ผู้เขียน หัวข้อ: อยากถามเรื่องข้อกฏหมาย เรื่องการขับรถชนคนหรือมอเตอร์ไซด์ หรือ แม้กระทั้งรถเก๋ง  (อ่าน 8475 ครั้ง)

ออฟไลน์ fishfinger

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 868
สงสัยหลายข้อเลยครับ แบ่งๆเป็นกรณีไป

1. มอเตอไซด์วิ่งในที่ห้ามวิ่งเช่น สะพานข้ามแยก อุโมงค์ ทางคู่ขนานด้านใน ( บางนา-ตราด ,, บรมราชชนนี )
    ถ้าเราชนจะมีบทลงโทษอย่างไร ( อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ )
2. คนเดินบนถนนแต่เราไปเฉี่ยว อาจจะเป็นซอยแคบ
3. ถ้าอยู่บนทางด่วน วิ่งเล่นขวามีรถปาดหน้า (รถช้าเปลี่ยนเลน) แล้วเราจิ้มตูดเค้า
4. วิ่งทางด่วนขวามีรถ วิ่งช้า เช่นวิ่ง 60-70 แล้วเราชนท้าย ( เค้าวิ่งอยู่แล้ว เรามาทีหลัง )
5. มอเตอไซด์วิ่งขวา
6. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราเข็นรถเค้าไปชนคันอื่น
7. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราพุ่งชนเลย

ขอความรู้ด้านโทษทางกฏหมาย ค่าปรับ-จำคุก เป็นยังไง ประกันว่าไง

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,085
ตามที่เข้าใจนะครับ
1. เข้าใจว่าเราก็มีความผิด แต่ไม่ได้โดนลงโทษอะไรครับ
2. อันนี้ผิดเต็มๆ
3. ปาดหน้า แล้วจิ้มตูด นี่มันเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะเขาปาดแสดงว่าเขาเร็วกว่า แต่ถ้าเขาปาดแล้วเบรคกระทันหันโดยตั้งใจกลั่นแกล้ง เราต้องพิสูจน์ให้ได้ครับ (กล้องติดรถจะได้ใช้ตอนนี้แล)
4. เราผิดเต็มๆครับ เขาจะวิ่งเลนไหน ก็ไม่มีสิทธิ์ไปชนครับ สำหรับเขา อย่างมากก็โดนปรับ500
5. มอไซค์วิ่งขวา ถ้าเราไปชนเราก็ผิดอยู่ดีครับ รับกันไปคนละข้อหา
6. ผิดเหมือนกันครับ
7. ผิดเต็มๆด้วย

เอาตามกฎหมายเป๊ะๆ คงไม่มีใครหามาตอบให้หรอกครับ

แต่โดยหลักๆแล้ว ไม่ว่าคนอื่นจะทำผิดอย่างไร ถ้าเราไปชนเขา เราก็มีความผิดอยู่ดีครับ เพียงแต่โทษจะเบาลงมากน้อย หรือไม่โดนเลย แล้วแต่กรณี

เหมือนเวลาคนอื่น เมามาทุบรถคุณ ด่าคุณต่อ ฉี่ใส่ประตูบ้าน แล้วนอนขวางประตูหน้าบ้าน  ถ้าคุณไปยิงเขา ก็ผิดเต็มๆครับ เขาก็มีความผิดของเขา เราก็มีความผิดของเราครับ

ออฟไลน์ localgame

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,592
1.ผิดข้อหาทำร้ายร่างกายไม่ว่ามอไซจะถูกจะผิดยังไงก็ตาม ส่วนมอไซเสียค่าปรับข้อหาขับรถผิดกฎจราจร
2.ข้อหาทำร้ายร่างกายเช่นกัน
3.อันนี้ถ้าเค้าเข้ามาในเลนเราเกินครึ่งคันขนาดที่เราไปชนท้ายเค้าได้นี่แสดงว่าเราผิด กฎหมายมีบอกให้เว้นระยะห่าง พวกที่ชอบขับจี้ตูดก็ผิดเต็ม
4.ชนท้ายยังไงก็ผิด
5.มอไซผิดข้อหาขับรถผิดกฎหมายเสียค่าปรับนิดหน่อย ถ้าเราชนก็เหมือนกับข้อ1
6.เราผิดแต่ส่วนใหญ่เข็นชนไม่ค่อยมีร่องรอยเลยอนุโลม ปล่อยผ่านกัน
7.เราผิด

