Headlight Magazine : community
General => Discussion Forum => ข้อความที่เริ่มโดย: a601970 ที่ กุมภาพันธ์ 09, 2024, 22:31:22
-
เพื่อป้องกันไม่ให้เศษผงสายพานอุดตันภายในเครื่องยนต์
ขอขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าครับ
:D
-
ทำเฟืองแคมใหม่+น่าจะต้องเปลี่ยนแคมทั้งสองฝั่งพร้อมหัว ivtec เปลี่ยนตัวดันสายพานเป็นตัวดันโซ่ พร้อมรางโซ่
เปลี่ยนเฟืองไทมมิ่ง
สรุปเปลี่ยนเครื่องง่ายกว่าครับ
ข้อดีของสายพานคือ เสียงเงียบ ปัญหาเรื่อง clearance ของโซ่ที่นานวันจะยืด รางโซ่กรอบแตกตามอายุ+ความร้อน
ข้อเสีย มันดันมาอยู่ในเครื่องฉีดตรงเนี่ยแหละครับ
-
เอาตามเทคนิค คงทำได้แต่คงไม่ง่ายและหมดเยอะ .. ดังนั้น เอางบที่จะทำไปเปิดอ่างล้างเอาคงดีกว่า
และอีกอย่าง เค้าออกแบบมาแบบนี้ ก่อนนี้ใครๆก็ว่า ขับเดิมไม่พัง แต่ตอนนี้รถเดิมพังกันเพียบเลย (ยังไม่รวมเกียร์)
ดังนั้น หมดวารันตีแล้วก็หมั่นดูแลครับเสียน้อย ยังดีกว่าโบพังยกลูก แต่อะไหล่เค้าหาง่ายซ่อมถูกอยู่หรอกมั้ง (เค้าว่าต่อๆกันมา)
-
ผมว่าแทนที่จะโมดิฟายทั้งเครื่อง เพื่อเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง
วิ่งเครื่อง 1.0 เดิมๆไปจนพัง แล้วถอดวาง L15 เลยน่าจะง่ายกว่าและถูกกว่านะครับ
-
ตามความเห็นที่สองครับ ทำยาก เปลี่ยนเครื่องง่ายกว่า
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ผมคิดจะทดลองทำเครื่อง6-8 จังหวะ โดยเพิ่มจังหวะฟรี(ดูดไอเสียกลับ โดยไม่ปล่อยไอดีเข้าไป อีก 2 จังหวะ) แต่ต้องแก้จังหวะเปิดปิดไอดี -ไอเสีย โดยกลึงใหม่ ยากมาก ต้องใช้เงินเยอะ และผลอาจจะไม่ประหยัดอย่างที่คิด เลยล้มความคิดที่จะทดลอง ครับ
-
ผมกลับสงสัยว่า คนที่ออกแบบเค้าไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลยเหรอครับ
-
ผมกลับสงสัยว่า คนที่ออกแบบเค้าไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลยเหรอครับ
คิดแน่นอนครับ แต่อย่าลืมว่า objective function ของบริษัทรถไม่ใช่ทำรถที่ทนที่สุดอย่างเดียว (และผมไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะตั้งใจทำเพื่อลดต้นทุนอย่างเดียวด้วยนะครับ)
-
ต้องการให้เบา ลดแรงเสียดทาน
เพื่อให้ผ่านมาตรฐานไอเสีย
แต่เป็นจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ดันเข้าถึงยาก (ยกเครื่องออก ใช้เวลา 2 วัน)
สายพานเสื่อมจากการปนเปื้อนของเชื้อเพลิงในน้ำมันเครื่อง
