ผู้เขียน หัวข้อ: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?  (อ่าน 6254 ครั้ง)

ออฟไลน์ SP

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,745
ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2013, 19:33:53 »
วันนี้ผมเจอรถกระบะส่งของคันนึงครับ จอดซ้อนคันโดยติดเครื่องไว้แต่ไม่แน่ใจว่าจอดนานหรือยัง จู่ๆก็มีตำรวจจราจรมาเปิดประตูรถครับ

ผมคิดว่าน่าจะเลื่อนรถหรือยังไงก็ไม่ทราบ แต่เห็นเปิดประตูแล้วก็ปิด หลังจากนั้นผมไม่ทราบเพราะผมขับรถออกมาก่อน

เลยอยากทราบครับว่าตำรวจมีสิทธิ์มาเปิดประตูรถคนอื่นแบบนี้ด้วยเหรอครับ

ออฟไลน์ paulmoderndog

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,783
    • อีเมล์
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2013, 21:25:11 »
ถ้าคนขับเป็นภรรยาตํารวจ คงไม่แปลกครับ

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 466
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2013, 21:49:28 »
จะตอบแบบเอาแต่เนื้อนะครับ ไม่ตอบแบบเอาน้ำ

ค้นได้ครับ และไม่ต้องได้รับความยินยอมก่อนด้วย
รถยนต์หากจอดอยู่นอกบ้าน ถือ เป็นการค้นตัวบุคคล จึงค้นรถได้ครับ


        กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
        มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

ออฟไลน์ honest

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 172
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2013, 22:19:59 »
มีสิทธิ์ครับ แต่ก็ต้องดูตามสถานการณ์ จริงๆแล้วตำรวจก็เสี่ยงนะครับ ถ้าคนข้างในมีอาวุธแล้วสวนมาหล่ะแย่เลย

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2013, 22:58:14 »
ไม่ยกไปสน. ก็ดีแค่ไหนแล้วครับ

ส่วนการป้องกันโจรใช้อาวุธสวน ถ้าปฏิบัติโดยรัดกุมตามการฝึก คงไม่มีปัญหา

ออฟไลน์ H.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 00:02:44 »
ไม่ยกไปสน. ก็ดีแค่ไหนแล้วครับ

ส่วนการป้องกันโจรใช้อาวุธสวน ถ้าปฏิบัติโดยรัดกุมตามการฝึก คงไม่มีปัญหา
ก็หวังเช่นนั้นครับ
H.

ออฟไลน์ Sofast

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 68
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 11:08:59 »
ค้นได้ครับถ้ามีเหตุ"อันควรสงสัย"ตามนัย ป.วิ.อ. มาตรา93
และถ้ามีอันควรจริงๆจะทำการค้น เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับคำยินยอม
จากเจ้าของรถโดยการ เซนต์ยินยอมให้ทำการค้นได้เว้นแต่เหตุซึ่งหน้า แต่เนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่รู้ เจ้าหน้าที่จึงทำการค้นได้เ
บางทีพฤติกกรรม หรือ สภาพแวดล้อม จะเป็นที่น่าสงสัย
แต่ก็ไม่มีเหตุอันควรให้สงสัย เรื่องนี้ถ้าประชาชนไม่ได้ผิดจริงสามารถที่จะแย้งได้ ณ เดี๋ยวนั้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้และเกรงตำรวจ
ลองๆไปหาอ่านฎีกาได้ครับมีเยอะ ที่ตำรวจอ้างว่ามี"เหตุอันควรสงสัย" และทำการค้น โดยพลการ โดนฟ้องกลับ และแพ้ซะส่วนใหญ่

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 466
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 14:19:16 »
ค้นได้ครับถ้ามีเหตุ"อันควรสงสัย"ตามนัย ป.วิ.อ. มาตรา93
และถ้ามีอันควรจริงๆจะทำการค้น เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับคำยินยอม
จากเจ้าของรถโดยการ เซนต์ยินยอมให้ทำการค้นได้เว้นแต่เหตุซึ่งหน้า แต่เนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่รู้ เจ้าหน้าที่จึงทำการค้นได้เ
บางทีพฤติกกรรม หรือ สภาพแวดล้อม จะเป็นที่น่าสงสัย
แต่ก็ไม่มีเหตุอันควรให้สงสัย เรื่องนี้ถ้าประชาชนไม่ได้ผิดจริงสามารถที่จะแย้งได้ ณ เดี๋ยวนั้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้และเกรงตำรวจ
ลองๆไปหาอ่านฎีกาได้ครับมีเยอะ ที่ตำรวจอ้างว่ามี"เหตุอันควรสงสัย" และทำการค้น โดยพลการ โดนฟ้องกลับ และแพ้ซะส่วนใหญ่

