ผู้เขียน หัวข้อ: ปรึกษาเรื่องถอนจองรถยนต์หน่อยครับ เหมือนโดนเอาเปรียบ  (อ่าน 8236 ครั้ง)

ออฟไลน์ Everlast

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 35
    • อีเมล์
สิงหาคมปีที่แล้วได้ไปจองรถไว้โดยที่วางเงินไว้ 5,000 บาท จะใช้ชื่อของพี่สาวที่อยู่ชายแดนใต้เพื่อรับสิทธิ์รถคันแรก แต่เงื่อนไขของไฟแนนซ์คือให้ขึ้นมาเซ็นที่กทม.
ซึ่งพี่สาวผมก็ไม่มีโอกาสขึ้นมาซักที เพราะค้าขายอยู่ที่นั่น จึงจำต้องถอนจอง แต่เซลล์กลับบอกว่าผู้ใหญ่ไม่อนุมัติ ด้วยสาเหตุอะไรก็ไม่รู้นะ แต่ผมก็มีเหตุผลเพิ่ม
คือไฟแนนซ์บังคับให้มีคนค้ำประกันเพิ่มเนื่องจากพื้นที่อันตราย เลยไม่สะดวกค้ำเพราะจะมีผลเรื่องยื่นกู้อย่างอื่น เซลล์ผมลาออกไปแล้ว ก็ยังพยายามดันให้เต็มที่
แต่ผู้จัดการศูนย์ก็ยืนยันว่าผู้ใหญ่แคนเซิลมาสองรอบแล้ว เพื่อนๆว่าปล่อยให้ศูนย์ยึดดีมั้ย งานนี้ใครผิดใครถูก พอมีหนทางบ้างมั้ย

ออฟไลน์ Blur

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 529
    • อีเมล์
ขายต่อใบจองได้มั้ยครับ
ลองดู

ออฟไลน์ Slipknot`

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 21,866
  • *** HLM.COM ***
ขายต่อใบจองได้มั้ยครับ
ลองดู

+1 วิธีนี้ง่ายสุดครับและได้เงินไวด้วย

ในส่วนถอนจอง ถอนได้ครับ มันจะไม่ให้เราถอนอะสิ - -*

เพราะถ้าเซลออกไปแล้ว ก็จะมีคนใหม่มารับช่วงต่อครับ ติดต่อคนนั้นหรือยังครับ

อย่าให้มันยึดไปนะครับ เงินเราตั้ง 5,000 อย่าไปยอมครับ

ไม่ก็ลองโทรไปศูนย์ใหญ่เลยครับ แจ้งเลยว่า ศูนย์นี้ทำแบบนี้ อย่างงี้

ออฟไลน์ Wayfarer-R

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,563
จองยี่ห้อไร รุ่นไหนไว้ครับ ?

ออฟไลน์ Everlast

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 35
    • อีเมล์
Jazz Hybrid ครับ

ออฟไลน์ Public P

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 239
    • อีเมล์
อย่างที่เพื่อนๆว่าครับขายใบจองเร็วสุด ถ้าไม่เอาวิธีนี้ก็แจ้งศูนย์ใหญ่เลยครับ บริษัทรถลงทุนเท่าไหร่เพื่อทำรถดีๆให้ได้คำชม ให้ขายได้ เสียค่าโฆษณาอีก เขาไม่ยอมเสียชื่อกับเงินห้าพันหรอกครับ แต่ส่วนใหญ่คือคนเขาทำงานไม่มีเวลาหรือขี้เกียจโต้เถียงเลยยอมเสียเงินไป ทำให้บริษัทรถบางที่ได้ใจได้เงินกินเปล่าไปเลย (คิดดูครับถ้ามีกรณีแบบคุณซักสิบคนพอ) ถ้าคุณมีเวลาผมแนะนำคุยกับเขาก่อนครับ ถ้าเขาไม่ให้ไปร้องเรียน สคบ ครับ ถ้าอยู่ต่างจังหวัดแล้วมีสำนักงานอัยการอยู่ใกล้ๆก็เข้าไปเลยครับที่ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน  ได้คืนแน่ครับถ้าเป็นกรณีอย่างที่คุณว่า แค่หนังสือฉบับแรกจากหน่วยงานเหล่านั้นไปถึงเขา เขาก็รีบคืนให้คุณแล้วครับ

ออฟไลน์ NINENOI

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,732
  • Nine & Knight
^
^
^

