ผู้เขียน หัวข้อ: ยุทธศาสตร์ EV รัฐหนุนภาษีเป็นศูนย์เร่งขับเคลื่อน  (อ่าน 3142 ครั้ง)

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,951
    • อีเมล์

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,421
    • อีเมล์


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,951
    • อีเมล์


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า

ออฟไลน์ Wongsakorn5558

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 203
    • อีเมล์


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า

ไม่เหมือนกันนะครับ รถคันแรก เค้าต้องการเอาเงิน จากคนที่พอมี พอหาได้ ออกมาใช้ก่อน เพื่อพยุงโรงงาน-คนงานผลิตรถและซัพพลาย ให้อยู่ต่อไปได้ โรงงานไม่ปิด-ไม่ย้ายฐานในขณะนั้น
เพราะหากปล่อยให้ย้ายออกไป หรือ เหลือแค่โรงงานประกอบ ภาคการผลิต ซัพพลายต่าง ๆ จะเสียหายแบบกู้คืนมาไม่ได้ครับ

ส่วน EV เราช้ามากแล้ว ถ้าไม่รีบทำ จนเราไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ(ไม่ใช่ประกอบ) ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่นหมด จะมีปัญหา ภาคการผลิตเดียวกันกับด้านบนนี่ละครับ

ส่วนรถมือสอง มีอะไรมา ก็ซื้อมาขายไป
อู่ซ่อม ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีไปครับ เช่น อู่หรือรถลากอาจไปเปิด รถปั่นไฟเคลื่อนที่ Station ชาร์ตไฟ เคลื่อนที่ ซ่อมบำรุงแบต มอเตอร์ ฯลฯ ยังพอมีเวลาปรับตามรถสันดาปที่ลดลง

ที่กระทบคงเป็นศูนย์บริการ ที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นต้องใหญ่โต มีรถเซอร์วิส วิ่งตามบ้านได้ (แบบที่ GWM กำลังทำนี่ละครับ มองรถยนต์ไฟฟ้า เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบหนึ่ง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2021, 14:19:27 โดย Wongsakorn5558 »

ออฟไลน์ sukhontha

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,505
มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง   

เดี๋ยวอีกสองเดือน  พี.เอ็ม.  ก็พูดอีกรอบ....

ไม่พูดดีกว่า 

ออฟไลน์ Sazabi

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 330


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า

ไม่เหมือนกันนะครับ รถคันแรก เค้าต้องการเอาเงิน จากคนที่พอมี พอหาได้ ออกมาใช้ก่อน เพื่อพยุงโรงงาน-คนงานผลิตรถและซัพพลาย ให้อยู่ต่อไปได้ โรงงานไม่ปิด-ไม่ย้ายฐานในขณะนั้น
เพราะหากปล่อยให้ย้ายออกไป หรือ เหลือแค่โรงงานประกอบ ภาคการผลิต ซัพพลายต่าง ๆ จะเสียหายแบบกู้คืนมาไม่ได้ครับ

ส่วน EV เราช้ามากแล้ว ถ้าไม่รีบทำ จนเราไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ(ไม่ใช่ประกอบ) ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่นหมด จะมีปัญหา ภาคการผลิตเดียวกันกับด้านบนนี่ละครับ

ส่วนรถมือสอง มีอะไรมา ก็ซื้อมาขายไป
อู่ซ่อม ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีไปครับ เช่น อู่หรือรถลากอาจไปเปิด รถปั่นไฟเคลื่อนที่ Station ชาร์ตไฟ เคลื่อนที่ ซ่อมบำรุงแบต มอเตอร์ ฯลฯ ยังพอมีเวลาปรับตามรถสันดาปที่ลดลง

ที่กระทบคงเป็นศูนย์บริการ ที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นต้องใหญ่โต มีรถเซอร์วิส วิ่งตามบ้านได้ (แบบที่ GWM กำลังทำนี่ละครับ มองรถยนต์ไฟฟ้า เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบหนึ่ง)

ที่บอกว่าช้าจน EV ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่นหมดนี่ปัจจุบันมีประเทศไหนบ้างครับ นอกจากอเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ ที่ทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์สันดาปชั้นนำของโลกที่เหนือกว่าไทยทั้งคุณภาพและปริมาณอยู่ก่อนแล้ว ทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศข้างต้นต่างก็เริ่มต้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ของประเทศตัวเองซึ่งประเทศไทยไม่มี ที่สำคัญทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศข้างต้นสามารถออกแบบและผลิตรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้าจาก 0 หรือเริ่มต้นผลิตทุกชิ้นส่วนตั้งแต่ระดับวัตถุดิบได้เองทุกชิ้นซึ่งประเทศไทยทำไม่ได้

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า ณ เวลานี้อะไรคือสิ่งสำคัญในการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทำไมฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจึงยังอยู่แค่ในอเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ และจะไปที่ญี่ปุ่นกับอินเดียในอนาคต ทำไมรถยนต์ไฟฟ้าจึงยังไม่ไปผลิตที่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก ที่ต่างก็เป็นฐานผลิตรถยนต์สันดาปที่สำคัญของโลกในอันดับรองๆลงมาในเวลานี้ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก มีอะไรที่ไม่เหมือน อเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ด้วยสิ่งที่ไม่เหมือนกันนั้นต่อให้รัฐบาลไทยทำอะไรเท่าไหร่ค่ายรถทั้งหลายมันก็ยังไม่เอารถยนต์ไฟฟ้ามาผลิตในไทยแทน ICE หรือ HEV หรอกครับจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมของมันเอง

หรืออยากให้ไทยเสียมากกว่าได้เหมือนที่สิงคโปร์ยอมเสียผลประโยชน์มากมายลาก HYUNDAI มาตั้งโรงงาน BEV ขนาดจิ่วที่ในอนาคต 15-20 ข้างหน้าจะต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอนหากโรงงาน HYUNDAI ที่อินโดนีเซียเปลี่ยนไปผลิต BEV เต็มตัวแล้ว เพราะจุดประสงค์ของสิงคโปร์ที่ต้องการมีโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับไทยและอินโดนีเซียแล้วมันต่างกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2021, 16:30:16 โดย Sazabi »

ออฟไลน์ axister

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,221


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า


ถ้าแนวคิดนี้ถูกต้องประเทศเราควรเป็นถังขยะโลกครับ ทุกวันนี้เครื่องดีเซลยุโรปก็เอามาเลหลังขายที่ไทยเยอะแล้วนะ

เพราะเครื่องสันดาปเค้ารณรงค์เลิกใช้กันทั่วโลก ไม่อยากให้ส่งเสริม ev ก็ต้องเอาของเหลือคนอื่นมาใช้ตลอดชีวิตหรือผลิตรถใช้เองเลยครับ เพราะ fuel cell พวกอู่ซ่อมรถยนต์ก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน

ถ้าไม่ปรับเลยก็ควรสูญพันธ์แบบไดโนเสาร์ดีแล้วครับ เซ้งอู่ทิ้งให้คนรุ่นใหม่ทำกิจการที่ทำให้ประเทศเจริญดีกว่าครับ

ออฟไลน์ Sazabi

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 330


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า


ถ้าแนวคิดนี้ถูกต้องประเทศเราควรเป็นถังขยะโลกครับ ทุกวันนี้เครื่องดีเซลยุโรปก็เอามาเลหลังขายที่ไทยเยอะแล้วนะ

เพราะเครื่องสันดาปเค้ารณรงค์เลิกใช้กันทั่วโลก ไม่อยากให้ส่งเสริม ev ก็ต้องเอาของเหลือคนอื่นมาใช้ตลอดชีวิตหรือผลิตรถใช้เองเลยครับ เพราะ fuel cell พวกอู่ซ่อมรถยนต์ก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน

ถ้าไม่ปรับเลยก็ควรสูญพันธ์แบบไดโนเสาร์ดีแล้วครับ เซ้งอู่ทิ้งให้คนรุ่นใหม่ทำกิจการที่ทำให้ประเทศเจริญดีกว่าครับ

เอาที่ไหนมาเลหลังครับ กฎหมายห้ามขายรถยนต์เครื่องสันดาปในยุโรปมีผลกันโน่นช่วงปี 2030 นี่มันเพิ่งจะปี 2021 ครับ

ชิ้นส่วนยานยนต์นั้น Supplier เค้าจะผลิตกันก็ต่อเมื่อโรงงานประกอบรถยนต์มีคำสั่งซื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนหมดอายุคาโกดังก่อนนำไปประกอบ และเพื่อยืดอายุ 3-parties warranty (Supplier-OEM-End User) ให้นานที่สุดเพื่อป้องกันปัญหาด้านความรับผิดชอบต่องานเคลม ชิ้นส่วนที่ผลิตไว้แค่ 3-4 เดือนแล้วเอามาประกอบรถใหม่ก็ยังแทบจะหาไม่ได้แล้วเพราะมันเก่าเก็บ

เมื่อของมันยังไม่ได้ผลิตขึ้นมาแล้วมันจะเลหลังกันยังไงครับ เหมือนฝนยังไม่ตกน้ำยังไม่ท่วมแล้วมันจะไประบายน้ำล่วงหน้าออกจากถนนได้ยังไงครับ

นี่ยังไม่นับว่า Emission Standard ของไทยในปัจจุบันมัน version ต่ำกว่ายุโรป ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องไปซื้อของ Spec. ยุโรปให้แพงโดยเปล่าประโยชน์อีกนะครับ

ออฟไลน์ Wongsakorn5558

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 203
    • อีเมล์
ที่บอกว่าช้าจน EV ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่นหมดนี่ปัจจุบันมีประเทศไหนบ้างครับ นอกจากอเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ ที่ทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์สันดาปชั้นนำของโลกที่เหนือกว่าไทยทั้งคุณภาพและปริมาณอยู่ก่อนแล้ว ทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศข้างต้นต่างก็เริ่มต้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ของประเทศตัวเองซึ่งประเทศไทยไม่มี ที่สำคัญทุกประเทศหรือกลุ่มประเทศข้างต้นสามารถออกแบบและผลิตรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้าจาก 0 หรือเริ่มต้นผลิตทุกชิ้นส่วนตั้งแต่ระดับวัตถุดิบได้เองทุกชิ้นซึ่งประเทศไทยทำไม่ได้

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า ณ เวลานี้อะไรคือสิ่งสำคัญในการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทำไมฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจึงยังอยู่แค่ในอเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ และจะไปที่ญี่ปุ่นกับอินเดียในอนาคต ทำไมรถยนต์ไฟฟ้าจึงยังไม่ไปผลิตที่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก ที่ต่างก็เป็นฐานผลิตรถยนต์สันดาปที่สำคัญของโลกในอันดับรองๆลงมาในเวลานี้ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก มีอะไรที่ไม่เหมือน อเมริกา ยุโรป จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ด้วยสิ่งที่ไม่เหมือนกันนั้นต่อให้รัฐบาลไทยทำอะไรเท่าไหร่ค่ายรถทั้งหลายมันก็ยังไม่เอารถยนต์ไฟฟ้ามาผลิตในไทยแทน ICE หรือ HEV หรอกครับจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมของมันเอง


มันไม่เกี่ยวข้อง ว่าต้องเป็นประเทศชั้นนำ หรือต้องผลิตได้เองทุกชิ้นส่วน หรือต้องคิดค้นรถตั้งแต่เริ่มจาก 0 ให้ได้ก่อน แล้วค่อยเริ่มผลิต

