ผู้เขียน หัวข้อ: คิดอย่างไรกับการนำยอดการผ่อนรถยนต์คันแรกมาหักเป็นค่าลดหย่อนในภาษีเงินได้ครับ  (อ่าน 13077 ครั้ง)

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
อยากรู้ครับ ว่ามีข้อดี - เสีย อย่างไร ครับ

งดเรื่องการเมืองนะครับ ;) ในกระทู้นี้ เอาความคิดทางวิชาการ ทางภาษี และทางเศรษฐศาสตร์นะครับ

ผมว่าถ้าทำได้ก็ดีครับ :) ;) :D ชอบ แต่ต้องฐานเงินเดือนสูงๆก่อนค่อยซื้อรถคันแรกป้ายแดง จึงจะคุ้มครับ

ออฟไลน์ wingzerocustom

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 101
จะเป็นการสงเสริมผิดด้านหรือป่าวอ่ะครับ เพราะรถยนต์ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

บ้านเราภาษีรถแพงขนาดนี้ รถยังเพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ เลยอ่ะครับ

ถ้าเปลี่ยนเป็นการสงเสริมการให้บริการของ ข.ส.ม.ก. ดีขึ้นเหมือนในที่กล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี้

น่าจะเป็นการดีกว่านะครับ



นี่เธอรู้ป่าวว่า เชียงใหม่ มีทะเลนะ
คิดไม่ถึงล่ะสิ
.......
.......
แต่เรา คิดถึง นะ

ออฟไลน์ i-din

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 458
ผมว่ามันขึ้นกับมุมมองนะ ภาษีสรรพสามิตคือภาษีทีเ่ก็บกับสินค้าฟุ่เฟือย ไมไ่ด้จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน นี่คือสิ่งที่รัฐบาลไทยมอง (รัฐบาล ตปท ไม่มีความรุ้นะครับ) คือไม่มีก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างโอเค แต่สำหรับคนทำงานทั่วไป มันเป็น "สิ่งจำเป็น" สำหรับ "ความสะดวกสบายที่ได้รับ" ถ้าเรามีกำลังพอ

ในมุมของคนทั่วไป คงเห็นด้วย แต่ผมอยากให้รถราคาถูก แต่ภาษีประจำปีแพง อย่างพวกติดแก๊ส LPG ภาษีประจำปีควรแพงกว่านี้หน่อย แต่ไม่ต้องถึง 30,000 อะไรหรอกนะ แค่สักไม่เกิน 2 เท่าของอัตราปัจจุบันแล้วกัน เพราะไปเบียดการใช้แีก๊สในภาคครัวเรือนมาน่ะ ยังไงก็ขึ้นราคาแก๊ส LPG ไมไ่ด้อยู่แล้วไง

สำหรับการลดหย่อยภาษีประจำปี ผมไม่คอ่ยเห็นด้วยแฮะ แต่ถ้าลดอัตราภาษีบุคคุลลงมาอันนี้เห็นด้วย บ้านเรานี่ สูงติดอันดับโลกแล้ว สุงกว่าอาเซียน กว่าฮ่องกงด้วยซ้ำไป แต่เพิ่มภาษีมุลค่าเพิ่มแทน อัตรานี้ทุกคนจ่ายเท่ากัน ไมว่ายากดีมีจน

รู้หรือเปล่าว่า ปีปีนึง มีคนยื่นแบบภาษี 10 ล้านคน ในจำนวนนี้ 8 ล้านคนยื่นแล้วได้คืน 2 ล้านคนที่เสียภาษีคือคนที่พยุงรายได้ของประเทศไทยเอาไว้ (เค้ามีภาษีตัวอื่นอีก) พูดง่ายๆ คน 2 ล้านคน เลี้ยงคืน 63 ล้านคนอยู่ ใน 2 ล้านคนนี้ มีอยู่ 20,000 คนที่เสียภาษีในอัตราสูงสุด คือ 35% (ถ้าตัวเลขผิด ขออภัยด้วย จำไม่ได้แระ) เพราะเค้ายึดหลัก หามาก แจ้งมาก จ่ายมาก คนส่วนใหญ่ก็เลยเป็ฯ หามาก แจ้งน้อย จ่ายน้อย

