ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามกูรูเรื่องอัตราการประหยัดน้ำมันรถเกียร์ MT VS AT  (อ่าน 7102 ครั้ง)

ออฟไลน์ HornbilL

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 233
จากการสังเกตุจากรีวิวของท่านเจ้าของเวป(พี่ J!MMY และทีมงาน) และจากผู้ใช้งานจริงของรถหลายรุ่น หลายยี่ห้อ
ผมสังเกตุเห็นว่า รถเกียร์ MT ที่ความเร็วคงที่เช่น 110 km/h รอบเครื่องจะสูงกว่า AT แทบจะทุกรุ่น
แต่เหตุฉไหน รถเกียร์ MT จึงประหยัดกว่าเกียร์ AT ครับ  ??? (คืองงว่า ทำไมที่รอบเครื่องสูงกว่าถึงประหยัดกว่าครับ)
หรือว่ากันที่การสูญเสียกำลังที่ระบบเกียร์เท่านั้น  ???
ปล. แล้วที่ว่าขับรถรอบสูงเปลืองน้ำมันกว่ารอบต่ำนั้นเป็นความจริงหรือไม่ (อันนี้เทียบกันในรถคันเดียวครับ)

gunz13096

  • บุคคลทั่วไป
ขอตอบแบบพอรู้นะครับ อุปกรณ์เกียร์ออโต้เยอะกว่าน้ำหนักมากกว่าทำให้กินน้ำมันนิดหน่อยครับ ส่วนเกียร์ธรรมกลไกน้อยกว่าทำให้เบากว่า ตามทฤษฎีที่ว่าน้ำหนักยิ่งน้อยยิ่งประหยัดน้ำมัน

ออฟไลน์ BestHuafoo

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,120
  • เอี๊ยดแอ๊ด
ขอเชิญ คุณริว จิตสัมผัสครับ เอ๊ย ไม่ใช่  ;D

ตอบยากเหมือนกันว่าทำไมประหยัดกว่า ทั้งๆที่ AT ปัจจุบันก็ดีกว่าสมัยก่อนมาก
ถ้าเรื่องที่พอเข้าใจได้ง่ายก็คงเป็น
การถ่ายถอดกำลังไปที่ล้อ MT เสียน้อยกว่า น้ำหนักของชุดส่งกำลัง AT ทั้งชิ้นส่วนเยอะ
ทั้งหนัก และส่งผ่านหลายกระบวนการ เลยทำให้เสียกำลังช่วงส่งออกไป

แล้วก็ที่มีคนชอบพูดว่า MT ขับไม่คล่องก็เปลือง
ส่วนตัวตอนได้ Jazz มาใหม่ๆ 2 เดือนแรก ทั้งปล่อยดับ เลี้ยงคลัตช์กระจาย เข้าเกียร์ช้า
เข้าถูกๆ ผิดๆ เปลี่ยนเกียร์รอบที่ไม่เหมาะสม แต่วัดอัตราสิ้นเปลืองออกมา ดันประหยัดกว่า CVT คันเก่าซะงั้น

ออฟไลน์ nunix

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 347
    • อีเมล์
อย่างที่พี่ๆทุกคนได้บอก ว่า MT สูญเสียกำลังในระบบน้อยกว่า ทำให้ประหยัดกว่า
แต่เพิ่มเติมคือ รอบเครื่องสูง กินน้ำมันสูงกว่า แต่เนื่องจากเหตุผลข้างต้นทำให้กินน้ำมันน้อยกว่า ข้อดีของรอบสูงกว่าคือขับมันส์กว่าแต่ประหยัดกว่า นี่ละครับ เสน่ห์ MT

ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
mt ที่วิ่ง 100km/hr ไม่จำเป็นต้องใช้อัตราการฉีดนํ้ามันเท่ากับ at ที่วิ่ง 100 km/hr นี้ครับ

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,179
การถ่ายทอดกำลังครับ

สังเกตุว่า ขับรถเกียร์ธรรมดา จะสัมผัสได้ถึงแรงดึงที่มากกว่า
เชื่อมั้ยว่า เกียรธรรมดา เหมือนถ่ายกำลังลงมาตรงๆเลย ความสูญเสียกำลังน้อยมากๆ
ทำให้ได้แรงที่มากกว่า พลังแรงบิดสูงกว่า และอัตราสิ้นเปลืองที่คุ้มค่ากว่า