มันแค่ ถ้าคนในประเทศมี "ความต้องการ" ใช้พอสมควร ที่จะนำเข้ามาขาย ก็ "นำเข้ามาขาย"
หากมากพอที่จะตั้งโรงงานประกอบ ก็ "ตั้งโรงงานประกอบ" ที่ภาคการผลิต เราจะได้ประโยชน์น้อย
หากมีความต้องการมาก หรือมีลู่ทางแล้วว่าผลิตที่เราส่งขายภูมิภาคไกล้เคียงได้ ก็ "ตั้งโรงงานผลิต" ที่เราจะได้ประโยนช์มากที่สุด

จุดสำคัญที่สุดที่จะตั้งโรงงานผลิตรถ EV ได้ คือ โรงงานแบตเตอรี่ครับ

จะยกที่กล่าวอ้างมาอีกครั้ง
"ถ้าไม่รีบทำ จนเราไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ(ไม่ใช่ประกอบ) ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่นหมด จะมีปัญหา ภาคการผลิต"
่ผมไม่ได้บอกครับ ว่าตอนนี้ เค้าไปตั้งที่อื่นหมดแล้ว

เอาแค่ข่าว เดือนที่แล้วนะครับ ได้ไม่ต้องย้อนไปไกล ถึงจีน ที่รีบสนับสนุน รถไฟฟ้าสุดลิ่ม เพราะรถสันดาป+ไฮบริด ทำอย่างไรก็ไล่ไม่ทันแล้ว

Foxconn  LG Hyundai KIA เล็งลงทุนผลิตแบตเตอรีรถไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้าที่อินโดนีเซียแล้ว
ส่วนไทย Foxconn กับ ปตท จะจับมือ สร้างสถานีบริการ และจะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า หรือประกอบรถในไทย
เห็นความต่าง ของการตัดสินใจ และพลักดันที่ช้า เร็ว ต่างกันไหมครับ

พูดถึงขนาดญีปุ่นเอง เมื่อไม่กี่วันก่อน ก็เพิ่งมีข่าว สนันสนุน การผลิตแบตรถไฟฟ้าระลอกใหม่อีกครั้ง
แล้วประเทศเราเป็นใครที่จะนั่งกระดิกเท้ารอละครับ ว่าอยากมาเมื่อไหรก็มา พร้อมเมื่อไหรก็มา .... ที่อื่นเค้าเอาไปกินหมดแล้วครับ

ที่ต้องรีบทำ คือ รีบทำให้เกิดความต้องการ รถยนต์ไฟฟ้า
สนับสนุนทั้ง
ผู้ผลิต ลดภาษี ปีแรกๆ เข้ามาตั้งแล้ว ค่อยเก็บ ค่อยมีรายได้
ผู้บริโภค ลดภาษี ให้คนใช้ชุดแรก เพื่อเพิมความต้องการซื้อรถ ต้องการสถานีบริการ หรืออีกทางคือไปเพิ่มภาระให้กับรถสันดาป ราคารถ ราคาน้ำมัน
สถานบริการต่าง ๆ เมื่อเริ่มมีคนใช้ บริการต่าง ก็ต้องค่อยๆ ตามมา
เมื่อทุกอย่างค่อย ๆ ตาม ๆ กันมา ผู้บริโภคก็ซื้อตามกัน ความต้องการมันก็มากขึ้นตามลำดับเอง

ส่วนภาษีที่เก็บไม่ได้ ในปีแรก ๆ ก็ไปคำนวน หักลบกลบหนี้ กับการจ้างงานในประเทศ การไม่ต้องนำเข้าน้ำมัน การลดมลพิษโดยรวมเอา ว่าจะออกแบบ ๆ ไหน คุ้มไหม
ควรจะเริ่มคิด เริมทำตั้งแต่ Tesla Boom สร้างกระแสแรก ๆ ซะด้วยซ้ำไป



หรืออยากให้ไทยเสียมากกว่าได้เหมือนที่สิงคโปร์ยอมเสียผลประโยชน์มากมายลาก HYUNDAI มาตั้งโรงงาน BEV ขนาดจิ่วที่ในอนาคต 15-20 ข้างหน้าจะต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอนหากโรงงาน HYUNDAI ที่อินโดนีเซียเปลี่ยนไปผลิต BEV เต็มตัวแล้ว เพราะจุดประสงค์ของสิงคโปร์ที่ต้องการมีโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับไทยและอินโดนีเซียแล้วมันต่างกัน

รู้ได้ยังครับว่า สิงคโปเสียผลประโยชน์มากมาย ? ถ้าคิดจะผลิตขายแค่รถแบบเราก็ว่าไปอย่าง แต่เค้าไม่ใช่ครับ

สิงคโปร์เค้าตกลง และสนันสนุน การทำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะเค้าวางแผนเรื่องรถยนต์อัตโนมัติทั้งเกาะครับ
(นึกภาพตามในหนังไซไฟ มีรถวิ่งไปมา ให้บริการทั้งเมื่องแบบไม่มีคนขับ มีโรงงานประกอบรถอัตโนมัติ วิ่งซ่อม วิ่งชาร์ต วิ่งไปเซอร์วิสต่าง ๆ อัตโนมัติ)
เค้าไม่ได้แค่ตั้งโรงงานผลิต แล้วจบกัน เค้าตั้งศูนย์วิจัย autonomous vehicle พร้อมสนันสนุนสร้างจุดชาร์ต 30,000-60,000 จุดภายใน 2030 ปี
และอย่านึกว่าเค้าจะขายแค่ตัวรถครับ ตอนขายเค้าขายทั้งระบบ ซึ่งต่อไปเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกอาจจะต้องซื้อระบบนี้ไปใช้งาน

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า คำว่า "ช้า" และสิ่งที่มีค่าที่สุดคือ "เวลา" คืออะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2021, 20:47:50 โดย Wongsakorn5558 »

