ผู้เขียน หัวข้อ: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต  (อ่าน 5122 ครั้ง)

ออฟไลน์ deaw008

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 96
หลังจากที่ก่อนหน้านี่ lpgดูจะมีความคุ้มค่ามากที่สุด
แต่ตอนนี่ เริ่มตะมีนโยบาย เกี่ยวกับlpg และน้ำมันราคาถูกลง

เพื่อนๆว่า รถที่กำลังจะออกมาใหม่  และ ถ้ากำลังจะออกรถใหม่ โดยมองเรื่องความคุ้มค่าเรื่องพลังงานมาเป็นอันดับแรก
มองว่าพลังงานอะไร น่าจะมาครับ
ไฮบริสดีไหม หรือ ดีเซล หรือ เครื่องเล็กลงหน่อย

keanetona

  • บุคคลทั่วไป
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2015, 21:28:35 »
เบนซิน/ดีเซลไฟฟ้า คือหนทางที่น่าจะเวิร์คสุดครับ ถ้าไฟฟ้าล้วนจะมีปัญหาเวลาไฟหมด แต่ถ้าเป็นเบนซิน/ดีเซลไฟฟ้า จะใช้เครื่องยนต์ช่วยปั่นไฟด้วย และม้าที่มาจากมอเตอร์ไฟฟ้าแต่ละตัวนี่เป็นม้าดัดแปลงพันธุกรรมทั้งนั้นเลยนะครับ วิ่งเร็วเหมือนชีต้า แต่ลากได้ถึกเหมือนช้าง

ออฟไลน์ MUK

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,997
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2015, 21:42:02 »
ไฮโดรเจนครับ หาง่ายที่สุด มีอยู่แทบทุกที่
จริงๆ ไฟฟ้า ทำให้ประจุเร็วกว่านี้ และ มอเตอร์แรงม้ามากกว่านี้กินไฟน้อยกว่านี้ หรือแผงรับพลังงานที่มีการสูญเสียน้อยกว่านี้ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีครับ
จนกว่า จะมีเทคโนโลยีที่สามารถเร่งการเกิดน้ำมันในธรรมชาติได้และคุ้มค่าสำหรับการลงทุนครับ

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,177
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2015, 22:03:57 »

ภายในไม่เกิน 10 ปีนี้ ผมว่าคงไม่พ้นเครื่องยนต์สันดาปเดิมๆเนี้ยแหละ แต่พัฒนาประสิทธิภาพขึ้น
แนวคิดเครื่องเล็กพ่วงหอย แบบฟอร์ด หรือ อย่างแนวคิดของมาสด้า เครื่องฉีดตรง
พวกนี้คงเป็นอะไรที่คุ้มค่าในแง่การใช้พลังงานที่สุดแล้ว

อีกแนวคิดแบบบ้านๆ ลองดูอัลติส 1.8 โฉมนี้สิ
เครื่องธรรมดาๆ พัฒนาเกียรใหม่ เซตสมองกลเกียร จูนจนคงที่ ภายใน 5-10 ปี ผมว่าคงยังหนีแนวนี้ไม่ออก
อีกซักพักคงได้เห็น รถบ้านๆแบบอัลติสมาทำฉีดตรง + CVT บ้างหล่ะ

ถ้าอนาคต ผมว่า ถ้าไม่ไฟฟ้าล้วนๆ ก็ ไฮโดรเจนไปเลย

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,047
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2015, 22:18:01 »
มองข้ามที่ว่ามาก่อนไปได้เลยครับ