หุหุหุ แล้วจะมีบ่นกระปอดกระแปดว่าเรื่องแค่นี้คุยกันดีๆก็ได้ (คุยแล้วโว้ยแต่เมิงไม่สนใจเลย)  :) :) :)
ถ้าเราซื้อของที่ไม่จำเป็น สุดท้ายเราต้องขายของที่จำเป็น

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,940
    • อีเมล์
อ่านแล้ว เค้ามีสิทธิ์ไม่คืนได้ครับ

เพราะดูเหตุผลแล้ว เกิดจากความไม่พร้อมของผู้จองเอง ไม่ใช่ดีลเลอร์

ถ้าจัดไฟแนนท์แล้ว ผลกู้ไม่ผ่าน แบบนี้คืนครับ แต่นี่ ให้จัดไฟแนนท์ ผู้ซื้อ(หมายถึงพี่สาว)ก็ไม่พร้อมมาเซ็นท์ ให้หาคนค้ำ ... คนค้ำก็ไม่ค้ำให้อีก .....

สรุปโดยรวม ผู้ซื้อไม่พร้อมแล้วมาจองรถ สรุป ไม่คืน ถูกต้องแล้วครับ

ออฟไลน์ Everlast

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 35
    • อีเมล์
อ่านแล้ว เค้ามีสิทธิ์ไม่คืนได้ครับ

เพราะดูเหตุผลแล้ว เกิดจากความไม่พร้อมของผู้จองเอง ไม่ใช่ดีลเลอร์

ถ้าจัดไฟแนนท์แล้ว ผลกู้ไม่ผ่าน แบบนี้คืนครับ แต่นี่ ให้จัดไฟแนนท์ ผู้ซื้อ(หมายถึงพี่สาว)ก็ไม่พร้อมมาเซ็นท์ ให้หาคนค้ำ ... คนค้ำก็ไม่ค้ำให้อีก .....

สรุปโดยรวม ผู้ซื้อไม่พร้อมแล้วมาจองรถ สรุป ไม่คืน ถูกต้องแล้วครับ

อันนี้จริงครับ แต่ในมุมของคนจองก็วางเงินโดยไม่รู้เงื่อนไขนี้ก่อนเหมือนกัน ผมก็คิดว่าต่างฝ่ายต่างไม่ผิด แต่ควรจะยกประโยชน์ให้ลูกค้านะครับ 5,000 ของบริษัทกับ 5,000 ของลูกค้าคุณค่ามันต่างกันเยอะอยู่

ออฟไลน์ adis

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,416
    • อีเมล์
หนทางที่ดีที่สุดก็อย่างที่เพื่อน ๆ ข้างบนว่ามาครับ ลองขายไปจองดู
แต่ผมว่าเงื่อนไขของไฟแนนท์ตามที่เล่ามา มันมากเกินไปนะครับ
ผมอยู่ปัตตานีครับ ไม่เห็นต้องมีคนค้ำเพราะเหตุว่าพื้นที่อันตรายเลย
ตอนออกรถวิทาร่า ผมก็ออกที่กทม.นะ ไฟแนนท์ก็มีสาขาทั่วประเทศ มาทำเอกสารไฟแนนท์ที่ที่ทำงานผมที่ปัตตานีเลย
ไม่ยุ่งยากอะไรเลยครับ สองวันเสร็จ อนุมัติไม่ยากเลย  แล้วก็ไปออกรถที่ กทม.

ออฟไลน์ Public P

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 239
    • อีเมล์
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551
           อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2541   อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29  ประกอบมาตรา 43  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทำได้  โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5  แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542  คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี่
 ข้อ 1  ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
      ข้อ 2  ในประกาศนี้
      “ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจอง” หมายความว่า  การประกอบกิจการขายรถยนต์โดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองซื้อ
       “สัญญาจองรถยนต์” หมายความว่า  ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้บริโภคทำกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการจองซื้อรถยนต์  โดยผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือได้รับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำและให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญา
       “รถยนต์” หมายความว่า  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลแต่ไม่เกินสิบสองคน  และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม  ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
      ข้อ 3  สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน  ซึ่งขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร  และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
       (1)  รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  ดังนี้
             (1.1) ยี่ห้อ รุ่น  ปีที่ผลิต  สี  และขนาดกำลังเครื่องยนต์
             (1.2)  รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมหรือของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี)
             (1.3)  จำนวนเงิน  หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี)
             (1.4)  ราคา
       (2)  กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์
       (3)  ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
            (3.1)  ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น
            (3.2)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด
            (3.3)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี  ยี่ห้อ  รุ่น  ปีที่ผลิต  สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์  ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
            (3.4)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม  หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา
       (4)  ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา  หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า  ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาตาม (2)
       (5)  เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาตาม(3) หรือ (4) แล้ว  ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วัน
       (6)  การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็นข้อที่ผู้ประกอบธุรกิจระบุไว้เป็นการเฉพาะตัวอักษรที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป
      ข้อ 4  ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน  ดังต่อไปนี้
              (1)  ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ
              (2)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการส่งมอบรถยนต์  หรือเงื่อนไขต่าง ๆ  ตามที่กำหนดในสัญญาจองรถยนต์  ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา
              (3)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค  โดยผู้บริโภคโดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญา  หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา
           ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1  ธันวาคม พ.ศ. 2551  เป็นต้นไป
                                                      ประกาศ ณ  วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