ออฟไลน์ PC CK

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,001


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า


ถ้าแนวคิดนี้ถูกต้องประเทศเราควรเป็นถังขยะโลกครับ ทุกวันนี้เครื่องดีเซลยุโรปก็เอามาเลหลังขายที่ไทยเยอะแล้วนะ

เพราะเครื่องสันดาปเค้ารณรงค์เลิกใช้กันทั่วโลก ไม่อยากให้ส่งเสริม ev ก็ต้องเอาของเหลือคนอื่นมาใช้ตลอดชีวิตหรือผลิตรถใช้เองเลยครับ เพราะ fuel cell พวกอู่ซ่อมรถยนต์ก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน

ถ้าไม่ปรับเลยก็ควรสูญพันธ์แบบไดโนเสาร์ดีแล้วครับ เซ้งอู่ทิ้งให้คนรุ่นใหม่ทำกิจการที่ทำให้ประเทศเจริญดีกว่าครับ
แรงแต่ถูกใจครับ
ขณะที่เค้าพยายามรณรงค์ลดการใช้ดีเซล
ประเทศเราทะลึ่งไปเน้นดีเซลเฉย
อุ้มดีเซลจนเกินงามครับ(ผมมีรถดีเซลในบ้าน3คันครับไม่ได้บูลลี่ดีเซลอะไร)
เราควรมี่จะเดินหน้าผลักดันให้มันการนำรถBEVมาขายและใช้กันอย่างทั่วถีง รวมถึงผลักการผลิตพลังงานจากพลังงานสะอาดให้มากกว่านี้ครับ  ตอนนีเผมขยับมาPHEV รอคันต่อไปของผมรอBEVละครับน แฟนผมนี่รอc40กับi4อยู่เลยครับ


ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,951
    • อีเมล์


อย่าเหมือนรถคันแรกนะ ตลาดรถพังไปเป้น ปีๆ

          ถ้าส่งเสริมรถ EV จริงๆ  ตลาดรถยนต์สันดาปทั้งรถใหม่  รถเก่า  อู่ซ่อมรถยนต์ พังเละเทะ ไม่มีโอกาศกลับมาเหมือนเดิมได้อีกเลย  หนักกว่ารถคันแรกหลายสิบเท่า


ถ้าแนวคิดนี้ถูกต้องประเทศเราควรเป็นถังขยะโลกครับ ทุกวันนี้เครื่องดีเซลยุโรปก็เอามาเลหลังขายที่ไทยเยอะแล้วนะ

เพราะเครื่องสันดาปเค้ารณรงค์เลิกใช้กันทั่วโลก ไม่อยากให้ส่งเสริม ev ก็ต้องเอาของเหลือคนอื่นมาใช้ตลอดชีวิตหรือผลิตรถใช้เองเลยครับ เพราะ fuel cell พวกอู่ซ่อมรถยนต์ก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน

ถ้าไม่ปรับเลยก็ควรสูญพันธ์แบบไดโนเสาร์ดีแล้วครับ เซ้งอู่ทิ้งให้คนรุ่นใหม่ทำกิจการที่ทำให้ประเทศเจริญดีกว่าครับ
แรงแต่ถูกใจครับ
ขณะที่เค้าพยายามรณรงค์ลดการใช้ดีเซล
ประเทศเราทะลึ่งไปเน้นดีเซลเฉย
อุ้มดีเซลจนเกินงามครับ(ผมมีรถดีเซลในบ้าน3คันครับไม่ได้บูลลี่ดีเซลอะไร)
เราควรมี่จะเดินหน้าผลักดันให้มันการนำรถBEVมาขายและใช้กันอย่างทั่วถีง รวมถึงผลักการผลิตพลังงานจากพลังงานสะอาดให้มากกว่านี้ครับ  ตอนนีเผมขยับมาPHEV รอคันต่อไปของผมรอBEVละครับน แฟนผมนี่รอc40กับi4อยู่เลยครับ

          เป้าหมายของประเทศไทยคือต้องการให้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตแบตเตอรี่ EV ของโลก และฐานการผลิตรถ EV ของโลก  ถ้าใช้วิธีลดภาษีอย่างเดียวอาจจะกระทบแผนงานที่วางไว้  อาจจะมีแต่รถ EV นำเข้า  แต่ไม่มีบริษัทไหนมาตั้งฐานผลิตแบตเตอรี่และรถ EV 

ออฟไลน์ blitzpao

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 738
อ้างถึง
รู้ได้ยังครับว่า สิงคโปเสียผลประโยชน์มากมาย ? ถ้าคิดจะผลิตขายแค่รถแบบเราก็ว่าไปอย่าง แต่เค้าไม่ใช่ครับ

สิงคโปร์เค้าตกลง และสนันสนุน การทำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะเค้าวางแผนเรื่องรถยนต์อัตโนมัติทั้งเกาะครับ
(นึกภาพตามในหนังไซไฟ มีรถวิ่งไปมา ให้บริการทั้งเมื่องแบบไม่มีคนขับ มีโรงงานประกอบรถอัตโนมัติ วิ่งซ่อม วิ่งชาร์ต วิ่งไปเซอร์วิสต่าง ๆ อัตโนมัติ)
เค้าไม่ได้แค่ตั้งโรงงานผลิต แล้วจบกัน เค้าตั้งศูนย์วิจัย autonomous vehicle พร้อมสนันสนุนสร้างจุดชาร์ต 30,000-60,000 จุดภายใน 2030 ปี
และอย่านึกว่าเค้าจะขายแค่ตัวรถครับ ตอนขายเค้าขายทั้งระบบ ซึ่งต่อไปเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกอาจจะต้องซื้อระบบนี้ไปใช้งาน

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า คำว่า "ช้า" และสิ่งที่มีค่าที่สุดคือ "เวลา" คืออะไร

