึ่งข้อมูลของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาวระบุว่า มีปริมาณสำรองถึง577 ล้านตัน โดยคาดว่าตลอดอายุสัมปทานจะใช้ประมาณ 380 ล้านตันเท่านั้น หรือ ประมาณ 13.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งเท่ากับว่าจะมีถ่านหินเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป ตลอดอายุขัยของโรงไฟฟ้า
       
        โครงการยังประกอบด้วยเขื่อนอีก 2 แห่ง คือ เขื่อนน้ำเลือก กับเขื่อนน้ำแกน ซึ่งทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำ ที่จะต้องใช้เป็นปริมาณมากถึง 45 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการขับเคลื่อนกังหันในการปั่นไฟ เนื่องจากความร้อนไม่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าโดยตรงได้
       
        เขื่อนทั้งสองแห่งยังสนองน้ำ ให้แก่เนื้อที่เพาะปลูกของประชาชนได้ประมาณ 250 เฮกตาร์ (กว่า 2,100 ไร่) และ ยังสามารถนำไปใช้ผลิตน้ำประปาสำหรับชาวเมืองหงสาได้อีก
       .

 


อลังการณ์โรงไฟฟ้าถ่านหินลาว ตัดริบบิ้น 9 ธค.ฤกษ์ใหญ่ฉลองชัย 40 ปี รับรองไร้มลพิษ 

การติดตั้ง-ทดสอบเครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 2 โรงไฟฟ้าหงสา แล้วเสร็จวันที่ 2 พ.ย.2558 โดยบริษัทวิศวกรรมไฟฟ้าแห่งชาติจีน (China National Electic Engineering Co - CNEEC) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาติดตั้งเครื่องปั่นไฟทั้ง 3 หน่วย. -- ภาพ: บริษัทไฟฟ้าหงสา.   

        นอกจากโรงไฟฟ้า เหมืองถ่านหิน กับ อ่างเก็บน้ำ โครงการไฟฟ้าหงสายังประกอบด้วยระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดัน 500 กิโลโวลต์ และ 115 กิโลโวลต์ สำหรับส่งเข้าไทยและส่งเข้าระบบไฟฟ้าของลาวตามลำดับ เพื่อใช้ในแขวงภาคเหนือ
       
        บริษัทผู้ดำเนินการยังจะต้อง จัดหาพื้นที่พัฒนากสิกรรม และ จัดอบรมอาชีพให้แก่ราษฎรในพื้นที่ ปลูกสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ กับบ้านเรือนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ อย่างมีคุณภาพ ตัดถนนเชื่อมเมืองหงสากับชายแดน จ.น่าน ของไทยที่อยู่ห่างออกไปราว 35 กิโลเมตร
       
        โรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิต 1,878 เมกะวัตต์แห่งนี้ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินแห่งแรก เริ่มก่อสร้างปี 2553 เมื่อเปิดเดินเครื่องครบทั้งสามหน่วย ไฟฟ้าที่ผลิตได้ปริมาณ 1,478 เมกะวัตต์จะจำหน่ายให้แก่ไทย ที่เหลืออีก 400 เมกะวัตต์ ขายให้รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าลาว
       
        บริษัทไฟฟ้าหงสาเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนใน สปป.ลาว ประกอบด้วยผู้ถือหุ้น 3 ราย คือ บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือหุ้น 40% บริษทบ้านปูพาวเวอร์จำกัด ในกลุ่มบริษัทบ้านปูจำกัด (มหาชน) จากไทย ถืออีก 40% และ รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว ซึ่งเป็นนิติบุคคลของรัฐบาลลาว ถือส่วนที่เหลืออีก 20%
       
        ตั้งอยู่ในเขตเมือง (อำเภอ) หงสา แขวง (จังหวัด) ไซยะบูลี โครงการไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาวครั้งแรก เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว แต่ผู้ลงทุนจากประเทศไทย ติดขัดเรื่องเงินทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนเวลาในสัญญา ต่อมารัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ยึดคืนโครงการ และผู้ลงทุนจากประเทศไทยอีกรายหนึ่งได้รับสิทธิ์ ภายใต้สัญญาสัมปทานใหม่ตั้งแต่ 2559-2584
       