                                                             ลงชื่อ  นายขวัญชัย  สันตสว่าง
                                                             ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

(ข้อมูลจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 125 ตอนพิเศษ 167 ง  วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
         
             ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่ จขกท ว่าจริงๆที่ว่าเนื่องจากไฟแนนซ์เพิ่มเงื่อนไขเรื่องผู้ค้ำประกันมาเราเลยไม่สะดวกที่จะทำสัญญาไฟแนนซ์ต่อไป พูดง่ายๆไม่มีผู้ค้ำประกันไฟแนนซ์ไม่ให้ แล้วยังเงื่อนไขที่ให้ไปทำสัญญาไกลซะขนาดนั้น (ดูข้อ 4 ด้านบนครับ) ผมแนะนำเลยครับคุณอยู่ต่างจังหวัดใช่ไหมครับ ไปสำนักงานอัยการที่ใกล้บ้านคุณเลยครับ ที่หน่วยช่วยเหลือประชาชน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ ทางอัยการเขาจะให้คำปรึกษาแก่ท่านและหากคุณถูกเอาเปรียบก็จะดำเนินการให้ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆอีกเช่นกันครับ แต่ให้บอกข้อเท็จจริงให้ละเอียดตรงต่อความเป็นจริงนะครับ นำหลักฐานทั้งหมดไปด้วยนะครับที่เกี่ยวกับการจองรถ ที่ตรงนั้นคุณจะได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนครับ จะได้คืนหรือไม่ เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงโดยละเอียดทั้งหมดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2013, 12:12:12 โดย Public P »

ออฟไลน์ oatz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 22
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551
           อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2541   อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29  ประกอบมาตรา 43  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทำได้  โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5  แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542  คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี่
 ข้อ 1  ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
      ข้อ 2  ในประกาศนี้
      “ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจอง” หมายความว่า  การประกอบกิจการขายรถยนต์โดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองซื้อ
       “สัญญาจองรถยนต์” หมายความว่า  ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้บริโภคทำกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการจองซื้อรถยนต์  โดยผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือได้รับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำและให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญา
       “รถยนต์” หมายความว่า  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลแต่ไม่เกินสิบสองคน  และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม  ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
      ข้อ 3  สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน  ซึ่งขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร  และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
       (1)  รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  ดังนี้
             (1.1) ยี่ห้อ รุ่น  ปีที่ผลิต  สี  และขนาดกำลังเครื่องยนต์
             (1.2)  รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมหรือของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี)
             (1.3)  จำนวนเงิน  หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี)
             (1.4)  ราคา
       (2)  กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์
       (3)  ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
            (3.1)  ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น
            (3.2)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด
            (3.3)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี  ยี่ห้อ  รุ่น  ปีที่ผลิต  สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์  ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
            (3.4)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม  หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา
       (4)  ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา  หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า  ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาตาม (2)
       (5)  เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาตาม(3) หรือ (4) แล้ว  ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วัน
       (6)  การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็นข้อที่ผู้ประกอบธุรกิจระบุไว้เป็นการเฉพาะตัวอักษรที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป
      ข้อ 4  ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน  ดังต่อไปนี้
              (1)  ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ
              (2)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการส่งมอบรถยนต์  หรือเงื่อนไขต่าง ๆ  ตามที่กำหนดในสัญญาจองรถยนต์  ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา
              (3)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค  โดยผู้บริโภคโดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญา  หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา
           ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1  ธันวาคม พ.ศ. 2551  เป็นต้นไป
                                                      ประกาศ ณ  วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