อันนี้จริงมากสิงคโปร์ไม่เคยทำอะไรเสียเปรียบครับ  แผนของสิงคโปร์คือทำ Smart City ทั้งเกาะ ในอนาคตแทบจะแบนมนุษย์ในการขับรถด้วยซ้ำ  แค่ตอนนี้หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในสนามบินยังใช้หุ่นยนต์เดินตรวจแทน แล้วให้ จนท ดูผ่านกล้องเอา



กลับมาที่ไทยสำหรับการเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่อันนี้น่าจะยากแล้วครับเพราะว่าไทยไม่มีแร่ธาตุทำได้แต่นำเข้า ถึงแม้ว่าเราจะมีภาคการผลิตแบตหลายเจ้าแต่ก็เป็นเทคโนโลยีแบบเก่ามากๆ ตอนนี้ถ้าทำได้คือให้เงินสนับสนุนบริษัทแบตเตอรรี่ไทยสร้างนวัตธรรมสักอย่าง

ออฟไลน์ Auto

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,660
เร่งหนุนก็จริง      แต่มันจะไปได้แบบหัวโตขาลีบหรือเปล่า  คือมีรถไฟฟ้าออกมาเยอะ ๆ  แต่ปัจจัยพื้นฐานตามไม่ทัน     รวมถึงคนซื้อด้วยตามไม่ทัน
     ผมคนนึงออกตัวเรียนไว้แต่แรก  ๆ  มาหลายกระทู้แล้ว      ผมจะซื้อรถ ISUZU ดีเซลรุ่นเก่า   อาจเป็นคันสุดท้ายของชีวิตแล้ว    ไม่ได้คิดจะซื้อรถไฟฟ้าแต่อย่างใด        คนแบบผมก็มีเยอะด้วยนะ ลองไปดูคนชนบท ตามตจว ได้เลย    รายได้ก็ไม่ได้เยอะแยะอะไร   ยังใช้ปิคอัพดีเซลรุ่นเก่า ๆ กันอยู่เลย     ปัจจัยพื้นฐานและรายได้ของคนไทยส่วนใหญ่มันคงยังไปไม่ถึงจุดนั้นหรอกมั้งใช้เวลาอีกนานกว่ารถไฟฟ้าจะมาเต็ม        แน่นอนว่ามันคงโตขึ้นตามภาครัฐเร่งส่งเสริม 

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,951
    • อีเมล์
อ้างถึง
รู้ได้ยังครับว่า สิงคโปเสียผลประโยชน์มากมาย ? ถ้าคิดจะผลิตขายแค่รถแบบเราก็ว่าไปอย่าง แต่เค้าไม่ใช่ครับ

สิงคโปร์เค้าตกลง และสนันสนุน การทำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะเค้าวางแผนเรื่องรถยนต์อัตโนมัติทั้งเกาะครับ
(นึกภาพตามในหนังไซไฟ มีรถวิ่งไปมา ให้บริการทั้งเมื่องแบบไม่มีคนขับ มีโรงงานประกอบรถอัตโนมัติ วิ่งซ่อม วิ่งชาร์ต วิ่งไปเซอร์วิสต่าง ๆ อัตโนมัติ)
เค้าไม่ได้แค่ตั้งโรงงานผลิต แล้วจบกัน เค้าตั้งศูนย์วิจัย autonomous vehicle พร้อมสนันสนุนสร้างจุดชาร์ต 30,000-60,000 จุดภายใน 2030 ปี
และอย่านึกว่าเค้าจะขายแค่ตัวรถครับ ตอนขายเค้าขายทั้งระบบ ซึ่งต่อไปเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกอาจจะต้องซื้อระบบนี้ไปใช้งาน

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า คำว่า "ช้า" และสิ่งที่มีค่าที่สุดคือ "เวลา" คืออะไร

อันนี้จริงมากสิงคโปร์ไม่เคยทำอะไรเสียเปรียบครับ  แผนของสิงคโปร์คือทำ Smart City ทั้งเกาะ ในอนาคตแทบจะแบนมนุษย์ในการขับรถด้วยซ้ำ  แค่ตอนนี้หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในสนามบินยังใช้หุ่นยนต์เดินตรวจแทน แล้วให้ จนท ดูผ่านกล้องเอา



กลับมาที่ไทยสำหรับการเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่อันนี้น่าจะยากแล้วครับเพราะว่าไทยไม่มีแร่ธาตุทำได้แต่นำเข้า ถึงแม้ว่าเราจะมีภาคการผลิตแบตหลายเจ้าแต่ก็เป็นเทคโนโลยีแบบเก่ามากๆ ตอนนี้ถ้าทำได้คือให้เงินสนับสนุนบริษัทแบตเตอรรี่ไทยสร้างนวัตธรรมสักอย่าง

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รอง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าการประชุมศูนย์บริหารเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) วันนี้ (4 มิ.ย.) จะเสนอความคืบหน้าของการดึงการลงทุนบริษัทต่างชาติมาลงทุนในไทย โดยมีความคืบหน้าสำคัญ คือ การดึงบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำเทคโนโลยี EV มาตั้งฐาน การผลิตในไทยเพื่อสนับสนุนเป้าหมาย ในการผลิตรถ EV ให้ได้ 30% ของปริมาณการผลิตรถยนต์ไทยภายในปี 2573
         
ขณะนี้ส่วนที่คืบหน้าชัดเจน คือ การเจรจา บริษัทผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับ EV ที่มีผู้ที่เข้ามาเจรจา 8 บริษัท และมั่นใจว่าจะดึงมาตั้งโรงงานในไทยได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 บริษัท ซึ่งหากไทยมีฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV จะช่วย สนับสนุนให้เป็นศูนย์กลางของการผลิต EV  ในภูมิภาคได้
         
