ผู้เขียน หัวข้อ: สังสัยกับคำว่าแรงบิด ระหว่างเครื่องเทอร์โบ เบนซิน กับ ดีเซล  (อ่าน 12453 ครั้ง)

ออฟไลน์ pungpuiz

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 54
    • อีเมล์

     เอาเทียบเฉพาะรถเก๋งนะครับที่ size เท่าๆกัน
     ดีเซลแรงบิลมหาศาล  300 N ++  ทำไมถึงทำให้แรงดึงไป 0-100  มันอืดกว่าพวก เครื่องเบนซินติดโบที่มี่แรงดึง 300 N

     Feeling เวลาขับรถดีเซล ติดโบนี่ ขับมัน รู้สึกแรง หลังติดเบาะดี  แต่พอมาจับเวลาแล้วกลับสูสี หรือ ด้อยกว่า
     เบนซินติดโบที่แรงดึงแบบสุภาพๆ แต่จับตัวเลขมาแล้ว กลับดีกว่าซะด้วยซ้ำไป

      BMW 320d            แรงบิด  380  0-100    9 sec
      Volvo  v40                "       300  0-100    7  sec
      Proton preve 1.6      "       205  0-100    9.8sec   
      cruze    ดีเซล            "       340  0-100    10 sec
      รึขึ้นกับแรงม้าเป็นหลัก !  แล้วทำไมรถแรงม้าสูงๆถึงแรงดึงไม่เยอะตามแปรผันกันไป   ขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยครับ

ออฟไลน์ Chris Evn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,155
มีหลายตัวแปรมาเกี่ยวข้อง เช่น
- น้ำหนัก
- อัตราทดเกียร์
- แรงเสียดทาน อากาศ
- Lost ที่เกิดจากระบบขับเคลื่อน

ออฟไลน์ KrisTop

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 220
  • Ingenious
อาจจะสับสนกันเล็กน้อยนะครับ แรงบิดไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกอัตราเร่ง ขนาดของมันคือแรงที่มันกระทำ ณ ขณะนั้นครับ(ไม่มีเวลามาเกี่ยวข้อง)

กำลัง หน่วยกิโลวัตต์หรือแรงม้า คืออัตราของพลังที่ผลิตได้ ณ เวลานั้นๆ (มีเวลามาเกี่ยวข้อง) แรงบิตก็ต้องเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งแปลงเป็นแรงม้า เพื่อหากำลังที่รถผลิตได้ครับ

สรุปอัตราเร่งมันไม่ได้ขึ้นกับแรงบิดโดยตรง ส่วนมากขึ้นกับแรงม้าที่ผลิตได้มากกว่าครับ แรงดึงเกิดจากอัตราการเพิ่มขึ้นของแรงบิดอย่างรวดเร็วครับ ซึ่งเครื่องดีเซลจะได้เปรียบหน่อยช่วงต้นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2013, 04:07:02 โดย normalblue »

ออฟไลน์ นครอัญมณี

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,181
    • นครอัญมณี
    • อีเมล์
มีหลายตัวแปรมาเกี่ยวข้อง เช่น
- น้ำหนัก
- อัตราทดเกียร์
- แรงเสียดทาน อากาศ
- Lost ที่เกิดจากระบบขับเคลื่อน

จะมาตอบ พอดี มีคนตอบ ในความเห็นเดียวกันซะก่อน
ถูกต้องตามข้างบนครับ

เช่น
สิบล้อ แรงบิดมหาศาล แรงม้ามากมาย ทำไมออกตัวแพ้ มอเตอร์ไซด์แรงบิดจึ๋งนึง แรงม้าไม่กี่ตัว ล่ะครับ
เพราะ น้ำหนักครับ

ทีนี้ สงสัยว่า ดีเซล กับ เบนซิน ที่แรงบิดเท่ากันทำไมแรงดึงเหมือนต่างกัน ตอนเหยียบคันเร่ง
เสียง ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ความรู้สึกต่างกันได้
เหมือนดูหนัง ในโรง กับ ลำโพงทีวีที่บ้านนั่นแหละ