ออฟไลน์ Phongsan

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 16
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 01:23:24 »
ไฮโดรเจนไม่เวิร์คครับ เพราะแม้เราจะรู้สึกว่าไฮโดรเจนมีอยู่ทั่วไปรอบๆตัวเรา แต่การจะสกัดให้ได้ไฮโดรเจนมาต้องใช้พลังงานพอสมควร (เช่น ใช้กระแสไฟฟ้าแยกก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำ เป็นต้น) แล้วเวลาจะใช้ก็ต้องแปลงไฮโดรเจนกลับไปเป็นไฟฟ้าด้วย fuel cell ซึ่งถ้าเรามีไฟฟ้าตั้งแต่แรก สู่เอาไปขับมอเตอร์โดยตรงดีกว่า หรือชาร์ตเก็บในแบตเตอร์รี่ก็ยังได้ประสิทธิภาพที่สูงกว่า อีกอย่าง การขนส่งไฮโดรเจนไปยังสถานีก็ต้องมีต้นทุน เวลาเติมเข้ารถก็ยังมีความเสี่ยงไม่ต่างจากรถเติมแก็ส และไฮโดรเจนเติมถังก็วิ่งได้ไม่ไกลเท่าน้ำมันเพราะ energy density ต่ำกว่ามาก

สำหรับตอนนี้และอนาคต ผมว่า Plug-in Hybrid น่าสนใจสุด ขับรถไปทำงาน ทำธุระ กลับบ้านก็มาชาร์ตเหมือนมือถือ เช้ามาแบตฯเต็มวิ่งได้อีกเกือบร้อยโล ถ้าเดินทางไกลก็ยังมีเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไว้ชาร์ตแบตฯได้ วิ่ง 6-7 ร้อยโลสบายๆ แถมตอนชาร์ตไว้ที่บ้าน หากไฟดับก็ยังดึงไฟจากแบตฯในรถมาใช้ในบ้านได้เป็นวัน ผมว่ามันคือเทคโนโลยีรถยนต์ที่ make sense ที่สุดสำหรับตอนนี้และอนาคต

ออฟไลน์ กัสสึ...

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 177
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 02:16:33 »
น้ำทะเลครับ !!!

อุ่ยมันไม่ใช่พลังงาน  ;D
ผมว่าถ้าเอามาใช้ได้คงดีสุดๆไปเลยครับ มีมากมายมหาศาล จนจะถมแผ่นดินละ

จากคำถามขอตอบ Solar+ไฟฟ้า+น้ำมัน ละกันครับ
ช่วยกันไปถ้ามีแดด ก็เอาแสงอาทิตย์มาทำไฟฟ้าขับเคลื่อน ถ้าแดดไม่มีค่อยใช้น้ำมันเอา แล้วก็พัฒนาให้เครื่องยนต์แต่ละชนิดใช้พลังงานได้อย่างมีคุณค่าที่สุด  :D

ออฟไลน์ iKrit

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,729
  • Blue. Just BLUE.
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 03:22:18 »
น้ำมันเชื้อเพลิงนั่นล่ะครับ แต่จะมาในรูปแบบเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปั่นไฟให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ของรถมากกว่า

ตอนแรกๆ ก็ถูกกว่าวิ่งด้วยน้ำมันเพียวๆ หรือ hybrid แต่พอซักพัก...น้ำมันและไฟฟ้าจะยิ่งแพงขึ้นจนเท่ากับสมัยรถที่เติมน้ำมันเพียวๆ ในระยะทางที่เท่ากัน

ปล. คุณ iKust ชื่อคล้ายผมเลย :D
"การไม่มีดราม่าเป็นลาภอันประเสริฐ"
แต่มนุษย์มาม่าบางคนก็ชอบเปิดประเด็นทุกที เอ้อ...แปลก

ออฟไลน์ kasuya

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 200
    • อีเมล์
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 07:14:13 »
ไฮโดรเจน โตโยต้าทำสถานีย่อยได้สำเสร็จแล้ว ไม่ต้องขนส่งอะไรมาก แค่เติมน้ำในสถานีก็รอมันผลิตไฮโดรเจนที่นั้นเลย