และน้ำมันเครื่องที่ค่า tbn ไม่มากพอต้านกรดจากการเสื่อม
นี่ยังไม่รวมเรื่องความร้อนสูง และระบบระบายอีก
ประกัน 3 ปี ก็คิดมาดีแล้ว
ที่เหลือก็เรื่องของเจ้าของครับ
ฮอนด้าเขาทำการค้า ไม่ได้เป็นมูลนิธิ
-
ผมกลับสงสัยว่า คนที่ออกแบบเค้าไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลยเหรอครับ
คิดสิครับ แต่เค้าคิดคนละแบบกับเรา
เป้าหมายเค้าคือ แรง ประหยัด ซึ่งนั่นเป็นจุดขายของเครื่องยนต์ตัวนี้ และที่สำคัญ 3 ปีในวารันตีต้องไม่พัง และวิศวะกรเค้าก็เก่งจริงๆ คือ 3 ปีไม่พังตามเงื่อนไข แต่พอพ้น 3 ปีแม้รถจะวิ่งเพียงแค่ 6หมื่นโลก็พังให้เห็นมาแล้ว
ดังนั้น ระดับนี้เค้าคิดมาออกแบบมาตามโจทย์เค้าแล้วครับ ที่เหลือหลังระยะวารันตีคือเรื่องของผู้ใช้รถแล้ว
-
เหอๆ ถ้าผมจะซื้อรถซักคัน แล้วเครื่องยนต์มันออกแบบมาให้ใช้ได้แค่ 3 ปี คงขอบายครับ :-X :-X :-X
-
ต้องการให้เบา ลดแรงเสียดทาน
เพื่อให้ผ่านมาตรฐานไอเสีย
แต่เป็นจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ดันเข้าถึงยาก (ยกเครื่องออก ใช้เวลา 2 วัน)
สายพานเสื่อมจากการปนเปื้อนของเชื้อเพลิงในน้ำมันเครื่อง
และน้ำมันเครื่องที่ค่า tbn ไม่มากพอต้านกรดจากการเสื่อม
นี่ยังไม่รวมเรื่องความร้อนสูง และระบบระบายอีก
ประกัน 3 ปี ก็คิดมาดีแล้ว
ที่เหลือก็เรื่องของเจ้าของครับ
ฮอนด้าเขาทำการค้า ไม่ได้เป็นมูลนิธิ
ตอนแรกว่าจะแนะนำ ให้เป็น เปลี่ยนสายพานเร็วกว่ากำหนดเอา เจอเปลี่ยนสายพานต้องยกเครื่องออก ไปต่อไม่เป็นเลยผม 55
-
มันน่าจะมี after market ที่ทำมาถึกทนกว่ามั้ยครับ ???
-
ปัญหาคือสายพานมันเปลื่อยแล้วมันไปตันฝักบัว ต่อให้เปลี่ยนสายพานเร็สมันก็ปลายเหตุยังไงมันก็มีเศษที่เปลื่อยหลุดไปแล้ว
สิ่งที่ฮอนด้าควรทำอย่างน้อยตอนนี้คือหา solution ในการล้างเศษพวกนี้ออกจากระบบดีกว่า หาวิธีถอดอ่างน้ำมันเครื่องเอาพวกฝักบัวมาล้างได้ง่ายๆและในราคาที่ไม่แพงให้หใือนเปลี่ยนกรองน้ำเครื่อง หรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์
ผมคิดว่าไปแก้สายพานเป็นโซ่ในเครื่องบล๊อกนี้คงไม่ทันแล้วล่ะ
ส่วนอีกเรื่องที่คาใจคือเครื่องนี้มันอยู่ใน civic fc hrv ยุโรปมาตั้งหลายปีไม่มีปัญหานี้กันเลยเหรอ
-
ต้องการให้เบา ลดแรงเสียดทาน
เพื่อให้ผ่านมาตรฐานไอเสีย
แต่เป็นจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ดันเข้าถึงยาก (ยกเครื่องออก ใช้เวลา 2 วัน)
สายพานเสื่อมจากการปนเปื้อนของเชื้อเพลิงในน้ำมันเครื่อง