โดยทั่วไป แรงบิดของ ดีเซลเทอโบ จะมาที่รอบต่ำ และหมดไว รอบสูงสุดมักจะไม่เกิน 6000 รอบ
แต่ ของเบนซินเทอโบ จะมาที่รอบกลาง และ ยาวต่อเนื่องไปถึงรอบสูง ที่มักจะเกิน 6000 รอบ เสมอ
จากประโยคที่กล่าวมาข้างบน
จะทำให้รู้สึกถึงฟิลลิ่งของเครื่องยนต์ทั้งสองชนิดได้เลย  คือ
ดีเซล  แตะคันเร่งนิด ดึงหลังติดเบาะ แล้วก็หมด พอเปลี่ยนเกียร์ แรงดึงก็กลับมาใหม่
เบนซิน รอรอบเทอโบนิดนึง แล้วก็จะเริ่มดึงนิ่มๆ ตามรอบเครื่อง ซึ่งจะค่อยๆ แรงขึ้นยาวไปเรื่อยๆ จนหมดเกียร์

เอาเท่านี้ก่อน ให้คนอื่นตอบบ้าง
รักรถมาก
รักครอบครัวมากกว่า
รักชาติ-ศาสน์-กษัตริย์มากที่สุด

ออฟไลน์ Armaru

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 106
    • อีเมล์
น้่ำหนักรถมีผลเยอะที่สุดครับ แต่แรงบิดสูงๆจะส่งผลดีเวลาที่คุณบรรทุกของเยอะๆรวมไปถึงขึ้นลงทางลาดชัน ที่ต้องใช้พละกำลังเครื่องยนต์อย่างเต็มที่
เหมือนนักวิ่ง ให้ดีเซลเทอร์โบเป็นพวกนักวิ่งที่มีกล้ามใหญ่โตแข็งแรง  ให้เบนซินเป็นนักวิ่งที่มีกล้ามเล็ก ผอมเพรียวกว่า  เวลาวิ่งออกตัว 0-100 2 นักวิ่ง ทำเวลาได้ดีเท่าๆกัน
แต่ถ้าให้นักวิ่งสองคนนี้สะพายเป้หนัก 20 กิโลเท่ากัน  แล้วให้ออกวิ่งพร้อมกัน นักวิ่งกล้ามใหญ่อย่างดีเซลก็สามารถวิ่งต่อไปได้โดยที่ความเร็วไม่ได้ลดลงมากนักเพราะร่างกายแข็งแกร่งกว่า ส่วนเบนซินความเร็วก็คงตกลงไปมากเพราะร่างกายแข็งแรงน้อยกว่านั่นเอง

ออฟไลน์ กระเป๋าเป้

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 24
    • อีเมล์
น่าจะเกี่ยวกับน้ำหนัก อัตราทดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2013, 08:03:50 โดย กระเป๋าเป้ »

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,179
ขอแบ่งเป็น 3 กรณีครับ

1. ซัดยาวๆเป็น 10 วิ : ตั้งแต่ออกตัว ระยะสั้นๆ

2. ซัดยาวๆ 30 วิ : ออกตัว ทางตรงยาวๆ ทางด่วนโล่งๆ

3. กดคันเร่ง 2 วิ เบรค 2 วิ แล้วเดินคันเร่งใหม่ : ในสนามแข่ง หรือเจอสถานการณ์เร่งๆเบรคๆ

...................

