ดีเดย์ 1 ก.ย. 2566 ปิดฉาก “เอสโซ่” ตำนานปั๊มพี่เสือ 129 ปีในไทย

Darkart



นับถอยหลัง 1 ก.ย. 2566 รูดม่านแบรนด์ “เอสโซ่” ปิดฉากปั๊มน้ำมันพี่เสือที่อยู่คนไทยมานาน 129 ปี ทยอยปรับโฉม 700 ปั๊มสู่ “บางจาก” ภายใน 2 ปี

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ตามที่มีการนำเสนอข่าว บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) เข้าซื้อกิจการของ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) เมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา และกลายเป็นที่สนใจของผู้คนถึงความเคลื่อนไหวใหญ่ของวงการธุรกิจน้ำมันในประเทศไทย

ล่าสุด มีการเผยแพร่ภาพข้อความเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุว่า “หลังวันที่ 31 สิงหาคม 2566 พวกเราจะไม่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “เอสโซ่ (ESSO)” ได้อีก เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาอันแสนวิเศษ หัวใจที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจและเกียรติยศ เราใช้เวลาของเรา และทะนุถนอมสิทธิพิเศษในการรับใช้คุณ ขอบคุณจากก้นบึ้งของหัวใจเรา”


การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการเข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ (ประเทศไทย) ของบางจาก ซึ่งได้มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อ 12 มกราคม 2566 ถึงสิทธิการใช้ตราสินค้า “เอสโซ่ (ESSO)” หลังจากเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการ

โดยเอกสารระบุว่า “เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุม (Change in Control) เอ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่น จะส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า (Trademark License Agreement) มายังบริษัทฯ

โดยให้การเลิกสัญญามีผลในวันที่เป็นผลล่าเร็จตามสัญญาซื้อขายหุ้น และจะทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าแบบไม่เป็นผู้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive Transitional Trademark License Agreement) กับบริษัทฯ ต่อไปอีกเปี๊นระยะเวลา 2 ปีนับจากวันที่เป็นผลสำเร็จ

ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถใช้ตรา “ESSO” และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ ได้อย่างจำกัดสำหรับธุรกิจการตลาดขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งรวมถึง โปรแกรมการตลาดสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel marketing programs) Ioyalty programs บัตรเครดิต (card programs)) เพื่ออำนวยความสะดวกในการที่บริษัทฯ จะเปลี่ยนไปใช้ตราใหม่หลังจากวันที่เป็นผลสำเร็จ

บริษัทๆ ขอแจ้งให้ทราบว่หลังจากการบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้ามีผลบังคับในวันที่เป็นผลสำเร็จ บริษัทฯ จะไม่สามารถใช้ตราและเครื่องหมายการค้ใดๆ ของเอ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่นได้ และการใช้ตรา “ESSO” หลังจากว้นที่เป็นผลสำเร็จจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการคำแบบไม่เป็นผู้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive Transitional Trademark License Agreement)”

สำหรับการเข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ ประเทศไทย ของบางจาก ในครั้งนี้นั้น เริ่มตั้งแต่ 12 มกราคม 2566 ซึ่งทั้ง 2 บริษัทฯ มีการทำสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO ในวันที่ 11 มกราคม 2566 จำนวน 2,283,750,000 หุ้น หรือคิดเป็น 65.99% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของเอสโซ่ จาก ExxonMobil Asia Holdings Pte. Ltd. (ผู้ขาย) โดยมีมูลค่ากิจการ 55,000 บาท

และเมื่อ 25 สิงหาคม 2566 บางจาก ได้รายงานความคืบหน้าการเข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ ประเทศไทย ระบุว่า บริษัทจะดำเนินการซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวจากผู้ขายในมูลค่า 22,605,926,000 บาท หรือคิดเป็นราคา 9.8986 บาทต่อหุ้น (โดยการปัดเศษทศนิยม 4 ตำแหน่ง) และชำระราคาค่าหุ้นสามัญให้กับผู้ขาย ในวันที่ 31 สิงหาคม 2566