ลองเอาขึ้นไดโน เกียรออโต้ แรงม้าน้อยมากๆเมื่อวัดที่ล้อ ม้าตายไปกับระบบหลายตัว
ในขณะที่เกียรธรรมดา แรงม้าที่ล้อเยอะมากๆ

ยังไม่พอ เกียรธรรมดา สามารถเอาไปต่อยอดความแรงได้เยอะมากๆครับ

ออฟไลน์ Thor.1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 557
   ที่ความเร็ว100กม/ชม เกียร์ออโต้ส่วนใหญ่ใช้รอบน้อยกว่าเกียร์ธรรมดา
   ถ้าวัดกันแค่จุดนั้น เกียร์อะไรที่ใช้รอบต่ำกว่าย่อมประหยัดกว่าแน่นอน
   แต่อันนั้นว่ากันแค่ตอนความเร็วที่อยู่นิ่งแล้วครับ

   อย่าลืมว่าระหว่างจุดที่ออกตัวกว่าจะไปนิ่งที่ความเร็วในเกียร์สุดท้าย
   กำลังมันจะเสียไปกับการหมุนฟรีในทอร์คคอนเวอร์เตอร์เป็นส่วนมาก

   มันจะกินตรงนั้นล่ะครับ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของการขับขี่ทั้งหมด
   เกียร์ออโต้จึงกินจุกว่าด้วยประการฉะนี้..........

ออฟไลน์ kenno

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 265
นึกภาพง่ายๆ
เวลาเราขี้จักรยานแบบมีเกียร์ขึ้นทางชันหรือออกตัวแล้วเราใช้เกียร์สูงซึ่งรอบต่ำเราจะต้องใช้แรงมากเมื่อเทียบกับเกียร์ต่ำที่รอบสูงกว่าเรากลับออกแรงน้อยกว่าเหนื่อยน้อยกว่า
ผมว่าความเร็วต้องเหมาะสมกับรอบถ้าจะประหยัดที่สุด

ออฟไลน์ johnlee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,603
    • อีเมล์
จักรยานคันเดิม ลองเปลี่ยนจากโซ่ เป็นสายพานสิครับ

เอาเท่าเส้นที่อยู่หน้าเครื่องยนต์ก็ได้ รับรอง ต้องออกแรงปั่นมากกว่าโซ่แน่ๆ แม้อัตราทดเท่าเดิม เพราะความฝืดของสายพานมากกว่าโซ่ครับ มันงอไม่ได้เหมือนโซ่
2535-2555 Nissan Big-m z16
2555-2561 Nissan Big-m Td27 + Bd25
2555- 2566 -Nissan Almera N17
2561- present -Isuzu D-max spacecab SLX 3.0
2566 - present Honda Jazz ge v a/t

ออฟไลน์ HornbilL

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 233
mt ที่วิ่ง 100km/hr ไม่จำเป็นต้องใช้อัตราการฉีดนํ้ามันเท่ากับ at ที่วิ่ง 100 km/hr นี้ครับ
ผมว่าจุดนี้น่าสนใจ ไม่เคยฉุกคิดเลย ท่านอื่นๆพอจะมีข้อมูลเพิ่มเติมมั๊ยครับ  :)

ออฟไลน์ Parinceo

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,210
สมมุติเราฉีดน้ำใส่ใบพัดนะครับ
ถ้าแรงต้านที่ใบพัดน้อยกว่า เราฉีดน้ำไปแรงเท่ากันต้องหมุนเร็วมากกว่าอันที่มีแรงต้านครับ
เหมือนกับเครื่องแหละครับ รอบสูงกว่าแต่น้ำมันที่ต้องฉีดไปในแต่ละการจุดน้อยกว่า เพราะแรงต้านในระบบน้อยกว่า

คิดว่าน่าจะประมาณนี้อ่ะครับ

ออฟไลน์ checksos

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 108
    • อีเมล์
หุหุ ผมเป็นคนนึงที่ส่งสัยเรื่องนี้เหมือนกันครับ ยอมรับว่าอ่าน ๆ แล้วก็ยังงง ๆ อยู่ หุหุ

ขอบคุณ จขกท.ด้วยครับ สงสัยมานานล่ะ

ออฟไลน์ Torque

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 248
ที่ความเร็วคงที่เอง ก็ไม่ใช่ว่าเครื่องยนต์ไม่ต้องออกแรงนะครับ
เป็นจุดที่สมดุลระหว่าง แรงขับ กับ แรงต้าน