กรณี 1 ดีเซลเทอร์โบ กับเบนซินเทอร์โบ ไม่แตกต่างกันครับ
แม้กระทั่งเบนซินหายใจธรรมดา เพราะเวลา 10 วินาที เบนซินมีเวลาลากรอบ
ซัดแบบนี้ เบนซินหรือดีเซล มันใกล้ๆกัน สังเกตุว่า 325i กับ 320d เวลาแทบไม่แตกต่าง
แรงบิดมีผล แต่มีผลไม่มาก เพราะเบนซินธรรมดา หรือเทอร์โบ มีเวลาทำรอบ เรียกกำลัง

กรณี 2 ซัดยาวๆ หรือเล่นแบบ 1/2 ไมล์
ความต่างยิ่งน้อยลงครับ แรงบิดมีส่วนเกี่ยวด้วยนิดหน่อย
เบนซิน มีเวลาลากรอบเหลือเฟือ
แบบนี้ รถเบนซิน NA เครื่องโตๆ มีเวลาทำรอบสบายๆ

กรณี 3 เร่งๆ เบรคๆ
กรณีนี้ แรงบิดมีผลมากๆ ดีเซลเทอร์โบแตะคันเร่งนิดเดียว แรงบิดมาทันที
ในขณะที่เบนซินหายใจธรรมดาหรือเบนซินเทอร์โบ กว่าแรงจะมา ก็ต้องเบรคแล้ว
ดีเซลแรงถีบสูง ไม่ต้องซอยยิกๆ ดังนั้นกรณีเร่งๆเบรคๆ
หรือกรณีมุดๆ เร่งๆเบรคๆ(ไม่แนะนำให้ทำบนถนนหลวง) แรงบิดดีๆ ได้เปรียบกว่าแน่ๆ

บางที 0-100 วัดอะไรไม่ได้มากครับ
ถ้าวัดแค่ 80-100 หรือ 60-100 จะรู้ว่าดีเซลมันตอบสนองดีขนาดไหน

ออฟไลน์ PJ"

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,722
  • Fake Forester
    • อีเมล์
เกียร์ ทด นร.

ออฟไลน์ PacMan

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 223
ผมเข้าใจที่เจ้าของกระทู้ถามละครับ มันมีหลายปัจจัยประกอบๆกัน

เอาที่เห็นชัดๆ ในเรื่องความเร็ว 0-100/80-120 เบนซิลเทอร์โบกับดีเซลเทอร์โบไม่สามารถเทียบกันด้วยแรงม้าและแรงบิด เพราะมันมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวของคือรอบเครื่องยนต์ ให้เข้าใจว่ายิ่งลากรอบสูงยิ่งแรง ดีเซลเทอร์โบม้าสูงกว่าแรงบิดสูงกว่าแต่ลากรอบได้ต่ำ ส่วนเบนซิลเทอร์โบม้าต่ำกว่าแรงบิดต่ำกว่าแต่ลากรอบสูงกว่า

ต่อไปลองเทียบกัน ขอเทียบ Cruze2.0T กับ Preve1.6T นะครับ เพราะในเรื่องตัวเลขมันใกล้ๆกัน

Cruze ให้แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร ที่ รอบเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,750 - 2,750 รอบ/นาที แต่พอเหยียบจริงๆแบบ0-100 รอบขึ้นไปค้างที่4200รอบ(ระหว่างที่รอบพ้น2750แรงบิดก็จะต่ำลงเรื่อยๆ)

ส่วน Preve ให้แรงบิดสูงสุด 205 นิวตันเมตร ที่รอบเครื่องยนต์ระหว่าง2,000 - 4,000 รอบ/นาที พอเหยียบจริงๆรอบกวาดไป 5500รอบ(เช่นเดียวกัน)

จะเห็นได้ว่า Cruze แรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่าและช่วงสั้นกว่า อารมณ์ประมาณพอเหยียบปุ๊บดึงสุดมาแปปเดียวพอเกิน2750รอบก็จะเบาลงๆ ส่วนPreveก็เหมือนกันแต่ช่วงยาวกว่าไปสุดรอบสูงกว่า

เบนซิลเทอร์โบรอบสูงกว่าจะได้เรื่องความแรงแต่เสียเรื่องการกินน้ำมันจะสู้ดีเซลเทอร์โบไม่ได้นะค้าบบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2013, 09:31:40 โดย PacMan »

ออฟไลน์ pungpuiz

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 54
    • อีเมล์


อ่อ  ขอบคุณมากครับ   :)

