ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ กับแบบธรรมดาต่างกันอย่างไรครับ??  (อ่าน 10890 ครั้ง)

ออฟไลน์ Peter Wen

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 383
ขอความรู้หน่อยครับ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา แต่ละชนิดมีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร และมีคุณสมบัติต่อเครื่องยนต์อย่างไรครับ?
長樂.文

ออฟไลน์ FlyMe

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 293
    • อีเมล์
น้ำมันเครื่อง คือน้ำมันหล่อลื่น มีส่วนผสมหลักอยู่ 2 อย่าง (ซึ่งมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นนั้นๆ) คือ
-  Base oil ซึ่ง คือ ตัวเนื้อน้ำมันหลัก Base oil มีที่มาหลากหลาย เช่น Mineral oil (ได้จากขบวนการกลั่นน้ำมันเป็นหลัก), Synthetic oil (มีที่มาจากขบวนการเคมีต่างๆ), GTL (Gas to Liquid oil - มีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของ National Gas มาเป็นน้ำมันที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น)
-  Additives ซึ่งคือ สารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำมันให้ได้ตามความต้องการ

คุณสมบัติที่ต้องการจากน้ำมันหล่อลื่น ได้แก่
-  Viscosity การหนึด ใส ของน้ำมัน เพื่อคงคุณสมบัติการหล่อลื่น
-  ความคงความหนึดใส ในช่วงอุณหภูมิต่างๆ  ซึ่งก็คือ เบอร์น้ำมันที่เราคุ้น ในประเทศหนาวอุณหภูมิติดลบเช่น -10 องศา น้ำมันหล่อลื่นต้องยังคงความใส ไม่เป็นไขแข็งตัว เพื่อให้เครื่องสตาร์ทติด  ขณะเดียวกันต้องคงความหนึดเพื่อหล่อลื่นเมื่อเครื่องมีอุณหภูมิสูงเช่น 90 - 100 องศา
-  การทำความสะอาดเครื่อง และชะล้างเขม่าที่เกิดจากการสันดาป  น้ำมันเชื้อเพลิงที่สกปรก หรือการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์จะเกิดความสกปรก
-  การปกป้องจากเคมีที่มีผลร้าย เช่น กำมะถันที่ปนมากับน้ำมันดีเซล
-  การคงคุณสมบัติที่ต้องการที่อายุการใช้ต่างๆ ทั้งชั่วโมงการทำงาน ระยะทาง การใช้งานหนักเบา ระยะเวลา

น้ำมันเครื่องต่างเบอร์และมาตราฐาน และต่างที่มา ก็มีคุณสมบัติที่ต้องการต่างกันไป  ก็เป็นสิ่งที่ต้องเลือกน้ำมัน ตามสภาพการใช้งานต่างๆ และข้อกำหนดของผู้ผลิตเครื่องยนต์

jomyoot

  • บุคคลทั่วไป
ต่างกันที่คุณภาพครับ ยกตัวอย่างเอาง่ายๆภาษาบ้านๆ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์วิ่งได้10000-20000โล แล้วแต่ ยี่ห้อ รุ่น เกรด

ส่วนน้ำมันเครื่องธรรมดาวิ่งได้ 3000-10000 โล ....เรื่องการป้องกันเครื่องยนต์สึกหรอ การหล่อลื่น ทนความร้อน ย่อมแตกต่างกันแน่นอนครับ

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,179
ประสิทธิภาพ สังเคราะห์จะหล่อลื่นได้ดีกว่า ระบายความร้อน ปกป้องเครื่องยนต์
แต่ถ้าถามว่า โทรมไม่โทรม ว่ากันที่แสนกิโลขึ้นไปทั้งนั้นครับ

รถที่ใช้สังเคราะห์แท้ สมมุติใช้ 2 แสนโล แรงม้าอาจจะตายไปน้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา

สำคัญคือกรองน้ำมันเครื่องด้วยนะ ส่วนมากลากใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้กันยาวๆ
เอาจริงๆ น้ำมันเครื่องอะไหว สบายๆเลย 15,000 - 20,000 โลยังไหวเลย
แต่กรองมันไม่เอาด้วยแล้ว ยุยหมดแล้ว อย่างลืมคิดตรงจุดนี้

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,089
แนวเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิงเลยครับ

- แบบธรรมดาก็น้ำมันที่ใช้ทั่วไป เติม Additive อะไรก็ว่าไป
- น้ำมันแบบสังเคราะห์  พวกนี้ก็จริงๆต้องเรียก กึ่งสังเคราะห์  เพราะเขาเอาที่สังเคราะห์ไปผสมกับแบบธรรมดา  เช่น V-Power ของเชลล์ หรือ Hyforce ของ PTT


