ผมได้มีโอกาสไปแจกหนังสือ สิ่งของ เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ที่ อำเภอท่าสองยาง จ.ตาก ซึ่งทางที่ไปนั้น เป็นทางชันซะส่วนมาก และก้อเป็นทางลาดยางสภาพแบบเป็นหลุมเป็นบ่อ สลับกับทางลูกรัง ซึ่งคณะที่เราไป ส่วนใหญ่ก้อมีแต่กะบะยกสูง ที่ไม่ใช่โฟร์วิน รวมถึงมาสด้าบีที50โปรของผมด้วย แต่ละคนก้อไม่ได้มีทักษะในการขับรถขึ้นเขากันเลย ระหว่างที่ขับขึ้นเนินทางลาดชัน ไททันพลัส4ประตู อยู่ๆก้อเบรค และพอจะออกตัวรถไหลเกือบจะชนรถผม แถมตอนออกตัวรถดับอีกต่างหาก ตกใจกันทั้งคนรถ ทั้งรถไททัน และรถผม ผมก้อเลยอยากทราบเทคนิคการขับรถของเพื่อนๆเวลาขับรถขึ้นเขากันอ่ะคับ เพราะเวลาผมขับ ถึงทางลาดชัน ผมจะขับช้าๆเข้าเกียร์1ไว้ ค่อยๆไต่ขึ้นเขาไปครับ ทางบางช่วง เป็นทางชันขึ้นเนิน โค้งหักเป็นรูปตัววี ตอนนั้นหักพวงมาลัยมั่วเรยย มองไม่เห็นทางข้างหน้า เล่นเอาตกใจกันทั้งคัน นึกๆแล้วก้อฮาดีครับ พอถึงที่หมายทุกคนร้องกรี๊ดดดด ด้วยความดีใจ ว่ากูไม่ตายแร้วโว๊ยยยยย 555+
ขึ้นเขา ทางชันๆ ต้องใช้แรงบิด ใช้รอบเครื่อง ซึ่ง BT-50จะมีแรงบิดสูงสุดในย่านความเร็วรอบ 1500-2500 ต่อนาทีเกียร์ที่ใช้ขึ้นน่าจะใช้เกียร์ 2 เหตุว่าเกียร์ 1 รอบจะหมดเร็ว ลองขับเกียร์ 1แล้วลากรอบดูคับ ถ้ารอบกวาดไปถึงย่าน 1500-2500 รถเราก้อจะมีแรงบิดที่จะช่วยในการปีนป่าย สู้กับทางชันๆ แต่ถ้ารอบไม่ขึ้นถึงช่วงทีมีแรงบิดสูงสุดให้ใช้ แล้วทางยิ่งชันขึ้นเรื่อยๆ รถก้อจะไม่มีแรง เร่งช่วยก้อไม่ไป เตรียมตัวรับมืออาการดับกลางเนิน หลังจากตกอกตกใจกันถั่วถ้วนหน้า [แต่อย่านานนะ เด๋วรถไหลลง] ดึงเบรคมือ สตาร์ทรถเข้าเกียร์ 1ค่อยๆปล่อยคลัทช์ ให้รถขยับตัว ค่อยลดเบรคมือ เติมคันเร่งช่วย ถ้าชันมากๆ ใส่เกียร์ 1ค้างแล้วสตาร์ท ให้ช่วยกระชากให้รถออกตัว
โค้งตัววี หรือโค้งหักศอก เร่งส่งให้พอเหมาะ ให้รอบเครื่องอยู่ในช่วง 1500-2500 รอบต่อนาที ถ้าชันจัดๆ 2500 ไม่ขึ้นก้อเร่งเครื่องลากรอบส่งไปเลย ไม่ต้องปรานี การรักษาระยะห่างรถคันหน้าก้อจำเป็น เพราะว่าถ้าเกิดเจอมือใหม่หรือสิงห์ทางเรียบ รับรองเจอดับกลางเนินและไหลลงแน่ พอคันหน้าดับไหลลงมาเราก้อต้องเบรค แล้วรอบก้อจะตกรถเราจะไม่มีแรงขึ้น การเข้าโค้งแบบนี้ถ้าเป็นรถยกสูง ระวังเกิดอาการหลงฟ้า หลงดิน เนื่องจากหน้ารถจะเชิดขึ้นตามทางที่มันชัน ทีนี้ก้อจะไม่เห็นขอบหรือไหล่ทาง อันตรายเลยจุดนี้ ใช้วิธีตัดโค้งช่วย คือเลี้ยวกินเลนไปอีกฝากเลย แต่ต้องระวังรถที่จะสวนลงมา ยิ่งถ้าเป็นโค้งที่มองไม่เห็นทางข้างหน้า ให้ใช้บีบแตรสัญญาณ เป็นการช่วยบอกว่าเรากำลังส่งขึ้นเนินไป
มาขาลงกันบ้าง ง่ายกว่าขาขึ้น แต่รถจะลงเร็วมาก ถ้าเจอทางแบบโค้งเยอะๆ แล้วโค้งสั้น อาจมีไม่เข้าโค้ง การชะลอความเร็วรถ ก้อต้องใช้เบรค สลับกับเอ็นจิ้นเบรค เบรคต้องไม่เหยียบแช่ เหยียบแล้วมีปล่อยสลับไปมา ถ้าลงเขายาวๆ เบรคจะร้อนมาก ระวังเบรคไหม้ คราวนี้ล่ะงานงอก ส่วนเอ็นจิ้นเบรค ก้อคือการลดเกียร์ให้ต่ำลงมา อย่างปล่อยเกียร์ 3ลงมา เบรคแล้วก้อเหมือนรถยังเร็วเกิน ก้อลดมาเกียร์ 2 เครื่องจะหน่วงความเร็ว ให้เราสามารถควบคุมรถให้อยู่ในความเร็วที่เหมาะสมได้
คนตีนดอยอ่างข่าง เคยแนะเคล็ดมาว่า ขึ้นเกียร์ไหนลงเกียร์นั้น จากส่วนมากที่ขับเอง [รถมีเกียร์ 4WD] เกียร์ 2เป็นพระเอก ไปทำเท่มาหลายดอย ก้อเท่ากับว่าขึ้นใช้ 2 ลงก้อใช้ 2คับ เกียร์ 4WDเคยลองใช้บ้าง มีแรงขึ้นง่าย ลงก้อง่าย แต่เลิ้ยวยาก วงเลี้ยวกว้างขึ้น ถ้าได้ลองวิ่งถนนเส้น 1095 แม่มาลัย-ปาย ก้อจะเจอครบเกือยทุกรสชาดเลยคับ ท่าสองยาง ก้อแนะนำลองขึ้นอุทยานแม่เมย ขอให้สนุกกับการออกทริปครั้งหน้าที่ไปเจอ ทางภูเขา ทางชันๆอีกคับ