ออฟไลน์ Tuna

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 135

ลองมองแรงบิดกับแรกม้าเหมือนเราเล่นเกมต่อสู้ดูนะครับ

ถ้าเป้าหมายขอคุณคือการเร่งความเร็ว หรือในเกมให้เปรียบกับการต่อยให้พลังงานคู่ต่อสู้หมด เหมือนเล่น Tekken หรือ Street fighter อะไรประมาณนั้น

factorหลักๆสองอย่างคือ แรงบิดบวกกับรอบเครื่อง (สมมุตรว่าอย่างอื่นเหมือนกันหมดนะ น้ำหนักรถ,aero dynamic, อัตตราทดเกียร์ etc.)

แรงบิดมันเหมือนกับน้ำหนักของการต่อย
รอบเครื่องคือความเร็วของการต่อย

เครื่องดีเซลแรงบิดเยอะแต่รอบเครื่องไม่สูง
ก็เหมือนคนต่อยหนักแต่ต่อยได้ช้า

เครื่องเบนซิลแรงบิดน้อยกว่าแต่รอบสูง
ก็เหมือนคนต่อยได้ไม่ค่อยแรงแต่ต่อยได้เร็วกว่า

ถ้าเราจะทำให้คู่ต่อสู้พลังหมดเร็ว หรือในที่นี้ก็คือการเร่งความเร็ว
เราก็ต้องทั้งต่อยแรงและเร็ว
ซึ่งนี่คือข้อจำกัดของเครื่องดีเซลที่ด้อยกว่าเบนซิล (โดยทั่วๆไปนะ ไม่ได้บอกว่าดีเซลแรงๆไม่มี)

เครื่องเบนซิลถึงแรงบิดจะน้อยกว่า, แต่โดยความสามารถที่ทำรอบสูงได้มากกว่า, ทำให้โดยสุดท้ายแล้วทำperformace โดยรวมได้ดีกว่า

ออฟไลน์ Torque

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 248
ผมเคยสงสัยเหมือนกัน เลยไปลองอ่านๆและค้นอะไรมาได้นิดหน่อยครับ

;D แรงบิดของดีเซล มาเร็วแล้วก็ตกเร็ว
เริ่มกดออกตัวก็รอบต่ำๆก็เจอแรงบิดสูงๆมันก็ดึงมากแล้วก็ห้อยลง
พอถอนคันเร่งกลับมารอบต่ำลง กดอีกมันก็ถีบขึ้นอีก
ก็เลยรู้สึกว่าดึง ส่วนหนึ่งเพราะมันดึงหนักๆสั้นๆ สลับกับไม่ดึง

แต่เบนซิน  มักจะค่อยๆไต่ไปแบบแรงบิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปจนปลายเกียร์
หรือจะเป็น flat torque ก็ตามแต่  ไม่ใช่ดึงแล้วหยุด แล้วก็ดึงแล้วหยุดไ่วๆแบบดีเซล
ในแง่ความรู้สึกเปรียบต่างน้อย ก็เลยเหมือนไม่ดึง

แต่เบนซินเทอร์โบพวกที่แรงบิดมาในรอบปลายๆก็ดึงทีจ๊ากกกเลยนะคร้าบ  ;D

อัตราเร่ง 0-100 , 0-160 , 0- top speed จริงๆมันใช้รอบเครื่องช่วงปลายเป็นหลัก

ดีเซลจะกวาดผ่านรอบแรงบิดสูงสุดอาจ จะแค่เกียร์แรกทีเดียว
แล้วสับเกียร์ถัดไปอาจจะเลยรอบแรงบิดสูงสุดไปสำหรับเกียร์ถัดไปที่เหลือ
นั่นคือหลังจากจึ๊กแรก แล้วไม่ได้กวาดมาผ่านรอบที่แรงบิดสูงสุดที่รอบต่ำๆของมันอีกเลย

ซึ่งส่วนสำคัญคือแรงบิดที่มีเหลืออยู่ในรอบปลายๆ ซึ่งอันนี้ต้องดูจากกราฟ
(ไม่สามารถรู้ได้จากค่าแรงบิดสูงสุดที่ลงในสเปค แต่พอจะประมาณคร่าวๆได้จากแนวโน้มค่าแรงม้า)
 