ออฟไลน์ Phongsan

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 16
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 09:01:59 »
สุดยอดพลังงานจากน้ำทะเลคือ nuclear fusion ครับ เป็นการดึงเอา deuterium ในน้ำทะเลมาทำปฏิกิริยา nuclear fusion รวมเข้ากับ tritium ที่ได้จากการสังเคราะห์จาก lithium (ที่ใช้เป็น coolant ในเครื่องปฏิกรณ์ฯอยู่แล้ว) สุดท้ายคือได้เป็นพลังงานไปผลิตกระแสไฟฟ้า ฉะนั้นรถยนต์พลังงานสะอาด (และถูก) ในอนาคตยังไงก็หนีไม่พ้นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ความจุสูง ไม่ว่าจะเป็น full electric หรือ Plug-in Hybrid

keanetona

  • บุคคลทั่วไป
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 13:06:15 »
สุดยอดพลังงานจากน้ำทะเลคือ nuclear fusion ครับ เป็นการดึงเอา deuterium ในน้ำทะเลมาทำปฏิกิริยา nuclear fusion รวมเข้ากับ tritium ที่ได้จากการสังเคราะห์จาก lithium (ที่ใช้เป็น coolant ในเครื่องปฏิกรณ์ฯอยู่แล้ว) สุดท้ายคือได้เป็นพลังงานไปผลิตกระแสไฟฟ้า ฉะนั้นรถยนต์พลังงานสะอาด (และถูก) ในอนาคตยังไงก็หนีไม่พ้นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ความจุสูง ไม่ว่าจะเป็น full electric หรือ Plug-in Hybrid

ผมเคยอ่านเจอจากนิตยสารที่ไหนสักเล่มว่า พลังงานที่ได้จากการ fusion มันมีความร้อนสูงจนไม่มีวัสดุใดที่ทนความร้อนได้ (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้ใช้ระบบ fission)

ปัจจุบันไม่ทราบว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ต้องติดตามกันต่อไป

ส่วนพลังงานฟอสซิลอีกไม่น่าเกิน100ปีน่าจะหมดลง ถ้าจะยังใช้เครื่องยนต์สันดาบภายในก็คงจะต้องสังเคราะห์เอาล่ะมั๊งครับ

ออฟไลน์ Phongsan

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 16
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 14:21:39 »
ความร้อนสูงน่ะไม่ใช่ครับ แต่เป็นอุณหภูมิต่างหากที่สูง สูงถึงกว่า 10 ล้านองศาฯ แต่ที่ความร้อน (heat) ไม่สูง เพราะก๊าซ/พลาสม่าที่เกิดฟิวชั่นนั้นความหนาแน่นต่ำมากๆ (ความร้อน = ความหนาแน่น x ค่าความจุความร้อน x อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป) เหมือนกับขี้บุหรี่ที่อุณหภูมิสูงเป็นร้อยองศาแต่พอตกใส่แขนเรากลับแทบไม่รู้สึกอะไรเพราะขี้เถ้ามีความหนาแน่นต่ำ และที่บ้างคนเข้าใจว่าอุณหภูมิสูงระดับ 10 ล้านองศาฯจึงไม่มีวัสดุใดทนได้นั้น เป็นความเข้าใจผิด จริงที่ผนังเครื่องปฏิกรณ์ fusion จะไม่สัมผัสกับพลาสม่าที่กำลังเกิดปฏิกิริยา fusion อยู่ ไม่ใช่เพราะกลัวผนังจะละลาย แต่หากมีการสัมผัสกันเกิดขึ้น อุณหภูมิของพลาสม่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ต่ำเกินกว่าที่จะเกิด fusion ได้ ปฏิกิริยา nuclear fusion ก็จะหยุดลง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เตา fusion ปลอดภัยกว่า fission มาก)

เครื่องปฏิกรณ์ nuclear fusion หลักๆแล้วมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- Inertial Confinement Fusion (ICF)
- Magnetic Confinement Fusion (MCF)