น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ก็แบบเดียวกันนั้นแหละครับ  กระบวนการสังเคราะห์ มีหลักๆ 2 แบบ
- แบบพื้นฐาน ใช้กันทั่วไปก็คือเอาไฮโดรเจนไปแครก (แทบทุกยี่ห้อใช้แบบนี้)  น้ำมัน Hyforce ของ PTT ก็แบบนี้  (ประมาณว่าเอาโมเลกุลใหญ่ มาแตกให้เล็กลงตามต้องการ) ถ้าสมัยก่อนก็จะเขียนว่าเป็น Hydrocracked oil
- อีกแบบนึงจะเป็นการสังเคราะห์จากแก๊ส ซึ่งโมเลกุลเล็กกว่า (ประมาณว่าเอาโมเลกุลเล็กมากๆ มารวมกันให้ใหญ่ขึ้นตามต้องการ)  ของ Shell ทั้ง V-Power ที่เป็นน้ำมัน กับ Helix Ultra ที่เป็นน้ำมันเครื่อง จะใช้กระบวนการนี้ครับ



ความแตกต่างหลักๆคือ แบบธรรมดา คุณสมบัติมันก็จะไม่ดีตรงเป๊ะตามอุดมคติอะครับง่ายๆ เพราะบางองค์ประกอบ เราก็ไม่ต้องการให้มี  มันก็ดันมีอยู่เล็กน้อย
ส่วนการสังเคราะห์ก็คือ ทำให้มันเข้าใกล้ในแบบอุดมคติได้มากกว่า  อย่างเช่น ลดการสึกหรอ ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ฯลฯ

อีกอย่างที่จะต่างกันไปก็คือความสเถียร ซึ่งโดยทั่วไป สังเคราะห์มา มันเสถียรกว่า ก็ใช้ได้นานกว่าครับ


jaesz

  • บุคคลทั่วไป
นิยามน้ำมันเครืื่องสังเคราะห์ แต่ละประเทศมันไม่เหมือนกันครับ

ทาง EUROPE น้ำมัน Group I ถึง III ไม่เรียกว่า สังเคราะห์
ทางอเมริกา Group II - V เรียกว่า สังเคราะห์

เมืองไทย ผมไม่รู้แฮะ เพราะงง ๆ กับ การเรียกมาก ๆ เอา Caltex เป็นตัวอย่าง ขออนุญาติใช้ยี่ห้อนี้เพราะผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เปรียบเทียบ และ ยังเป็น Supplier ให้กับ อีกหลายๆ ยี่ห้อในบ้านเรา

Caltex Formula ตัวนี้ใคร ๆ ก็เรียกว่า น้ำมันธรรมดา แม้แต่บริษัทเองก็ยังขายแบบน้ำมันธรรมดา ทั้ง ๆ ที่ดูสูตรน้ำมันก็ใส่ Group II ไปแล้ว ไม่ใช่ว่าเรียกกึ่งสังเคราะห์

Caltex Synthetic Blend อันนี้ใคร ๆ ก็เรียกว่า กึ่งสังเคราะห์ ทั้ง ๆ ที่ดูสูตรน้ำมันก็มีตั้งแต่ Group II ไปยัน Group III ในขณะที่บางยีห้อเรียกแบบนี้ว่า สังเคราะห์แท้

ไปหา MSDS ดูกันเองนะครับ เคยแปะแล้ว ขีเกียจละ

ถ้าเอาแบบ กลาง ๆ Group III ขึ้นไปเป็นสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นว่า น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ที่ขายในตลาดไทยเนีี่ย คือน้ำมันธรรมดาเกินกว่าครึ่ง

ถ้าเอาแบบ Group IV เป็นต้นไปเรียกว่า สังเคราะห์ จะมีน้ำมันสังเคราะห์แท้ในตลาดจะถูกเปลี่ยนเป็นกึ่งสังเคราะห์ 80% ของยี่ห้อทั้งหมดที่เห็น ๆ กัน

ต่างกันยังงัย ?

Group I, II ก็เป็นพวกน้ำมันเครื่องที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ผ่านกระบวนการทางเคมีเป็นหลักเพื่อลดสภาพความเป็นขีี้ผึ้งให้น้อยลง  เพราะพวกขี้ผึ้งมันจะเหนียวตอนอุณหภูมิต่ำ และ ใสหรือบางเกินที่อุณหภูมิสูง สร้างความเสียหายให้กับเครือ่งยนต์มาก ก็เลยต้องทำการ De-Wax ที่นิยมใช้ก็คือการเอา Chorine ชนิดนึงไปทำการแปรรูป แล้วแยกเอาของที่ไม่ต้องการออก  กลุ่มนี้ อายุสั้น ราคาถูก ปกป้องดีไม่แพ้Group อื่น ๆ แน่นอน ผสมกับเคมีชนิดอื่น ๆได้ดีด้วยเหมาะกับการเติมสารปรุงแต่ง ผลิตง่าย แต่สำคัญเน้น ๆ คือ อายุมันสั้นที่สุดเทียบกับกลุ่มBase oil ที่สูงกว่าเมื่อเจอความร้อนสูง (150 ขึ้นไป) เพราะมันก็จะกลับมากลายเป็น พาราฟินอีกโดยกระบวนการภายในเครื่องยนต์ ที่เทียบกับ Pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน คุณสมบัติที่มักเห็นของสองกลุ่มนี้คือ VI อย่างน้อย 80 และมักจะไม่เกิน 120 Group I พบได้ตามร้านขายน้้ำมันที่บอกว่า "หัวเชื้อ" นั่นแหละครับเนื่องจากมันหนืดมาก ทำให้สามารถยกเบอร์น้ำมันขึ้นได้แม้ใส่ลงไปเพียงเล็กน้อย