                                                             ลงชื่อ  นายขวัญชัย  สันตสว่าง
                                                             ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

(ข้อมูลจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 125 ตอนพิเศษ 167 ง  วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
         
             ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่ จขกท ว่าจริงๆที่ว่าเนื่องจากไฟแนนซ์เพิ่มเงื่อนไขเรื่องผู้ค้ำประกันมาเราเลยไม่สะดวกที่จะทำสัญญาไฟแนนซ์ต่อไป พูดง่ายๆไม่มีผู้ค้ำประกันไฟแนนซ์ไม่ให้ แล้วยังเงื่อนไขที่ให้ไปทำสัญญาไกลซะขนาดนั้น (ดูข้อ 4 ด้านบนครับ) ผมแนะนำเลยครับคุณอยู่ต่างจังหวัดใช่ไหมครับ ไปสำนักงานอัยการที่ใกล้บ้านคุณเลยครับ ที่หน่วยช่วยเหลือประชาชน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ ทางอัยการเขาจะให้คำปรึกษาแก่ท่านและหากคุณถูกเอาเปรียบก็จะดำเนินการให้ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆอีกเช่นกันครับ แต่ให้บอกข้อเท็จจริงให้ละเอียดตรงต่อความเป็นจริงนะครับ นำหลักฐานทั้งหมดไปด้วยนะครับที่เกี่ยวกับการจองรถ ที่ตรงนั้นคุณจะได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนครับ จะได้คืนหรือไม่ เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงโดยละเอียดทั้งหมดครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้คับ ตรงจุดสุดๆๆ

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,940
    • อีเมล์
ถ้าจะไปติดต่ออัยการ ผมว่า โทรไปหาไฟแนนท์ ขอใบ Reject ว่าไม่ผ่านไฟแนนท์เพราะไม่มีผู้ค้ำ แล้วเอาไปยื่นโชว์รูม ก็ได้คืนแล้วครับ มันจะง่ายกว่า ตามข้อ 4 นะครับ

ไปติดต่ออัยการ สาวความกันยาวแน่ครับ

ออฟไลน์ Public P

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 239
    • อีเมล์
ถ้าจะไปติดต่ออัยการ ผมว่า โทรไปหาไฟแนนท์ ขอใบ Reject ว่าไม่ผ่านไฟแนนท์เพราะไม่มีผู้ค้ำ แล้วเอาไปยื่นโชว์รูม ก็ได้คืนแล้วครับ มันจะง่ายกว่า ตามข้อ 4 นะครับ

ไปติดต่ออัยการ สาวความกันยาวแน่ครับ
อ่านแล้ว เค้ามีสิทธิ์ไม่คืนได้ครับ

เพราะดูเหตุผลแล้ว เกิดจากความไม่พร้อมของผู้จองเอง ไม่ใช่ดีลเลอร์

ถ้าจัดไฟแนนท์แล้ว ผลกู้ไม่ผ่าน แบบนี้คืนครับ แต่นี่ ให้จัดไฟแนนท์ ผู้ซื้อ(หมายถึงพี่สาว)ก็ไม่พร้อมมาเซ็นท์ ให้หาคนค้ำ ... คนค้ำก็ไม่ค้ำให้อีก .....

สรุปโดยรวม ผู้ซื้อไม่พร้อมแล้วมาจองรถ สรุป ไม่คืน ถูกต้องแล้วครับ
ผมแนะนำ จขกท ตามขั้นตอนเท่าที่ผมทราบครับ และเจตนาของผมคือให้ความรู้ในสิ่งที่ผมทราบครับ ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติแบบนั้นครับ เป็นแค่ทางเลือกทางหนึ่งครับ(และคงเป็นทางสุดท้าย) อีกอย่างความเห็นตอนแรกของคุณบอกเค้ามีสิทธิ์ไม่คืนผมเลยแนะนำขั้นตอนต่อไปให้ครับ แต่ถ้าทำได้อย่างที่คุณแนะนำตอนหลังอันนั้นดีที่สุดครับ ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2013, 22:29:41 โดย Public P »