และจะมีการทำ Tender Offer หุ้นส่วนที่เหลืออีก 34.01% หุ้นละ 9.8986 บาท มูลค่ารวม 11,651,721,248.80 บาท ในวันที่ 8 กันยายน-12 ตุลาคม 2566 และชำระราคาหลักทรัพย์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566

“บางจาก” จะได้อะไรจากการเข้าซื้อ “เอสโซ๋ (ประเทศไทย)”
การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ บางจากจะได้ทั้งโรงกลั่นน้ำมันกำลังการกลั่น 174,000 บาร์เรลต่อวัน เครือข่ายคลังน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศกว่า 700 แห่ง ซึ่งจะทำให้บางจากฯมีกำลังการกลั่นน้ำมันรวม 294,000 บาร์เรลต่อวัน และเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,100 แห่ง

ขณะที่แบรนด์น้ำมันหล่อลื่นและเคมีภัณฑ์ จะยังคงอยู่กับเอ็กซอนโมบิล (ExxonMobil) ภายใต้ชื่อ “บริษัท เอ็กซอนโมบิล มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด” ซึ่งจะทำการตลาดผลิตภัณฑ์หล่อลื่น “โมบิล (Mobil)” และเคมีภัณฑ์

ใช้เวลา 2 ปี เปลี่ยนแบรนด์สู่ “บางจาก” ทั้ง 700 แห่ง
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังการซื้อขายเสร็จสิ้น โดยระบุว่า หลังปิดดีลซื้อกิจการเสร็จสิ้นแล้ว ปั๊มน้ำมันของเอสโซ่ 700 ปั๊ม จะทยอยเปลี่ยนมาเป็นปั๊มภายใต้แบรนด์ของบางจากทั้งหมด โดยมีระยะเวลาดำเนินการปรับเปลี่ยนให้เสร็จภายใน 2 ปี

ขณะที่สูตรน้ำมันของปั๊มเอสโซ่ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นสูตรน้ำมันของบางจากฯทั้งหมด โดยขอให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น และมั่นใจในคุณภาพน้ำมันของบางจากฯ ที่มีมาตรฐานสูง

“เราจะขอเวลา 2 ปี ในการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเห็นปั๊มยี่ห้อเอสโซ่ยังอยู่ เพราะว่าต้องค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง และเราจะใช้บริการให้เอสโซ่ จัดหาน้ำมันดิบด้วย เพื่อจะเอามากลั่นในโรงกลั่นฯที่ศรีราชา ส่วนจะมีความร่วมมือกับไทยออยล์หรือไม่นั้น เป็นเรื่องของอนาคต” นายชัยวัฒน์ กล่าว

ตำนาน 129 ปี ปั๊มพี่เสือ
สำหรับเอสโซ่ เริ่มเข้ามาทำกิจการในประเทศไทย เมื่อปี 2437 ในชื่อ “บริษัท แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก” ทำหน้าที่จัดจำหน่ายน้ำมันก๊าด และผลิตภัณฑ์น้ำมันตรา “ม้าบิน” ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอร์น จำกัด” เมื่อปี 2505 และเปลี่ยนแบรนด์เป็น “ตราเอสโซ่” ในวงรีรูปไข่ แบบที่คุ้นเคยในปัจจุบัน

เอกลักษณ์สำคัญของ “เอสโซ่” ที่คุ้นตากันมาตลอด คือ พี่เสือ ซึ่งเป็นมาสคอตประจำปั๊ม และสโลแกนที่คุ้นเคยของคนไทย คือ “จับเสือใส่ถังพลังสูง” ซึ่งเป็นสโลแกนในอดีตที่ใช้เพื่อสื่อสารถึงประสิทธิภาพของน้ำมันที่ให้สมรรถนะที่ดีเหมือนกับการวิ่งของเสือ และเป็นโลโก้ประจำร้าน Tiger Mart ร้านสะดวกซื้อของเอสโซ่
ผู้ไม่มีแผลเป็น คือ ผู้ไม่มีประสบการณ์



apinui

ช่วงหลังการเข้าซื้อ esso ก็เห็นหลายปั๊มเลยที่สร้างเสร็จใหม่ๆ และมีขนาดใหญ่มาก เลยเกิดสงสัยว่า ทำไมไม่เปิดเป็นบางจากไปเลย เพราะเดียวก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี


 



I-PULSE

น่าเสียดาย ผมเติม E20 esso มาตลอดเป็น 10 ปี เพราะรู้สึกว่าประหยัดที่สุด



Fragile

เมื่อก่อนมี Tigermart กับที่ล้างรถอัตโนมัติด้วย



youngbear

 8) 8) 8).....อืม เสียดายเหมือนกัน โดยเฉพาะ ตัวพรีเมี่ยมดีเซลเอสโซ่ ที่เติมแล้ว วาล์เงียบดี ทั้งเครื่องร้อนและเย็น ต่างกับ CN 70 ดีเซลของอีกแบรนด์ ที่ค่าซีเทนสูงดี วิ่งเร่งดี แต่ร้อนแล้ว เสียงวาล์วจะดัง ต่อไปไม่รู้จะดีเหมือนเอสโซ่ไหม  :-X



PaPaMan

คิดถึงสโลแกน "จับเสือใส่ถัง พลังสูง" ขึ้นมาเลยเชียว


อิ อิ... รู้อายุเลยเม้นท์นี้  :-[ :-[


ต่อไปแบรนด์ต่างชาติก็จะเหลือแค่ หอย กับ ดาว
ที่ไปก่อนหน้าก็จะมี ปิโตรนาส , Jet , Q8
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2023, 09:15:45 โดย PaPaMan »



Auto Messe

บางจากช่วงหลังทำการตลาดเก่งขึ้นมาก ปั๊มใหม่แถวบ้านดึงร้านอาหารดังๆมาเปิดเกือบสิบร้าน ลูกค้ามาจอดกินข้าวเต็มปั๊ม บางคนก็เลยเติมน้ำมันด้วย ปั๊มคึกคักตลอดไม่เหงา ส่วน esso กับ shell มีแค่ร้านกาแฟเงียบเหงามาก



nmd

ตามต่างจังหวัดปั๊ม Esso นี่เก่าและโทรมมากครับ
ไม่ปรับปรุงเลย ไม่แปลกที่ลูกค้าจะไปปั๊มอื่น
บางที่ก็ขายให้ PT ไปแล้ว



panupong508

สมัยก่อนต้อง esso ต่างจังหวัดขับผ่านยังเห็นบรรยากาศปั๊มแบบเก่า บางแห่งเกือบร้าง แต่ยังเปิดให้บริการ :'(



a@s

เสียดาย ส่วนัวผมเติมแต่เสือ e20 วิ่งได้นานกว่าปั้มของไทย หวังว่าบางจากจะเอาคุณภาพน้ำมันไปด้วย



Gunners-headlight

ช่วงหลังการเข้าซื้อ esso ก็เห็นหลายปั๊มเลยที่สร้างเสร็จใหม่ๆ และมีขนาดใหญ่มาก เลยเกิดสงสัยว่า ทำไมไม่เปิดเป็นบางจากไปเลย เพราะเดียวก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี
เข้าใจว่า อาจจะต้องทำตามสัญญาเดิม กับบริษัทก่อสร้างหรือ ผู้รับเหมาด้วยครับ  ไปยกเลิกกลางทางไม่ได้ครับ



recycleman

น่าเสียดายครับเพราะเป็นอีก1ปั๊มที่ใช้บริการประจำ สมัยยังเด็กที่บ้านก็จะเติมเอสโซ่เป็นหลักเลยยุคนั้นเติม250-300ได้น้ำอัดลมกระป๋องนึงมีพวงกุญแจหางเสือตอนนั้นมองไปไหนก็จะเห็นพวงกุญแจหางเสือนี่เต็มไปหมด



Darkart

คิดถึงสโลแกน "จับเสือใส่ถัง พลังสูง" ขึ้นมาเลยเชียว


อิ อิ... รู้อายุเลยเม้นท์นี้  :-[ :-[


ต่อไปแบรนด์ต่างชาติก็จะเหลือแค่ หอย กับ ดาว
ที่ไปก่อนหน้าก็จะมี ปิโตรนาส , Jet , Q8

แบรนด์ต่างชาติ ตอนนี้ เหลือแต่ Shell เจ้าเดี่ยวแล้ว
ส่วน Caltex  ขายกิจการให้ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC แล้วครับ
ผู้ไม่มีแผลเป็น คือ ผู้ไม่มีประสบการณ์



ภูมิใจไหม?

