ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมเกียร์ manual สามารถใช้ท่อที่มี backpressure ที่ต่ำกว่าเกียร์ auto ได้  (อ่าน 6974 ครั้ง)

ออฟไลน์ crucifixzz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 959
เคยอ่านมาจากบางแหล่ง เห็นบอกว่าเกียร์ manual สร้าง backpressure ได้มากกว่า  แต่บางที่ก็บอกว่าเกียร์ manual shiftเองได้ ควบคุมรอบเองได้ แล้วถ้าเป็นเกียร์ auto ที่มี paddle shift ล่ะ เราก็สามารถคุมเกียร์เองได้ เล่นรอบได้ สร้าง backpressureโดยการคุมเกียร์ได้  เรายังสามารถใช้ท่อที่โล่งเท่ากับเกียร์ manual ได้หรือไม่

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
ตอนแรกผมก็คิดอย่างนั้น แต่ตอนนี้ผมว่าไม่เกี่ยว ไอเสียไม่รู้หรอกว่ารถของเราเกียร์ออโต้หรือเกียร์ธรรมดา ไม่ว่าจะใช้เกียร์อะไร หาองค์ประกอบจากพอร์ทไอเสียไปจนถึงปลายเหมือนกันมันก็ทำม้าที่แครงค์ได้พอๆกันแหละครับ

แต่สิ่งที่ทำให้มีความเชื่อเช่นนั้น น่าจะเกิดมาจาก "การเซ็ตขนาดท่อซึ่งส่งผลต่อช่วงกำลังของเครื่อง" บวกกับ "ความต่างในความสามารถการส่งกำลังลงพื้นและอัตราทด"

หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา มี 5 จังหวะ ขีดแดง 7,000 รอบ การสับเกียร์แต่ละครั้งรอบหล่นลงมาเหลือ 5,000 ไม่ต่ำกว่านั้น ผมสามารถเลือกขนาดท่อที่จะเน้นการทำกำลังช่วง 5,000-7,000 ได้ และรถก็จะเร่งได้ดี

แต่หากเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ เกียร์ 1 ลง 2 รอบลงมาเหลือ 4,000 2 ลง 3 รอบ 4,800 หากผมใช้ท่อชุดเดียวกันกับคันข้างบน ก็จะมีจุดอ่อนที่ต่ำกว่า 5,000 รอบ การจะลบจุดอ่อนก็คือเลือกขนาดท่อที่ทำให้ไอเสียไหลออกได้เร็วที่สุด (เร็ว ไม่ได้แปลว่าใหญ่กว่าจะเร็วกว่า) อาจจะต้องลดขนาดลงมาให้เน้นทำกำลังช่วง 4,000-6,000 เป็นหลัก
อาจจะเสียแรงรอบปลายๆ แต่เกียร์อัตโนมัติที่มีอัตรายาว และแต่ละเกียร์ห่างกันมากๆ วิธีนี้อาจทำให้อัตราเร่งในช่วงที่จำเป็นต้องใช้จริงๆมีความเร็วมากกว่า

แต่สมัยนี้ เกียร์อัตโนมัติมี 6 จังหวะ 7 จังหวะ 8 จังหวะ ผมว่าไม่ต้องคิดมากครับ พ.ศ.นี้กลายเป็นว่าเกียร์ธรรมดานั่นแหละที่ต้องคิด
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ crucifixzz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 959
ขอบคุณมากครับพี่แพน จากที่พี่แพนเขียนมา นั่นหมายความว่าโอกาสที่จะทำให้กราฟแรงม้าแรงบิด ยกขึ้นทั้งเส้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็ยังเป็นไปได้  ซึ่งขนาดท่อต้องมีความสัมพันธ์กับแรงดันที่ไอเสียสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการไหลเร็วที่สุดและเป็น lamina มากที่สุดใช่มั้ยครับ จุดประสงค์หลักคือการทำให้มวลไอเสียระบายได้มากที่สุดและเป็นflowที่ต่อเนื่อง  ถ้าflowดีเราก็สามารถละเลยbackpressure ได้มั้ยครับ

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
จุดประสงค์คือการควบคุมความเร็วของไอเสียในการไหลออกให้พอดี

ผมจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ แต่มันจะมีทฤษฎีว่า พละกำลังจะมาดีในช่วงรอบที่ไอเสียไหลออกด้วยความเร็ว xxx ฟุต/วินาที