สำหรับมาตรการการจูงใจการลงทุน EV  นอกจากสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับแล้วรัฐบาลพร้อมสนับสนุนวงเงินลงทุน บางส่วน โดยใช้เงินจากกองทุนส่งเสริม ขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่การสนับสนุน เป็นตัวเงินมีเงื่อนไข คือ บริษัทที่มาลงทุนต้อง ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่บุคลากรคนไทย คือ การช่วยพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรเราตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งช่วยให้แรงงานเรามีทักษะและความรู้สาขานี้มากขึ้น และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้
         
ขณะที่การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งในส่วนปัญญาประดิษฐ์ และ คลาวด์คอมพิวติ้ง มีกลุ่มที่สนใจมาลงทุน ในไทยเช่นกันและอยู่ระหว่างการเจรจา
         
"การส่งเสริมการลงทุนในไทยอยู่ระหว่าง ปรับปรุงในหลายด้าน เช่น การลดภาษีนิติบุคคล ให้เทียบเท่ากับสิงคโปร์ เพื่อมาตรการในการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการตั้งสำนักงาน ในภูมิภาค ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ บีโอไอจะมีการขยายออกไป ซึ่งมั่นใจว่าหลังจาก สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายจะลงทุนเกิดขึ้น อย่างชัดเจนหลายอย่างในไทย"
       
รายงานข่าวระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการไทย มีความก้าวหน้าในการลงทุนแบตเตอรี่ รวมถึง แบตเตอรี่สำหรับ EV ที่มีการร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ดังนี้
         
กลุ่ม ปตท.ประกาศรุกธุรกิจ EV value chain เริ่มต้นจากบริษัทลูก คือ บริษัท โกลบอล  เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ที่ลงทุนตั้งโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บ พลังงาน (โรงงานต้นแบบ) ในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งได้เปิดตัวแบตเตอรี่ G-Cell ที่ใช้เทคโนโลยี Semi Solid เซลล์แรก ของไทย โดยการใช้เทคโนโลยีการผลิต 24M จากสหรัฐ เมื่อปลายเดือน ธ.ค.2563 และพร้อมดำเนินการผลิตในไตรมาส 2 ปี 2564 ด้วยกำลังผลิตอยู่ที่ 30 เมกะวัตต์ชั่วโมง
         
รวมทั้ง มีแผนขยายโครงการผลิตแบตเตอรี่ ขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์แห่งใหม่ มีขนาดกำลังการผลิตเท่ากับ 1,000 เมกะวัตต์ชั่วโมง
         
นอกจากนี้ GPSC ยังมีโครงการ G-Box ระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ขนาด 150 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh)นำร่องติดตั้งในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station สาขาหนองแขม เพื่อรองรับ EV Station คาดว่าในอนาคตจะขยายการติดตั้งเพิ่มขึ้น
         
อีกทั้ง GPSC ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อย เพื่อดำเนินการเข้าลงทุนในบริษัท Anhui Axxiva New Energy Technology Co., Ltd. ("AXXIVA")ประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจโรงงานผลิตแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี 24 M มีมูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท มีเป้าหมาย กำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี คาดว่า จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปลายปี2564 และเริ่ม ดำเนินการผลิตแบตเตอรี่เชิงพาณิชย์ภายในต้นปี 2565
         
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ตั้งบริษัท อัลฟ่า คอม จำกัด รองรับการลงทุนธุรกิจใหม่ ตามกลยุทธ์ New S-Curve เช่น การตั้งบริษัท SWAP & GO ซึ่งกำลังทดสอบกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้ Swap หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่แบบการสลับแบตเตอรี่ ด้วยการถอดเอาแบตเตอรี่ออกแล้วใส่แบตเตอรี่ ลูกใหม่เปลี่ยนพร้อมใช้งานทันที โดยไม่ต้อง จอดรอชาร์จไฟฟ้า
         
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของทาง ไต้หวัน คือ Amita Technologies Inc ซึ่งเป็น โครงการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เฟส 1  กำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี โดยมีแผนติดตั้งเครื่องจักรช่วง เม.ย.-พ.ค.นี้ เริ่ม ทดสอบการเดินเครื่องใช้เวลา 2 เดือน และจะเริ่ม เดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์เดือน ก.ค.2564
         
ระยะแรก EA จะนำมาใช้ในโครงการรถยนต์ไฟฟ้า MINE SPA 1 และเรือไฟฟ้า นอกจากนี้ แบตเตอรี่ที่จะผลิตนำไปใช้กักเก็บ พลังงานในโรงไฟฟ้าทุกประเภท ระบบสายส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ที่อยู่อาศัย อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
         
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งบริษัทร่วมทุนที่มี กฟผ.ถือหุ้น 40% และมีบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ  RATCH และบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ร่วมถือหุ้นด้วยแห่งละ 30% เพื่อพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และลงทุนในธุรกิจพลังงานเพื่ออนาคต เช่น สมาร์กริด รวมถึง นวัตกรรมที่รองรับ EV เช่น การพัฒนาระบบ กักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่
         
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างศึกษาแผนการลงทุนก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ลิเทียม เพราะปัจจุบันเทคโนโลยียังไม่นิ่งและเปลี่ยนแปลงเร็ว และอัพเกรดตลอดเวลา และยังมีความ ไม่แน่นอนว่าแต่ละบริษัทจะใช้แบตเตอรี่ รุ่นไหน เพราะขนาดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมี 7-8 ประเภท ซึ่งหากมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาก็อาจส่งผลให้เทคโนโลยีเข้ามาใหม่อาจทำให้เห็นแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มากกว่า 10 ประเภทได้

