ผู้เขียน หัวข้อ: ตอนรถติด ปล่อยรถไหลลงสะพาน หรือเข้าเกีย์รไว้ดีกว่าครับ  (อ่าน 4103 ครั้ง)

ออฟไลน์ Amaranthe

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 708
ในช่วงที่รถติด ๆ และเราอยู่บนสะพาน ขณะกำลังลงสะพานที่มีระบะทางพอประมาณ
และรถก็ขยับได้ทีนิดเดียวก็เบรค นิดเดียวก็เบรค ถ้าระหว่าง

1 ปลดเกียร์ว่าง ปล่อยไหล พอติดคันหน้าก็เบรค
2 เข้าเกียร์ เดินหน้าไว้ แล้วคอยแตะเบรค

แบบไหน จะดีกว่า ขอบคุณล่วงหน้าครับ


ออฟไลน์ ชายโอ๊ต

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,032
ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์ D เป็น N บ่อยๆนะครับ(ในเวปนี้เคยมีข้อมูลครับ)
อายุการใช้งานเกียร์จะไปไวครับ
"ศัตรูแห่งความก้าวหน้า คือเวลาที่เสียไป"

ออฟไลน์ Amaranthe

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 708
หมายถึงตอนอยู่บนสะพาน ที่ยา่วพอ แล้วรถติดนาน ๆ เราอยู่ขาลง เราเปลี่ยนเป็นเกียร์ N
คอยปล่อยไหล แตะเบรค ปล่อยไหล แตะเบรค โดยไม่ได้เข้าเกีย์ D เลย
จนถึงพื้นถนนทางราบครับ

ออฟไลน์ KT7

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 66
    • www.bansdivingresortkohtao.com

ออฟไลน์ mozart

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,339
แล้วแต่จังหวะครับ ถ้าตอนนั้นผมอยู่ N ผมจะปล่อยให้ไหลครับ เพราะถ้าติดนานๆเกินนาทีผมจะปล่อยเกียร์ว่างรอครับ

ออฟไลน์ 5thAvenue

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,433
  • Hi!!!!
    • อีเมล์
การเข้าเกียร์ว่างไว้บนเนินไหล ไม่ต่างอะไรกับการปล่อยรถเข็นไว้บนทางลาด

ให้ระบบขับเคลื่อนเป็นตัวหน่วงไว้ดีกว่าครับ เผื่อว่าฉุกเฉินจะต้องใช้การออกตัว หรือเร่งแซง หรือเปลี่ยนเลน

จะได้ไม่ "วืด"

เหมือนสีเบเยอร์ชีลด์

เป็นการลดภาระโดยตรงของเบรกอีกด้วย

ออฟไลน์ Gottinho

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 288
เข้าเกียร์ว่างปล่อยไหล ส่วนตัวคิดว่าเกียร์น่าจะไปไวครับ เลยใช้เกียร์ D เหยียบเบรคตลอด แล้วปล่อยไหล ครับ

ออฟไลน์ madboy

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,355
    • อีเมล์
สำหรับผมแล้วแต่โอกาสครับ

ถ้ามันติดอยู่ 2-3 นาทีแล้ว เข้าเกียร์วิ่งไปแล้ว ผมก็ปล่อยไหลๆ แต่ก็ต้องดูข้างหน้าด้วยว่าเค้าไปกันแค่ไหน ขยับไป 2 รอบวงล้อก็ไม่รู้จะเปลี่ยนจาก N ไป D ทำไมก็ปล่อยไหลๆไปครับ

แต่ปกติ มันขยับยึกยักไปมา ก็เข้า D ตลอดอยู่แล้วครับ

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,177
D ไว้ตลอดครับ สับไปๆมาๆ ไม่ดีแน่ๆ
สมมุติ รถข้างหน้าวิ่งเร็ว ปล่อย N แล้วไหลลงไม่ทัน ต้องสับ D ตอนรถไหล ไม่ดีแน่ๆครับ