แบบแรก (ICF) เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในระเบิดนิวเคลียร์สมัยใหม่ ที่ใช้พลังงานสูงอัดเชื้อเพลิง fusion ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ พลังงานสูงที่ว่านี้ ถ้าเป็นในระเบิดนิวเคลียร์จะใช้เป็นระเบิด fission อัดทำให้เกิดการระเบิดแบบ fusion ถ้าเป็นในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อการผลิตไฟฟ้าก็จะใช้ laser หรือไม่ก็ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง เทคโนโลยีนี้สหรัฐฯเป็นหัวหอกหลักในการวิจัยและพัฒนา (ที่ Lawrence Livermore National Lab - LLNL "NIF" และ Sandia National Lab - SNL "Z-machine") ส่วนเรื่องความก้าวหน้ายังไม่เป็นที่แน่ชัดเพราะผลการวิจัยหลายเรื่องเป็นความลับทางการทหาร

ส่วน MCF เป็นเทคโนโลยีคลาสสิกที่วิจัยกันมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว คือใช้สนามแม่เหล็กกำลังสูงบีบอัดพลาสม่าเชื้อเพลิง fusion ในเตาปฏิกรณ์รูปโดนัท (คล้ายๆกับในเรื่อง Ironman) ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ ตอนนี้ EU อินเดีย และญี่ปุ่น ร่วมหุ้นกันสร้างเครื่องปฏิกรณ์ tokamak ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อว่า ITER ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเสร็จสิ้นและเริ่มเดินเครื่องทดลองได้ใน 2-3 ปีนี้ อีกฟากนึงของโลกในสหรัฐฯ บริษัท Lockheed Martin เคลมว่าเขากำลังพัฒนาเทคโนโลยี Compact Fusion ที่มีขนาดเล็กขนาดพ่วงท้ายรถบรรทุกได้ และจะพิสูจน์ให้เห็นว่ามันสามารถทำให้เกิดฟิวชั่นได้สำเร็จภายใน 5 ปีนี้

สรุปแล้วภายใน 4-5 ปีนี้เราน่าจะได้เห็นผลกันบ้างว่าเทคโนโลยี fusion จะสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้จริงอย่างที่เราฝันกันไว้หรือเปล่า เพราะถ้าทำได้จริง มนุษยชาติจะมีพลังงานสะอาดราคาถูกใช้อย่างเหลือเฟือโดยไม่ต้องง้อเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป

ออฟไลน์ Sarutino

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 757
  • อยากออกไปกอดเมืองไทย^ ^
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 19:13:55 »
Ethanol และ Bio-diesel ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน + Plug-in hybrid
เหตุผลคือด้านเครื่องนยต์ เป็นอะไรที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว พัฒนาต่อได้ไม่ยาก
ด้านเชื้อเพลิงคือมันสามารถปลูกและผลิตออกมาได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีพืชมามายที่สามารถสกัดน้ำมันหรือหมักกลั่นเป็นแอลกอฮอล์ได้โดยที่ไม่ใช่พืชอาหารของคน

จึงคิดว่าคุ้มค่าและนำมาใช้ได้เร็วที่สุด
"Lose who you are to save what you love."

ออฟไลน์ Tee+...Lek

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 238
    • อีเมล์
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 20:07:37 »
โดยส่วนตัวแล้ว ทุกอย่างคงจบที่รถไฟฟ้าครับ

เพราะเครื่องสันดาปภายในนั้น ยังไงก็หนีไม่พ้นการใช้น้ำมันที่ได้จากการกลั่น ซึ่งถึงจุดนึงพลังงานจากฟอสซิสก็คงหมดไปเรื่อยๆ (แม้ว่าตอนนี้ยังดูห่างไกล)