;D ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงไม่ได้แปรตามรอบเครื่องเพียงอย่างเดียวครับ

ในรถคันเดียวกัน ที่รอบเครื่องเดียวกัน,เกียร์เดียวกัน,ความเร็วเดียวกัน , และล็อคอัพจับเรียบร้อย
ก็ยังมีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงไม่เท่ากันครับ ตามสภาพโหลด

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆเช่น ขับขึ้นเนินชันไม่เท่ากัน  4 องศา  กับ  10 องศา
รถที่มีแถบแสดงอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจริง ณ ขณะนั้นๆ
ก็จะแสดงแถบอัตราสิ้นเปลือง(ในกรอบสีเขียว)ไม่เท่ากัน
ในรูปเป็นของรถ Jazz ภาพที่ถ่ายตอนวิ่งหาไม่เจอครับ



 
นั่นคือจะเห็นได้ชัดเจนแล้วว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงนั้น
อย่างน้อยๆ ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรอบเครื่องเพียงอย่างเดียวแน่ๆ

ต้องมีปัจจัยอื่นๆเพิ่มขึ้นมา แต่ที่แน่ๆอย่างหนึ่ง โหลด จะภายในหรือภายนอก มีผลด้วย
 
โดยในความเป็นจริงแล้วมันยังมีอีกหลายเงื่อนไขปัจจัย จึงเป็นเหตผล
ที่ต้องมีการพัฒนากล่อง ECU ให้ฉลาดและซับซ้อนขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆ
ซึ่งกล่องของเกียร์ออโต้กับเกียร์ธรรมดาเองนั้นก็อาจจะมีการปรับจูนที่แตกต่างกัน

------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่ว่าจะระบบส่งกำลัง น้ำหนักตัวรถ แรงต้านการหมุนของล้อ และชิ้นส่วนต่างๆของระบบส่งกำลัง
แรงกด และอะไรต่างๆจิปาถะ มีแนวโน้มที่จะทำให้รถเกียร์ออโต้ต้องแบกภาระมากกว่า
ก็ควรที่จะกินมากกว่า รายละเอียดที่ลึกกว่านี้รอผู้รู้มาให้ข้อมูลดีกว่านะครับ

ทีนี้ตามที่ผมเข้าใจ ในเรื่อง ทำไมรอบเครื่องต่ำกว่าแต่ดันกินน้ำมันมากกว่าได้
(ถ้าผมเข้าใจผิดยังไงช่วยท้วงด้วย ช่วยกันแก้นะครับ)

แม้ว่าที่ความเร็วเดียวกัน AT จะใช้รอบเครื่องต่ำกว่า MT  

แต่ในการหมุน ทุกๆสองรอบนั้น
เฉลี่ยแล้ว รถ AT มักจะต้องใช้น้ำมันมากกว่า รถ MT


ซึ่งในระยะทางที่วิ่งเท่ากัน  ใครจะกินกว่าใคร ก็มาวัดเอาที่ ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ว่ากี่ลิตร

ก็ต้องมาดูผลคูณระหว่างรอบเครื่องที่หมุนไป  กับ ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้เฉลี่ยในการหมุนแต่ละรอบ

MT  รอบสูงกว่า  แต่ปริมาณเชื้อเพลิงแต่ละรอบต่ำกว่า
AT  รอบต่ำกว่า  แต่ปริมาณเชื้อเพลิงแต่ละรอบสูงกว่า

คูณกันออกมาแล้ว ใครจะมากใครจะน้อยก็ต้องมาดูตรงนี้

โดยมาก
ผลจากเชื้อเพลิงที่มากกว่า   มักมีผลมากกว่ารอบเครื่องที่ต่ำลง  
จึงน่าจะทำให้สรุปแล้วคูณกันออกมา  AT ก็ยังคงกินกว่า MT ในช่วงความเร็วที่เราทดสอบ


-------------------------------------------------------------------------------------------


ยกตัวอย่างการคำนวณ แบบหยาบๆนะครับ


ถ้าระยะทางที่จะเดินทางคือ 300 km เอาแบบวิ่งลอยตัวนิ่งๆ ได้ความเร็ว 100 km/h แล้วเริ่มวัดกัน

