ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องยนต์รถหรูกับรถบ้านญี่ปุ่น ตัวใหนทนกว่ากันคะ  (อ่าน 4218 ครั้ง)

ออฟไลน์ kris-lack

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,763
เรียนสอบถามความคิดเห็นเพื่อนสมาชิกตามหัวข้อเลยค่ะ
เพราะสงสัยว่า พวก เบนลี RR คันเป็น 10-20 ล้าน เครื่องมันจะทนเหมือนกับอัลติส??
ส่วนตัวแล้วคิดว่า เครื่องญี่ปุ่นเป็นอะไรที่ amazing มากๆๆ อย่างแถวบ้านกระบะเก่าๆๆๆๆๆ
ยังขนแตงโมเต็มข้างหลังแบบต่อคอก ได้สบายๆๆเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นค่ะ

ออฟไลน์ pongisra

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,459
ที่บอกว่ารถอัลติสทน ผมว่ามันออกแนวทนถึก ไม่ใช่ทนทานเลยนะคับ

คือมันเสีย แต่ยัง"วิ่งได้"อยู่ แม้จะเสียงดัง สะดุด กระตุก อืด etc

ในขณะที่ฝั่งยุโรปรักษาสภาพเดิมได้ดีกว่า แต่เสียแล้วไปต่อไม่ได้

ยกตัวอย่างรถที่บ้านที่ 50,000 โล คันยุโรปสภาพเครื่องยนตร์ยังเหมือนตอน 10,000 โลมากกว่ารถญี่ปุ่น

ออฟไลน์ AkE

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,405
ถ้าดูแลดี ไม่ปล่อยให้ของเหลวต่างๆแห้งและอุปกรณ์ต่างๆไม่ใช่พังแล้วค่อยมาเปลี่ยน พอใกล้ถึงอายุที่ศูนย์กำหนดก้เปลี่ยนเลย ยังไงรุ่นไหนก้ทนคับเพียงแต่ว่า ยุโรป

แน่นอนจะใช้ cost สูงกว่าแน่นอนคับ เพราะระบบซับซ้อนกว่าและส่วนใหญ่ต้องนำเข้าคับ แต่ถ้าขับแบบไม่สนใจอะไรเลย ใส่เกียร์เหยียบคันเร่งเหยียบเบรคอย่างเดียว

จิงๆรถก้พังแหละคับเพียงแต่ว่า รถญี่ปุ่นมีระบบไฟฟ้าและกลไกที่ซับซ้อนน้อยกว่า อุปกรณ์น้อยกว่าก้เป็นไปได้ที่ยังวิ่งได้ต่อไปในขณะที่ยุโรปอาจจะพังคาถนน แต่กรณีนี้

อาจจะเป็นเฉพาะรถกระบะเก่าๆไม่ก้ รถ Taxi นะคับ ลองเป็น Camry Hybrid, Accord G9 ไรพวกนี้ที่มีระบบไฟฟ้าเยอะๆ ก้คงไม่ต่างกับยุโรปมากคับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2014, 12:03:53 โดย AkE »

ออฟไลน์ localgame

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,592
ถ้าวัดตามเทคโนโลยีที่เท่ากัน ผมว่าพอๆกันครับ อย่าง benz w124 หรือ w202 ที่วางเครื่อง m111  แบบไม่มีระบบอัดอากาศมา ถ้ารักษามาดีๆ

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนด ผมเห็นเจ้าของอู่ก็วิ่งมาเกิน 500,000โล โดยที่ไม่มีการโอเวอฮอลเครื่อง ถ้าเทียบกับอัลติสที่คนขับแท๊กซี่รักษาดีๆ ก็วิ่งทนถึกเหมือนกัน

แต่เดี๋ยวนี้ระบบไฟฟ้ามันเยอะขึ้น มีระบบอัดอากาศมาช่วย จะเอาไปเทียบกับรถญี่ปุ่นทั่วไป ความคงทนคงจะสู้ไม่ได้แน่ๆ ถ้าวัดเครื่องเทอโบของฝั่งยุโรปก็ต้องเทียบกับ

แคมรี่ไฮบริด หรือ รถที่มีเทอโบด้วยกัน เทอโบรถยุโรป หรือ รถญี่ปุ่น คงพังพร้อมๆกับแบตเตอรี่ของรถไฮบริดพร้อมๆกัน