ปัญหาของรถไฟฟ้าตอนนี้อยู่ที่สองจุดใหญ่ๆ ครับ คือ 1. แบตเตอรี่ หรือจะเรียกว่าถังเก็บพลังงานไฟฟ้าก็คงไม่ผิดนัก เพราะเทคโนโลยีในด้านนี้ ยังไม่พัฒนาไปจาก 10 ปีที่แล้วเลยครับ แม้ว่า Li-ion และ Li-Polymer เริ่มกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม
2. การชาร์จไฟ ซึ่งนี่แหละเป็นจุดด้อยของ Li-ion ยกตัวอย่างง่ายๆ Power Bank หรือแบตเตอรี่แพคที่เห็นกันเกลื่อนกลาดนั้น ทำไมราคาถึงต่างกัน?  คำตอบก็คือตัวไส้แบตเตอรี่ และวงจรชาร์จนี่แหละที่ทำให้มันต่างกันเยอะ ตัวไส้แบตเตอรี่นี่จะเห็นผลระยะยาวคือความจุที่ลดลงเมื่อใช้ไป ในขณะที่วงจรชาร์จ ถ้าควบคุมไม่ได้ อัดชาร์จเข้าไปมากๆ ร้อนมากๆ ก็ระเบิดอย่างที่เป็นข่าวละครับ

ออฟไลน์ Thor.1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 557
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 21:51:52 »
ความร้อนสูงน่ะไม่ใช่ครับ แต่เป็นอุณหภูมิต่างหากที่สูง สูงถึงกว่า 10 ล้านองศาฯ แต่ที่ความร้อน (heat) ไม่สูง เพราะก๊าซ/พลาสม่าที่เกิดฟิวชั่นนั้นความหนาแน่นต่ำมากๆ (ความร้อน = ความหนาแน่น x ค่าความจุความร้อน x อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป) เหมือนกับขี้บุหรี่ที่อุณหภูมิสูงเป็นร้อยองศาแต่พอตกใส่แขนเรากลับแทบไม่รู้สึกอะไรเพราะขี้เถ้ามีความหนาแน่นต่ำ และที่บ้างคนเข้าใจว่าอุณหภูมิสูงระดับ 10 ล้านองศาฯจึงไม่มีวัสดุใดทนได้นั้น เป็นความเข้าใจผิด จริงที่ผนังเครื่องปฏิกรณ์ fusion จะไม่สัมผัสกับพลาสม่าที่กำลังเกิดปฏิกิริยา fusion อยู่ ไม่ใช่เพราะกลัวผนังจะละลาย แต่หากมีการสัมผัสกันเกิดขึ้น อุณหภูมิของพลาสม่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ต่ำเกินกว่าที่จะเกิด fusion ได้ ปฏิกิริยา nuclear fusion ก็จะหยุดลง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เตา fusion ปลอดภัยกว่า fission มาก)

เครื่องปฏิกรณ์ nuclear fusion หลักๆแล้วมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- Inertial Confinement Fusion (ICF)
- Magnetic Confinement Fusion (MCF)

แบบแรก (ICF) เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในระเบิดนิวเคลียร์สมัยใหม่ ที่ใช้พลังงานสูงอัดเชื้อเพลิง fusion ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ พลังงานสูงที่ว่านี้ ถ้าเป็นในระเบิดนิวเคลียร์จะใช้เป็นระเบิด fission อัดทำให้เกิดการระเบิดแบบ fusion ถ้าเป็นในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อการผลิตไฟฟ้าก็จะใช้ laser หรือไม่ก็ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง เทคโนโลยีนี้สหรัฐฯเป็นหัวหอกหลักในการวิจัยและพัฒนา (ที่ Lawrence Livermore National Lab - LLNL "NIF" และ Sandia National Lab - SNL "Z-machine") ส่วนเรื่องความก้าวหน้ายังไม่เป็นที่แน่ชัดเพราะผลการวิจัยหลายเรื่องเป็นความลับทางการทหาร