ออฟไลน์ WTF

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 616
สูงสุด 37% ครับ ภาษีบุคคลธรรมดานะ

แล้วดูสิ่งที่ได้กลับมาจากรัฐบาลสิ  :'(

ออฟไลน์ youngbear

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,333
 ;D ;D ;D..........ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายยอดรวมค่าผ่อนซื้อรถยนต์คันแรก  แล้วให้นำมาหักลดหย่อนภาษีประจำปี  ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าถูกต้องดีแล้วครับ  เพราะเป็นการให้โอกาสกับคนเริ่มสร้างตัวในวัยทำงาน  และควรครอบคลุมไปถึงผู้ที่อยากมีรถรับจ้างสาธารณะในอาชีพอิสระอีกด้วย  โดยใช้เงื่อนไขเดียวกันว่าต้องเป็นการเริ่มต้นซื้อรถคันแรกเท่านั้น  หากจะคุมเข้มก็กำหนดอายุผู้ซื้อไว้ด้วย  ไม่ใช่ปล่อยให้พวกเถ้าแก่หรือปู่ย่ามาใช้สิทธ์กันพร่ำเพรื่อครับ 8)
                                                                                                   yogibear

ออฟไลน์ 911turbo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 288
ส่วนตัวคิดว่าถ้าให้เฉพาะรถคันแรกถือว่า ok  ต้องกำหนดยอดด้วยนะว่าห้ามเกินกี่บาทอะไรแบบนั้น 
ไม่ใช่คันแรก(ของชื่อลูกที่ อายุ 18 )ก็ซื้อ SLK ไป อะไรแบบนั้น  อาจกำหนดว่ารถราคาไม่เกินล้าน หรือข้อกำหนดปลีกย่อยอื่นๆ

ส่วนเหตุผลนะหรือ  เพราะระบบขนส่งสาธารณะของเรายังไปไม่ถึงไหนอ่ะครับ 
บางคนค่อยข้างลำบากกับการเดินทาง+ค่าเดินทางอีก แพงพอๆกับค่าผ่อนรถเล็กๆบางคัน

ออฟไลน์ TJA

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 644
สมมติว่าเกิดนำนโยบายนี้มาใช้จริง แล้ว..
คนไทยพร้อมใจกันออกกระบะดีเซลครอบจักรวาลกันหมดทุกบ้าน
อันนี้บรรลัยเลยนะครับ นอกจากจะเก็บภาษีได้น้อยกว่าที่ควรแล้ว
ยังจะต้องแบกรับภาระการนำเข้าเชื้อเพลิงดีเซลในระยะยาวอีก

ถ้าจะลดหย่อนภาษีแบบนี้
ผมว่ารัฐบาลเเปลี่ยนเป็นสนับสนุนรถEco Car ให้มากขึ้นกว่านี้ดีกว่าครับ
ซื้อได้ มีส่วนลดหย่อน รัฐหนุนเต็มที่ แต่ต้องเป็นการซื้อรถที่ซื้ออนาคตที่ยั่งยืนไปด้วย    ;)

.-_-.

ออฟไลน์ Sykes

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 286
ส่วนตัวคิดว่าถ้าให้เฉพาะรถคันแรกถือว่า ok  ต้องกำหนดยอดด้วยนะว่าห้ามเกินกี่บาทอะไรแบบนั้น 
ไม่ใช่คันแรก(ของชื่อลูกที่ อายุ 18 )ก็ซื้อ SLK ไป อะไรแบบนั้น  อาจกำหนดว่ารถราคาไม่เกินล้าน หรือข้อกำหนดปลีกย่อยอื่นๆ

ส่วนเหตุผลนะหรือ  เพราะระบบขนส่งสาธารณะของเรายังไปไม่ถึงไหนอ่ะครับ 
บางคนค่อยข้างลำบากกับการเดินทาง+ค่าเดินทางอีก แพงพอๆกับค่าผ่อนรถเล็กๆบางคัน