        นอกจากโรงไฟฟ้าใหญ่แห่งนี้ สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า เขื่อนผลิตไฟฟ้านับสิบแห่ง จะเริ่มปั่นไฟในช่วงปลายปีนี้-ต้นปีหน้า ตามแผนการทำให้ลาวเป็น "แบตเตอรี่แห่งอนุภูมิภาค".
 
http://www.manager.co.th/Indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9580000132120

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:05:14 »
ทางการลาวประกาศในปี 2558  นี้ จะมีเขื่อนอีก 10 แห่ง เริ่มเดินเครื่องปั่นไฟผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน และไม่เพียงแต่ส่งออกเท่านั้น ประชาชนลาวเองจะมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เพียงพอสนองความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม รวมทั้งโครงการลงทุนของต่างประเทศในลาวอีกด้วย
       
        เมื่อเปิดใช้เขื่อนอีก 10 แห่ง ก็จะทำให้ลาวมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2,000 เมกะวัตต์ รวมเป็นกว่า 5,000 เมกะวัตต์ จากเพียง 3,000 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ “ปะเทดลาว” รายงายอ้าง นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ระหว่างการไปเยี่ยมชม และทำงานในแขวงหัวพัน เชียงขวาง ไซสมบูน กับแขวงเวียงจันทน์ ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
       
        รัฐมนตรีลาว กล่าวย้ำว่า ความอุดมมั่งคั่งในพลังน้ำจากธรรมชาติ เป็นข้อได้เปรียบสำคัญของลาว ทำให้สามารถพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากที่เคยมีเขื่อนเพียง 2-3 แห่งในช่วงปี 2546-2553 เพิ่มขึ้นเป็น 29 แห่งในปัจจุบัน และเมื่อนับรวมจำนวนที่จะเปิดใหม่ ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 39 เขื่อนในปีนี้
       
        ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา ได้เซ็นความตกลงซื้อไฟฟ้าลาวถึง 7,000 เมกะวัตต์ เวียดนาม จีน กำลังจะเป็นลูกค้ารายใหม่ ขณะเดียวกัน ลาวก็อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปจำหน่ายให้แก่สิงคโปร์ ผ่านโครงข่ายสายส่งของไทยและมาเลเซีย ซึ่งถ้าหากทำได้สำเร็จก็จะเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญในฐานะที่เป็น “แบตเตอรี่แห่งอาเซียน”
       
        ปัจจุบัน “บรรดาประเทศอาเซียนตั้งความหวังจะนำเข้าพลังงานจากลาวหลายพันเมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองความต้องการในภาคอุตสาหกรรมหนัก-เบา การบริการ ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ” หนังสือพิมพ์ออนไลน์ของทางการ อ้างนายคำมะนี
       
        รัฐมนตรีของลาวยังกล่าวอีกว่า การผลิตไฟฟ้าได้ 5,000 เมกะวัตต์ในปีนี้ กำลังจะเป็นช่วงต่อที่สำคัญที่สุดในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศ โดยเฉาะอย่างยิ่งในการแก้ไขความยากจนของราษฎร และประชาชนบรรดาเผ่าที่อยู่ห่างไกลจะมีไฟฟ้าใช้กันมากขึ้น รวมทั้งโอกาสการมีงานทำ การผลิตการเกษตรให้เป็นสินค้า การประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการศึกษา
       
        พร้อมๆ กับการพัฒนาโครงการเขื่อนแห่งต่างๆ ก็จะมีการพัฒนาถนนหนทางควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ห่างไกลมีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย และยังมีน้ำสะอาดใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย นายคำมะนี กล่าว
       
        ภายในปีนี้ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนทั้งหทด 148 เมือง (อำเภอ) จะมีไฟฟ้าใช้ 80% และจำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในปี 2563 ไฟฟ้าจะอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืนให้แก่ธุรกิจของต่างประเทศที่เข้าลงทุนสร้างโรงจักรโรงงานในลาว เขตอุตสาหกรรมต่างๆ โรงแรม ตลอดจนสถานบริการทั่วไป ซึ่งจะมี “พลังงานสะอาด” ใช้อย่างเพียงพอ รัฐมนตรีของลาว กล่าว.
        .
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9580000068879