ปกติผมใส่ D ไว้ แล้วดึงเบรคมือไว้ 2 ก๊อก กันเหนียว กลัวเพลินๆ ไหลไปชนคันข้างหน้า
(อย่าลืมดึงลงก็แล้วกัน)

ออฟไลน์ Amaranthe

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 708
D ไว้ตลอดครับ สับไปๆมาๆ ไม่ดีแน่ๆ
สมมุติ รถข้างหน้าวิ่งเร็ว ปล่อย N แล้วไหลลงไม่ทัน ต้องสับ D ตอนรถไหล ไม่ดีแน่ๆครับ

ปกติผมใส่ D ไว้ แล้วดึงเบรคมือไว้ 2 ก๊อก กันเหนียว กลัวเพลินๆ ไหลไปชนคันข้างหน้า
(อย่าลืมดึงลงก็แล้วกัน)

หมายถึงตอนอยู่บนสะพาน ที่ยา่วพอ แล้วรถติดนาน ๆ เราอยู่ขาลง เราเปลี่ยนเป็นเกียร์ N
คอยปล่อยไหล แตะเบรค ปล่อยไหล แตะเบรค โดยไม่ได้เข้าเกีย์ D เลย
จนถึงพื้นถนนทางราบครับ

ออฟไลน์ wannachat

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 246
    • อีเมล์
MT ได้

at ผมว่า เปลี่ยน D ควรขณะหยุดสนิทจะดีกว่า

ออฟไลน์ elite

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 253
atผมจะใส่Dไว้ตลอด นอกจากติดไฟแดงเกิน30วิ+ถึงจะใส่Nดึงเบรคมือ
สรุปถ้าติดแค่นี้ยังไงก็ใส่Dตลอดแล้วเหยียบเบรคเอา

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,047
นึกว่าเกียร์ธรรมดา....

เข้าดีไว้ดีกว่าครับ

ออฟไลน์ champyadme

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 214
ใส่ไว้ก้อย่างที่ข้างบนบอกครับ กันวืด
ส่วนรถไหลอยู่แล้วเปลี่ยนเกียร์ ไม่น่าใช่เรื่องไม่ดีนะครับ
ถ้าเปลี่ยนเกียร์ได้พอดีกับความเร็วรถไหล มันจะไม่เกิดอาการกระตุกใดๆเลยเพราะมันแมทช์กับรอบเครื่อง
ส่วนเรื่องติดไฟแดงแล้วเปลี่ยนเกียร์ไปมา ขอยืนยันว่าไม่พังครับ มีรถที่บ้าน ขับแบบนี้ สี่แสนโลไปแล้วก้ยังไม่พัง(ซูบารุ ขับสี่)

อีกเรื่อง เคยมีรถคันนึง ผมใส่ N ลงเขายาว 15 กิโล ตอนรถวิ่งได้สองหมื่น ตอนนี้แสนห้าก้ยังไม่พังครับ ไม่มีอาการผิดปกติด้วย (ยาริส/แต่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกสี่หมื่นโล)



 

ออฟไลน์ Deaw

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,073
    • อีเมล์
ผมก็เคยทำครับ คิดว่าไม่น่าเป็นไร

ออฟไลน์ DArkMaster

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 963
AT ผมใส่ D ตลอด แต่ถ้าขับ MT ผมใส่ N

ออฟไลน์ ไทบ้าน

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,665
ตอบ ข้อ 1 ครับ
1990 Yamaha Mate-100
1992 Yamaha Bell-100
2000 Yamaha Tiara-R
2017 Yamaha MT-03

ออฟไลน์ mild-melody

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 105
ถ้ารถติดๆจะเข้าเกียร์ว่างไว้ แต่ถ้ารถโล่งจะใส่เกียร์ D รอเผื่อมีจังหวะต้องเร่งคะ