เห็นด้วยครับ เป็นการช่วยให้กลุ่มวัยเริ่มทำงาน หรือ First Jobber ได้ลืมตาอ้าปากบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม ก็น่าจะมีข้อกำหนดต่างๆ เช่น
 - อายุของคนที่จะใช้สิทธิ์ได้ไม่เกินกี่ปี?
 - รถที่ซื้อได้ราคาไม่เกินเท่าไหร่?
 - ฐานเงินเดือนควรจะมากกว่าเท่าไหร่? (โดยมีสลิปเงินเดือนชัดเจน)
 - ทำงานปัจจุบันมาไม่ต่ำกว่ากี่ปี?
    ฯลฯ
เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายของคนที่รัฐต้องการช่วยเหลืออย่างชัดเจน และป้องกันการแอบอ้างในการใช้สิทธิ์ ประมาณนี้ครับ
"The things you own, end up owning you" - Tyler Durden

ออฟไลน์ AIMU

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 283
รู้หรือเปล่าว่า ปีปีนึง มีคนยื่นแบบภาษี 10 ล้านคน ในจำนวนนี้ 8 ล้านคนยื่นแล้วได้คืน 2 ล้านคนที่เสียภาษีคือคนที่พยุงรายได้ของประเทศไทยเอาไว้ (เค้ามีภาษีตัวอื่นอีก) พูดง่ายๆ คน 2 ล้านคน เลี้ยงคืน 63 ล้านคนอยู่ ใน 2 ล้านคนนี้ มีอยู่ 20,000 คนที่เสียภาษีในอัตราสูงสุด คือ 35% (ถ้าตัวเลขผิด ขออภัยด้วย จำไม่ได้แระ) เพราะเค้ายึดหลัก หามาก แจ้งมาก จ่ายมาก คนส่วนใหญ่ก็เลยเป็ฯ หามาก แจ้งน้อย จ่ายน้อย
อันนี้ผมไม่รู้นะแต่ผมว่าน่าจะมีคนจ่ายมากกว่า 2 ล้านคน คนยื่นแบบนี้มีแต่เสียเงินกับเสมอตัว มียื่นภาษีแล้วรายได้รวมไม่สูงเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วอยู่ในเกณฑ์ไม่ต้องเสียภาษี กับรายได้สูงกก็เอามาคำนวณจ่ายภาษีเป็นขั้นบันไดไป จาก 5% ไปจนถึง 37% ส่วนคนที่ยื่นแล้วขอคืนนี้ คือทางบริษัทคุณๆ จะประเมินภาษีแล้วหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนทุกเดือน ปลายปีคิดแล้วมีค่าลดหย่อนได้มาก เงินที่หัก ณ ที่จ่าย มากกว่าที่ต้องจ่ายจริง จึงยื่นขอคืน จะเห็นว่ามีแต่เสมอตัวกับเจ็บตัว

ออฟไลน์ banch

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,214
เฉพาะดอกเบี้ยหรือป่าวครับ

ออฟไลน์ MJunior

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 343
    • อีเมล์
ถ้าลดหย่อนภาษีได้ แล้วจะไปมีภาษีสรรพสามิตทำด๋องอะไร

วัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิตคือการเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย
ซึ่งรถก็ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แล้วจะส่งเสริมให้คนฟุ่มเฟือยไปทำไม
อันนี้เป็นนโยบายประชานิยมชัดๆ และเป็นแบที่ไร้สาระด้วย

ออฟไลน์ a-k-e

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 167
คุณ i-din ครับ ตรรกะของคุณบางจุดผิดครับ
คุณบอกว่ามีคนยื่นแบบเสียภาษี 10 ล้านคน มีคนได้คืน 8 ล้านคน และ 2 ล้านคนไม่ได้คืน
มันไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 2 ล้านคนที่เป็นคนเสียภาษีพยุงรายได้ของประเทศนะครับ ผิดถนัดเลย
ความหมายคือ ทั้ง 10 ล้านคน คือคนเสียภาษีพยุงประเทศ
ใน 10 ล้านคนนั้น 8 ล้านคนเสียภาษีไว้ "เกิน" กว่าจำนวนที่ต้องเสียจริง เค้าถึงได้คืนภาษีในส่วนที่เสียเกินไป
และใน 10 ล้านคนนั้น 2 ล้านคน ที่เสียภาษีไว้ "พอดี" หรือเสียภาษี "น้อยกว่าที่ควรจะเป็น" คนเหล่านั้นจึงไม่ได้คืนภาษี หรือต้องเสียเพิ่ม