ออฟไลน์ Jacob

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,803
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:06:08 »
อ่านที่คุณ Jimmy รีวิวใน First impression
24 Kw/hr วิ่งได้ไกล 160 กม.นะครับ ไม่ใช่ 110 กม.
ค่าไฟสูงกว่าแต่ละบ้าน(ในญี่ปุ่น) 2 เท่า เพราะแต่ละบ้านจะใช้ไฟ 12 Kw/hr
ถ้าคุณวิ่ง 160 กม.ทุกวัน(ไม่รู้คิดรวมรีชาร์จจากการเบรค หรือปล่อยวิ่งยาวๆเลย เพราะรถสามารถรีชาร์จกลับแบบไฮบริดได้) ค่าไฟก็จะเป็น สามเท่าจากเดิม (รถ 2 ส่วน บ้าน 1 ส่วน) แต่ในชีวิตจริงวิ่งกันอยู่เท่าไหร่?

แล้วถ้าเทียบกับ eco car 20 โลลิตร เอาน้ำมัน 1 ลิตรนั้นไปผลิตกระแสไฟฟ้าให้ leaf มันจะวิ่งได้กี่โล ?? คำนวนไม่ถูก

ปล. ประเทศเรามัวแต่กลัวครับ อาจจะเพราะคอรัปชั่นเยอะจนไม่ไว้ใจกัน แถมไม่คิดจะหาวิธีการใหม่ๆด้วยนะ ต่างประเทศเค้าพัฒนากันไม่หยุด เราก็รอความรู้จากเค้าอีกทีละกัน (ประเทศที่เจริญแล้วเค้าใหญ่กว่าเรา ใช้ไฟเยอะกว่าเรา เค้าอยู่กันได้ยังไง เค้าจะกลัวรถไฟฟ้าแบบบ้านเรามั้ย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 22:15:28 โดย Jacob »

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:10:18 »
อ่านที่คุณ Jimmy รีวิวใน First impression
24 Kw/hr วิ่งได้ไกล 160 กม.นะครับ ไม่ใช่ 110 กม.
ค่าไฟสูงกว่าแต่ละบ้าน(ในญี่ปุ่น) 2 เท่า เพราะแต่ละบ้านจะใช้ไฟ 12 Kw/hr
ถ้าคุณวิ่ง 160 กม.ทุกวัน(ไม่รู้คิดรวมรีชาร์จจากการเบรค หรือปล่อยวิ่งยาวๆเลย เพราะรถสามารถรีชาร์จกลับแบบ"ฮบริดได้) ค่าไฟก็จะเป็น สามเท่าจากเดิม (รถ 2 ส่วน บ้าน 1 ส่วน) แต่ในชีวิตจริงวิ่งกันอยู่เท่าไหร่?

แล้วถ้าเทียบกับ eco car 20 โลลิตร เอาน้ำมัน 1 ลิตรนั้นไปผลิตกระแสไฟฟ้าให้ leaf มันจะวิ่งได้กี่โล ?? คำนวนไม่ถูก

     ไฟฟ้าไม่ได้ผลิตจากน้ำมันเพียงอย่างเดียวครับ  ตอนนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยสร้างยาก เขาก็ไปสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน  ห่างจากชายแดนไทยแค่ไม่กี่กิโลเมตร  ไฟฟ้าพลังน้ำ  พลังแสงอาทิตย์ก็มี

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:15:42 »
กฟผ.ทำเอ็มโอยูโรงไฟฟ้ามายตง

นายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการอาวุโส และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ EGATi เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอข้อมูลไปยังกระทรวงพลังงาน ก่อนจะมีการเยือนเมียนมาร์อย่างเป็นทางการของนายกฯ โครงการที่เสนอว่ามีความเป็นไปได้ในการพัฒนาและได้มีการลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) เรียบร้อยแล้วคือโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำมายตง กำลังผลิต 7,000 เมกะวัตต์ ที่ EGATi ถือหุ้นร้อยละ 30 รัฐบาลเมียนมาร์ร้อยละ 14 และชิโนไฮโดรฯจากจีนร้อยละ 56 เฉพาะส่วนที่ EGATi ต้องลงทุนที่ประมาณ 14,000 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำแบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) หลังจากนั้นจะยื่นเสนอโครงการต่อรัฐบาลเมียนมาร์ รวมถึงต้องพิจารณาร่วมกันเพิ่มเติมถึงการจัดสรรกำลังผลิตไฟฟ้าว่า 1) สัดส่วนที่ต้องป้อนความต้องการใช้ในเมียนมาร์ 2) สัดส่วนที่จะส่งผ่านระบบส่งเพื่อรองรับการใช้ในไทย และ 3) หรืออาจจะส่งไฟฟ้าทั้งหมดไปรองรับการใช้ในประเทศจีน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่

นอกจากนี้ยังมีโครงการฮัตจี ที่เคยอยู่ในแผนว่าจะพัฒนา แต่ยังคงติดปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย ซึ่งต้องให้รัฐบาลเมียนมาร์ดำเนินการแก้ปัญหาก่อน ส่วนโครงการท่าซาง หากว่าสามารถพัฒนาโครงการมายตงได้สำเร็จ ก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาโครงการนี้ เนื่องจากอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกัน ปริมาณน้ำไม่พอรองรับแน่นอน

"ตามแผนรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านไทยต้องการรวม 10,000 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศ ซึ่งหากพัฒนาโครงการมายตงได้ เท่ากับว่ามีกำลังผลิตในมือแล้ว 7,000 เมกะวัตต์ และยังมีอีกหลายโครงการให้พัฒนา แต่ยอมรับว่าเป็นโครงการใหญ่ ในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดทางให้บริษัทลูกอื่น ๆ ของ กฟผ.เข้ามาถือหุ้นเพิ่มได้ แต่ขึ้นอยู่กับฝั่งเมียนมาร์ด้วยว่าจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร"

ปตท.-ราชบุรีฯจองโครงการมะริด

นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ลงนาม MOU กับรัฐบาลเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาโครงการมะริด ในเขตตะนาวศรี คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 170,000 ล้านบาท กำลังผลิต 2,600 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่รัฐบาลเมียนมาร์ยังได้เปิดทางให้บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GPSC) ในเครือบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลงนามข้อตกลงเบื้องต้นด้วยเช่นกัน และคาดว่าอาจจะมีนักลงทุนต่างชาติอื่น ๆ เข้ามาลงนามเพิ่มเติมอีก แต่ละรายจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน คือจะต้องไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการ จัดหาที่ดิน จัดทำรายงาน EIA และขั้นตอนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นนำเสนอโครงการเพื่อพิจารณา

ฉะนั้นในโครงการนี้จึงมีการแข่งขันสูงมาก ทำให้ทั้งบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ และโกลบอล เพาเวอร์ฯ ตัดสินใจเป็นพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการดังกล่าว โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปหารือผู้ถือหุ้นเดิมว่าจะพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นใหม่ในโครงการนี้อย่างไร หรืออาจจะใช้รูปแบบของบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้น่าจะสรุปได้

"ก่อนหน้านี้ราชบุรีโฮลดิ้งฯ และพันธมิตรเดิม คือบริษัท บลู เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด บริษัท Vantage Kyaw Phyo เดินหน้าโครงการนี้ไปเยอะแล้ว โดยทำรายงาน EIA เปิดประชาพิจารณ์รวม 3 ครั้ง ที่สำคัญได้เลือกที่ดินไว้แล้วชัดเจน ถ้าเทียบฟอร์มกับรายอื่นแล้ว ถือว่าราชบุรีโฮลดิ้งฯ ก็มีความพร้อมไม่น้อยกว่ารายอื่นแน่นอน"