และน้ำมันเครื่องที่ค่า tbn ไม่มากพอต้านกรดจากการเสื่อม
นี่ยังไม่รวมเรื่องความร้อนสูง และระบบระบายอีก
ประกัน 3 ปี ก็คิดมาดีแล้ว
ที่เหลือก็เรื่องของเจ้าของครับ
ฮอนด้าเขาทำการค้า ไม่ได้เป็นมูลนิธิ
ตอนแรกว่าจะแนะนำ ให้เป็น เปลี่ยนสายพานเร็วกว่ากำหนดเอา เจอเปลี่ยนสายพานต้องยกเครื่องออก ไปต่อไม่เป็นเลยผม 55
ในเมื่อวิศวกรรู้ว่าเครื่องมันได้เปลี่ยนสายพานบ่อยแน่ๆ ทำไมไม่ทำให้มันเปลี่ยนง่ายๆ ยกเครื่องนี่เรื่องใหญ่มากแล้วถ้าทุกคันต้องยกเครื่องนี่บรรเทิงศูนย์ฯเลย ผมว่าคนใบ้ฮอรด้าไม่เกี่ยวหรอกเปลี่ยนอะไรบ่อย แต่ขอให้เปลี่ยนแล้วมันอยู่ได้นานๆเค้าก็เต็มใจ
-
พอเป็นยี่ห้อยอดนิยมมีสิทธิเอาเปรียบได้เลย…. :( ถึงว่าทำไมคนมากมายถึงชอบพูดกันว่า ”ถ้าเป็นยี่ห้อxyzล่ะก็….” มาสด้าที่ว่าน้ำดันโดนรุมกระทืบเละเทะไม่มีอะไรเหลือคันที่ใช้ไป2-3แสนกิโลแต่ไม่ดันก็มี ทางแก้ไขมี…..แต่กับซิตี้ที่60000กิโลยังพังได้และไม่มีหนทางแก้ไขได้กลับไ้ด้รับการเข้าข้างว่าไม่ใช่มูลนิธิ…ทั้งปัญหาสายพาน ทั้งปัญหาสนิม ทั้งปัญหาปั๊มabs ทั้งปัญหาแร็คพวงมาลัย ไม่แปลกใจทำไมฮอนด้าถึงกล้าเอาอะไหล่ไม่มีคุณภาพแบบนี้มาใส่ขาย :'(
-
ปัญหาคือสายพานมันเปลื่อยแล้วมันไปตันฝักบัว ต่อให้เปลี่ยนสายพานเร็สมันก็ปลายเหตุยังไงมันก็มีเศษที่เปลื่อยหลุดไปแล้ว
สิ่งที่ฮอนด้าควรทำอย่างน้อยตอนนี้คือหา solution ในการล้างเศษพวกนี้ออกจากระบบดีกว่า หาวิธีถอดอ่างน้ำมันเครื่องเอาพวกฝักบัวมาล้างได้ง่ายๆและในราคาที่ไม่แพงให้หใือนเปลี่ยนกรองน้ำเครื่อง หรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์
ผมคิดว่าไปแก้สายพานเป็นโซ่ในเครื่องบล๊อกนี้คงไม่ทันแล้วล่ะ
ส่วนอีกเรื่องที่คาใจคือเครื่องนี้มันอยู่ใน civic fc hrv ยุโรปมาตั้งหลายปีไม่มีปัญหานี้กันเลยเหรอ
มีครับ 1.0T นี่มีแน่ๆครับ เป็น common problems กันเลย แต่ตัว 1.5T ไม่ค่อยเห็นในบอร์ด ส่วนใหญ่จะถูกตีความว่าเป็น Turbo fail แต่บ้านเราเครื่องพังกันเลย
https://www.hondacivicforum.co.uk/threads/honda-civic-1-0-turbo-failure.85758/
https://www.civicx.com/forum/threads/turbo-failure-civic-2018-1-0t-manual.66781/
บอร์ดฝรั่งต้องเสพอย่างมีสติครับ บางทีไปคุยเรื่องรถ แต่ไปแขวะเรื่องอื่นประจำ
ที่ตามเพราะจะไปตัดหัวเอาเกียร์ธรรมดามาขายเนี่ยแหละครับ
-
ความสั่นของสายพานกับโซ่มันต่างกันเยอะครับ
เชื่อว่าถ้าเปลี่ยนแบบที่คิดจริงๆ เจอปัญหาตามมาเยอะแน่นอน