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
เร่งหนุนก็จริง      แต่มันจะไปได้แบบหัวโตขาลีบหรือเปล่า  คือมีรถไฟฟ้าออกมาเยอะ ๆ  แต่ปัจจัยพื้นฐานตามไม่ทัน     รวมถึงคนซื้อด้วยตามไม่ทัน
     ผมคนนึงออกตัวเรียนไว้แต่แรก  ๆ  มาหลายกระทู้แล้ว      ผมจะซื้อรถ ISUZU ดีเซลรุ่นเก่า   อาจเป็นคันสุดท้ายของชีวิตแล้ว    ไม่ได้คิดจะซื้อรถไฟฟ้าแต่อย่างใด        คนแบบผมก็มีเยอะด้วยนะ ลองไปดูคนชนบท ตามตจว ได้เลย    รายได้ก็ไม่ได้เยอะแยะอะไร   ยังใช้ปิคอัพดีเซลรุ่นเก่า ๆ กันอยู่เลย     ปัจจัยพื้นฐานและรายได้ของคนไทยส่วนใหญ่มันคงยังไปไม่ถึงจุดนั้นหรอกมั้งใช้เวลาอีกนานกว่ารถไฟฟ้าจะมาเต็ม        แน่นอนว่ามันคงโตขึ้นตามภาครัฐเร่งส่งเสริม
พวกที่อยากได้รถไฟฟ้าอะไรนั่น  เห็นมีแต่ให้รัฐอออกนโยบายกระตุ้นแต่ไม่เคยคิดถึงคนอื่นนะครับว่าคนอื่นๆที่เป็นประชากรส่วนใหญ่เค้าพร้อมใช้รถไฟฟ้าหรือรถไฮบริดมั้ย. ราคามันไม่ได้ถูกสักนิดนึงและไม่ได้ซ่อมง่ายด้วย ทั้งเรนจ์ไกลและใกล้ แค่วิ่งได้120กม.จากจีนก็เกือบสี่แสนบาท อีกอย่างคนเค้าซื้อมาก็อยากวิ่งได้เหนือจดใต้ไม่ใช่วิ่งไปแค่100-200กม.แล้วต้องห่วงแบตจะหมดหรือที่ชาร์จใช้การไม่ได้ แถมชาร์จแบตแบบเร็วใช้เวลาเป็นชั่วโมงอีก ส่วนจะให้ขึ้นเครื่องและเหมารถเอา หากว่าครอบครัวใหญ่มันคงแพงน่าดูและคงเที่ยวไม่ได้หลายที่

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,917
ถ้าหนุนด้วยความสุจริตใจ หนุนเะราะความจริงใจทร่จะแก้ปัญหา ผมก็ยินดีกับความคิดนี้ครับ

แต่ส่วนตัว ผมยังเชื่อว่าหนุนเพราะผลประโยชน์มากกว่า

ถ้าเอางบประมาณเหล่านี้ไปจัดหาเฮลิคอปเตอร์​ดับเพลิงไว้ดับไฟป่า หรือไปเข้มงวดกับโรงงานที่ปล่อยมลพิษ ยังจะดีกว่ามั๊ย???

ไม่ใช่ว่ารถไฟฟ้าวิ่งเต็มเมือง แต่โรงงานยังปล่อยฝุ่นออกมาในจำนวนมากๆ ก็ไม่มีประโยชน์

ผมเห็นรง.แถบสมุทรสาคร แอบปล่อยฝุ่นคัวนดำ/ขาวตอนกลางคืนตลอดเลย

ดัดจริต​ประเทศไทยชัดๆ

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,421
    • อีเมล์
ถ้าหนุนด้วยความสุจริตใจ หนุนเะราะความจริงใจทร่จะแก้ปัญหา ผมก็ยินดีกับความคิดนี้ครับ

แต่ส่วนตัว ผมยังเชื่อว่าหนุนเพราะผลประโยชน์มากกว่า

ถ้าเอางบประมาณเหล่านี้ไปจัดหาเฮลิคอปเตอร์​ดับเพลิงไว้ดับไฟป่า หรือไปเข้มงวดกับโรงงานที่ปล่อยมลพิษ ยังจะดีกว่ามั๊ย???

ไม่ใช่ว่ารถไฟฟ้าวิ่งเต็มเมือง แต่โรงงานยังปล่อยฝุ่นออกมาในจำนวนมากๆ ก็ไม่มีประโยชน์

ผมเห็นรง.แถบสมุทรสาคร แอบปล่อยฝุ่นคัวนดำ/ขาวตอนกลางคืนตลอดเลย

ดัดจริต​ประเทศไทยชัดๆ

การนโยบายข้างบน มันคือนโยบาย
แล้ว กลุ่มที่ ดันนโยบาย และออกโรงก็คือ เครือ ปตท
ก็เหมือนกินรวบ พลังงานทั้ง แบตและน้ำมัน

เห้นนโยบาย จุดชาร์ท 30000 จุดในปี 2030

ปี 2 020  ไทยมีปั้ม สำรวจได้ราวๆ 29000 ปั้ม X หัวจ่าย 10  = 290,000 หัว เวลาจ่าย ไม่เกิน 2 นาที ใน 30  นาที บริการได้ 4.3 ล้านคัน
ปี  2030  นโยบายมี   30000 จุดชาร์ท    เวลาชาร์ท  30 นาที  ใน 30  นาที บริการได้ 30000 คัน  ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
คิดเป็นอัตราส่วน 30000 ต่อ   4.3 ล้านคัน  เป็น 0.6 %

นโยบายมาแบบนี้ อีก 10 ปี เราจะเป็น EV วิ่ง แค่ 1 % ของรถในประเทศทั้งหมด
พอมองอนาคตประเทศออกละ ผมซื้อ Hybrid ดีกว่าแฮร่ๆๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2021, 11:29:00 โดย mamaman »

ออฟไลน์ panjap

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,256
อ้างถึง
รู้ได้ยังครับว่า สิงคโปเสียผลประโยชน์มากมาย ? ถ้าคิดจะผลิตขายแค่รถแบบเราก็ว่าไปอย่าง แต่เค้าไม่ใช่ครับ

