ผู้เขียน หัวข้อ: พื้นฐานการหล่อลื่น การเลือกความหนา ของน้ำมันเครื่องให้เหมาะสม Striebek curve  (อ่าน 4334 ครั้ง)

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
ไม่รู้จะตั้งชื่อหัวข้อว่าอะไร เลยยาวไปหน่อย

อยากให้คนสนใจเรื่องน้ำมันเครื่องได้อ่าน ว่าจะเลือกน้ำมันเครื่อง บาง หรือ หนาแค่ไหน พื้นฐานมาจากวิชานี้ล้วนๆ ครับ

อ่านมาหลายเล่ม เล่มนี้อ่านง่ายที่สุดแล้ว เอาตรงที่เกี่ยวกับความหนา Viscosityโดยเฉพาะเลยครับ บทนี้

http://machining.grundfos.com/media/16608/shaftseal_chapter4.pdf

หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่าน

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,772
งานช้างสำหรับผม

ออฟไลน์ benley

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 405
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ
รบกวน จขกท. แนะนำเว็บหรือแหล่งข้อมูลดาต้าชีส พวกน้ำมันหล่อลื่นหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ maggie

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 724
    • อีเมล์
ขอบคุณครับ ไม่ได้อ่านText มานานตั้งแต่เรียนจบ

ออฟไลน์ Newhang

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,338
ยากไปสำหรับผม พอจะอธิบายใจความสำคัญได้มั๊ยครับ

ออฟไลน์ TrentXWB

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 831
  • เมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ

ออฟไลน์ ภูมิใจไหม?

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,147
  • SNK vs Playmore
จบกัน ผมเกลียดคณิตศาสตร์

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
หัวใจสำคัญของบทนี้ ที่มีผลกับการเลือกเบอร์น้ำมันเครื่องคือการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง Viscosity กับ Friction

กำหนดให้ความเร็วและโหลดคงที่ แต่ Viscosityเปลี่ยรไป จะเห็นว่าช่วงใช้งานที่เหมาะสมคือ ประหยัด แรงเสียดทานต่ำ เสียหายพอรับได้ คือช่วง Mix Lubrication

Viscosity เปลี่ยนตามเบอร์น้ำมัน และอุณหภูมิ
เบอร์น้ำมันต่ำ viscosity ต่ำ
อุณหภูมิสูง Viscosityต่ำ

ถ้าViscosityต่ำไป ก็จะเกิดแรงเสียดทานมาก ชิ้นส่วนเสียหายมาก

คนธรรมดา ที่ไม่มีเครื่องมือวัด สามารถทดสอบเองได้ ว่าน้ำมันเครื่องเข้าสู่ส่วนไหนของStriebek curve

โดยมองจากรอยขีดข่วนของของตัวลูกเบี้ยว ในรถหลายรุ่นมองเห็นได้ผ่านรูเติม

น้ำมันเครื่องบาง มักเกิดการสร้างรอยลึก สัมผัสแล้วรู้สึกได้ ส่วนนั้นจะเป็นด้านซ้ายของกราฟ

ช่วงส่วนกลางของกราฟ จะเป็นช่วงที่ดี มีความเสียหายในระดับที่รับได้ บริษัทรถมักเลือกใช้โซนนี้ น้ำมันบางแต่ไม่หนามากเพื่อเลี่ยงการเกิดน้ำมันแข็งตัวในฤดูหนาว หนาวแบบติดลบนะครับ ไม่ใช่หนาวแบบไทยๆ

ถ้าเคยพลอตกราฟนี้แล้วจะทราบได้ว่า ความหนาในช่วง 6-100 c.st จะส่งผลกับแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ส่วนมากราวๆ 5% เท่านั้น  แต่กราฟช่วง1-6 c.st จะส่งผลมากถึง200%เพราะแรงเสียดทานบนผิวโลหะมากขึ้น จนถึงจุดเสียหาย เห็นได้จากราฟด้านซ้ายที่ชันกว่าส่วนกลาง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือกลุ่มรถแข่งที่เครื่องร้อนจัดจนน้ำมันบางมากชาฟท์ละลายก่อนเพราะอุณหภูมิน้ำมันบริเวณนั้นร้อนมากจนความหนาลดลงต่ำเกินไปจนหลุดเข้าสู่ Boundary lubrication zone.

ในเมืองหนาว น้ำมันที่หนาเพราะอุณหภูมิต่ำ จะอยู่ในช่วงปลายMixed libricstion จนถึง Full film และถ้าหนาวมากจนเข้าสู่ภาวะแข็งตัวของน้ำมันก็จะเกิด oil wedge เป็นที่มาของความเสียหายช่วงสตาร์ทนั่นเอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2016, 09:05:28 โดย Jae »

ออฟไลน์ Slipknot`

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 21,866
  • *** HLM.COM ***
ว่างๆจะมาอ่านนะครับ แต่คงไม่เข้าใจ ฮา...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

ออฟไลน์ CNX

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,303
    • อีเมล์
ขอบคุณการแบ่งปันข้อมูลดีดี เสมอครับ

ครั้งนี้ ไฟล์ภาษาอังกฤษล้วนๆ เข้าใจยากกว่าก่อนๆ(มาก)
ขอเวลาอ่านทำความเข้าใจ (นานๆ) ฮาาาาาา  ::) ;D
วิถีพอเพียง วิถียั่งยืน

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,460

ออฟไลน์ Darkart

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,192
    • อีเมล์
ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ
Save ไว้แล้ว ยังไม่ได้อ่านเลยครับ
ผู้ไม่มีแผลเป็น คือ ผู้ไม่มีประสบการณ์

ออฟไลน์ CarameLon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,395
TOYOTA WISH SPORT 2.0>>>CRV-2.4L 4WD GEN3>>>TOYOTA Camry 2.4 2010>>>BMW 520 ตาเหยี่ยว>>>BMW X3 2011 >>>BMW 520D 2010 >>>BMW 525D ก่อน LCI >>>BMW 116i M-sport >>>BMW X1 2.0 S-drive 2016 >>>Mercedes GLA200 >>>Mercedes C Class C350e >>> BMW330e+BMWS1000R

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051

ออฟไลน์ Newhang

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,338
อ่านจบไปเปิดฝาน้ำมันเครื่องเลย เห็นรอยเหมือนกัน แต่แยกไม่ออกว่ารอยที่ควรจะเป็นหรือรอยมากกว่าที่ควรจะเป็น

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
อ่านจบไปเปิดฝาน้ำมันเครื่องเลย เห็นรอยเหมือนกัน แต่แยกไม่ออกว่ารอยที่ควรจะเป็นหรือรอยมากกว่าที่ควรจะเป็น

วัดด้วยการลากเล็บลงบนผิวของลูกเบี้ยว ถ้าสะดุดแสดงว่าลึก เกินไป

จริงๆเขาวัดด้วยปลายเข็ม แต่ผมว่าถ้าพลาดเข็มตกลงไปจะเดือดร้อนกันเปล่าๆครับ ฮาา

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
อ้างอิง Ian Taylor จาก Shell


ออฟไลน์ J_Serie5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,206
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  :)