สังเกตตอนที่กดเต็มเร่งความเร็ว เกียร์จะคิ๊กดาวน์ ลงเกียร์ต่ำ
รอบเครื่องกวาดอยู่ในช่วงรอบปลาย แล้วสับขึ้นเกียร์ถัดไปก็เป็นช่วงรอบปลายๆอีก
ในการหาอัตราเร่งแซงสูงสูดที่ใต่ความเร็วขึ้นไปไม่ได้ไล่จาก 0
ก็จะใช้ผลค่าแรงบิดที่มีอยู่ในรอบปลายอีกเช่นเดียวกัน


เนื่องจาก  "แรงม้า แรงบิด และรอบเครื่อง"
เป็น 3 สิ่งที่เกี่ยวเนื่องผูกพันกัน แกะไม่ออก

========================
แรงม้า = ค่าคงที่ x แรงบิด x รอบเครื่อง
========================

เจ้าค่าคงที่นั้นไม่ได้มีความหมายอะไรเลย เพียงแต่เราใช้หน่วยของแรงม้า แรงบิด และ รอบเครื่องเป็นหน่วยอะไรเท่านั้น

พูดง่ายๆก็คือ แรงม้า จะแปรผันตาม ผลคูณของแรงบิดและรอบเครื่อง


และถ้ารู้ค่าอยู่  2 อย่าง ย่อมหาค่าที่ 3 ได้เสมอ
เช่น รู้่ว่า แรงบิด 300 Nm ที่รอบเครื่อง 2500 rpm ก็จะสามารถคำนวณหาค่าแรงม้า ณ จุดนั้นๆได้
หรือ ถ้ารู้ค่าแรงม้า ณ รอบเครื่องค่าหนึ่ง ก็จะคำนวณกลับมาหาค่าแรงบิดที่ค่ารอบเครื่องนั้นๆได้เช่นกัน

 
สมมุติที่ค่าแรงบิดสูงสุด 400 Nm เท่าๆกัน
แต่ถ้าอยู่ที่รอบเครื่องต่ำๆ ซัก 2000 rpm จะมีแนวโน้นที่จะมีแรงม้าสูงสุดน้อยกว่า
รถอีกคันที่มีแรงบิดสูงสุด 400 Nmเหมือนกัน แต่ไปอยู่ที่ รอบ 4500 rpm
เพราะแรงม้า แปรผันตาม ผลคูณของแรงบิดกับรอบเครื่อง

และถ้าเรามีกราฟแรงม้า vs รอบเครื่อง
เราจะสามารถใช้กราฟดังกล่าวสร้างกราฟ แรงบิด vs รอบเครื่องออกมาได้


ที่นี้สิ่งที่เราต้องการใช้เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนรถ ก็คือ แรงบิดที่ล้อ
อุปกรณ์ที่ช่วยแปลงแรงม้าที่มีอยู่
ออกเป็นแรงบิดที่ล้อและความเร็วล้อ
ก็คือชุดเกียร์และเฟืองท้่าย

การที่เครื่องมีแรงม้ามากกว่า นั่นหมายความว่ามี "ผลคูณของแรงบิดกับรอบเครื่อง" มากกว่า
การที่เรามีเจ้าผลคูณตัวนี้ "มากกว่า" หมายความว่า

เราจะใช้อัตราทดเกียร์ สร้างออกมาเป็นแรงบิดได้สูงกว่า ที่ความเร็วเดียวกัน
หรืออาจจะได้ค่าแรงบิดค่าเดียวกันออกมาในความเร็วที่สูงกว่า

ดังนั้นกราฟของแรงม้าของรอบเครื่องช่วงปลาย
ซึ่งมักเป็นช่วงที่เราใช้ในการเร่งไต่หาความเร็วสูงสุด หรือเร่งแซงแบบกดหนัก
จึงมีความสัมพันธ์กับอัตราเร่งมากกว่า ค่าแรงบิดสูงสุด