ส่วน MCF เป็นเทคโนโลยีคลาสสิกที่วิจัยกันมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว คือใช้สนามแม่เหล็กกำลังสูงบีบอัดพลาสม่าเชื้อเพลิง fusion ในเตาปฏิกรณ์รูปโดนัท (คล้ายๆกับในเรื่อง Ironman) ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ ตอนนี้ EU อินเดีย และญี่ปุ่น ร่วมหุ้นกันสร้างเครื่องปฏิกรณ์ tokamak ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อว่า ITER ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเสร็จสิ้นและเริ่มเดินเครื่องทดลองได้ใน 2-3 ปีนี้ อีกฟากนึงของโลกในสหรัฐฯ บริษัท Lockheed Martin เคลมว่าเขากำลังพัฒนาเทคโนโลยี Compact Fusion ที่มีขนาดเล็กขนาดพ่วงท้ายรถบรรทุกได้ และจะพิสูจน์ให้เห็นว่ามันสามารถทำให้เกิดฟิวชั่นได้สำเร็จภายใน 5 ปีนี้

สรุปแล้วภายใน 4-5 ปีนี้เราน่าจะได้เห็นผลกันบ้างว่าเทคโนโลยี fusion จะสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้จริงอย่างที่เราฝันกันไว้หรือเปล่า เพราะถ้าทำได้จริง มนุษยชาติจะมีพลังงานสะอาดราคาถูกใช้อย่างเหลือเฟือโดยไม่ต้องง้อเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป

 ข้อมูลแน่นมาก.....ไลค์เลย....^_^

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,981
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ CATM96

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 421
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 07:41:18 »
ความร้อนสูงน่ะไม่ใช่ครับ แต่เป็นอุณหภูมิต่างหากที่สูง สูงถึงกว่า 10 ล้านองศาฯ แต่ที่ความร้อน (heat) ไม่สูง เพราะก๊าซ/พลาสม่าที่เกิดฟิวชั่นนั้นความหนาแน่นต่ำมากๆ (ความร้อน = ความหนาแน่น x ค่าความจุความร้อน x อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป) เหมือนกับขี้บุหรี่ที่อุณหภูมิสูงเป็นร้อยองศาแต่พอตกใส่แขนเรากลับแทบไม่รู้สึกอะไรเพราะขี้เถ้ามีความหนาแน่นต่ำ และที่บ้างคนเข้าใจว่าอุณหภูมิสูงระดับ 10 ล้านองศาฯจึงไม่มีวัสดุใดทนได้นั้น เป็นความเข้าใจผิด จริงที่ผนังเครื่องปฏิกรณ์ fusion จะไม่สัมผัสกับพลาสม่าที่กำลังเกิดปฏิกิริยา fusion อยู่ ไม่ใช่เพราะกลัวผนังจะละลาย แต่หากมีการสัมผัสกันเกิดขึ้น อุณหภูมิของพลาสม่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ต่ำเกินกว่าที่จะเกิด fusion ได้ ปฏิกิริยา nuclear fusion ก็จะหยุดลง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เตา fusion ปลอดภัยกว่า fission มาก)

เครื่องปฏิกรณ์ nuclear fusion หลักๆแล้วมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- Inertial Confinement Fusion (ICF)
- Magnetic Confinement Fusion (MCF)

แบบแรก (ICF) เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในระเบิดนิวเคลียร์สมัยใหม่ ที่ใช้พลังงานสูงอัดเชื้อเพลิง fusion ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ พลังงานสูงที่ว่านี้ ถ้าเป็นในระเบิดนิวเคลียร์จะใช้เป็นระเบิด fission อัดทำให้เกิดการระเบิดแบบ fusion ถ้าเป็นในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อการผลิตไฟฟ้าก็จะใช้ laser หรือไม่ก็ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง เทคโนโลยีนี้สหรัฐฯเป็นหัวหอกหลักในการวิจัยและพัฒนา (ที่ Lawrence Livermore National Lab - LLNL "NIF" และ Sandia National Lab - SNL "Z-machine") ส่วนเรื่องความก้าวหน้ายังไม่เป็นที่แน่ชัดเพราะผลการวิจัยหลายเรื่องเป็นความลับทางการทหาร