ของแบบนี้อยู่ที่เทคโนโลยีใส่เยอะพังเยอะ

ออฟไลน์ raygun

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,051
.
.
.
ผมว่ามันเป็นของที่ไม่ควรเอามาเทียบกันตั้งแต่แรกอยู่แล้วครับ
ทำมาคนละจุดประสงค์กันเลย
เหมือนถามว่า iphone 5s กับ nokia 3310 อะไรทนกว่ากัน

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
เครื่องยนต์เปล่า ๆ ของ ยุโรป ทนกว่าญี่ปุ่นครับ

เครื่องรถยุโรปเอาวาล์วมาทำเหล็กนำศูนย์ได้  แต่รถญี่ปุ่นแค่ตอกทีเดียวก็บิ่นแล้ว

เคยเห็นใครพูดเรื่องรถยุโรปทำวาล์วเจี่ยบ่าวาวล์บนฝาสูบไหมล่ะครับ ? มีน้อยมาก ๆๆๆๆ ถ้าไม่ปล่อยน้ำแห้ง สายพาน โซ่ขาด แทบจะไม่ต้องยุ่งกับเสื้อสูบ ฝาสูบ และ วาล์วเลย

แต่รถญี่ปุ่นอย่างALTIS เจียบ่าวาล์ว แต่งวาล์วกันสนุก

ที่ทำให้รถยุโรปดูจะเปราะบางกว่าเพราะระบบระบายอากาศระบายความร้อนของเครื่องมันถูกเซ็ทมาที่สูงกว่าน่ะครับ วาล์วน้ำรถเบนซ์ 92 BMW MINI 105 แถมยังมีแผ่นเก็บความร้อนไม่ให้ความร้อนหายอีกทั้งบนล่างซ้ายขวา เน้นจะให้เครื่องร้อนสู้อากาศหนาว ๆ มากกว่าที่จะให้เครื่องเย็น ๆ โล่ง ๆ  แผ่นใต้ท้องเครื่องในคู่มืออะไหล่เขาเรียกว่า SNOWGUARD คือกันไม่ให้รถวิ่งถูกับหิมะใต้ท้อง เพราะถ้าน้ำมันเครื่องเย็นมากเครื่องจะทำงานหนัก

ออฟไลน์ Highway Star

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,934
ถ้่าดูกันที่เครื่องเปล่าๆ ผมว่าพอกันนะแล้วแต่แต่ละยี่ห้อจะเซตมา

Stroke8

  • บุคคลทั่วไป
ผมมองว่า เวลาจะวัดกันแบบนี้ อย่ามองเป็นชาติเดียวเทียบกับชาติเดียวเลยครับ รถยุโรปที่ทำมาทนถึกใช้งานได้ยาวนานมีอยู่มากมาย และ รถญี่ปุ่นที่เครื่องอย่างกับทำมาจากแก้วก็มีอยู่เยอะเหมือนกัน เอาแค่ยี่ห้อเดียวความแตกต่างของแต่ละรุ่นก็มากพอแล้วครับ อย่างฮอนด้า รถญี่ปุ่น ใครๆก็ว่ากันว่าเชื่อถือได้ ใช้งานไปได้เรื่อยๆ มีอยู่หลายรุ่นที่เกียร์ออโต้เปราะ แล้วคือมันเปราะครับ เปราะจริงๆ ไม่ได้พูดถึงซีวีทีหรืออะไรเลย เกียร์ออโต้ยุค 90 ฮอนด้าเป็นอะไรที่เปราะมาก รุ่น 4สูบไม่เท่าไหร่ รุ่น V6 นี่หลีกเลี่ยงได้เป็นดี

รถยนต์เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะซับซ้อนครับ มีความแตกต่างอยู่หลายอย่าง พอๆกับสิ่งมีชีวิตของโลกนั่นแหละครับ เสือดาวกับเสือจากัวร์เป็นเสือเหมือนกัน แต่ความแตกต่างมันเห็นได้ชัดและมีมากพอที่จะทำให้การศึกษาสิ่งมีชีวิตสองสิ่งนี้ ทำร่วมกันไม่ได้ โอเคครับ บางอย่างมันมีอะไรเหมือนกัน ... รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในมันก็ใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนเหมือนกันหมด แต่ว่า ซื้ออัลติสกับซื้อซีวิคมันเหมือนกันไหมครับ? คนยังเถียงกันแทบเป็นแทบตายว่าอะไรดีกว่ากัน แต่เอาเข้าจริงผมก็ว่ามันไม่ต่างกันเท่าไหร่หรอก แต่ผมรู้ว่าความแตกต่างของทั้งสองคันมันมีอะไรบ้าง แล้วไม่นำไปรวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วเป็นตัวแทนรถญี่ปุ่นทั้งหมด