ลองดูรูปด้านล่างนะครับ
เป็น ของ E250 CGI และ E 250 CDI ที่เป็นเกียร์ 5 speed
ผมลองเอากราฟแรงม้าแรงบิด ผ่านเกียร์ เฟืองท้าย ออกมาเป็น แรงบิดที่ล้อ vs ความเร็ว



สีแดงเป็นของ CGI ไล่จากเกียร์ 1-5 , สีเขียวเป็นของ CDI ไล่จากเีกียร์ 1-5
จะเห็นเลยว่าแรงม้าสูงสุดเท่ากันเด๊ะ  204 ม้า แถมแรงบิดของดีเซล 500 Nm > 310 Nm ตั้งเยอะ
แต่พอผ่านอัตราทดเกียร์แล้วหลังจากช่วงความเร็ว 20-40 km/h เป็นต้นไป แรงบิดที่ล้อ
ของ GGI มากกว่าของ CDI ไปเกือบตลอดกราฟยันความเร็ว 240 km/h ที่เกียร์ 4
(ของ CDI สับเกียร์ถัดไปที่ความเร็วต่ำกว่าทุกเกียร์ Top speed อยู่ที่เกียร์ 5)

ของจริงๆที่ดูในรีวิวที่คุณ Jimmy คุณ แพนทดสอบก็พบว่า CGI ไปไวกว่า CDI
แต่ถ้าเป็นตัวใหม่ที่เป็น 7G ดูจากแนวโน้นของกราฟเดิมนี้แล้ว CDI น่าจะไปไวกว่านะครับ
แต่ยังไม่เคยลองเอาอัตราทดเกียร์มาลองพล็อตดูครับเลยยังไม่ทราบ

ทีนี้ถ้ารถคนละคัน น้ำหนักก็ไม่เ่ท่ากันจะดูแนวโน้มอัตราเร่ง
เค้าก็จะมักนิยมใช้ค่า แรงม้า/น้ำหนัก มาเป็นตัวเปรียบเทียบ
ซึ่งก็มาจากสูตรพื้นฐาน F = ma นั่นเอง

 ::)ไม่ได้เอาแรงบิด/น้ำหนักมาเปรียบเทียบ นะคร้าบ

สำหรับในการใช้งานในชีวิตประำจำวัน
ของการขับแบบเรื่อยๆ รอบเครื่องจะใช้อยู่ในย่านรอบต่ำๆ
เจ้าแรงบิดในช่วงรอบต่ำนี้ึจึงมีผลดี ในแง่ความกระฉับกระเฉงที่รอบต่ำๆ
ไม่ต้องรอลากรอบ และโอกาสที่จะต้องทวนลงเกียร์ต่ำดูว่ามีแนวโน้มจะน้อยกว่า
แม้ว่าตอนใช้รอบต่ำๆนี้ เราจะไม่ได้ิกดคันเร่งเต็ม ก็ตามนั่นคือไม่ได้ใช้ค่าแรงบิดสูงสุดนั้นๆ
แต่แนวโน้มของกราฟแรงบิดที่รอบต่ำๆนี้ ที่ % การเหยียบคันเร่งค่าต่างๆ ก็ยังมีแนวโน้มที่สูงอยู่ดี

a = F/m

ออฟไลน์ Slipknot`

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 21,866
  • *** HLM.COM ***
ผมว่าหลายอย่างเลย

อัตราทด
น้ำหนัก
หลักอากาศพลศาสตร์
ขนาดล้อ ยาง
การเซ็ต ecu จากโรงงาน(อย่างครูซ คันเร่งมันจะดีเล เลยเสียเวลาไป 1-2 วิฟรีๆ)


ออฟไลน์ MaiSki

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 679
แค่ล้อกระบะก็ใหญ่กว่าหลายนิ้วละ  ลองสลับล้อกะบะกับเก๋งซิ กระบะพุ่งปรีด เก๋งวิ่งไม่ออก