1.0T สายพาน ไม่ต้องไปควานหาของ After market หรอกครับ วัสดุศาสตร์พวกนี้จากโรงงานเทพสุดละครับ
ป.ล. ขำบางยูส ตอนเครื่อง1.0เฟียตต้า ก็ใส่ยับปัญหาสายพานเนี่ยละ พอเป็นฮอนด้าอวยซะเทพ แถมซื้อมาใช้อีกเข้าใจโลกเฉย
-
ควรเปลี่ยนเป็นแบบโซ่ดีกว่า ถ้าสายพานมันอยู่ในน้ำมันเครื่อง
-
พอเป็นยี่ห้อยอดนิยมมีสิทธิเอาเปรียบได้เลย…. :( ถึงว่าทำไมคนมากมายถึงชอบพูดกันว่า ”ถ้าเป็นยี่ห้อxyzล่ะก็….” มาสด้าที่ว่าน้ำดันโดนรุมกระทืบเละเทะไม่มีอะไรเหลือคันที่ใช้ไป2-3แสนกิโลแต่ไม่ดันก็มี ทางแก้ไขมี…..แต่กับซิตี้ที่60000กิโลยังพังได้และไม่มีหนทางแก้ไขได้กลับไ้ด้รับการเข้าข้างว่าไม่ใช่มูลนิธิ…ทั้งปัญหาสายพาน ทั้งปัญหาสนิม ทั้งปัญหาปั๊มabs ทั้งปัญหาแร็คพวงมาลัย ไม่แปลกใจทำไมฮอนด้าถึงกล้าเอาอะไหล่ไม่มีคุณภาพแบบนี้มาใส่ขาย :'(
ผมว่าเค้าน่าจะประชดนะครับ แต่เห็นด้วยว่านี่เรื่องใหญ่มากแต่กลับเงียบกว่าที่คิด เพจรถมีปัญหาก็เล่นเรื่องนี้น้อยมาก มัวแต่ไปเล่นเรื่องสนิมเรื่องรอยเชื่อมอะไรก็ไม่รู้
-
ป.ล. ขำบางยูส ตอนเครื่อง1.0เฟียตต้า ก็ใส่ยับปัญหาสายพานเนี่ยละ พอเป็นฮอนด้าอวยซะเทพ แถมซื้อมาใช้อีกเข้าใจโลกเฉย
....คนเดียวกับที่ผมเข้าใจไหมเนี่ย ยี่ห้ออื่นมีปัญหาใส่ยับ ยี่ห้อตัวเองบอกเบาๆ...ปกติรถมีปัญหามาทุกกระทู้ แต่กระทู้นี้ไม่แวะเข้ามาแฮะ
-
เครื่อง 1.0 ลิตร เทอร์โบ ต้องเอาใจใส่ดูแล เป็นพิเศษ
https://youtu.be/pyk6Xndfhec?si=om9GzWEkccQxMlVt
เครื่อง 3 สูบ 1.0 L ตัวนี้ เขาตั้งใจจะพัฒนามาใช้แทน เครื่อง 1.8 และเครื่อง 1.5 DI
โดยเครื่อง 1.8 ก็คือ เครื่อง R18 ที่อยู่ใน Civic ที่มีแรงม้าอยู่แถวๆ 140-141 PS
ส่วนเครื่อง 1.5 DI ก็คือ เครื่อง L15B ที่อยู่ใน Fit ตัวญี่ปุ่น ที่มีแรงม้าอยู่ที่ 132 PS
ซึ่งเครื่อง 2 ตัวนี้ จะแรงกว่าเครื่อง L15 ที่อยู่ใน City Jazz บ้านเรา
โดยเครื่อง P10A จะเป็นเครื่อง DI Turbo
มีระบบแปรผันวาล์วแบบ VTC ทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย
และที่สำคัญก็คือ มี VTEC จริงๆ อยู่ที่ฝั่งไอดี
โดยมีแรงม้าอยูที่ 129 PS และแรงบิด 200 Nm
ระบบ VTEC กลับไปใช้แบบ 3 ลูกเบี้ยว สลับ Low - High แบบอดีตกาล ซึ่งไม่ได้บอกว่า Low Lift Cam 2 วง นั้นมี Profile Cam เท่ากันหรือเปล่า
ตัว Turbo ก็พื้นๆไม่มีอะไร ใช้ Waste Gate ไฟฟ้า ตามสมัยนิยม
สำหรับ P10A version ดั้งเดิม จะใช้ Turbo ของ Borg Warner
