ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเราขับรถตามกฎจราจรเป๊ะ ๆ ก็เท่ากับ รถทุกคันต้องวิ่งช่องทางซ้ายสุดอย่างเดียว ?  (อ่าน 7629 ครั้ง)

ออฟไลน์ jkdragon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 178
ควรปฎิบัติตามกฎหมายครับ ถ้ายังอยู่ในเมืองไทย ใช้กฎหมายไทย ถึงแม้กฎหมายจะดูไม่เข้าท่า แต่จะทำให้สังคมอยู่ง่าย
แต่ถ้าเลือกที่จะไม่ปฎิบัติตามกฏหมาย ไม่ว่ากรณีจำเป็นใดๆ ก็ควรขับรถอย่างมีมารยาทไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
แต่ถ้าไม่เลือกปฏิบัติสักอย่างตามที่กล่าวมา คุณ"เป็นคนเห็นแก่ตัว"ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2017, 11:26:32 โดย jkdragon »

ออฟไลน์ bravo

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,470
    • อีเมล์
ตามทฤษฎี ใช่ครับ ขับช้าชิดซ้าย

ในรูปถ้าขับที่ความเร็วเท่ากันมันก็ควรจะเป็นเช่นนั้น

ถ้าจะแซง ค่อยออกมาแซงด้านขวา ถ้าแซงไปเรื่อยๆ มันก็จะมีแถวสอง

ที่ทำความเร็วมากกว่าทางซ้าย รถก็ใหลไปได้เรื่อยๆ

ประเด็นคือ

บางคนออกมา แช่ขวา แต่ไม่คิดจะแซงใคร บ่อยครั้งที่ทางซ้ายยังเร็วกว่า ก็มันโล่งดีนิ

เป็นที่มาของรถติดเป็นขบวน เพราะแค่คนบางคน


ตามนั้นครับ

ผมขับเส้นบางนา ผมวิ่งเลนซ้ายสุดบ่อยๆ ( ที่บางคนมักจะอ้างว่า หลุมเยอะ วิ่งไม่ได้ ) เพราะบางช่วงค่อนข้างจะโล่ง ทำความเร็วได้มากกว่าเลนขวาสุดซะอีกครับ

ออฟไลน์ CMT1912

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
รถวิ่งขวาผิดไหม

วิ่งขวา ได้ไงครับพี่…… เป็นคำถามที่ผมถูกถามภายหลังจากที่ผมถูกตำรวจเรียกจอด ผมจึงตอบไปว่า.. วิ่งขวา ก็ตีไฟเลี้ยว มองปลอดภัยแล้วหักออกขวาครับ แค่นี้ก็ออก วิ่งขวาได้แล้ว… ตำรวจนายนั้นยังบอกต่อว่า เค้าห้ามออกขวานะครับพี่…. ผมเลยถามกลับว่า..ใครห้ามหรอครับ…พอบทสนทนานี้จบไป ผมจึงได้มีคำอธิบายด้วยหลักกฎหมายให้นายตำรวจท่านนั้นฟังฟัง…ได้รับคำตอบว่าเอ็งหัวหมอนะเนี้ย.. ผมจึงตอบไปว่า..ผมไม่ได้หัวหมอ..หัวผม คือหัวของทนายความครับ แล้วอยากรู้ไหมครับว่า ผมเล่าอะไรให้เค้าฟัง ….

ถ้าจะพูดถึงการ วิ่งขวา ในความหมายของกฎจราจรเป็นแบบนี้ครับน่าจะมีอยู่ไม่กี่มาตรา ตาม พรบ. จราจร โดยหลักๆ อยู่ 4-5 มาตราครับ จะขออธิบายเป็นส่วนๆ เป็นลำดับๆ อาจยาวนิดนึงแต่จะมีประโยชน์กับผู้อ่าน ถ้าผู้อ่านสามารถดู พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 มาตรา 33 , 34 , 35 , 44 และ 45 ประกอบไปด้วย ก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ

 