ส่วน MCF เป็นเทคโนโลยีคลาสสิกที่วิจัยกันมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว คือใช้สนามแม่เหล็กกำลังสูงบีบอัดพลาสม่าเชื้อเพลิง fusion ในเตาปฏิกรณ์รูปโดนัท (คล้ายๆกับในเรื่อง Ironman) ให้รวมตัวกันเป็นอะตอมใหม่ ตอนนี้ EU อินเดีย และญี่ปุ่น ร่วมหุ้นกันสร้างเครื่องปฏิกรณ์ tokamak ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อว่า ITER ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเสร็จสิ้นและเริ่มเดินเครื่องทดลองได้ใน 2-3 ปีนี้ อีกฟากนึงของโลกในสหรัฐฯ บริษัท Lockheed Martin เคลมว่าเขากำลังพัฒนาเทคโนโลยี Compact Fusion ที่มีขนาดเล็กขนาดพ่วงท้ายรถบรรทุกได้ และจะพิสูจน์ให้เห็นว่ามันสามารถทำให้เกิดฟิวชั่นได้สำเร็จภายใน 5 ปีนี้

สรุปแล้วภายใน 4-5 ปีนี้เราน่าจะได้เห็นผลกันบ้างว่าเทคโนโลยี fusion จะสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้จริงอย่างที่เราฝันกันไว้หรือเปล่า เพราะถ้าทำได้จริง มนุษยชาติจะมีพลังงานสะอาดราคาถูกใช้อย่างเหลือเฟือโดยไม่ต้องง้อเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป

 ข้อมูลแน่นมาก.....ไลค์เลย....^_^

+1ครับ แน่นมากๆ
สอบถามเพิ่มเติม MCF จะมีของเสีย อย่างพวก radioactive บ้างมั้ยครับ สงสัยมาตั้งนานแล้วว่ามีรึปล่าว แล้วถ้ามีตอนนี้วิธีกำจัดรึยังครับ?

ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 10:04:51 »
+1ครับ แน่นมากๆ
สอบถามเพิ่มเติม MCF จะมีของเสีย อย่างพวก radioactive บ้างมั้ยครับ สงสัยมาตั้งนานแล้วว่ามีรึปล่าว แล้วถ้ามีตอนนี้วิธีกำจัดรึยังครับ?

ถ้าผมจำไม่ผิดจะได้แค่ He2 ออกมาครับซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อย
ต่างกับ Fission ที่ใช้การยิงธาตุที่ไม่เสถียรให้แตกตัว ซึ่งธาตุที่ไม่เสถียรก็จะเป็น Radioactive อยู่แล้วครับ
ถ้าผิดขออภัย คืนอาจารย์มหาลัยไปเกือบหมดแล้วครับ

ออฟไลน์ H.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 13:19:47 »
พลังงานไฟฟ้าครับ เพราะมีแหล่งพลังงานที่สะอาดมากๆอย่างนิวเคลียร์ฟิวชันอยู่ อาจจะไม่ถึงกับเล็กขนาดติดตั้งลงท้ายรถ แต่การผลิตพลังงานชนิดนี้ก็สะอาดและมีราคาถูก


เหลือเพียงแต่การจัดการขยะแบตเตอรี่แค่นั้น
H.

ออฟไลน์ Poppuri

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 75
    • อีเมล์
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 19:49:48 »
ถ้าเอาคุ้มค่ากับเชื้อเพลิงผมว่าไฮบริดนี่แหละคับ อย่างน้อยก็ยังเบรคช่วยเก็บพลังงานที่เสียไปแล้วเอามาขับเคลื่อนได้อีก

แต่ถ้ารวมกับค่าบำรุงรักษาผมว่า... รถใช้น้ำมันทั่วไปนี่แหละฮะ...