สมมติใช้รถเครื่อง 2.0 ลิตร หมุน 7,000 รอบ ใส่ท่อ 1.5 นิ้ว ขนาดท่อที่เล็กมาก ไอเสียก็พยายามจะเคลื่อนที่ออก แต่เหมือนสายน้ำที่ฉีดผ่านรูเล็ก ความเร็วในการไหลผ่านไวเกินไปที่รอบสูง (โน้ตคำว่า ไหลไว ไม่ได้แปลว่า "มาก" นะ) แต่พอใส่ท่อโตมาก สัก 3 นิ้ว ที่รอบไม่ถึง 5,000 ไอเสียออกจากพอร์ทแล้วมีที่ให้วิ่งเล่นได้เยอะกว่าจะมาออกถึงปลายท่อ ความเร็วมันก็ลด

ใน sense ของคนทั่วไป จะคิดว่า ท่อยิ่งใหญ่ยิ่งระบายไอเสียดี ถูก คือเอาปริมาตรออกได้เยอะ ปัญหาคือพอเอาไอเสียออกด้วยสปีดที่ต่ำหรือสูงไป มันจะไม่ได้กำลังดีในช่วงนั้นๆตามรอบที่เราต้องการไง

ไม่งั้น รถ 1.5 ลิตรหมุน 6,200 รอบ ใส่ท่อ 3 นิ้ว ก็ต้องวิ่งดี สูตรการคิดไอเสียบนโลกนี้ไม่ต้องมี ต่อตรงจากปลายเฮดออกใต้ท้องเลยต้องเร็วที่สุด

แต่

อันนี้เป็นวิธีคิดแบบที่ช่วยให้มีข้อผิดพลาดน้อย ถ้าคุณอยากเอาสิ่งที่ชัวร์ที่สุด มันต้องวัดม้ากันให้เห็นจะจะครับ สิ่งที่ดีกว่าเดา คือเดาแบบมีเหตุผล สิ่งที่ดีกว่าเดาแบบมีเหตุผล คือของที่ลองจริงและวัดได้  ผมก็เคยคิดว่า SR20DE ผม ม้าลงพื้น 180 ใช้ท่อ 2.2 นิ้วนั้นจะแค่อั้นนิดๆ แต่พอไปดูผลไดโน่ที่พวก SR20Forum เขาลอง เครื่อง SR20 มีแคม ใส่ 2.2 ม้าตกอย่างมาก ใส่ 2.5 จะได้กำลังเป็นช่วงกว้าง แต่ใส่ 3 นิ้วจะได้แรงม้าสูงกว่าใคร เห็นป่ะว่าไม่ make sense แต่ไดโน่บอกอยู่ว่าใครแรงกว่าใคร

- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ crucifixzz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 959
นั่นหมายความว่าที่ความเร็ว xxx ฟุต/วินาที จะสร้าง backpressure ในระดับนึงและเป็นจุดoptimum ที่สุดของเครื่อง   ผมเองอยากจะทำโปรเจค civic fd 2.0 นิดหน่อยครับ วิ่ง n/a เอาพอสนุก มีเรี่ยวแรงเพิ่มมาบ้าง  ยิ่งถ้าได้เสียงเหมือนท่อของ scirocco ช่วงรอบ 3000 จะดีมากมาย เสียงแน่นแต่ไม่ดัง  ตอนidle ก็เงียบสนิท

ออฟไลน์ supercat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 795
ตอนแรกผมก็คิดอย่างนั้น แต่ตอนนี้ผมว่าไม่เกี่ยว ไอเสียไม่รู้หรอกว่ารถของเราเกียร์ออโต้หรือเกียร์ธรรมดา ไม่ว่าจะใช้เกียร์อะไร หาองค์ประกอบจากพอร์ทไอเสียไปจนถึงปลายเหมือนกันมันก็ทำม้าที่แครงค์ได้พอๆกันแหละครับ

แต่สิ่งที่ทำให้มีความเชื่อเช่นนั้น น่าจะเกิดมาจาก "การเซ็ตขนาดท่อซึ่งส่งผลต่อช่วงกำลังของเครื่อง" บวกกับ "ความต่างในความสามารถการส่งกำลังลงพื้นและอัตราทด"

หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา มี 5 จังหวะ ขีดแดง 7,000 รอบ การสับเกียร์แต่ละครั้งรอบหล่นลงมาเหลือ 5,000 ไม่ต่ำกว่านั้น ผมสามารถเลือกขนาดท่อที่จะเน้นการทำกำลังช่วง 5,000-7,000 ได้ และรถก็จะเร่งได้ดี