ซึ่งไม่รู้ว่าใน City ตัวไทย จะใช้ Turbo ของเจ้านี้ แล้วสเปคนี้หรือเปล่า
เพราะอย่าง Civic กับ Accord ที่หลายคนคิดว่าเครื่องเหมือนๆกัน ตัว Turbo ที่ใช้ก็คนละรุ่นกัน
เนื่องจากเครื่อง P10A เป็นเครื่อง 3 สูบ โดยตามธรรมชาติของเครื่อง 3 สูบ เป็นเครื่องที่ไม่มีความสมดุล
ผลของความไม่สมดุลก็คือ การสั่นของเครื่อง
โดยทั่วไปถ้าจะปรับเครื่อง 3 สูบ ให้กลับมาสมดุล ก็จะต้องใส่ Balance Shaft เข้าไป
แต่การใส่ Balance Shaft เข้าไป ผลก็คือทำให้กินแรง กินน้ำมันมากขึ้น
ดังนั้นพวกเครื่อง 3 สูบ ที่เน้นเรื่องความประหยัดทั้งหลาย ก็จะไม่ใส่ Balance Shaft กันหรอก
แต่จะไปหาวิธีแก้อย่างอื่นกันแทน ซึ่งได้เรื่องมากน้อยก็ตามฝีมือและก็ต้นทุน
สำหรับเครื่อง P10A ตัวนี้ ก็ไม่ใส่ Balance Shaft มาเหมือนกัน
แต่เขาไปแก้โดยการปรับปรุงที่เพลาข้อเหวี่ยงแทน
โดย Honda เขาคุยว่าผลที่ได้จะออกมาดีกว่าของเจ้าอื่น
ซึ่งอันนี้ก็ต้องไปเทียบกันเองว่าจริงแท้แค่ไหน
-
เครื่อง 1.0 ลิตร เทอร์โบ ต้องเอาใจใส่ดูแล เป็นพิเศษ
https://youtu.be/pyk6Xndfhec?si=om9GzWEkccQxMlVt
ฝากแปะลิงค์ให้ครับ เพราะคลิปไม่โชว์
คันในคลิบ ถ้าฟังตั้งแต่ตันคันนี้อายุ 3 ปี แต่วิ่งแค่ 5หมื่นโล พังแล้ว ส่วนคัน 6หมื่นโลที่พัง เป็นผู้ใช้ใน กทม ผู้หญิงใช้ และเป็นเหตุการล่าสุดจากในกลุ่ม city เอง
ป.ล.ผมไม่ได้พยายามจะบูลลี่ผู้ใช้ city หรือคนที่ชื่นชอบ honda นะ เพียงแต่ถ้าใครยังไม่พังก็ถือเป็นการช่วยบอกเล่าให้ระวัง หมั่นตรวจเช็คดูแล อย่าคิดว่าไม่ถึง1แสนโล ไม่พังหรอก ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่
https://www.youtube.com/watch?v=pyk6Xndfhec
-
มีคนเจอปัญหาฟักบัวตัน เนื่องจากสายพานเปื่อย แล้วมาเตือน สมาชิกในกลุ่ม 1.0 Terbo ก็โดนบางส่วนว่าบ้างละว่าอย่าเก่งกว่าวิศวกรออกแบบ ใช้มาตั้งนานยังไม่ตันเลย ตอนนี้นอกจากสนิม ก็ข้อต่อทางเข้าหม้อน้ำหัก จนต้องทำเป็นทองเหลืองมาใส่กันแทน
-
ยี่ห้อเทพ สาวกเยอะ แถมยังไม่ยอมรับความจริงว่ามันลดต้นทุนจนห่วยขนาดไหน มันถึงขายแบบลดต้นทุนได้เรื่อยๆก็เพราะพวกสาวกนี่แหล่ะ 8)
-
timing belts are located inside the engine, so the belt noise
is reduced and engine friction is also reduced by 1.8%
compared to a conventional timing chain. Timing belt
materials were developed with specifications that provide
sufficient durability for use in the oil system environment.