นายพงษ์ดิษฐกล่าวว่า กำลังผลิตรวม 2,600 เมกะวัตต์ จากโครงการมะริด จะใช้ถ่านหินนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย สามารถเสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้เท่ากับโรงไฟฟ้าใหม่ถึง 2 โรง โดยจะเชื่อมโยงด้วยระบบสายส่งเข้ามาทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 3 บาทกว่า/หน่วย ซึ่งไม่แตกต่างจากราคาที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าในประเทศมาก

ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวว่า พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรกับราชบุรีโฮลดิ้งฯ แต่ขณะนี้อยู่ในระหว่างหารือกับผู้ถือหุ้นเดิมแต่ละรายก่อน คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ในโครงการอื่น ๆ ในเมียนมาร์ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ฯยังมีแผนที่จะร่วมพัฒนากับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งฯ เพิ่มเติมอีกด้วย

ลุยต่อโรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงตุง

นายพงษ์ดิษฐกล่าวเพิ่มเติมถึงการลงทุนในเมียนมาร์อีกว่า นอกเหนือจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในแผนการลงทุนอีก คือโรงไฟฟ้าเชียงตุง ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิต 600 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 38,000 ล้านบาท) ว่าเตรียมลงนามกับรัฐบาลเมียนมาร์เพื่ออนุมัติให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้วภายในเร็ว ๆ นี้ สำหรับโครงการนี้จะแตกต่างจากโครงการมะริด เนื่องจากในพื้นที่มีเหมืองถ่านหินที่สามารถป้อนการใช้ในโรงไฟฟ้าได้ทันที

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากเอกชนข้างต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายเอกชนไทยที่อยู่ในธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ที่เตรียมเข้าไปประมูลโรงไฟฟ้าในอีกหลายโครงการ เช่น บริษัท บีกริม เพาเวอร์ จำกัด ที่มีแผนจะร่วมทุนกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี้ ดีเวลลอปเมนท์จำกัด ด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414138254

ออฟไลน์ Jacob

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,803
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:16:19 »
     ไฟฟ้าไม่ได้ผลิตจากน้ำมันเพียงอย่างเดียวครับ  ตอนนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยสร้างยาก เขาก็ไปสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน  ห่างจากชายแดนไทยแค่ไม่กี่กิโลเมตร  ไฟฟ้าพลังน้ำ  พลังแสงอาทิตย์ก็มี
ป่าวคับ แค่อยากรู้ ว่านำมัน 1 ลิตรใช้ให้รถวิ่ง กับผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้กับรถ อันไหนคุ้มกว่า
ปล. นี่เราต้องไปลงทุนสร้างกันนอกประเทศเลยเหรอครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2016, 22:18:32 โดย Jacob »

ออฟไลน์ Carrera

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,340
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:23:47 »
สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ข้างบ้านใครก่อนดีเพื่อให้ชาวบ้านใช้รถไฟฟ้า
สร้างโรงกำจัดถ่าน ข้างบ้านใครก่อนดีเพื่อให้ชาวบ้านใช้รถไฟฟ้า

มลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าและกำจัดถ่าน มากขนาดต้องอยู่ในเขตนิคม
ถ่านไม่อึด ราคาแพงมาก ผลิตมากี่สิบปียังไม่ถูก เพราะหาทดแทนยังไม่ได้
ถ่านอึดๆ นน.เบา อัดซ้ำได้มากครั้ง ราคาแพงมากๆ คนไม่เคยซื้อคงไม่รู้

ได้แต่อ่านที่โม้จนเคลิ้ม แต่ปัญหาทิ้งให้คนจน คนบ้านนอก รับเคราะห์แทน
แล้วมาบอกว่ารักโลก ทีเครื่องบิน เรือบรรทุก มลพิษมากไม่แพ้รถ เอาไปไว้ไหน
ไหนจะหม้อต้มขนาดใหญ่ตามโรงงานอีก เคยไปดูโรงหลอมไหมว่ามลพิษสูงขนาดไหน
ทะเลสกปรกขนาดเต่ายังผิวหนังอักเสบได้ ยังมีที่ไหนในโลกที่มลพิษเข้าไม่ถึงบ้าง
ถ้าไม่มีคนไปอยู่เป็นชุมชน แล้วระบบบำบัดดีแค่ไหน ขนาดบ่อน้ำทิ้ง ดักไขมันยังไม่มี
แล้วขยะไฟฟ้าจะควบคุมไหวรึ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิสชั่นเยอรมันยังเลิกสร้าง ญี่ปุ่นปลอมรายงาน
คนไทยกลัวเรื่องแบบนี้มากกว่ากัมมันตรังสี เพราะถ้าพลาดจะเป็นอย่าฟุกุจิม่ะ
เป็นเมืองร้างที่ปนเปื้อนรังสีทั้งเขตโรงไฟฟ้า รั่วลงน้ำไปด้วย