อันดับแรกให้เรามองถึงสภาพความเป็นจริงก่อน คือ รถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนบ้านเรานั้น เป็นรถพวงมาลัยขวา คราวนี้มาลองนึกสภาพถนนที่เป็นขาขึ้น-ขาล่อง คือรถวิ่งสวนทางกัน เวลารถคันหน้าช้ากว่าที่เราขับอยู่ เมื่อเราจะแซงโดยหลักแล้วเราจะแซงทางด้านขวาถูกต้องมั้ยครับ เพราะการมองเห็นหรือทัศนวิสัยย่อมต้องดีกว่าการจะออกไปแซงทางด้านซ้าย (ถ้าเป็นรถพวงมาลัยซ้ายก็จะตรงข้ามกัน) แต่ขณะเดียวกันถ้าหากให้รถพวงมาลัยขวา แต่ไปวิ่งชิดด้านขวาเหมือนต่างประเทศ เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการแซงรถคันหน้า ถ้าต้องออกมาแซงทางด้านซ้ายก็จะทำได้ลำบากครับ เพราะเราจะมองเห็นรถที่สวนมาได้ยาก อันนี้เป็นหลักสากล และกฎจราจรที่ออกมาจะไม่ฝืนธรรมชาติกับความเป็นจริงครับ
คราวนี้มาถึง มาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด(อันนี้ส่วนมากต่างจังหวัดไม่มี) ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ถนนลักษณะนี้ คือ ทางหลวงทั่วๆ ไป เช่น พหลโยธิน สุขุมวิท เพชรเกษม หรือเส้นอื่นๆ ที่มีช่องเดินรถทั้งฝั่งขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละอย่างน้อย 2 เลนขึ้นไป อาจเป็น 3 เลนขึ้นไปก็ได้ครับในบางช่วง อันนี้โดยหลักคือ ต้องขับในเลนซ้ายก่อนครับ ยกเว้นกรณี (1)-(5) ที่กฎหมายอนุญาตให้วิ่งในเลนขวาได้ สรุปคือ
(1) ในเลนซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิด
(2) ถนนเส้นนี้เป็นทางเดินรถทางเดียว(One Way) เดี๋ยวขออธิบายที่หลังครับ
(3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อถึงทางแยก
(4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น
(5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ

กรณีที่มักเกิดปัญหาก็คือ ข้อ (4) กับ (5)
เริ่มด้วยข้อ (4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก ผู้ขับขี่ก็จะต้องกลับเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนเดิมครับ ตามมาตรา 34 ที่อธิบายข้างต้น
คราวนี้มาข้อ (5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และยังมีรถทางด้านซ้ายที่วิ่งช้ากว่าเราอยู่ ผู้ขับขี่สามารถขับแซงในเลนขวาต่อเนื่องได้ครับ จนกว่าจะไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก จากนั้นก็จะต้องเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนกันครับ

คราวนี้มามาตรา 35 ที่บอกว่า “รถที่วิ่งช้า หรือความเร็วต่ำกว่า รถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะทำได้” อันนี้ความหมายค่อนข้างชัดเจนว่ารถช้ากว่าต้องวิ่งทางซ้ายครับ
ต่อมาคือ รถบรรทุก รถโดยสาร จยย. ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือถนนที่อธิบายไว้ในมาตรา 34 ช่วงแรกครับ เช่น สุขุมวิท รถ 3 ประเภทนี้ต้องขับรถในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ตรงนี้คือบังคับเลยครับ
ส่วนข้อยกเว้นว่า “ความในวรรคสองไม่ให้ใช้บังคับกับรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน หนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม(ปิคอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถตู้) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” นั้น ให้พวกเราคิดแบบนี้ครับ
ให้ลองสมมติสภาพถนนที่มีขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละ 3 เลน แล้วเป็นสภาพที่ถนนโล่งๆ ที่มีรถวิ่งอยู่ไม่กี่คัน คราวนี้ทั้งรถบรรทุก รถโดยสาร จยย. รถทั้ง 3 ประเภทนี้ที่วิ่งอยู่บนถนน ก็ยังคงต้องวิ่งในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปวิ่งในเลนกลางได้แม้สภาพถนนจะโล่งก็ตาม ไม่ต้องไปคิดถึงเลนขวาสุดครับ แต่ถามว่าแล้วรถบรรทุกสามารถแซงรถคันหน้าที่ช้ากว่าได้ไหม คำตอบคือแซงได้ครับ แต่แซงแล้วต้องรีบกลับเข้าเลนซ้ายทันที แต่ไม่สามารถวิ่งตลอดอยู่ในเลนกลางได้
แต่ในขณะเดียวกัน รถเก๋ง รถปิคอัพ ที่วิ่งอยู่บนถนนในขณะนั้น จะสามารถมาวิ่งตลอดในเลนกลางได้ครับ เพราะเข้าข้อยกเว้นข้างต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม รถเก๋ง ปิคอัพ ก็ไม่สามารถไปวิ่งตลอดในเลนขวาสุดได้อยู่ดี เพราะก็ต้องย้อนกลับไปปฏิบัติตามมาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ดังนั้นที่บอกว่ารถเก๋ง กับปิคอัพวิ่งขวาได้ จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ
เมื่อกี้สมมติเป็นถนน 3 เลน คราวนี้ลองลดถนนมาเหลือฝั่งละ 2 เลนดูครับ รถบรรทุกไม่ต้องพูดถึงครับ ต้องวิ่งเลนซ้ายเท่านั้น ไม่สามารถออกมาวิ่งเลนขวาได้ ยกเว้นแซงรถคันหน้า เสร็จแล้วก็ต้องเข้าซ้าย ส่วนรถเก๋ง กับปิคอัพ หลักก็คือต้องปฏิบัติตามมาตรา 34 เป็นอันดับแรกก่อนครับ ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด”

คราวนี้เรามาดูเรื่องการแซงบ้าง การแซงอยู่ในมาตรา 44 และ 45 โดยมีหลักปฏิบัติ คือ ต้องให้สัญญาณก่อน และดูแล้วต้องปลอดภัย และที่สำคัญกำหนดไว้ว่า “การแซงต้องแซงด้านขวา และเมื่อเห็นว่าได้ขับแซงผ่านรถที่ถูกแซงไปได้แล้ว จึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้”
และมาตรา 45 มีหลักคือ ห้ามแซงรถอื่นด้านซ้าย ยกเว้น
(1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
(2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือ ถนนเหมือนที่อธิบายในมาตรา 34 ข้างต้นครับ และจะทำตามข้อยกเว้นนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเห็นว่ามีความปลอดภัยพอ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายจริงๆ แล้ว คือเมื่อต้องการจะแซง ให้ทำการแซงทางด้านขวา เพราะมีความปลอดภัยกว่าอย่างชัดเจน ยกเว้นว่ามีรถที่จะรอเลี้ยวขวา หรือถนนเส้นนั้นมีหลายเลนจึงให้แซงทางซ้ายได้ตามข้อยกเว้น
รถที่แซงซ้ายแบบนี้จึงไม่ผิดครับเข้าข้อยกเว้น แต่ในขณะเดียวกันรถคันหน้าที่วิ่งอยู่เลนขวา แล้วไม่ยอมหลบให้รถที่วิ่งเร็วกว่าแซงทางด้านขวา รถที่วิ่งเลนขวานั้นก็คือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมาตรา 34 ตามที่อธิบายมาข้างต้นครับ และเป็นการขับขี่รถในลักษณะกีดขวางการจราจรตามมาตรา 43(3) ด้วย คิดง่ายๆ ครับ ขับช้ากว่าชาวบ้านแต่ไม่ยอมหลบให้เขาแซง คือ กีดขวางครับ ถูกต้องมั้ยครับ
เอาละ กฎหมายไม่กี่มาตราเท่านั้นตีความได้มากมาย แต่ก็เห็นถูกตำรวจเรียกกันอยู่เรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องคำนึงถึงการใช้รถอย่างปลอดภัยและมีน้ำใจแบ่งปันบนท้องถนนเป็นหลักการจะวิ่งขวา ผมยังคงยืนยันว่าวิ่งขวา ได้ ตราบที่เรายังไม่กีดขวางการจราจรคนอื่น เพราะกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างแคบ ดังนั้นถ้าการออกขวาของเราเป็นไปในลักษณะกีดขวางการจราจร ผมว่า อย่างนี้มีความผิดนะครับ  เราช้ากว่าก็หลบให้เค้าสักหน่อย แต่ถ้าเราเร็ว ไม่กีดขวางการจราจร ผมว่าก็สามารถวิ่งขวาได้เพียงแต่เราต้องเร็วเพียงพอจะไม่กีดขวางการจราจร เพราุะถือว่าเราแซงตลอดเวลา แต่ถ้าเร็วไม่พอ ก็น่าจะให้คนที่เค้ามีความเร็วกว่า วิ่งไปก่อนนะครับ….

