« ตอบกลับ #64 เมื่อ: กันยายน 27, 2012, 11:38:51 »
เข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อครับ ผมมีความคิดเสมอว่าเราไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องไปปกป้องสินค้าต่างชาติให้ ถ้ามันจะดีจะเลวยังไงให้ตัวสินค้าขายด้วยตัวของมันเองแต่ไม่ต้องไปออกตัวแรงๆแทนเพราะเบื้องหลังของธุรกิจมันไม่ได้สวยงามเลย ต่างชาติเอาของมาขายเราเอาเงินเราไปแล้วยังออกนโยบายบีบคั้นให้คนไทยไปรังแกกันเองอีก ไม่มีความจำเป็นอะไรที่เราต้องไปช่วยให้บริษัทพวกนี้ได้ใจออกนโยบายที่กดดันหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ
ธุรกิจแนวอื่นๆจะมีนโยบายแบบนี้หรือไม่ผมไม่รู้แต่สิ่งหนึ่งที่เข้าใจได้นั่นคือ"การเอาปรียบลูกน้องของตัวเอง" บริษัทจะผลิตอะไรสักอย่างออกมาขายคุณต้องปรึกษาให้ดีตั้งแต่ฝ่ายออกแบบผลิตภัณท์ ฝ่ายวิจัยสินค้า ฝ่ายการตลาด ทุกส่วนต้องมีการรับผิดชอบร่วมกันหมด ไม่โยนภาระแรงกดดันมาให้เซลอย่างเดียวแบบนี้
สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มองข้ามไปเลยคือขั้นตอนกว่าที่จะทำกำไรได้ในแต่ละบาท พวกตำแหน่งใหญ่ๆมักจะมองเพียงแค่ปลายสุดของธุรกิจที่เป็นผลกำไรเลย แต่ไม่รับรู้ถึงความยากลำบากกว่าที่จะขายของแต่ละชิ้นจนเป็นกำไรให้พวกเค้าชื่นชมได้เลยสักนิด เห็นมาเยอะครับกับการที่ปลายบนๆของสามเหลี่ยมนั้นชอบออกนโยบายแบบให้ตัวเองสบายตัวแล้วถีบภาระไปให้ส่วนฐานล่างๆขององค์การ เหมือนที่มีคนบอกนั่นแหละว่าคิดดีแล้วเหรอที่จะมีการกดดันเซลด้วยการบีบคั้นให้เข้าขายสินค้าที่ขายไม่ได้แบบนี้? การไล่เซลออกนั้นเป็นแนวคิดที่โง่ดักดานมากเพราะการที่จะฝึกให้เซลคนนึงรู้งาน มีความรู้เกี่ยวกับสินค้า มีความสามารถในการเจรจาทำยอดในแต่ละเดือนได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกหัด การที่ตัดสินไล่เซลออกทันทีที่ทำยอดขายไม่ได้นั้นก็เห,nอนกิ้งกือที่โดนตัดเท้าหายไปเรื่อยๆ บริษัทคุณสายป่านยาวทุนหนาตัดทิ้งไปนิดๆหน่อยๆน่ะไม่มีปัญหาหรอก แต่การดำเนินนโยบายกดดันเซลต่อเนื่องมาเป็นปีๆแบบนี้ก็เหมือนตัดเท้าทิ้งไปเรื่อยๆ เท้าที่เพิ่งงอกมาใหม่ก็กระง่อนกระแง่นเดินไม่ค่อยเต็มที่ นอกจากจะก้าวพลาดแล้วอาจจะทำให้เสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้มาอีก "ปริมาณไม่สำคัญเท่าคุณภาพ" เหล่าผู้บริหารบนๆมันก็มองแต่ในระนาบเดียวกันในขณะที่เท้าก็กระทืบๆเหยียบย่ำคนที่ต่ำแหน่งต่ำกว่าลงมาเรื่อยๆ บริษัทคุณยิ่งใหญ่แค่ไหนสักวันก็จะมีวันล่มสลาย ร่างกายที่โตแต่หัวตัวลีบสักวันมันก็จะพังทลายลงมาขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไหร่และยังไง