ผู้เขียน หัวข้อ: FB จะเปลี่ยนเหล็กกันโคลงหลัง ขอคำแนะนำด้วยครับ  (อ่าน 4443 ครั้ง)

ออฟไลน์ sicview_coupe

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 17
ตอนนี้ใช้ซีวิค FB อยู่ครับ เวลาเข้าโค้งหรือเจอโค้งเวลากลับรถ รู้สึกท้ายรถมีอาการโยนตัวมาก นั่งหลังสัมผัสได้ชัดเจน

ลองหาข้อมูลปรากฎว่าเหล็กกันโครงหลังของซีวิคมีขนาดแค่ 11mm ซึ่งต่างกับ EX และ Focus ที่มีขนาด 18 และ 20mm ตามลำดับ

อยากรู้ว่าถ้าผมไปเปลี่ยนเหล็กกันโคลงหลังเป็นของตัวนอกตรงรุ่น 17mm

อาการของรถ ความกระด้าง พวงมาลัยจะเปลี่ยนไปเยอะมั้ยครับ มีข้อดี - ข้อเสียอย่างไร ขับทางไกลบ่อยครับ

ออฟไลน์ elite

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 253
ลองถามพี่แซมแห่งคลับซีวิคเอฟบีดูเลยครับ เขาขายอยู่+รถเขาก็ใส่ด้วยลองขับรถเขาได้เป็นกันเอง (ใส่แล้วมันมั่นใจในการขับมากขึ้นจริงๆนะ)

ออฟไลน์ Majic3

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 79
    • อีเมล์
นำหนักรถก็ต่างกันมากแล้วครับ

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,177
ใส่กันโคลงเดิม แต่ไปใส่ค้ำหัวโช๊คหน้าแทนดีกว่าครับ
กันโคลงราคาค่อนข้างสูง (น่าจะ 3-4 พัน)
เอาไปใส่ค้ำโช๊คหรือ Rigid แทนดีกว่านะครับ

ออฟไลน์ Larry

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 562
ค้ำหน้า ค้ำหลัง ค้ำกลาง แล้ว Rigid Collar ด้วย น่าจะเอาอยู่นะครับ

ออฟไลน์ myalexxp

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 829
ช่วงล่างมันนิ่มไปก้โคลงครับ

ลดขนาดแก้มยางลง+เพิ่มหน้ายาง โช๊คสปริง ดีๆ สักชุด

แพงเอาเรื่องแฮะ

ออฟไลน์ redsun

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,095
ืว่ากันตามพื้นฐานก่อนครับ

สมมติตอนไม่มีกันโคลง
เวลารถเลี้ยวโค้งขวาแรงๆ
รถจะถ่ายน้ำหนักจากด้านขวา มาด้านซ้าย (ถ่ายน้ำหนักจากด้านใน มาสู่ด้านนอก (หนีศูนย์กลาง))
โช้คและสปริงด้านซ้ายทำการตอบโต้ด้วยการ "ต้าน"แรงกด
โช้คด้านขวาทำการตอบโต้ด้วยการ "ต้าน"แรงยก

ต่อมามีการใส่กันโคลงอันใหญ่เข้าไป
เวลารถเลี้ยวโค้งขวาแรงๆ
รถจะถ่ายน้ำหนักจากด้านขวา มาด้านซ้าย (ถ่ายน้ำหนักจากด้านใน มาสู่ด้านนอก (หนีศูนย์กลาง)) (เหมือนเดิม)
โช้คและสปริงและเหล็กกันโคลงด้านซ้ายทำการตอบโต้ด้วยการ "ต้าน"แรงกด
โช้คและเหล็กกันโคลงด้านขวาทำการตอบโต้ด้วยการ "ต้าน"แรงยก

ฉะนั้นเมื่อมีเหล็กกันโคลง จะทำให้ตัวรถเอียงน้อยลง หรือไม่เอียง
ทำให้การถ่ายน้ำหนักของรถยนต์ไปด้านข้างขณะเข้าโค้งถ่ายได้รวดเร็ว
เนื่องจากไม่ต้องแตกแรงไปในแนวดิ่ง ทำให้การถ่ายน้ำหนักไปในแนวราบเต็มเม็ดเต็มหน่วย

แต่
ถ้าใส่เหล็กกันโคลงใหญ่มาก(เกินไป)
เท่ากับเป็นการลดบทบาทโช้คและสปริงในการเข้าโค้งไปโดยปริยาย

โช้คและสปริง
มีสเกลที่ละเอียดและปรับแต่งได้สะดวก และแยกอิสระในแต่ละข้าง
แต่ดันไปลดบทบาทของโช้คกับสปริงมากจนเกินไปจนไม่เหมาะสม
เหลือแต่สเกลใหญ่และไม่อิสระของเหล็กกันโคลงมาใช้งาน

ยิ่งเหล็กกันโคลงใหญ่มาก การถ่ายน้ำหนักจะเร็วมากตาม
ฉะนั้นต้องปรับตั้งช่วงล่างให้มีความพอดี เป็นประโยชน์ที่สุด
เหมาะกับแต่ละสนาม และเข้ากับสไตล์การขับขี่ของแต่ละคนด้วย

คหสต.
ควรให้เหล็กกันโคลงเป็นตัวเสริม
ในจุดที่สามารถใช้ประโยชน์ของโช้คและสปริงได้เต็มสเกลน่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2016, 09:09:00 โดย redsun »