ยกตัวอย่างเช่นผม ปีที่ผ่านมาผมได้คืนภาษี 3 แสนกว่าบาท มันไม่ได้หมายความว่าผมไม่ได้เสียภาษีนะครับ
แต่เป็นเพราะผมถูกหักภาษีไปในระหว่างปีไปกว่า 7 แสนกว่าบาท ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วผมควรจะเสียแค่ 3-4 แสนบาท
ดังนั้น เมื่อถึงปลายปี ผมถึงทำเรื่องยื่นภาษี และผลสรุปออกมาว่า ผมได้คืนภาษี 3 แสนกว่าบาท
แต่นั่นก็คือ ปี 53 ผมก็เสียภาษีไปแล้วเช่นกัน เกือบ 4 แสนบาท
คนยิ่งขอคืนภาษีได้เยอะ นั่นหมายความว่าคนเหล่านั้น เสียภาษีในฐานภาษีค่อนข้างสูงนะครับ
เช่นของผมเสียอยู่ในฐาน 30% ครับ นั่นคือ รายได้ผมในฐานนี้ 100 บาท ... ผมต้องจ่ายภาษี 30 บาทครับ
ภาษีสูงสุดของบุคคลธรรมดาคือ 37% ครับ สำหรับรายได้ที่นำมาคำนวณภาษีในส่วนที่เกิน 4,000,000 บาท
อธิบายอย่างนี้เข้าใจนะครับ ...

แต่ส่วนหนึ่ง ที่ทุก ๆ คนเสียภาษีอย่างเท่าเทียมกัน คือ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และ VAT 7% ครับ
ที่เป็นภาษีรายได้ของรัฐ นอกเหนือจากภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีรายได้นิติบุคคล
ผมว่าแนวคิดการลดหย่อนภาษีรถคันแรก บ้านหลังแรก (เอาค่าผ่อนบ้านมาลดหย่อนนะ ไม่ใช่แค่ดอกเบี้ยอย่างปัจจุบัน)
เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และช่วยเหลือคนระดับกลางในประเทศได้อย่างดีทีเดียว

ออฟไลน์ CRO

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 843
ไม่เห็นด้วยครับ.. มันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ควรที่จะไปสร้างระบบขนส่งมวลชนให้ดีๆจะดีกว่าครับ
ส่วนเรื่องภาษี คนที่เสียภาษีส่วนใหญ่ของประเทศคือมนุษย์เงินเดือนที่รายได้มากกว่า 15k รึ 200000 บาทต่อปี (ถ้าจำไม่ผิดนะ) ขึ้นไปครับ

Blue 229

  • บุคคลทั่วไป
ในมุมมองของผม ทุกๆนโยบายสาธารณะ ล้วนก่อเกิดมาด้วยเจตนาอันดีครับ
แต่พอลงไปปฏิบัติแล้ว ผลมันจะดีต่อประเทศหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับตัวแปร หรือกุญแจสำคัญของนโยบายนั้นๆครับ

สำหรับ นโยบายนำยอดการผ่อนรถยนต์ ไปลดหย่อน ภงด.
ผมมองว่าจริงๆนโยบายนี้มีเจตนาอยู่สองอย่างนะ
1. ต้องการลดภาระทางภาษี ให้กับประชากรวัยทำงาน
2. ต้องการพัฒนา คุณภาพชีวิตประชากร

ในข้อแรก ผมคิดว่ามันเป็นเจตนาหลักครับ ชื่อตัวนโยบายมันบอกชัดเจนอยู่ครับ
แต่ในข้อที่สอง มันเป็นเจตนาแฝงครับ เราจะพบนโยบายแบบนี้ได้ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วไป
(อันนี้ไม่ได้ว่าประเทศตัวเองนะครับ พูดกันตรงๆแบบวิชาการครับ :))
เจตนาแฝงแบบนี้ คือต้องการจะส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ประชากรเกิดการครอบครอง ในปัจจัยวัตถุที่มันมีประโยชน์ต่อชีวิตครับ
ผลที่ได้ เมื่อประชากรเล็งเห็นว่า เราควรจะซื้อรถเพราะถ้าซื้อแล้ว เรายังนำตัวเลขไปหักภาษีได้อีก
ประชากรก็จะอยากซื้อรถมากขึ้นครับ และเมื่อประชากรสามารถครอบครองบ้าน รถยนต์เป็นของตนเองได้
ในทางการวัดคุณภาพชีวิตประชากร จะถือได้ว่า ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครับ (ในทางหลักการนะ แต่ทางปฏิบัติผมว่า "ไม่แน่" )