รอให้แน่นอนก่อนค่อยมาไม่สาย รถไฮบริดทำคนหายเห่อไปเยอะ
เจอค่าซ่อมทีจากรักโลก มารักกระเป๋าตังค์แทน
ไฮโดรเจนยังดูเป็นจริงมากกว่า แต่เอาน้ำมันมาปั่นไฟดูจะใกล้เคียงที่สุด
จนกว่าเครื่องสองจังหวะจะหมดมุก ยังไงไฟฟ้าก็แทนที่ยากมีแต่ควบคู่
ที่แน่ๆรถก่อสร้าง อีแต๋น รถไถ เรือหางยาว คงยากจะเป็นไฟฟ้า

ขนาดเครื่องบินใบพัดที่แรงหลายพันแรงม้า บางคนนึกว่าไฟฟ้าแทนได้

+1 ครับ  ยกเว้นจะมีแหล่งไฟที่สะอาดจริงๆ  อย่างพวกมะกัน ไฟมันเหลือใช้  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เต็มประเทศ 

อยากใช้ไฟฟ้า ลดการใช้น้ำมัน  มาซื้อ Plug in Hybrid ใช้ก่อนไหมครับ  วิ่งทั่วๆไป ก็ใช้ EV โหมด มันก็รถไฟฟ้าดีๆนี่เองน่ะผมว่า

ไฮโดรเจนมันก็ดูน่าสนใจน่ะ  ถ้าศึกษาลึกๆ  ไฮโดรเจนมันไม่ต้องใช้กระบวณการไฟฟ้าเพื่อแยกอย่างเดียว เอาขยะมาผ่านกระบวณการให้ได้ก๊าซไฮโดรเจนก็ได้  ใช้แบคทีเรีย หรือใช้พืชก็ได้   ::) 

อีกอย่างไฮโดรเจนพี่โตโยต้า มันก็ "รถไฟฟ้าดีๆนี่เอง"  จริงๆ แค่ทำช่องเสียบปลั้กใช้ชาร์จแบตได้ก็จบแล้วจริงๆ 

จริงๆผมสนใจของนิสสันมากกว่าน่ะ  ที่ใช้เอทานอล มาทำเป็นไฟฟ้า แล้วมาหมุนมอเตอร์อีกที  ผมว่าอันนั้นเหมาะกับบ้านเรามากกว่า   ::)

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
Re: ผลดี ผลเสีย ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2016, 22:31:42 »
     ไฟฟ้าไม่ได้ผลิตจากน้ำมันเพียงอย่างเดียวครับ  ตอนนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยสร้างยาก เขาก็ไปสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน  ห่างจากชายแดนไทยแค่ไม่กี่กิโลเมตร  ไฟฟ้าพลังน้ำ  พลังแสงอาทิตย์ก็มี
ป่าวคับ แค่อยากรู้ ว่านำมัน 1 ลิตรใช้ให้รถวิ่ง กับผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้กับรถ อันไหนคุ้มกว่า
ปล. นี่เราต้องไปลงทุนสร้างกันนอกประเทศเลยเหรอครับ

   โรงไฟฟ้าหงสา ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน อยู่ห่างจากชายแดนไทย 35 กิโลเมตร  บริษัทคนไทยถือหุ้น 80 เปอร์เซ็นต์  ผู้ซื้อไฟฟ้าเกือบทั้งหมดคือประเทศไทย  วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างก็ขนไปจากประเทไทย  ผู้ก่อสร้างก็เป็นคนไทย 

http://www.manager.co.th/Indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000096904