Figure 14 shows the timing belt construction, and Table
2 compares the material specifications with those of a
conventional timing belt in air
สายพานราวลิ้นจะอยู่ภายในเครื่องยนต์ ดังนั้น สายพานจึงมีเสียงดัง
ลดลงและแรงเสียดทานของเครื่องยนต์ลดลง 1.8%
เมื่อเทียบกับโซ่ไทม์มิ่งทั่วไป สายพานไทม์มิ่ง
วัสดุได้รับการพัฒนาด้วยข้อกำหนดที่ให้
ความทนทานเพียงพอสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมของระบบน้ำมัน
รูปที่ 14 แสดงโครงสร้างสายพานราวลิ้น
และตาราง2 เปรียบเทียบข้อกำหนดวัสดุกับข้อกำหนดของ
สายพานราวลิ้นธรรมดาในอากาศ
/แปลโดยGoogle
คุ้มใหมเนี่ย 1.8%
(https://img2.pic.in.th/pic/346073132_3400269870235624_7990218196940254120_n.jpeg)
-
ไม่ทราบว่าเครื่อง 1.0 turbo ของนิสสันอัลมีร่า ใช้หลักการเดียวกันมั้ยครับ
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องยนต์เลยครับ
-
สอบถามเพิ่มเติม มันเป็น defect เฉพาะบางคัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องเจอแน่ๆ ครับ
-
บางทีไอ้เปอร์เซ็นต์กว่่าๆ ทำให้ค่าไอเสียผ่านเกณฑ์พอดีครับ
ไม่แน่ใจว่า สายพานปั๊ม ฮอนด้าใช้บริการใครผลิต
และมียี่ห้อทดแทนยี่ห้ออื่นอีกหรือไม่
ถ้าเกิดมี เช่น gates และคุณภาพดีกว่า
ถือเข้าศูนย์บริการ จะยอมเปลี่ยนให้ไหม
ถ้าเอาตัวรอดเบื้องต้น คงต้องขยันถ่ายน้ำมันเครื่อง
ขยัน Flush สิ่งสกปรกออก
-
ไม่ทราบว่าเครื่อง 1.0 turbo ของนิสสันอัลมีร่า ใช้หลักการเดียวกันมั้ยครับ
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องยนต์เลยครับ
ของ almera ใช้ โซ่ครับ ไม่ใช่สายพาน
-
ทำได้ครับ แต่คุ้มไหม ต่างหากคือคำถาม
ถ้ากลัวเครื่องพัง เพราะเรื่องสายพานทามมิ่ง แต่ก็ต้องลงทุน ลงเงินเยอะ ก็ไม่คุ้ม
ป้องกันได้โดย เปลี่ยนสายพานทามมิ่ง เป็นระยะๆ แค่นี้ก็ช่วยได้แล้ว ในงบไม่ได้แพงเลย ดีกว่าไปโมดิฟาย
ถ้าคิดจะโมดิฟายตรงนี้ ผมยก K มาใส่ จบๆ เลย
ปล.รถผมก็สายพานจุ่มน้ำมัน เช่นกัน แต่ไม่มี H นะ
สอบถามเพิ่มเติม มันเป็น defect เฉพาะบางคัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องเจอแน่ๆ ครับ
ช้าเร็วก็ต้องเจอ ครับ
เหมือนรถมอเตอร์ไซต์เกียร์ออโต้ เดี๋ยวนี้เขาพกสายพาน CVT ใต้เบาะกันแล้ว เผื่อขาดกลางทาง
ฉันใดก็ฉันนั้น