ออฟไลน์ Slipknot`

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 21,846
  • *** HLM.COM ***
1.ผิดทั้งคู่ รถยนต์ก็ผิดที่ประมาทไปชน มอไซค์ก็ผิดที่เข้ามาในที่ห้ามขี่
2.เราผิดเต็มๆ
3.เราผิด
4.เราผิดเต็มๆ
5.มอไซค์ผิด แต่ถ้าเราเสยเค้า เราก็ผิดด้วย
6.เราผิด เพราะทำให้เกิดรอย
7.เราผิดเต็มๆ

ปล. ข้อ 7 คิดได้ไงครับ  ;D ;D ;D

ออฟไลน์ fishfinger

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 868
1.ผิดทั้งคู่ รถยนต์ก็ผิดที่ประมาทไปชน มอไซค์ก็ผิดที่เข้ามาในที่ห้ามขี่
2.เราผิดเต็มๆ
3.เราผิด
4.เราผิดเต็มๆ
5.มอไซค์ผิด แต่ถ้าเราเสยเค้า เราก็ผิดด้วย
6.เราผิด เพราะทำให้เกิดรอย
7.เราผิดเต็มๆ

ปล. ข้อ 7 คิดได้ไงครับ  ;D ;D ;D

ข้อ 7 เคยเจอคอมเม้นครับ บอกถ้ารีบให้ชนเลย ;D

ออฟไลน์ reyeshenry

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,114
สรุปว่า รถใหญ่ ทำไรก็ผิด  แม้แต่มอเตอร์ไซต์่ฝ่าไฟแดงมาชน   ตาย
เราก็โดนข้อหาประมาทวันยังค่ำ    นี่แหละกฎหมายไทย

ออฟไลน์ Public P

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 239
    • อีเมล์
สรุปว่า รถใหญ่ ทำไรก็ผิด  แม้แต่มอเตอร์ไซต์่ฝ่าไฟแดงมาชน   ตาย
เราก็โดนข้อหาประมาทวันยังค่ำ    นี่แหละกฎหมายไทย
เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ผมเคยลงไว้ในกระทู้เก่าๆครับ ศาลตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้หลายคดีแล้ว โบราณแล้วครับความเชื่อที่ว่ารถใหญ่ผิดตลอด

ออฟไลน์ ceberos

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 779
    • อีเมล์
อยากเคลมประกันไม่เสียตัง เป็นวิธีที่พี่ผมเขาทำแล้วใช้ได้จริง ชนรถที่จอดในที่ห้ามจอด ชนรถในที่ไม่ใช่เลนวิ่งของตัวเอง ตย.เช่นเลน รถเมล์ที่มีเส้นเหลือง หรือ เส้นรถสวน2เลน พวกชอบเปิดเลนใหม่ พี่เขยผมรูดมาแล้วฮะ ถูกเต็มประตูด้วย

ส่วนตัวผมพวกจอดขวางหน้าผมก็รูดมาเหมือนกัน โบ๊เบ๊ชอบทำกัน ป้ายก็บอกอยู่ห้ามจอดปรับ 500  :D

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 465
จะตอบเฉพาะความผิดในทางอาญาบางส่วนเท่านั้นนะครับ ไม่รวมถึงเหตุบรรเทาโทษต่างๆ    และจะตอบในส่วนความรับผิดในทางแพ่งนิดหน่อยนะครับ

มีความผิดตั้งแต่เบาสุดไปหาหนัก ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และอยู่กับความร้ายแรงที่เกิดขึ้นและเจตนาที่กระทำ

1. มอเตอไซด์วิ่งในที่ห้ามวิ่งเช่น สะพานข้ามแยก อุโมงค์ ทางคู่ขนานด้านใน ( บางนา-ตราด ,, บรมราชชนนี ) ถ้าเราชนจะมีบทลงโทษอย่างไร ( อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ )

       พระราชบัญญัติจราจรทางบก
            มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
                (๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
                (๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
                (๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
                (๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                 (๕) ในลัษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
                 (๖) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถเลี้ยวรถ หรือกลับรถ
                 (๗) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
                  (๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
                (๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
            มาตรา ๗๘ ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัวชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
            ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนีไปหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่วันเกิดเหตุให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ
          มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๓ (๓) (๔) (๖) (๗) หรือ (๙) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๓ มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท
        มาตรา ๑๖๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาท
ถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) (๕) หรือ (๘) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา (เอาบางส่วนนะครับ)
       มาตรา ๓๙๐ ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        มาตรา ๓๕๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        มาตรา ๓๐๐ ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีอันตรายสาหัสนั้น คือ
                (๑) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
                (๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
                 (๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
                 (๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
                 (๕) แท้งลูก
                (๖) จิตพิการอย่างติดตัว
                (๗) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
               (๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
        มาตรา ๒๙๑ ผู้ใดกระทำโดยประมาท และกา รกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
       มาตรา ๒๙๐ ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
       ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี
       มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