แต่ทว่า นโยบายนี้ ถ้าผ่านมติ นำลงสู่การปฏิบัติเมื่อไหร่
ผมมองว่า มันจะเอื้อประโยชน์ให้่กับพ่อค้า หรือกลุ่มเอกชน มากกว่าตัวกฏหมายจดประกอบ หรือกฏหมายนำเข้ารถพลังงานธรรมชาติอีกครับ
เพราะเอาง่ายๆ แค่ตัวภาษีสรรพสามิตในปัจจุบัน ยังจัดกลุ่มรถยนต์นั่ง ว่าเป็นทรัพย์สินนอกความจำเป็นอยู่เลย
แล้วจะนำนโยบายส่งเสริมการครอบครองสินค้าฟุ่มเฟือยมาใช้ มันขัดกันเองแบบสิ้นเชิงครับ

แต่ผมมั่นใจว่า นโยบายนี้คงจะมีจุดแข็งตรงการกำหนดตัว "รถคันแรก" น่ะครับ
อาจจะกำหนดให้เป็น eco car หรือ รถก๊าซให้มันไปเสริมนโยบายที่ดำเนินการไปแล้วก็ได้
ถ้ามันเป็นอย่างนั้น รัฐจะได้ประโยชน์ครับ เพราะอย่างไรถ้าเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศมันดี
มีการซื้อขายใช้จ่ายคล่อง รัฐก็ได้ประโยชน์จากภาษีมากอยู่ดีแหล่ะครับ

ออฟไลน์ a-k-e

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 167
ส่วนมากแล้ว "รถคันแรก" มักจะเป็นของคนวัยเริ่มทำงาน มีรายได้ระดับปานกลาง
และคนที่ทำงานมาซักพักหนึ่ง แต่ก็มีรายได้ระดับปานกลาง เช่นกัน

หากมองตามหลักเศรษฐศาสตร์ คนที่มีฐานะปานกลาง จะมีการจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างพอดีกับรายได้
นั่นคือ ทำงานหาเงินมาได้ เกือบทั้งหมดก็จะใช้ไปกับรายจ่ายที่มีในแต่ละเดือน
ต่างกับคนรวย ที่หาเงินได้เยอะ แต่ใช้ไม่มาก ดังนั้นอัตราส่วนของรายได้คนรวย
ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยกว่าอัตราส่วนรายได้ของคนชั้นกลางด้วยซ้ำ

ผมมองว่า การลดหย่อนภาษี สำหรับคนที่ซื้อรถคันแรก รัฐเสียผลประโยชน์ในเชิงภาษีมั๊ย
ถ้ามองตรง ๆ ก็คงต้องตอบว่า แน่นอน รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีในส่วนที่ลดหย่อนให้ไป
แต่ในมุมมองเศรษฐศาสตร์แล้ว เงินที่บุคคลชั้นกลางประหยัดได้จากภาษีที่ได้รับลดหย่อนนั้น
เค้าก็จะต้องเอาไปใช้จ่ายอย่างแน่นอน และเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้หลายรอบ (เคยดูโฆษณาเงินหมุน ๆ ไปของ KTB มั๊ย)
และรัฐก็จะสามารถมีรายได้ตรงนี้จากการเก็บภาษีส่วนอื่นทางอ้อม
เช่น ภาษีนำเข้าสินค้า (สินค้าที่คนนั้นซื้อ) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ที่ทุก ๆ คนจ่ายอยู่เป็นประจำ)

ดังนั้น ถามว่าการลดหย่อนภาษี ให้กับกลุ่มคนที่สมควรจะได้รับการลดหย่อนนั้น รัฐเสียผลประโยชน์มั๊ย
จริง ๆ แล้วสามารถตอบได้ว่า รัฐไม่ได้เสียผลประโยชน์หรอก ... แค่เปลี่ยนมือคนใช้เงินภาษีก้อนนั้น
จากจ่ายให้รัฐบาลเอาไปใช้จ่าย เปลี่ยนเป็นให้บุคคลนำมาใช้จ่ายเองโดยตรง ไม่ต้องเสียภาษีอ้อมไปก่อน
จะว่าไปแล้ว ดีซะอีก เพราะเงินภาษีก้อนนั้น ได้เอามากระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
โดยไม่ต้องถูกหักคอมมิชชั่น 30-50% ให้พวกปอปในสภาด้วยซ้ำ หึหึหึ