ออฟไลน์ lemon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 73
    • อีเมล์
       เอ ไม่รู้ ว่าเซ็นต์ทำสัญญาหรือจองครับ
       กรณีผม ตอนจองผมก็โอนเงินจอง เมลสำเนาบัตรประชาชนให้เซลล์ทำเรื่องจอง ตอนทำสัญญากับไฟแนนซ์ก็มาเซ็นต์ถึงบ้าน(ไฟแนนซ์น่าจะมีสาขาทั่วประเทศ) 
ปล.(ฮอนด้าเหมือนกัน)ผมก็อยู่ ตจว.อีสานครับ แต่ผมดาวน์ 25% ไม่ต้องมีคนค้ำ แต่ถ้าต้องค้ำก็เซ็นต์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์ก็ไม่น่าจะมีปัญหา
ถ้าเป็นเรื่องการเซ็นต์เอกสารเราก็ไม่น่าผิดเงื่อนไขนะครับ ยกเว้นว่ารถมาตามกำหนดเวลาแล้วเราไม่มาเซ็นต์รับ (ความเข้าใจส่วนตัวนะครับ)
      ควรทำเพื่อความถูกต้องครับ ถ้าจำเป็นก็ลองโทรเข้า call center ครับ

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 466
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551
           อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2541   อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29  ประกอบมาตรา 43  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทำได้  โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5  แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542  คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี่
 ข้อ 1  ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
      ข้อ 2  ในประกาศนี้
      “ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจอง” หมายความว่า  การประกอบกิจการขายรถยนต์โดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองซื้อ
       “สัญญาจองรถยนต์” หมายความว่า  ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้บริโภคทำกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการจองซื้อรถยนต์  โดยผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือได้รับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำและให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญา
       “รถยนต์” หมายความว่า  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลแต่ไม่เกินสิบสองคน  และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม  ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
      ข้อ 3  สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน  ซึ่งขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร  และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
       (1)  รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  ดังนี้
             (1.1) ยี่ห้อ รุ่น  ปีที่ผลิต  สี  และขนาดกำลังเครื่องยนต์
             (1.2)  รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมหรือของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี)
             (1.3)  จำนวนเงิน  หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี)
             (1.4)  ราคา
       (2)  กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์
       (3)  ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
            (3.1)  ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น
            (3.2)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด
            (3.3)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี  ยี่ห้อ  รุ่น  ปีที่ผลิต  สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์  ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
            (3.4)  ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม  หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา
       (4)  ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา  หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า  ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาตาม (2)
       (5)  เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาตาม(3) หรือ (4) แล้ว  ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วัน
       (6)  การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็นข้อที่ผู้ประกอบธุรกิจระบุไว้เป็นการเฉพาะตัวอักษรที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป
      ข้อ 4  ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน  ดังต่อไปนี้
              (1)  ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ
              (2)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการส่งมอบรถยนต์  หรือเงื่อนไขต่าง ๆ  ตามที่กำหนดในสัญญาจองรถยนต์  ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา
              (3)  ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค  โดยผู้บริโภคโดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญา  หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา
           ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1  ธันวาคม พ.ศ. 2551  เป็นต้นไป
                                                      ประกาศ ณ  วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

                                                             ลงชื่อ  นายขวัญชัย  สันตสว่าง
                                                             ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

(ข้อมูลจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 125 ตอนพิเศษ 167 ง  วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
         
             ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่ จขกท ว่าจริงๆที่ว่าเนื่องจากไฟแนนซ์เพิ่มเงื่อนไขเรื่องผู้ค้ำประกันมาเราเลยไม่สะดวกที่จะทำสัญญาไฟแนนซ์ต่อไป พูดง่ายๆไม่มีผู้ค้ำประกันไฟแนนซ์ไม่ให้ แล้วยังเงื่อนไขที่ให้ไปทำสัญญาไกลซะขนาดนั้น (ดูข้อ 4 ด้านบนครับ) ผมแนะนำเลยครับคุณอยู่ต่างจังหวัดใช่ไหมครับ ไปสำนักงานอัยการที่ใกล้บ้านคุณเลยครับ ที่หน่วยช่วยเหลือประชาชน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ ทางอัยการเขาจะให้คำปรึกษาแก่ท่านและหากคุณถูกเอาเปรียบก็จะดำเนินการให้ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆอีกเช่นกันครับ แต่ให้บอกข้อเท็จจริงให้ละเอียดตรงต่อความเป็นจริงนะครับ นำหลักฐานทั้งหมดไปด้วยนะครับที่เกี่ยวกับการจองรถ ที่ตรงนั้นคุณจะได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนครับ จะได้คืนหรือไม่ เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงโดยละเอียดทั้งหมดครับ


ดูจากชื่อ ล๊อคอินแล้ว ผมเดาว่าท่านต้องจะมีอาชีพเป็นอัยการ ครับ