สมมุติว่า
รถ MT วิ่งด้วยอัตราเร็ว 100 km/h ใช้รอบเครื่อง 3000 รอบ/นาที
รถ AT วิ่งด้วยอัตราเร็ว 100 km/h ใช้รอบเครื่อง 2500 รอบ/นาที


นั่นคือ รถทั้งสองคัน จะใช้เวลาในการวิ่งระยะทาง 300 km นี้
= [ระยะทาง]/[อัตราเร็ว] = 300/100 = 3 ชั่วโมง
คิดเป็นนาทีก็จะเท่ากับ  180 นาที


นั่นคือในระยะทาง 300 km ซึ่งใช้เวลาวิ่ง 180 นาทีนั้น

รถ MT เครื่องจะหมุนไปทั้งหมด
= 3000x180 = 540,000 รอบ

รถ AT เครื่องจะหมุนไปทั้งหมด
= 2500x180 = 450,000 รอบ

---------------------------------------------------------------------------
ตรงนี้จะเห็นว่า ระยะทาง 300 km เหมือนกัน
รถ MT เครื่องต้องหมุนมากกว่าตั้งเยอะ จะประหยัดกว่า AT ได้ยังไง ?
---------------------------------------------------------------------------


แต่ถ้าด้วยเงื่อนไขในการวิ่งแบบที่ว่า ถ้าเกิดว่า
รถ MT เกิดจะใช้น้ำมัน เฉลี่ยแล้ว  0.000037037 ลิตร/รอบ
รถ AT  เกิดจะใช้น้ำมัน เฉลี่ยแล้ว  0.000055556 ลิตร/รอบ


นั่นคือในระยะทาง 300 km นี้
รถ MT ใช้น้ำมันไปประมาณ  0.000037037x540,000 = 20 ลิตร  ---> คำนวณออกมาได้  300/20 = 15 km/L
รถ AT ใช้น้ำมันไปประมาณ  0.000055556x450,000 = 25 ลิตร   ---> คำนวณออกมาได้  300/25 = 12 km/L

จากตัวอย่างนี้ ก็จะพบว่า รถ AT กินกว่าทั้งๆที่รอบเครื่องมันน้อยกว่า ได้เหมือนกันครับ  :P
a = F/m

ออฟไลน์ HornbilL

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 233
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมถกปัญหากันครับ
ขอบคุณท่าน Torque มากครับ อธิบายได้ละเอียดเหลือหลาย  :D

ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
เอาแบบวิชาการหน่อยนะครับ ที่ความเร็วคงที่นั้นจะได้ว่า
กำลังที่ออกจากเครื่อง = กำลังที่ต้าน

ที่นี้กำลังที่ออกจากเครื่องจะได้มาจาก อัตราการฉีดนํ้ามัน x ค่าพลังงานต่อปริมาณนํ้ามัน x ความสามารถในการเปลี่ยนความร้อนไปเป็นพลังงานกล(คงที่ทุกรอบเครื่องจะได้คิดง่ายๆ)
ถ้าเทียบกันระหว่าง AT และ MT ผลตรงนี้จะไม่ต่างกันมากเท่าไร

ทีนี้มาดูที่ส่วนที่ต้านการเคลื่อนที่กันบ้างก็จะมี
แรงต้านอากาศ + แรงฉุดในเครื่อง(คงที่ทุกรอบเครื่องจะได้คิดง่ายๆ) + แรงที่เสียไปในระบบส่งกำลัง + แรงต้านจากล้อ +Etc(ที่เหลือถือว่าเท่ากันจะได้คำนวนง่าย)

โดนแรงต้านที่ต่างกันระหว่าง AT กับ MT หลักๆก็จากมาจากระบบส่งกำลัง โดยให้ AT มีการเสียไปมากกว่า MT อยู่ที่ 10%(สมมุติเอา)

ก็จะได้ว่า AT ต้องใช้อัตราการฉีดนํ้ามันมากกว่า MT อยู่ราวๆ 10% เพื่อเลื้ยงให้ความเร็วคงที่

อันนี้คำนวนแบบง่ายๆนะครับเพราะผมตัดพวกปัจจัยอื่นออกไปเยอะมาก
หวังว่าคงอ่านเข้าใจกันนะครับ เพราะผมอ่านเอาอีกรอบยังงงเลยครับ ;D

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
วิชาการจัดเต็ม ขอบคุณหลายท่านเลย