ออฟไลน์ AFA

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 54
ส่วนมากแล้ว "รถคันแรก" มักจะเป็นของคนวัยเริ่มทำงาน มีรายได้ระดับปานกลาง
และคนที่ทำงานมาซักพักหนึ่ง แต่ก็มีรายได้ระดับปานกลาง เช่นกัน

หากมองตามหลักเศรษฐศาสตร์ คนที่มีฐานะปานกลาง จะมีการจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างพอดีกับรายได้
นั่นคือ ทำงานหาเงินมาได้ เกือบทั้งหมดก็จะใช้ไปกับรายจ่ายที่มีในแต่ละเดือน
ต่างกับคนรวย ที่หาเงินได้เยอะ แต่ใช้ไม่มาก ดังนั้นอัตราส่วนของรายได้คนรวย
ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยกว่าอัตราส่วนรายได้ของคนชั้นกลางด้วยซ้ำ

ผมมองว่า การลดหย่อนภาษี สำหรับคนที่ซื้อรถคันแรก รัฐเสียผลประโยชน์ในเชิงภาษีมั๊ย
ถ้ามองตรง ๆ ก็คงต้องตอบว่า แน่นอน รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีในส่วนที่ลดหย่อนให้ไป
แต่ในมุมมองเศรษฐศาสตร์แล้ว เงินที่บุคคลชั้นกลางประหยัดได้จากภาษีที่ได้รับลดหย่อนนั้น
เค้าก็จะต้องเอาไปใช้จ่ายอย่างแน่นอน และเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้หลายรอบ (เคยดูโฆษณาเงินหมุน ๆ ไปของ KTB มั๊ย)
และรัฐก็จะสามารถมีรายได้ตรงนี้จากการเก็บภาษีส่วนอื่นทางอ้อม
เช่น ภาษีนำเข้าสินค้า (สินค้าที่คนนั้นซื้อ) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ที่ทุก ๆ คนจ่ายอยู่เป็นประจำ)

ดังนั้น ถามว่าการลดหย่อนภาษี ให้กับกลุ่มคนที่สมควรจะได้รับการลดหย่อนนั้น รัฐเสียผลประโยชน์มั๊ย
จริง ๆ แล้วสามารถตอบได้ว่า รัฐไม่ได้เสียผลประโยชน์หรอก ... แค่เปลี่ยนมือคนใช้เงินภาษีก้อนนั้น
จากจ่ายให้รัฐบาลเอาไปใช้จ่าย เปลี่ยนเป็นให้บุคคลนำมาใช้จ่ายเองโดยตรง ไม่ต้องเสียภาษีอ้อมไปก่อน
จะว่าไปแล้ว ดีซะอีก เพราะเงินภาษีก้อนนั้น ได้เอามากระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
โดยไม่ต้องถูกหักคอมมิชชั่น 30-50% ให้พวกปอปในสภาด้วยซ้ำ หึหึหึ
ผมเห็นด้วยอย่างมาก เป็นแนวความคิดซ้อนกันหลายขั้น และคนที่มีประสบการณ์น้อยมักจะมองตรรกะออกเช่นนี้ไม่ออกครับ
จริงๆคนเสนอแนวความคิดควรจะต้องอธิบาย (ซ้ำแล้วซ้ำอีก) ให้คนกลุ่มที่ยังขาดความเข้าใจและมองเพียงด้านเดียวฟังซ้ำๆ ... แต่ก็นั่นแหล่ะคนที่เสนอ และพูดถึง feature แต่ไม่ค่อยยอมพูดถึง benefit ทั้งหมด .. มันจึงทำให้คนมองภาพนั้นๆออกเพียงด้านเดียว และกลายเป็นไม่โดนใจคนส่วนใหญ่