แต่หากเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ เกียร์ 1 ลง 2 รอบลงมาเหลือ 4,000 2 ลง 3 รอบ 4,800 หากผมใช้ท่อชุดเดียวกันกับคันข้างบน ก็จะมีจุดอ่อนที่ต่ำกว่า 5,000 รอบ การจะลบจุดอ่อนก็คือเลือกขนาดท่อที่ทำให้ไอเสียไหลออกได้เร็วที่สุด (เร็ว ไม่ได้แปลว่าใหญ่กว่าจะเร็วกว่า) อาจจะต้องลดขนาดลงมาให้เน้นทำกำลังช่วง 4,000-6,000 เป็นหลัก
อาจจะเสียแรงรอบปลายๆ แต่เกียร์อัตโนมัติที่มีอัตรายาว และแต่ละเกียร์ห่างกันมากๆ วิธีนี้อาจทำให้อัตราเร่งในช่วงที่จำเป็นต้องใช้จริงๆมีความเร็วมากกว่า

แต่สมัยนี้ เกียร์อัตโนมัติมี 6 จังหวะ 7 จังหวะ 8 จังหวะ ผมว่าไม่ต้องคิดมากครับ พ.ศ.นี้กลายเป็นว่าเกียร์ธรรมดานั่นแหละที่ต้องคิด

ก็คือ มันขึ้นอยู่กับ รอบการทำงานของเครื่องยนตร์ ใช่มั้ยครับ
ไม่ได้เกี่ยวกับว่าจะเป็น เกียร์ออโต หรือ เกียร์ manual

ถ้ายังงั้น เกียร์ออโต ก็ใส่พักปลายไส้ตรงได้ แต่อาจจะต้องไส้เล็กกว่าปกติ 
เพื่อให้ flow มันอยู่ในช่วงที่พอเหมาะ (อะไรทำนองนั้น)

เช่น รถเครื่อง 1,500 cc  เกียร์ออโต  ท่อแป๊ปเดิมๆมันประมาณ 1.7 นิ้ว
ถ้าจะใส่พักปลายไส้ตรง ขนาดไส้ 1.7-2 นิ้ว มันก็อาจจะโล่งเกินไป   
ควรหาที่ไส้มันบีบเล็กกว่านั้น ซึ่งคงหายาก อาจจะต้องไปพึ่ง ไส้ตรงเกลียว 
(ถ้าพูดถึงกรณี พักปลายไส้ตรง อย่างเดียวนะครับ ยังไม่เอาพวกไส้ย้อน ไส้เยื้อง ไส้วน มาคิดรวมด้วย ) ;D ;D ;D

ออฟไลน์ power2002

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 689
  • ประหยัดได้ด้วยเท้าตัวเอง!
ที่เคยลองเอง ท่อแบบโล่งๆ จะทำให้รู้สึกว่าเวลาขับเกียร์ออโต้ตามปกติ เดินคันเร่งบ้านๆมันจะออกอืดๆ ครับ
แต่พอลองลงสนาม1/4 มันกลับให้เวลาดีกว่าเดิมอยู่พอสมควรครับ  ในเครื่อง 4AGE 20 V  ที่มีรอบเครื่องยนต์ให้ใช้งานสูงน้องๆ B16 

 ;)

ออฟไลน์ ight

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 82
เครื่องตัวเดียวกัน เกียร์ MT กับ AT ใช้ท่อไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งมาจากความเป็น AT ครับ 
ด้วยความที่เกียร์ต่างกัน กล่อง ECU จะถูกเซ็ตค่าต่างๆไว้ต่างกัน เช่น การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง, การเปิด-ปิดลิ้นปีกผีเสื้อ, การทำงานของ EGR valve, องศาการจุดระเบิด เป็นต้น  ซึ่งมีผลให้แรงม้าแรงบิดอาจมาในรอบเครื่องที่ต่างกัน

ส่วนใหญ่ AT จะถูกกำหนดให้แรงบิดมาในรอบที่ต่ำกว่า จึงต้องการท่อไอเสียที่ให้ Flow rate สูงในรอบต่ำ ทำให้ขนาดท่อเล็กกว่า