กฎหมายบัญญัติไว้ว่า  "การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น"
ดังนั้น ผมว่าการค้นในที่สาธารณะ  เช่น รถยนต์ , ร้านอาหาร , ห้างสรรพสินค้า ตำรวจสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมก่อนนะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534
        ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ  การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น
       กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.วิ.อ. ม. 93, 163, 164, 192, 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2551
       ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัวจำเลยนั้น จำเลยกำลังขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลย ซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านของจำเลย ดังนี้ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยจึงหาใช่เป็นที่รโหฐานไม่ แต่เป็นที่สาธารณสถานเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2549
           ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ทำการตรวจค้น แผ่นซีดีเกมอยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยแผ่นซีดีเกมของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม มีลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย

ออฟไลน์ ViX

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 90
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 14:45:53 »
รถยนต์เท่าที่ทราบยังไม่มีฏีกาออกมาเลยนะครับว่าเป็นที่สาธารณสถานรึเปล่า ที่สาธารณสถานคือสถานที่ที่ประชาชนสามารถเข้าไปได้โดยชอบ แต่รถยนต์ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปได้โดยชอบหรือครับ
"รถยนต์หากจอดอยู่นอกบ้าน ถือ เป็นการค้นตัวบุคคล จึงค้นรถได้ครับ"  อันนี้ผมไม่เห็นด้วยครับ รถยนต์ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นบุคคลนะครับ กฏหมายอาญาต้องแปลความอย่างเคร่งครัดครับ

ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 466
Re: ตำรวจมีสิทธิ์ทำแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 15:02:27 »
รถยนต์เท่าที่ทราบยังไม่มีฏีกาออกมาเลยนะครับว่าเป็นที่สาธารณสถานรึเปล่า ที่สาธารณสถานคือสถานที่ที่ประชาชนสามารถเข้าไปได้โดยชอบ แต่รถยนต์ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปได้โดยชอบหรือครับ
"รถยนต์หากจอดอยู่นอกบ้าน ถือ เป็นการค้นตัวบุคคล จึงค้นรถได้ครับ"  อันนี้ผมไม่เห็นด้วยครับ รถยนต์ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นบุคคลนะครับ กฏหมายอาญาต้องแปลความอย่างเคร่งครัดครับ

ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ

คือ เท่าที่ผมอ่านๆ มา มีฎีกาที่  2281/2534  ใกล้เคียงสุดแล้วครับ ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นอันยุติในคำพิพากษา

        โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ขณะที่โจทก์ขับรถยนต์จะเข้าจอดในซอยบริเวณหน้าโรงแรมไทยโฮเต็ล อันเป็นทางสาธารณะที่เจ้าพนักงานกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว ขณะเดียวกันนั้นมีหญิงคนหนึ่งขับรถยนต์ผิดกฎจราจรย้อนศรสวนทางเดินรถมาขวางหน้ารถยนต์ของโจทก์และให้สัญญาณให้โจทก์ขับรถหลีกทาง เมื่อโจทก์ไม่ยอม หญิงคนดังกล่าวได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6จับกุมโจทก์ เมื่อโจทก์ชี้แจงว่าไม่ได้กระทำความผิดแต่หญิงคนนั้นเป็นฝ่ายผิด จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบละเว้นไม่จับกุมหญิงคนดังกล่าว กลับแกล้งตรวจค้นรถยนต์โจทก์โดยไม่มีหมายค้นและไม่มีเหตุอันสมควร และจับกุมโจทก์แล้วควบคุมไปสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวหาว่ามีอาวุธปืน พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ใช้อาวุธปืนขู่เข็ญให้ผู้อื่นตกใจกลัว ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นความเท็จทั้งสิ้น การหน่วงเหนี่ยวกักขังของจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ขณะที่โจทก์ถูกควบคุมอยู่บนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5และที่ 7 ได้ใช้ให้จำเลยที่ 6 ทำร้ายร่างกายโจทก์ โดยใช้มือตบชกต่อยที่ท้องบริเวณหน้าอก และจับศีรษะโจทก์กระแทกกับตู้เหล็กสำหรับเก็บเอกสาร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายแก่กาย มีบาดแผลที่ศีรษะและนิ้วมือ ทั้งนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5และที่ 7 รู้เห็นเป็นใจ มิได้ห้ามปรามจำเลยที่ 6 ในการทำร้ายร่างกายโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และจำเลยทั้งเจ็ดได้ร่วมกันนำโจทก์ไปคุมขังในห้องคุมขังของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช โดยจำเลยทั้งเจ็ดทราบอยู่แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ได้ร่วมกันบันทึกข้อความลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีรับรองเป็นหลักฐานว่า โจทก์มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนเข้ามาในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ และใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้อื่นให้ตกใจกลัว โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่า ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162, 295, 309, 310, 83, 84, 91
        ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
        จำเลยทั้งเจ็ดให้การปฏิเสธ
        ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 162, 391 ประกอบด้วยมาตรา 83, 84, 91 จำเลยที่ 2ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ประกอบด้วยมาตรา 83, 91 จำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 162 ประกอบด้วยมาตรา 83, 86, 91 จำเลยที่ 6 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 391 ประกอบด้วยมาตรา 83, 91การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ตามมาตรา 157 และมาตรา 391และการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามมาตรา 157 และมาตรา 162เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งมีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 จำเลยทั้งเจ็ดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำความผิดกลับปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเสียเอง สมควรลงโทษสถานหนักเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการจับกุมนางสาวรพีพรรณ ทองสมัคร อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6คนละ 1 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานตรวจค้นโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 6 คนละ 2 ปี ฐานทำร้ายโจทก์อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 6 คนละ 3 ปี ฐานไม่ห้ามปรามจำเลยที่ 6 อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 คนละ 2 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานทำเอกสารเท็จอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุกจำเลยที่ 1มีกำหนด 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุน 2 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 9 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 5 ปี จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 7 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 มีกำหนดคนละ 2 ปี และจำคุกจำเลยที่ 6 มีกำหนด 6 ปี ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
          โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 391 ประกอบด้วยมาตรา 84 จำเลยที่ 6 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 391 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 6 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งมีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 คนละ 3 ปี จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี สำหรับจำเลยที่ 7 ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ข้อหาอื่นให้ยก
          โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นควรอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องลงวันที่ 16พฤศจิกายน 2530 โดยเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และยกคำร้องตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 2 ธันวาคม 2530 คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบนั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำฟ้อง โจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200มาด้วย ดังนั้นการเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์นั้นชอบแล้วฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
          ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า นางสาวรพีพรรณ ทองสมัคร ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรโดยขับรถย้อนศร จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6พบเห็นแล้ว ไม่ทำการจับกุม จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหานี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นการไม่ชอบนั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การละเว้น ไม่ทำการจับกุม เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็จริง แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหานี้จึงชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
           ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า การตรวจค้นรถโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 6 กระทำไปโดยมีเจตนากลั่นแกล้ง ไม่มีเหตุอันสมควรจะตรวจค้น การตรวจค้นจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหานี้เป็นการไม่ชอบนั้น ในข้อนี้จำเลยมีนางสาวสุภาพร ทองสมัคร มาเบิกความยืนยันว่า เห็นโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถโจทก์ นางสาวสุภาพรเห็นดังนั้นจึงบอกให้นางสาวรพีพรรณไปแจ้งตำรวจ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 6 มาดูที่เกิดเหตุ นางสาวสุภาพรก็แจ้งให้จำเลยดังกล่าวทราบ นอกจากนี้จำเลยก็ยังมีนางสาวรพีพรรณ ทองสมัคร และนางสาวสุนีย์ จิตราช ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุมาเบิกความสนับสนุนอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนางสาวสุนีย์ไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อน จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่านางสาวสุนีย์จะแกล้งเบิกความปรักปรำโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่านางสาวสุภาพรได้บอกแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อนี้จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
           โจทก์ฎีกาเป็นข้อสุดท้ายว่า จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าความผิดกระทงนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13 และโดยที่มิได้มีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 แต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
         และวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้กระทำผิดตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์วางโทษเหมาะสมแล้ว
         พิพากษายืน

ชื่อคู่ความ
   โจทก์    -   นาย ดำรง ศักดิ์ พงษ์สวัสดิ์
   จำเลย    -   ร้อยตำรวจตรี นิพนธ์ ปิติพร กับพวก


โดยปัจจุบัน คำพิพากษาของศาลดังกล่าวนี้ ทางตำรวจได้มีการยึดถือเป็นหลักการปฏิบัตงานโดยจัดทำเป็นหนังสือไว้ใช้ในการปฏิบัติงานมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2013, 15:41:13 โดย top3245 »