มีการแข่งขันรถยนต์ในอเมริกาอยู่รายการหนึ่ง ชื่อว่า 24 Hours of Lemons เป็นการนำเอารถราคา $500 (ไม่รวมอุปกรณ์ความปลอดภัย ซึ่งเมื่อติดตั้งเข้าไปแล้วก็ $3500-$4000) มาแข่งขันกันในสนามแข่งเป็นเวลา... 18ชั่วโมงครับ มีบ้าง ที่แข่งกัน 24ชั่วโมงจริงๆ ผมมองว่ามันเป็นตัววัดความทนทานของรถยนต์ได้ดีครับ รถที่มีสถิติชนะรายการนี้บ่อย ทั้งหมดไม่ได้ชนะเพราะความเร็ว แต่ชนะเพราะว่าทีมแข่งไม่จำเป็นต้องเสียเวลาซ่อมอะไรมาก แล้วจากผลสำรวจที่ทางผู้จัดทำออกมา รถฮอนด้ากินปะเก็นกับก้านสูบเป็นขนม BMW E30 ที่ได้ยินกันว่าเชื่อถือได้ เอามาวิ่งจริงก็เจอปัญหาไฟฟ้ากันเยอะ ในขณะที่รถอย่างอัลฟ่า โรมีโอ อัลเฟตต้า รถที่ใครๆก็เห็นก็บอกว่า ไม่ทนหรอก เพราะมันเป็นอัลฟ่า โรมีโอ กลับอยู่ในลำดับต้นๆของรถที่ชนะรายการนี้บ่อย โอเคครับ อะไรเสียเมื่อไหร่ก็เตรียมตัวกลับบ้าน แต่อะไรเหล่านั้นมันเสียไม่บ่อยเลย แล้วนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากจะบอกครับ รถอัลฟ่าส่วนมากมันก็ไม่ทนจริงๆนั่นแหละ แต่ว่าอัลฟ่าเคยผลิตรถที่ทนทานใช้งานได้นานมากพอกับโตโยต้าที่เปราะบางนั่นแหละครับ (ไม่นับเวลาพอมีอะไรเสียแล้วต้องซ่อมนะครับ)

ของแบบนี้มันต้องไฝว้กันรุ่นต่อรุ่นครับ พูดกันรวมๆก็เหมือนเถียงกันเรื่องชนชาติไหนดีกว่าชนชาติไหน คนไทยก็ไม่เกี่ยวเหมือนเดิม

ออฟไลน์ swan

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 901
ถ้าพูดจากประสบการณ์ที่ผมทำงานกับเครื่องยนต์กลไก ทั้งจากฝั่งยุโรป-อเมริกา-ญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี มีทั้ง premium brand ย่าง Rolls-Royce และอื่นๆอีกมาก ถ้าพูดถึงคุณภาพวัสดุ ที่ใช้ผลิตเครื่องยนต์ ยุโรปดีกว่า ญี่ปุ่นครับ เค้ามีความพิถีพิถันในเรื่องส่วนผสม และการคัดสรรค์วัสดุที่ใช้ที่มากกว่า แต่ถ้าถามถึงความทนถึกผมว่ายุโรปและญี่ปุ่นยังเป็นรองอเมริกัน แต่ที่คนบ้านเราส่วนใหญ่คิดว่าเครื่องยุโรปไม่ทนเท่าญี่ปุ่นนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่ไม่ทน แต่เครื่องทางยุโรปมีความสลับซับซ้อนมากกว่า เลยมีโอกาศที่จะเกิดปัญหาได้มากกว่า ประกอบกับการออกแบบ ปรับแต่งเน้นพื้นฐานการใช้งานบ้านเค้าเป็นหลัก พอมาใช้งานบ้านเราเลยมักมีปัญหาเร็วกว่าปกติถึงแม้จะปรับแก้มาแล้วก็ตาม เพราะเป็นการปรับแก้ที่ปลายทาง มิได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้นทาง  แต่ฝั่งญี่ปุ่น เน้นที่ซ่อมง่าย ไม่ซับซ้อนมาก ใครๆก็ทำได้ ญี่ปุ่นเลยครองใจคนทั่วโลก และการที่ได้คุยกับผู้ผลิตหลายๆฝ่าย พอจะทราบได้ว่า วัฒนธรรมและทัศนะคติของแต่ละฝ่ายก็มีผลต่อความคงทน-ความจุกจิก ของเครื่องยนต์ของตนด้วยครับ