- รถไฟฟ้า มันเหมาะกับเส้นทางสั้นๆมากกว่า หาที่ชาร์จยากด้วย
- ไฮโดรเจน เทคโนโลยีที่ใช้ได้จริงตอนนี้เห็นว่าเอามาจากแก๊สหนิฮะ ยังไม่มีเทคโนโลยีที่สกัดจากน้ำ+อากาศแล้วผลิตคุ้มทุนได้...

ออฟไลน์ Slipknot`

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 21,846
  • *** HLM.COM ***
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 11:02:31 »
รอที่พิสูจน์ได้จริงก่อนครับ


ออฟไลน์ Phongsan

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 16
Re: พลังงานที่คุ้มค่าสุดคืออะไรในอนาคต
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 20:10:15 »
เรื่องกากกัมมันตรังสีจากเครื่องปฏิกรณ์ fusion นั้นต่างกับ fission มาก ในเครื่องปฏิกรณ์ fission ของเสียหลักที่ทุกคนกังวลคือตัวเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว (สารผลลัพธ์จากปฏิกิริยา fission) ซึ่งเป็นกากกัมมันตรังสีความเข้มสูงที่ต้องการการจัดการอย่างรัดกุม (แต่ปัจจุบันเริ่มมีการสังเคราะห์กากฯนี้ให้กลับมาเป็นเชื้อเพลิงใช้ได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งสามารถลดกากฯที่เหลือต้องฝังจริงๆไปได้มากกว่า 90%) สำหรับเครื่องปฏิกรณ์ fusion ไม่มีกากกัมมันตรังสีความเข้มสูงแต่อย่างใด (เพราะสารผลลัพธ์จากปฏิกิริยา fusion มีแค่ก๊าซฮีเลียมธรรมดา และนิวตรอนเท่านั้น) จะมีก็แค่กากกัมมันตรังสีความเข้มต่ำที่ส่วนใหญ่แล้วก็คืออุปกรณ์ต่างๆของตัวเครื่องปฏิกรณ์ฯที่มีการปนเปื้อนจากนิวตรอนที่ได้ออกมาจากปฏิกิริยา fusion ซึ่งจะมีการทำลายอุปกรณ์ปนเปื้อนกัมมันตรังสีพวกนี้จริงๆ ก็ตอนรื้อถอนโรงไฟฟ้าแล้วเท่านั้น และการจัดการก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างกากฯความเข้มสูง (แค่นำมาบดทำลาย หล่อรวมเข้ากับคอนกรีต และหุ้มด้วยถังสแตนเลส ก็ฝังได้โดยไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องกลัวเรื่อง residual heat และการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดิน)

ข้อได้เปรียบอีกอย่างนึงของเครื่องปฏิกรณ์ fusion คือ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทำให้เครื่องฯดับ ปฏิกิริยา fusion จะหยุดลงทันที ไม่มีทาง meltdown ได้อย่างเครื่องปฏิกรณ์ fission เพราะปฏิกิริยา fusion นั้นต้องการพลังงานเข้ามาบีบอัดพลาสม่าให้ fuse รวมกัน ถ้าพลังงานภายนอกนั้นหายไป ปฏิกิริยาก็จะหยุดเองทันที เหมือนเครื่องรถยนต์ที่พอไม่มีน้ำมัน หรือแบตฯหมด ก็จะหยุดทำงานเอง

ทั้ง ICF และ MCF ทำงานด้วยหลักการเดียวกัน ต่างกันแค่วิธีการบีบอัดพลาสม่าเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวิธี fusion แบบไหนต่างก็ไม่ทำให้เกิดกากกัมมันตรังสีความเข้มสูง และไม่มีทางเกิด meltdown ได้ ด้วยเหตุผลทั้งความปลอดภัย ทั้งไม่มีกากฯความเข้มสูง ทั้งเชื้อเพลิงหลักคือน้ำทะเลธรรมดา พลังงาน nuclear fusion จึงเป็น ultimate energy source ของมนุษยชาติที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมลดละความพยายามที่จะทำให้สำเร็จไม่ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ หรือลงทุนมากแค่ไหนก็ตาม