2. คนเดินบนถนนแต่เราไปเฉี่ยว อาจจะเป็นซอยแคบ
        พระราชบัญญัติจราจรทางบก
              มาตรา ๓๒ ในการใช้ทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชราหรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตน
           มาตรา ๑๔๕ (วรรคสอง) ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้ขับรถชนหรือโดนคนเดินเท้าที่ข้ามทางนอกทางข้ามและอยู่ในระหว่างทางข้ามกับเครื่องหมายจราจรแสดงเขตทางข้าม หรือที่ข้ามทางนอกทางข้ามโดยลอด ข้ามหรือผ่านสิ่งปิดกั้น หรือแผงปิดกั้นที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่นำมาวางหรือตั้งอยู่บนทางเท้าหรือกลางถนน เมื่อพนักงานสอบสวนมีเหตุผลอันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาได้ใช้ความระมัดระวังตามความในมาตรา ๓๒ แล้ว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาไปชั่วคราวโดยไม่มีประกันได้ เมื่อผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอ

ประมวลกฎหมายอาญา
   ให้ดู 1.

3. ถ้าอยู่บนทางด่วน วิ่งเล่นขวามีรถปาดหน้า (รถช้าเปลี่ยนเลน) แล้วเราจิ้มตูดเค้า
      พระราชบัญญัติจราจรทางบก
        มาตรา ๓๖ ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็วของรถ จอดรถ หรือหยุดรถ ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา ๓๗หรือไฟสัญญาณตามมาตรา ๓๘ หรือสัญญาณอย่างอื่นตามข้อบังคับของเจ้าพนักงานจราจร
          ถ้าโดยสภาพของรถ สภาพของการบรรทุก หรือสภาพของทัศนวิสัย การให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามวรรคหนึ่งไม่อาจทำให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมาหรือตามมาข้างหลังมองเห็นได้ ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณ
         ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน ไฟสัญญาณหรือสัญญาณอย่างอื่นตามวรรคหนึ่งก่อนที่จะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องเดินรถ จอดรถหรือหยุดรถเป็นระยะทางไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
          ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน ไฟสัญญาณหรือสัญญาณอย่างอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหกสิบเมตร
      มาตรา ๑๔๘  (วรรคแรก)  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ .....ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ประมวลกฎหมายอาญา
   ให้ดู 1.

ซึ่งต้องพิจารณาว่า เป็นเจตนา หรือ ประมาท หรือ ประมาทร่วมและยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด   คนจึ้มตูดอาจเป็นฝ่ายถูกก็ได้

4. วิ่งทางด่วนขวามีรถ วิ่งช้า เช่นวิ่ง 60-70 แล้วเราชนท้าย ( เค้าวิ่งอยู่แล้ว เรามาทีหลัง )
  ดู 1. ประกอบ
       พระราชบัญญัติจราจรทางบก
            มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
               .....
                (๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
                (๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                 (๕) ในลัษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
                 .........
           มาตรา ๔๐ ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ ( การกระทำตาม มาตรา ๔๐ น่าจะรวมอยู่กับมาตรา ๔๓ จึงน่าจะรับโทษตามมาตรา ๑๕๗ มาตรา ๑๖๐)

   ประมวลกฎหมายอาญา
       ให้ดู 1.
ต้องพิจารณาว่า เป็นเจตนา หรือ ประมาท หรือ ประมาทร่วมและยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด

5. มอเตอไซด์วิ่งขวา
      พระราชบัญญัติจราจรทางบก
        มาตรา ๓๕ (วรรคแรก) ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
       มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๓ (๓) (๔) (๖) (๗) หรือ (๙) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๓ มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท

6. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราเข็นรถเค้าไปชนคันอื่น
  ถ้าคุณกระทำการโดยประมาทจะเป็นความรับผิดทางแพ่ง
  ถ้าเป็นเจตนาเป็น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราพุ่งชนเลย
   ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2013, 15:27:37 โดย top3245 »

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,085
คอมเม้นคุณ top3245 มีประโยชน์มากเลยครับ

แต่ผมเชื่อว่า หลายๆคนก็ขี้เกียจอ่าน แล้วก็ยังคิดแต่ว่า รถใหญ่ผิดตลอด  จิ้มตูดผิดตลอด เหมือนเดิมครับ สังเกตุได้ว่ากระทู้แบบนี้มีหลายกระทู้แล้ว ก็ยังมีหน้าเดิมๆมาตอบแบบเดิมๆ

