โฆษณาไทยคิดไกลผิดตราบเท่าที่ Solid state bat ตัวถูก สะอาด เบา ใช้นาน ไม่เปิดขาย

nobody123

ตอนผมจะซื้อรถคันที่สามของบ้าน แฟนอยากได้ SUV ดังนั้น หนึ่งในช็อยส์คือ Y (ตัวผมอยากได้ X)
อ่านเว็บไทยโฆษณาทั้งทางการ ทั้งชาวบ้านรีวิวจริง น่าซื้อ (เกือบซื้อ)
แต่ ระยะพิสูจน์แบตในไทย สั้นไปครับ อย่างเช่น มีการสัมภาษณ์ผู้ใช้รายหนึ่ง 'ใช้ไปสามปี Capacity ลดเกือบ 10% พร้อมลงตัวเลข' ซึ่ง ตรงกับด้านล่างนี้เลยครับ (ไม่ดี)
ระยะยาว เป็นดังภาพนี้ครับ สี่ปี 10% 12ปี 30% ในบางบ้านเมืองประเทศค่อนข้างเย็นอย่างสหรัฐ


ปลายอายุ (ประมาณสิบปี) ผมเจอเจ้าของรถที่ Capacity แบตลด 66% (เหลือ 33%) แล้ว! ดังภาพนี้


ในไทยจะเจอหักลงเร็วกว่าเพราะ แม้ยังไม่ Max cycles reached แต่ Ambient temperature เกิน 27 องศา เยอะวันมากกว่าสหรัฐโดยรวมเยอะ (ญาติผมอยูหลายรัฐ อย่าง Texas ทางใต้ยังเย็นหลายวันมากเลย)
ส่วนคนใช้รถน้อย ก็อยู่ได้นาน ครับ (แต่มันไม่คุ้มส่วนต่างค่าน้ำมัน เมื่อเปลี่ยนแบตแม้เพียงครั้งเดียว)


โดยรวม ปัญหาแบตเป็นอย่างไรบ้าง เรามาดูรถที่ผลิตหลากหลายขนาดแบต คลิกดูหัวข้อในเพจนี้ได้เลยครับ
https://teslamotorsclub.com/tmc/tags/battery-replacement/
ไม่เห็นเหมือนโฆษณาที่บอกว่า แบตอยู่ได้ สามแสน - เกือบล้านโล เลยซักนิดเดียว (ผมว่าเขาเทสต์เมืองเย็นมากเลย)
; สำหรับคนเดินทางไกลแล้วชาร์จ *ทุกวัน* สามแสนโล เป็นไปได้ เพราะสิบปี ครบไซเคิลชาร์จ แต่เกินห้าแสนโลนี่ เจออากาศร้อน ๆ ไทย ไม่น่าไหวนะครับ

ก็เห็นเจ้าของเขียนในลิงค์อยู่ พอประมาณสิบปี วิ่งไปประมาณแสนกว่าโล เปลี่ยนแบตแล้ว
ราคารวมภาษีชิ้นส่วนไทย 25% ก็ตาม kWh เช่น 60-100 kWh ก็ต้องจ่ายกันตีกลม ๆ 600,000-1,000,000 บาท ครับ
(ยิ่ง DC ชาร์จบ่อย / จอดตากแดด =
1. ได้เปลี่ยนแบตในประกัน ดีเหมือนกัน
2. ได้เปลี่ยนแบตนอกประกันเร็วกว่าที่ควร ไม่น่าดีเพราะค่าบำรุงรักษาสูงกว่าคันอื่น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2024, 10:29:28 โดย nobody123 »



kiwiwi

ผมยกตัวอย่างแบตตะกั่วกรดนะครับ
ยกตัวอย่างเป็นแบตที่ใส่กับ ups แล้วกัน

อย่าง life time 10 ปีที่เขียนไว้ในสเป็คคือเรื่องจริงไหม ใช่ครับ คือเรื่องจริง แต่... มันคืออยู่ใน conditions control มีการควบคุมอุณหภูมิ​ มีการควบคุมการ charge และ discharge
Condition ที่ว่าคือ charge ที่กระแสตามคู่มือ ที่ 20 องศา โดยการ discharge คือ cycle ที่ลดลง พอมาเจออุณหภูมิ​ร้อนระอุของบ้านเราเดือนเมษา พวกแบตที่ทำงานใน open air ใช้ได้แค่ปีครึ่งเป็นแถบ

Lithuim ทุกประเภทก็ไม่ต่างกันครับ มี cycle มี temp. operation เป็นตัวแปรทั้งนั้นครับ คำว่า 300,000 โลหรือจะกี่ cycle ก็แล้วแต่ มักเป็นตัวเลขที่เขียนมาจาก lab ทั้งนั้นครับ

อย่างในบ้านเราเอง ปีนึงผมแบ่งเป็น 3 ช่วงนะครับ
1.ช่วงหน้าร้อน เป็นช่วงที่ทำลายแบตอย่างแท้จริง รองลงมาก็
2.หน้าหนาว ถ้าในภาคกลาง เวลารถติดๆ ผิวถนนที่ร้อนระอุก็ทำลายแบตไม่ต่างกับหน้าร้อน
3.จะดีหน่อยก็หน้าฝนที่พื้นผิวถนนเย็นหน่อย
แปลว่า ใน 1 ปีบ้านเรา จะมี 8 เดือนที่ทำให้แบตรถไฟฟ้าเสื่อมเร็วกว่าปกติพอสมควร
ปล.แต่ความร้อนระอุที่ว่าจะมีอยู่แค่ประมาณ 4 ชม.ต่อวันเท่านั้น


แต่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้รถของแต่ละคนด้วยครับ ถ้าขับเช้าไปทำงาน ค่ำกลับบ้าน ก็จะไม่เข้าเงื่อนไขกระชากวิญญาณแบต แต่ถ้าเป็น grab วิ่ง taxi อันนี้เข้าเงื่อนไขเลยครับ

เคสล่าสุดที่เจอในเฟสคือซีลป้องกันน้ำเข้าแบตของ mg zs เสื่อม...
MG โยนให้ประกัน ประกันก็โยนกลับมา
เมืองไทยเมืองร้อนครับ อะไรที่เรียกว่า lifetime อายุจะสั้นกว่าปกติอยู่แล้ว

วันนี้ผมยังไม่ค่อยตื่นเต้นกับรถไฟฟ้าเท่าไหร่ อาจเพราะผมขายแบตและอยู่วงการแบตเตอรี่มาตั้งแต่เด็ก

มันยังมีเงื่อนไขยุบยิบๆอีกเยอะเลยที่จะใช้แบตให้ได้ครบอายุของมัน
แต่ถ้าใครใช้รถไม่เยอะ ขับทำงานเช้าเย็น รับส่งลูกเช้าเย็น เงื่อนไขนี้ไม่มีปัญหาอะไรครับ
แต่ถ้าวิ่งงานทั้งวัน ต้องคิดหนักนิดนึงครับ รถไฟฟ้ารุ่นแรกๆยังวิ่งกันไม่ถึง 3 ปี ยังกะเกณฑ์​อะไรลำบาก

ส่วนตัว ถ้าใครรอได้ ก็ไปประมาณ 4-5 ปีแล้วมาดูกันอีกทีครับ

เสริมให้ครับ solid state เองก็มีจุดอ่อนเรื่องอุณหภูมิ​เช่นกัน แต่น้อยกว่า lithium หลายชนิดครับ




youngbear

 8) 8) 8)......ขอบคุณครับ ได้ความรู้ดี  :-X