รู้สึกว่า ในบทความ J32 จะมีพูดถึงขั้นตอนการดีไซน์ออกแบบ เลือกสรร แล้วสุดท้ายออกมาเป็น Production Car น่ะครับ เหตุผลน่าจะคล้ายๆกัน
http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=469:-nissan-teana-j32-20-a-25-cvt-&catid=65:d-segment-2000-3500-cc&Itemid=75คห.
อุปกรณ์บางอย่าง เช่น เส้นโครเมี่ยมขนาดใหญ่ เส้นสีเงินขนาดใหญ่ เบาะทรงบางรูปทรงสวย ไฟหน้าทรงเรียวแหลมใช้ LED ทั้งหมด มันทำให้ดูสวยงาม
เตะตาและดึงดูดใจเมื่อพบเห็น เส้นสายอันคมกริบ คอนโซลหน้าลอยตัว ที่เราเห็นนั้น มันออกมาเป็นต้นทุนมหาศาลน่ะครับ หลายๆชิ้น ทำมือ หลายๆชิ้น
เมื่อปรับเข้าสู่กระบวนการการขึ้นรูปโดยเครื่องจักร (ซึ่งรวดเร็วกว่าทำมือและเหมาะกว่าในการผลิตแบบ Mass ) อาจต้องใช้เทคนิคมาก ซับซ้อนและสิ้นเปลืองเป็นต้นทุนสูง
จะบอกว่า ทำออกมาแล้วครั้งนึง ทำไมจะทำไม่ได้ ทำได้ครับ แต่ราคาขาย ไม่ใช่ไอ้ที่เห็นแน่ๆ ไหนจะเป็นเรื่องราคาอะไหล่ตามมาอีก ลองคิดดูครับ ว่า วันนึง
ลูกค้าขับรถที่หมดอายุรับประกันแล้ว ทำประกันชั้น 3 แล้ว เกิดไปชนขึ้นมา ไฟหน้า ราคาห้าหมื่นบาท ทั้งๆที่เป็นรถญี่ปุ่นราคาทั่วไป ไม่ใช่รถ Luxury อะไร
จะทำไง แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อปากต่อปาก พูดออกไปว่า "อะไหล่แพง"
ลองเสิร์ชหาเรื่องราคารถต้นแบบของแต่ละค่ายดูก็ได้ครับ
นี่ยังไม่รวมถึงในเรื่องของการใช้งานจริงบนท้องถนนนะครับ กระจกมองข้างขนาดเล็ก นั่น ไม่ต่างอะไรกับกระจกรถแข่ง ซึ่งเมื่อนำมาใช้งานจริง บุคคลที่ไม่ได้มีความชำนาญ
อาจก่อให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้
ความทนทาน กระจกประตูไร้กรอบ เสา B ไม่มี เก้าอีบางๆ ที่เราเห็นในรถต้นแบบ เมื่อนำมาใช้งานบนถนนจริง อาจใช้ได้ไม่ถึง 1 เดือนด้วยซ้ำ
รถต้นแบบทุกคัน เค้าถนอมจะตายครับ ไอ้นู่น ไอ้นี่ หัก พัง หลุด ได้ง่ายมาก สุดท้ายแล้ว เมื่อเข้าไปสู่ขั้นตอนวิศวกรรมการออกแบบ ก็จะกลายเป็นเรื่องของวัสดุ
และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมา
นึกถึง เวลาตัดแว่นครับ เลนส์ปกติ ไม่ย่อบาง ราคาแค่เลนส์คู่ละ สองสามร้อยบาท
แต่ถ้าสายตาสั้นมากๆ มันจะหนามาก ล้นกรอบ ไม่สวยงาม ถ้าจะย่อบาง เคลือบมัลติโคทนั่นนู่นนี่ แค่ค่าเลนส์ ก็ปาไปหลักพันสองพันแล้วครับ