ออฟไลน์ nudragon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,871
  • MT Mania!!
ถ้าเอาราคาต้นทุนจริงๆมากางเทียบกับแบบชิ้นต่อชิ้น ยังไงของที่แพงกว่า ก็ต้องดีกว่า ทั้งในด้านวัสดุ เทคโนโลยี และเอ็นจิเนียริ่ง

แต่ถ้าเอารถที่ราคาต้นทุนเท่ากับมาเทียบกันทั้งทางฝั่งยุโรบและจากญุี่ปุ่น ผมว่ากินกันไม่ลงเท่าไหร่ในด้านวิศวกรรม ในปัจจุบันนี้ เพราะเครื่องยนต์มันก็ไม่ได้มีแค่ชิ้นส่วนเดียว จะเครื่องยุโรบหรือญี่ปุ่นก็อาจจะมีบางชิ้นส่วนที่ใช้ supplier เดียวกัน

แต่จะทนมากน้อยมันก็อยู่ที่ end user อย่างเราๆด้วย ถ้าตะบี้ตะบันใช้งาน จะแพงแค่ไหนมันก็พัง ถ้าซ่อมบำรุง ดูแลตามคู่มือที่โรงงานแนะนำทุกอย่างทุกรายการ

ไม่ว่ายี่ห้อไหนๆก็ทน แต่การจะซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลือง อันนั้นมันก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมามากน้อยแตกต่างกัน ก็ว่ากันไปแต่ละยี่ห้อไม่ว่าจะญี่ปุ่นหรือยุโรบ

สำหรับผมถ้ารถราคาเท่ากัน "ราคาตัวรถจริงๆไม่นับภาษี" อะไหล่สิ้นเปลือง ค่าบำรุงรักษาเท่ากัน ผมขอเลือกยี่ห้อยุโรบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2014, 14:06:37 โดย nudragon »

ออฟไลน์ dht_tubes

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,646
    • อีเมล์
ผมว่ามันขึ้นกับการบำรุงรักษาด้วยส่วนนึง และลักษณะการใช้งานด้วย ญาติผมบอกเรย์โนลด์ห่วย เพราะใช้ในกทม. เอาไปวิ่งตจว. วันนึง 50-60 โล ไม่เห็นเป็นไร

อีกส่วนคือมันมีความไฮเทคในตัวเองมากน้อยแค่ไหนด้วย ระบบไฟฟ้าเยอะๆ เซนเซอร์เยอะ เวลารวน ก็ทำให้เราเรียกว่ามันไม่ทนได้เหมือนกัน

แต่ถ้ามองแค่เชิงกลคือตัวเครื่องยนต์ กระบอกสูบ เสื้อ ฝา อะไรทำนองนี้

ผมว่าไม่ต่างกันเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าจะเทียบ ก็น่าจะตีวงให้แคบซักนิดนึงเช่น ดีเซล หรือ เบนซิน อะไรแบบนี้ด้วย

สรุปผมว่าพอกัน ยกเว้นที่ห่วยจริงๆ

ออฟไลน์ flybigbear

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,564
ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาครับ

ออฟไลน์ tommaris

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 561
    • อีเมล์
ยี่ปุ่นแนว เทคฯ น้อย เทคฯ บ้านๆ เสียหรือมีปัญหาก็ยังวิ่งได้
ยุโรปเทคเยอะ เวลาเสียจะออกอาการเยอะ ทุกอย่างเชื่อมกันหมด
แต่ผมให้ราคาทางยุโรปมากกว่า

แต่ก็ราคานั่นหล่ะเป็นตัวกำหนด ญี่ปุ่นจะทำแบบยุโรปก็มี ยุโรปจะทำแบบญีปุ่นก็ทำได้
ตัวแปรจริงๆ ก็อยู่ที่การบำรุงรักษา (รถยุโรปบางทีอะไหล่แพง ซึ่งจริงๆ ก็แพงตามรถ
แต่คนใช้บอกแพง บ้างก็ปล่อยป่ะละเลย บ้างก็ดัดแปลง บ้างก็ใช้อะไหล่เทียม อะไหล่เก่า
ค่าแรงแพง ก็ไปหาช่างบ้านๆ แก้หรือเปลี่ยน ซึ่งบางทีเกาไม่ถูกที่คัน เพราะไม่ชำนาญ หรือมั่ว)

อีกอย่าง "ช่างไทย" คุ้นมือรถญี่ปุ่น พอเจอแบบยุโรปมักจะบอกปัดไปว่า ซ่อมยาก จุกจิก
จริงๆ คือซ่อมไม่เป็น ไม่มีเครื่องมือ นั่นแหล่ะครับ