ออฟไลน์ Tung

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 119
    • อีเมล์
==
Feeling เวลาขับรถดีเซล ติดโบนี่ ขับมัน รู้สึกแรง หลังติดเบาะดี  แต่พอมาจับเวลาแล้วกลับสูสี หรือ ด้อยกว่า
==

ความรู้สึกนี้ ผมเรียกว่า โดนแรง G หลอกครับ
ถ้ามีความรู้สึกดึงหนักๆเลย ในเกียร์แรก  สมองจะคิดว่า ด้วยแรง G ขนาดนี้ power ต้องเยอะ
แต่ถ้าในเกมอัตราเร่ง ..... ดึงหนัก แต่หนักไม่นานก็เหี่ยว  อัตราเร่งรวมก็ไม่ดี
ซึ่งเครื่องดีเซล ก็มักจะให้ความรู้สึกแบบนี้ซะด้วย 
เพราะดีเซลโดยธรรมชาติ ไม่ชอบหมุนรอบสูง

คือผมจะบอกว่า บางทีโดน G สูงๆ หลอก จากเครื่องดีเซลเทอร์โบ ใีนเกียร์แรก แค่แป๊ปเดียว
ขณะที่ อีกคัน G ไม่สูงเท่า แต่สร้างแรง G ได้ต่อเนื่องกว่า  ก็ทำอัตราเร่งได้ดีกว่า
เอาเข้าจริงๆ ถ้า power เท่ากัน  เีกียร์ทำมาดีเหมือนกัน  รถเบนซินก็ไม่ได้ด้อยกว่าดีเซลเลย
เพียงแต่สิ่งที่ประสาทสัมผัสรับรู้ มันผิดกัน

ออฟไลน์ peterpat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 359
ขออธิบายแบบคร่าวๆนะครับ (ผิดถูกยังไงแย้งได้นะครับ)

แรงบิด ก็คือ แรงเชิงมุมที่ไปหมุมเพลาของรถเราให้ไปขับเคลื่อนล้อรถนั่นเองครับ
ถ้าพูดง่ายๆแรงบิดก็เหมือนแรงดึงที่จะลาดรถเราให้เคลื่อนที่นั่นเองครับ ถ้าแรงบิดมากอัตราเร่งก็จะมากตาม

แต่ไม่ใช่ว่ารถที่แรงบิดมากๆจะเร่งได้เร็วกว่ารถที่แรงบิดน้อย เพราะมันมีปัจจัยอื่นๆมาประกอบเยอะเลยครับ
โดยเฉพาะตัวเลขแรงบิดสูงสุดที่วัดได้หรือตามสเปกรถมันเป็นแค่แรงบิดสูงสุดซึ่งจะมีอยู่แค่จุดเดียวหรือที่รอบเครื่องเพียงช่วงหนึ่ง (ที่เรียกว่า flat toruqe) เท่านั้น
ซึ่งแรงบิดของเครื่องเบนซินกับดีเซลมันมากน้อยต่างกันตามรอบเครื่องนะครับ

ถ้าเป็นเบนซิน รอบต้นๆแรงบิดจะน้อยแต่จะค่อยๆลากขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่รอบสูงๆแบบต่อเนื่อง
ส่วนดีเซล ตอนรอบต้นๆแรงบิดจะสูงมากแต่ไปถึงจุดสูงสุดอย่างรวดเร็ว ซึ่งหลังจากนั้นแรงบิดจะตกลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน (ตั้งแต่รอบกลางๆไปจนถึงรอบปลาย)

เพราะฉะนั้นรถดีเซลที่มีแรงบิดสูงแต่มีแค่ช่วงสั้นๆแล้วหายไปเลย เมื่อเทียบกับรถเบนซินที่มีแรงบิดสูงสุดน้อยกว่าแต่มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า
ทำให้เมื่อขับรถดีเซลแล้วรู้สึกมีแรงดึงให้หลังติดเบาะมากกว่า แต่เบนซินกลับมีอัตราเร่งที่ดีกว่าครับ

