« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 23, 2016, 13:54:41 »
ผมว่าค่านิยมไม่เท่าสันดานตัวเองครับ ผมนี่สายอาชีวะโดยตรง ปวช. ปวส. ตอนนี้ผมอายุ 26
ทำงานเป็นช่าง ไฟฟ้าอาคารห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ผมเริ่มทำงานตอนจบ ปวส. อายุ 21
ทันทีที่ผมเรียนจบพ่อผมไม่ให้เงินใช้รายเดือน ผมดิ้นรนหางานทำ มองไปรอบตัวรอบตัวมีทั้งคนล้มเหลวและประสบความสำเร็จในชีวิต
ผมจึงตั้งในทำงาน 3 ปี ผมได้ตำแหน่งช่างเทคนิคอาวุโส ทุกวันนี้ ผมซื้อบ้านและรถด้วยเงินของตัวเอง
ครอบครัวผมไม่ดีแม่กับพ่อผมแยกทางกันผม ป.6 เพื่อนฝูงมีทั้งดีและไม่ดีครับ และประสบการณ์ชีวิตเจอคนหลากหลายในการทำงานที่แรก
เอาเป็นว่าอย่าโทษโน้นโทษนี่เลยครับ สถาบันเอย ครอบครัวเอย โน้นเอย นี่เอย คนจะเอามันอยู่ที่ตัวครับ ไม่มีใครมาบังคับ เอาเป็นว่าผมแนะนำให้คิดใหม่นะครับ
ขอบคุณที่ตอบครับ
แต่ผมก็ยังคิดแบบเดิมครับ
สันดานเลวมันไม่ได้มีตั้งแต่เกิดครับ
สิ่งที่ทำให้ตัวเราเป็นเรา ไม่ได้มาจากตัวเราเอง แต่มาจากสิ่งรอบข้างของเรา
สิ่งที่เข้าหู สิ่งที่เห็นด้วยตา ซึมซับเข้าไปในสมอง แล้วเอามาประมวลผลครับ
ไม่อย่างนั้นพ่อแม่เป็นครู ลูกไม่ต้องเป็นครูหมดหรือครับ
เด็กโรงเรียนเดียวกัน แต่เป็นคนที่แตกต่างกันไม่ใช่มาจากวันตกฟาก หรือดวงชะตา
ถ้าอยู่กับเพื่อนเลวที่ชักชวนกันไปทำแต่เรื่องเลว ๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่เห็น ก็จะเห็นดีเห็นงามไปทางนั้น
เพราะความสนุก ความคะนองของวัยรุ่นครับ
ซึ่งสังคมปิดแบบเด็กช่างกินนอนอยู่ด้วยกัน มันมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นครับ
ลองนึกถึงบางคนที่มาจากครอบครัวที่สั่งสอนดีแต่สุดท้ายเขาก็ทนกับสิ่งยั่วยุ เช่นเงิน อำนาจบารมี ความสนุก เขาก็จะหลุดไปสู่สิ่งนั้นได้ครับ
ตัวอย่างเช่นข้าราชการหนุ่มมีอุดมการณ์ความดี แต่พอพบเห็นการทุจริตนาน ๆ เข้า สุดท้ายก็เข้าเป็นหนึ่งในนั้นครับ
ผมอยากให้กระทรวงศึกษาฯ เร่งปฏิรูปการศึกษาเสียทีครับ ส่วนเรื่องอื่นครอบครัวจะช่วยแก้อีกทางหนึ่งครับ
ทุกอย่างมันต้องดีไปตาม ๆ กัน ลองมองกลับไปที่สถานศึกษาของเราครับ
เราคิดว่ามันเป็นอย่างนี้ก็ดีอยู่แล้ว หรือเราอยากเห็นการพัฒนาครับ
ผมติเพราะหวังดีนะครับ
ขอยกตัวอย่างเพิ่ม คนที่มาจากครอบครัวแตกแยก อยู่ในสังคมที่ไม่ดี
แต่เค้าไปพบเห็นเหตุการณ์หรือประสบการณ์เฉียดตายให้เขาฉุกคิดขึ้นได้
เขาก็จะเป็นคนมั่นคง ไม่ว่าชวนอย่างไรเขาก็ไม่คล้อยตามครับ
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่โชคดีครับ มันถึงมีคำว่า "รู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว" ไงครับ