ออฟไลน์ wannachat

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 246
    • อีเมล์
ใส่การอ้างถึงคำพูด
สงสัยหลายข้อเลยครับ แบ่งๆเป็นกรณีไป

1. มอเตอไซด์วิ่งในที่ห้ามวิ่งเช่น สะพานข้ามแยก อุโมงค์ ทางคู่ขนานด้านใน ( บางนา-ตราด ,, บรมราชชนนี )
    ถ้าเราชนจะมีบทลงโทษอย่างไร ( อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ )
2. คนเดินบนถนนแต่เราไปเฉี่ยว อาจจะเป็นซอยแคบ
3. ถ้าอยู่บนทางด่วน วิ่งเล่นขวามีรถปาดหน้า (รถช้าเปลี่ยนเลน) แล้วเราจิ้มตูดเค้า
4. วิ่งทางด่วนขวามีรถ วิ่งช้า เช่นวิ่ง 60-70 แล้วเราชนท้าย ( เค้าวิ่งอยู่แล้ว เรามาทีหลัง )
5. มอเตอไซด์วิ่งขวา
6. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราเข็นรถเค้าไปชนคันอื่น
7. กรณีเราโดนจอดซ้อนคัน แล้วเราพุ่งชนเลย

ขอความรู้ด้านโทษทางกฏหมาย ค่าปรับ-จำคุก เป็นยังไง ประกันว่าไง
=======================
ประมาทนั้นพิจารณาเป็นรายๆไป ไม่ใช่อีกคนประมาท อีกคนต้องไม่ประมาทไม่ใช่
ก็ต้องดูใครประมาทมากน้อยเพียงใด เพื่อจะต้องรับผิดทางกฎหมายตามส่วนที่ประมาทด้วย(ชดใช้ค่าเสียหาย)

======================

1. จักรยานยนต์มีความผิด ตาม พรบ จราจร  ส่วนเราไปชนมอไซ เราผิด พรบจราจร และรับผิดค่าเสียหายทั้งหมด
2. เขาเดินอยู่ดีดี เราไปชน เราผิด ก็ต้อง  ต้องขับช้าๆ
3. คันที่ปาดหน้าในระยะกะชั้นชิดผิด แต่เราจะสู้ยากเพราะ กม ถือว่าคันหลังส่วนมากผิด ต้องหา พฐ ดีๆ  และอย่ามีส่วนประมาทด้วยละ  ถึงจะชนะ  
4. รถคันหลังนั้นหากมีเหตุจำเป็นต้องเว้นห่างคันหน้าในระยะที่สามารถเบรคได้ทัน ไม่งั้นชนมาผิดลูกเดียว  ส่วนคันหน้าขับช้าชิดขวาอาจผิด พรบจราจร
5.ผิด พรบ  จราจร
6. คันซ้อนคันผิด พรบ จราจร ส่วนที่เราเข็นไปชนเราผิดชดใช้ค่าเสียหาย
7. เขาผิดตาม พรบ จราจร แต่เราผิดเจตนาหรือประมาท และเรารับผิดค่าเสียหายอีก

=====
 เหตุใด หากเกิดการชนแล้วคันหลังผิดตลอด
ความจริงแล้ว กฎหมายวางหลักว่า คันหลังนั้นต้องดเว้นระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่ปลอดภัยสามารถเบรคได้ทัน หากมีเหตุฉุกเฉิน
 เช่นนี้ ส่วนมาก ร้อยละ 99.9 คันหลังมักจะเป็นฝ่ายผิดแน่นอน เว้นแต่คันหน้าจะเบรคโดยไม่มีเหตุอันควร(แต่ก็สู้ยากอีกเพราะต้องหา พฐ ซึ่งหายาก ถ้าไม่มีกล้องติดรถ) เช่น อยู่ๆก็เบรค
ระยะที่ปลอดภัยคือ หากคันหน้าเบรคฉุกเฉิน เช่น จราจรให้เบรคในระยะกะชันชิด เบรคหัวทิ่มเลย คันหลังก็ต้องเบรคให้ทัน แม้คันหลังจะเว้นระยะห่างพอสมควรแล้ว แต่ไม่ใช่ระยะที่ปลอดภัยแล้วไปชน เช่นนี้คันหลังก็ผิดอยู่ดี ผิดพรบจราจร และต้องรับผิดค่าเสียหายให้คันหน้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2013, 22:10:46 โดย wannachat »