เวรกรรม รถผมจูน E20 ของ Esso เพราะได้ม้ามากกว่า ปตท.

ทีนี้ผมก็ไม่มีที่เติมละ ....

เศร้า



Ruksadindan

แต้ม โอนได้ ไม่เดือดร้อนเท่าไหร่
แต่ cashback ของ TTB นี่สิน่ากังวล

ตอนธนชาตโดนทหารไทยฮุบ บัตร cashback แบบเงื่อนไขน้อย ก็หายไปด้วยครับ ปัจจุบันจำกัดที่เสือกับดาวนี่ล่ะ



Firzen

คิดถึงสโลแกน "จับเสือใส่ถัง พลังสูง" ขึ้นมาเลยเชียว


อิ อิ... รู้อายุเลยเม้นท์นี้  :-[ :-[


ต่อไปแบรนด์ต่างชาติก็จะเหลือแค่ หอย กับ ดาว
ที่ไปก่อนหน้าก็จะมี ปิโตรนาส , Jet , Q8

แบรนด์ต่างชาติ ตอนนี้ เหลือแต่ Shell เจ้าเดี่ยวแล้ว
ส่วน Caltex  ขายกิจการให้ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC แล้วครับ

เชลล์ได้ขายหุ้นของเชลล์ทั้งหมดในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ให้แก่ บริษัท ปตท.สผ. (จำกัด) มหาชน โดยมีการลงนามในสัญญาซื้อ-ขายหุ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2546 ได้มีการผลิตน้ำมันดิบเพชร จากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ โดยการดำเนินงานของบริษัทไทยเชลล์ฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 ล้านบาร์เรล ก่อนที่เชลล์จะขายหุ้นให้ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการต่อ
 
พัฒนาการก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในธุรกิจของเชลล์ในประเทศไทย ก็คือ การจัดตั้ง บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีเชลล์ถือหุ้น 64% และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ถือหุ้น 36% เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่ 4 ของประเทศ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง มีระบบการกลั่นน้ำมันอันทันสมัย มีกำลังกลั่น 145,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มเดินเครื่องเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 และเข้าสู่ปฏิบัติการในเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เชลล์ได้ขายหุ้นของเชลล์ทั้งหมดในโรงกลั่นน้ำมันระยองให้กับ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในปี 2547

อ้างอิง https://www.shell.co.th/th_th/about-us/who-we-are/history/country.html



e:smart Hybrid

ผมคงหนีไปเติมบางจาก เหมือนเดิมครับ แต่เสียดายส่วนลดเหลือ 1% ครับ น้อยมาก



spn

esso แถวจังหวัดใกล้ๆ  ปั๊มเก่า ห้องน้ำไม่สะอาด ไม่มีร้านค้าใดๆ ผมและที่บ้านแทบไม่เคยแวะ
มีปั๊มใหม่ๆ สัก 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำกว้าง รถจอดได้เยอะ นำร้านข้าวพื้นเมืองอร่อยๆมาลง คนแวะกันเยอะเลย
Revo 2.8 J B-cab 4x4
Kia Jumbo K2700 1JZ GE + LPG
Camry 2.5 HV Premium
E220d w213



คุณ นมๆ

ไม่รู้ตอนนี้เค้าใช้น้ำมันบางจากแล้วรึเปล่าเพราะผมเห็นราคาเท่ากันเลยทั้งสองปั๊ม เป็นอย่างนี้มาเดือนนึงได้แล้ว



SM.

บ.คนไทย ซื้อ บ.ต่างชาติซะเลย  ::) ::) ::) ::) ::) ::) แม้จะแค่ในไทยก็เถอะ