ส่วนแรงม้า มันคือกำลังของเครื่องยนต์ครับ
คนส่วนมากชอบคิดว่ารถที่แรงม้าเยอะๆมันจะต้องมีอัตราเร่งที่สูง ยิ่งผมบอกว่าแรงม้าคือกำลังของเครื่องยนต์ยิ่งทำให้เข้าใจผิดว่าอัตราเร่งจะต้องสูง

แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ เพราะโดยส่วนมากรถที่มีแรงม้าสูงมันจะมีแรงบิดสูงตามอยู่แล้วครับ
แรงม้าหรือกำลังของเครื่องยนต์ ถ้าดูตามสูตรฟิสิกส์แล้ว P=Torque x w หรือ แรงบิด x ความเร็วรอบ
แรงม้า มีความสัมพันธ์กับทั้งแรงบิดและความเร็วรอบเครื่องยนต์ ซึ่งสุดท้ายแล้วจะมีผลต่อความเร็วของรถครับ
แต่แรงม้าที่วัดได้หรือมากจากสเปกก็เป็นแค่แรงม้าสูงสุดเช่นกัน ซึ่งจะมีแค่จุดใดจุดหนึ่งของรอบเครื่องเท่านั้น

ดังนั้นขอพูดแบบคร่าวๆนะครับ
รถที่มีแรงบ้าสูงๆมักจะลากรอบไปได้สูงกว่ารถที่มีแรงม้าต่ำ และ รถที่มีแรงม้าสูงมักจะมีความเร็วสุงสูงกว่ารถที่มีแรงม้าต่ำ
(ใช้คำว่ามักจะนะครับเพราะว่าไม่เสมอไป)

ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆอีกเยอะครับที่เกี่ยวข้อกับอัตราเร็วและอัตราเร่งของรถ เช่น อัตราทดเกียร์ น้ำหนักรถ แรงต้านอากาศ แรงเสียดทานภายใน ฯลฯ
กว่าจะมาเป็นรถให้เราขับกันคันนึงวิศวกรต้องคิดคำนวณมาเยอะมากครับ

เพิ่มเติม เรื่องแรงบิด และ แรงม้า สำหรับคนที่อ่านด้านบนแล้วไม่เข้าใจนะครับ

จะเปรียนเทียบง่ายๆครับ กับร่างกายคนแล้วกันนะครับ

รถที่แรงบิดสูงๆ ก็เหมือนกับ นักเพาะกายครับ มีแรงเยอะยกหรือลากของหนักๆได้ดีครับ
รถที่แรงม้าสูงๆ ก็เหมือนกับ นักวิ่งครับ แรงอาจจะไม่เยอะมากแต่วิ่งได้รวดเร็ว
แต่ถ้าทั้งแรงบิด และ แรงม้าสูง ก็เหมือนกับคนที่ทั้งแข็งแรงและวิ่งเร็วครับ

(โดยส่วนมากรถดีเซลจะมีแรงบิดสูงกว่ารถเบินซินนะครับ)

ดังนั้นถ้าตัวรถหนักๆ หรือต้องการขนของหนักๆต้องใช้รถที่แรงบิดสูงๆครับ เช่น พวกรถบรรทุก รถกระบะ
แต่ถ้าต้องการความเร็วต้องใช้รถที่มีแรงม้าสูงๆครับ เช่น รถเก๋ง รถสปอร์ต

แค่นี้แหละครับ มีตรงไหนข้องใจแย้งได้นะครับ  ;D



ออฟไลน์ Torque

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 248
 ;D รบกวนคุณ peterpat
เช็ค PM ผมหน่อยนะคร้าบ พอดีมีอะไรถามเพิ่มเติมนิดหน่อย ^_^
a = F/m

ออฟไลน์ peterpat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 359
;D รบกวนคุณ peterpat
เช็ค PM ผมหน่อยนะคร้าบ พอดีมีอะไรถามเพิ่มเติมนิดหน่อย ^_^

โทดทีนะครับเพิ่งเห็นว่า PM มา เดี่ยวจะตอบให้นะครับ