สิงคโปร์เค้าตกลง และสนันสนุน การทำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะเค้าวางแผนเรื่องรถยนต์อัตโนมัติทั้งเกาะครับ
(นึกภาพตามในหนังไซไฟ มีรถวิ่งไปมา ให้บริการทั้งเมื่องแบบไม่มีคนขับ มีโรงงานประกอบรถอัตโนมัติ วิ่งซ่อม วิ่งชาร์ต วิ่งไปเซอร์วิสต่าง ๆ อัตโนมัติ)
เค้าไม่ได้แค่ตั้งโรงงานผลิต แล้วจบกัน เค้าตั้งศูนย์วิจัย autonomous vehicle พร้อมสนันสนุนสร้างจุดชาร์ต 30,000-60,000 จุดภายใน 2030 ปี
และอย่านึกว่าเค้าจะขายแค่ตัวรถครับ ตอนขายเค้าขายทั้งระบบ ซึ่งต่อไปเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกอาจจะต้องซื้อระบบนี้ไปใช้งาน

มาถึงตรงนี้เห็นหรือยังครับว่า คำว่า "ช้า" และสิ่งที่มีค่าที่สุดคือ "เวลา" คืออะไร

อันนี้จริงมากสิงคโปร์ไม่เคยทำอะไรเสียเปรียบครับ  แผนของสิงคโปร์คือทำ Smart City ทั้งเกาะ ในอนาคตแทบจะแบนมนุษย์ในการขับรถด้วยซ้ำ  แค่ตอนนี้หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในสนามบินยังใช้หุ่นยนต์เดินตรวจแทน แล้วให้ จนท ดูผ่านกล้องเอา



กลับมาที่ไทยสำหรับการเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่อันนี้น่าจะยากแล้วครับเพราะว่าไทยไม่มีแร่ธาตุทำได้แต่นำเข้า ถึงแม้ว่าเราจะมีภาคการผลิตแบตหลายเจ้าแต่ก็เป็นเทคโนโลยีแบบเก่ามากๆ ตอนนี้ถ้าทำได้คือให้เงินสนับสนุนบริษัทแบตเตอรรี่ไทยสร้างนวัตธรรมสักอย่าง

อันนี้คุณพูดจริงหรือเดาเอาครับ ที่ว่าเทคโนโลยี่เก่ามากๆ
รง.แบต gpsc นี่ก็ไม่ได้แย่เลยนะ เทคโนโลยี ใช้ของ 24 m ยังไม่มีชาติไหนในอาเซียนทำได้เลย ส่วน โรงงาน ของ EA  amita นั่นก็ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กำลังการผลิต 1 GW  และใช้เทคโนโลยีมากมายจาก amita ไต้หวัน ที่ทำแบตใช้กับเรือดำน้ำด้วยซ้ำไป

ออฟไลน์ alpha14

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,109
มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง   

เดี๋ยวอีกสองเดือน  พี.เอ็ม.  ก็พูดอีกรอบ....

ไม่พูดดีกว่า
นั่นละฮะ มาตรการไม่เป็นสัปะรดสักอย่าง คิดทำโน่นแต่กลัวนี่ กระทบตรงโน้นตรงนี้ ฝุ่นจะกลับมาอีกแล้วก็วนแบบเดิมๆ คำสั่งเด็ดขาดมีไหม!

ออฟไลน์ axister

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,221
ทำไมถึงคิดว่าหนุนรถไฟฟ้าแล้วคนทั้งประเทศจะโดนบังคับใช้ครับ

ดูอย่างจีนมั้ยครับ ขนาดเค้าเป็น communist หนุนยิ่งกว่าคำว่าหนุนอีก เค้ายังมีรถ ice ขายอยู่เลย

ไทยอีก 10ปีก็ยังปรับเป็นไฟฟ้าไม่ได้ 90% หรอกครับ โครงสร้างประเทศเราค่อนข้างแย่ ส่วนนึงมาจากรัฐบาลก็จิงแต่เปลี่ยนไปก็ใช่ว่าจะทำให้เร็วขึ้นมากเท่าไหร่ พูดแบบไม่โยงการเมืองนะครับ

ถ้า anti-รถไฟฟ้ามากๆ ก็แค่ไม่ต้องใช้ครับ ผมเชื่อว่าคน generation ที่ไม่อยากพัฒนาแล้ว อยู่ไม่ถึงตอนบังคับ 100% แน่ๆครับ ผมเองเป็น gen y ยังไม่แน่ใจว่าตอนนั้นจะยังขับรถอยู่มั้ยเลย

ต้องเข้าใจคำว่าหนุนใหม่อะครับ เค้าแค่ลดราคาเพิ่มแรงจูงใจ ซึ่งถ้ารถไฟฟ้า oversupply จริงๆ สถานีชาร์จไม่พอ เค้าก็ชาร์จกันที่บ้านได้ครับ มันจะหัวโตขาลีบยังไงอะ แบตมันขับได้หลัก 100โลนะครับ ไม่ใช่ phev ได้ 40-60โล พอ demand เพิ่มเดี๋ยวพวกนายทุนก็ลงทุนปั้มไฟฟ้าเพิ่มมันก็เป็นตาม demand supply อะครับ

จะบังคับให้เตรียมให้พร้อมก่อนหรอ ทำปั้มไฟฟ้าเฉยๆค่อยสนับสนุน พอไม่มี demand ใครเค้าจะทำอะครับ ทำธุรกิจเอากำไรนะไม่ใช้การกุศลอะ

ตจวพัฒนาตาม กทม. ก็ถูกแล้วอะครับ คน ตจว ก็ใช้รถ ice ไปเค้าไม่ได้เลิกขายนิ ไม่ได้บังคับทำลายป่าวครับ ผมงงแนวคิดนี้อะครับ แค่เพิ่ม option ของเครื่องยนต์เป็นไฟฟ้ามา ผมว่าคนกลุ่ม ตจว. ไม่ใช่นายทุนปั้มหรือผลิตเครื่องยนต์ด้วย เค้าไม่เสียประโยชน์หรอกครับ