 

มีน้ำใจ ปลอดภัย ใช้ถนน ครับ

Cr: http://www.tmlthailand.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2/

ออฟไลน์ Dark Overlord

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,803
  • Hail to the darkside
^
^
ผมว่าทนายจากลิงค์ที่ให้มาตีความกฏหมายแบบตามตัวอักษรมากครับ
ถามว่าผิดหรือถูกเราก็ไม่รู้ เพราะเรื่องที่ทนายเข้าใจมันก็ต้องไปให้ศาลฟันธงอีกทีนึงว่าที่ทนาย
เข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็พอฟังเป็นไกด์ไลน์ได้ครับ

"แต่อ่านแล้วก็นึกในใจว่า จริงหรือ? เรื่องที่แซงขวายาวๆ ได้
ยาวแค่ไหนก็ได้ หากวิ่งเลนขวาได้เร็วกว่าเลนซ้าย รถชิดเลนขวาที่ขวางทางอยู่ข้างหน้า
ถ้าช้ากว่า ให้หลบรถที่กำลังมาจากข้างหลังที่ขับเร็วกว่า"

ผมคิดว่าตำรวจน่าจะรู้ดีที่สุด ว่าประโยคพวกนี้ถูกต้องในความเป็นจริงมั้ย
เพราะมันประกอบกันหลายมาตรา และในความเป็นจริงการขับแบบเว้นเลนขวา
เป็นเลนว่างไว้ให้แซง ไม่อาจแช่ยาวได้ ปลอดภัยและทำให้การจราจรคล่องตัวกว่า
ตามที่ ตร. เคยออกมาพูดรณรงค์เอาไว้

เวลาอ่านข้อมูลหรือข่าวใดๆ บางทีเราต้องนึกในใจว่า จริงหรือ ด้วยครับ
เพื่อที่เราจะได้นำไปคิดต่อและหาข้อมูลต่อว่าถูกต้องจริงหรือไม่
การชิดขวาโดยคิดว่าสามารถแซงยาวได้ ในทางปฎิบัติจริงนั้นทำไม่ได้
เพราะมีผลเสียดังนี้
1 คันที่แซงขวายาว อาจเป็นรถกีดขวางรถข้างหลัง หรือรถที่กำลังจะแซงมาจากทางซ้าย
2 หากจะแซงขวายาว รถทางขวาก็พยายามเหยียบไปให้เร็วที่สุด กลายเป็นแข่งกันขับเร็วในช่องขวาสุด
อาจแข่งกันยาวเป็นกิโลๆ รถทางซ้ายที่อยากจะแซงคันข้างหน้า จะใช้เลนแซงทางขวาสุดก็ไม่อาจทำได้
3 รถทางขวาที่ต่อๆ กันเพื่อให้รถข้างหน้าที่ช้ากว่าหลบซ้ายให้ หลายๆ คันทำแบบนี้ เสียเวลารวมๆ กัน ทำให้
ช่องทางขวาสุดติดขัด ไม่สามารถใช้การเป็นเลนแซงได้ตามที่กฎหมายตั้งใจ

เมื่ออ่านการตีความของทนาย แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ต่อ ผมเห็นว่าไม่มีความสมเหตุผล
และเป็นการตีความหมายตามตัวอักษรมากไปโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงครับ
ถ้ายังไงลองเอาเหตุผลของผมไปร่วมวิเคราะห์ด้วยก็แล้วกันนะครับ