ทั้งนี้เวลาเลือกขนาดท่อไอเสีย ควรตั้งเป้าหมายการใช้งานไว้ก่อน
เพราะท่อไอเสียที่ไม่มีระบบวาล์วแปรผันจะให้ Flow rate ของไอเสียดีที่สุดในบางรอบ 
เช่น ท่อ 2.2 อาจทำให้ Flow rate สูงสุดที่ ดึงไอเสียออกจากห้องเผาไหม้หมดจดที่ 3,00-4,000 รอบ 
รอบต่ำกว่านั้น Flow rate น้อย  รอบสูงกว่านั้นไอเสียออกไม่ทัน เป็นต้นครับ 


ออฟไลน์ supercat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 795
เครื่องตัวเดียวกัน เกียร์ MT กับ AT ใช้ท่อไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งมาจากความเป็น AT ครับ 
ด้วยความที่เกียร์ต่างกัน กล่อง ECU จะถูกเซ็ตค่าต่างๆไว้ต่างกัน เช่น การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง, การเปิด-ปิดลิ้นปีกผีเสื้อ, การทำงานของ EGR valve, องศาการจุดระเบิด เป็นต้น  ซึ่งมีผลให้แรงม้าแรงบิดอาจมาในรอบเครื่องที่ต่างกัน

ส่วนใหญ่ AT จะถูกกำหนดให้แรงบิดมาในรอบที่ต่ำกว่า จึงต้องการท่อไอเสียที่ให้ Flow rate สูงในรอบต่ำ ทำให้ขนาดท่อเล็กกว่า

ทั้งนี้เวลาเลือกขนาดท่อไอเสีย ควรตั้งเป้าหมายการใช้งานไว้ก่อน
เพราะท่อไอเสียที่ไม่มีระบบวาล์วแปรผันจะให้ Flow rate ของไอเสียดีที่สุดในบางรอบ 
เช่น ท่อ 2.2 อาจทำให้ Flow rate สูงสุดที่ ดึงไอเสียออกจากห้องเผาไหม้หมดจดที่ 3,00-4,000 รอบ 
รอบต่ำกว่านั้น Flow rate น้อย  รอบสูงกว่านั้นไอเสียออกไม่ทัน เป็นต้นครับ 



เจ้า วาว์ลแปรผันในท่อไอเสีย   มันอยู่ตรงส่วนไหนของท่อไอเสียเหรอครับ
ตรง header , พักกลาง , หรือว่าตรงพักปลาย

ขอบคุณคร้าบบ  :) :) :)

ออฟไลน์ crucifixzz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 959
เครื่องตัวเดียวกัน เกียร์ MT กับ AT ใช้ท่อไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งมาจากความเป็น AT ครับ 
ด้วยความที่เกียร์ต่างกัน กล่อง ECU จะถูกเซ็ตค่าต่างๆไว้ต่างกัน เช่น การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง, การเปิด-ปิดลิ้นปีกผีเสื้อ, การทำงานของ EGR valve, องศาการจุดระเบิด เป็นต้น  ซึ่งมีผลให้แรงม้าแรงบิดอาจมาในรอบเครื่องที่ต่างกัน

ส่วนใหญ่ AT จะถูกกำหนดให้แรงบิดมาในรอบที่ต่ำกว่า จึงต้องการท่อไอเสียที่ให้ Flow rate สูงในรอบต่ำ ทำให้ขนาดท่อเล็กกว่า

ทั้งนี้เวลาเลือกขนาดท่อไอเสีย ควรตั้งเป้าหมายการใช้งานไว้ก่อน
เพราะท่อไอเสียที่ไม่มีระบบวาล์วแปรผันจะให้ Flow rate ของไอเสียดีที่สุดในบางรอบ 
เช่น ท่อ 2.2 อาจทำให้ Flow rate สูงสุดที่ ดึงไอเสียออกจากห้องเผาไหม้หมดจดที่ 3,00-4,000 รอบ 
รอบต่ำกว่านั้น Flow rate น้อย  รอบสูงกว่านั้นไอเสียออกไม่ทัน เป็นต้นครับ 



เจ้า วาว์ลแปรผันในท่อไอเสีย   มันอยู่ตรงส่วนไหนของท่อไอเสียเหรอครับ
ตรง header , พักกลาง , หรือว่าตรงพักปลาย

ขอบคุณคร้าบบ  :) :) :)
มีที่วาล์วไอเสียด้วยครับ

ออฟไลน์ crucifixzz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 959
หรือ ttrs ก็มี flap เปิดปิดที่ท่อไอเสียเหมือนกัน