ออฟไลน์ i-din

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 458
คุณ i-din ครับ ตรรกะของคุณบางจุดผิดครับ
คุณบอกว่ามีคนยื่นแบบเสียภาษี 10 ล้านคน มีคนได้คืน 8 ล้านคน และ 2 ล้านคนไม่ได้คืน
มันไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 2 ล้านคนที่เป็นคนเสียภาษีพยุงรายได้ของประเทศนะครับ ผิดถนัดเลย
ความหมายคือ ทั้ง 10 ล้านคน คือคนเสียภาษีพยุงประเทศ
ใน 10 ล้านคนนั้น 8 ล้านคนเสียภาษีไว้ "เกิน" กว่าจำนวนที่ต้องเสียจริง เค้าถึงได้คืนภาษีในส่วนที่เสียเกินไป
และใน 10 ล้านคนนั้น 2 ล้านคน ที่เสียภาษีไว้ "พอดี" หรือเสียภาษี "น้อยกว่าที่ควรจะเป็น" คนเหล่านั้นจึงไม่ได้คืนภาษี หรือต้องเสียเพิ่ม

ยกตัวอย่างเช่นผม ปีที่ผ่านมาผมได้คืนภาษี 3 แสนกว่าบาท มันไม่ได้หมายความว่าผมไม่ได้เสียภาษีนะครับ
แต่เป็นเพราะผมถูกหักภาษีไปในระหว่างปีไปกว่า 7 แสนกว่าบาท ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วผมควรจะเสียแค่ 3-4 แสนบาท
ดังนั้น เมื่อถึงปลายปี ผมถึงทำเรื่องยื่นภาษี และผลสรุปออกมาว่า ผมได้คืนภาษี 3 แสนกว่าบาท
แต่นั่นก็คือ ปี 53 ผมก็เสียภาษีไปแล้วเช่นกัน เกือบ 4 แสนบาท
คนยิ่งขอคืนภาษีได้เยอะ นั่นหมายความว่าคนเหล่านั้น เสียภาษีในฐานภาษีค่อนข้างสูงนะครับ
เช่นของผมเสียอยู่ในฐาน 30% ครับ นั่นคือ รายได้ผมในฐานนี้ 100 บาท ... ผมต้องจ่ายภาษี 30 บาทครับ
ภาษีสูงสุดของบุคคลธรรมดาคือ 37% ครับ สำหรับรายได้ที่นำมาคำนวณภาษีในส่วนที่เกิน 4,000,000 บาท
อธิบายอย่างนี้เข้าใจนะครับ ...

แต่ส่วนหนึ่ง ที่ทุก ๆ คนเสียภาษีอย่างเท่าเทียมกัน คือ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และ VAT 7% ครับ
ที่เป็นภาษีรายได้ของรัฐ นอกเหนือจากภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีรายได้นิติบุคคล
ผมว่าแนวคิดการลดหย่อนภาษีรถคันแรก บ้านหลังแรก (เอาค่าผ่อนบ้านมาลดหย่อนนะ ไม่ใช่แค่ดอกเบี้ยอย่างปัจจุบัน)
เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และช่วยเหลือคนระดับกลางในประเทศได้อย่างดีทีเดียว

อืม นั่นล่ะครับ ผมว่าความหมายถเดียวกันนะ  8 ล้านคน คือคนที่ยื่นแล้วได้คืน หรือฐานเงินเดือนไม่ถึง ไม่ต้องจ่าย อย่างผมเป็นต้น ต้องยื่นทุกปี แต่ฐานเงินเดือนไม่ถึง เค้าไม่ได้หักไว้ จริงๆ อ่านมาจากหนังสือการเงินการธนาคาร  ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เค้าสรุปมาให้น่ะครับ น ่าจะเป็นฉบับปีที่แล้ว เพราะปีนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกแล้วอ่ะครับ

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,089
เข้ามาเก็บความรู้ครับ ขอบคุณหลายๆท่านที่มาแชร์ความรู้กันด้วยครับ

อยากให้หลายๆคนได้มองภาพรวมๆ ทั้งหมดแบบที่บางท่านบอกไว้ ไม่ใช่มองด้านเดียว แล้วก็ไปทะเลาะกับอีกฝ่ายที่มองด้านเดียว(แต่คนละด้านกัน) ครับ

ออฟไลน์ jubjeab

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 106
    • อีเมล์
ลดภาษีที่บวกในราคาซื้อ  จะดูเข้าท่าดีกว่า