Group III ต่างกับกลุ่ม I, II ตรงที่กระบวนการ ที่ใช้การนึ่งน้ำมันโดยตรง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Hydrocrack คือ ความร้อนและความดันสูง ทำให้เกิดการเรียงโมเลกุลใหม่ กลุ่ม Hydrocrack มีหลายวิธีแล้วแต่บริษัทจะถนัด  ดีกว่าgroup II, I ตรงที่มันจะมีความสามารถในการต้าน Oxidation ได้ดีขึ้นนิดนึง VI มากกว่า 120 โดยไม่ต้องปรุงแต่ง กลันออกมาก็เป็น 0W-20, 0W-30 ได้เลย

I-III เป็นพวกที่มาจากน้ำมันพื้นฐานทั้งหมด ราคาก็เลยถูก โรงกลั่นไม่ต้อง Hightech ก็สามารถทำใช้เองได้

Group IV คือ PAO เท่านั้น จะกลั่นมาจาก Ethylene ซึ่งได้มาจากไอที่เกิดขึ้นของการกลั่นน้ำมัน โดยเจ้าไอนี้มันจะถูกแปรรูปเป็นของเหลวด้วยการบวนการสังเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ ผลที่ได้คือน้ำมันที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบ ให้ความฝืดน้อย ทนทานต่อสภาวะความเป็นกรดได้ดี  ไม่แตกตัวไปกับความชื้น  แต่ก็มีข้อเสียคือ  มันไม่ค่อยผสมกับใคร เกาะกับผิวโลหะได้ไม่เก่งนักที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก ไหลได้แม้อุณหภูมิต่ำ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผลิตยากและแพงไม่ต่างกับ Group V

Group V คือ พวกที่ยังไม่เข้ากับกลุ่มไหนเลย ที่พบมากที่สุดตอนนี้คือ Phosphate Esterที่มักเรียกกันสั้น ๆว่า Ester ซึ่งผลิตจากแอลกอฮอล ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์เช่นกัน มีคุณสมบัติการเกาะผิวโลหะได้ดี โมเลกุลเล็กมากแทรกไปยังส่วนต่าง ๆ ได้ดี ทนความร้อนได้ดีหากผสมเป็นเบอร์หนา ตัว Ester เองมีปัญหาเรื่องความชื้น เพราะมันทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดีในความร้อนสูง เพราะโดยพื้นฐานมันคือแอลกอฮอลเป็นหลัก เอาน้ำใส่ เอาความร้อนใส่ มีอากาศ ก็จะเปลี่ยนตัวเองเป็นกรดได้อย่างรวดเร็ว แต่เพราะมันเกาะกับโลหะได้นานจึงถูกนำไปใช้เติมในน้ำมันสังเคราะห์ตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังมี Silicone, Biolubes, PAG ที่จัดในกลุ่มหล่อลื่น Group V ด้วย

จะเห็นว่าไม่มีตัวไหนที่เป็นน้ำมันที่สมบูรณ์แบบ เพียงแต่การใช้งานทั่วไปเพียงพอทุกกลุ่มเพราะต้องการ Additive เพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติทั้งนั้น ESTER มีมากก็ทนชื้นไม่เก่งกลายเป็นกรดเร็ว , PAO ถึงจะใช้มากดีแต่ช่วงสตาร์ทก็เกาะโลหะไม่เท่า Ester, GroupIII, II, I ก็ไม่ได้มี VI สูงพอกับสภาพอากาศหลากหลาย ก็ต้องอาศัย Viscosity Index Improver (VII)

น้ำมันอีกตัวที่ไม่ได้กล่าวถึงคือ น้ำมันเครื่องที่ทำจากน้ำมันดิบตรง ๆที่เป็น By-product กลิ่นแรง เหม็น พวกนี้จะพบได้ในกลุ่มที่เป็นเกรดเดียว เช่น SAE40 หรือไม่มันก็ถูกนำไปผลิตอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันเครื่องซะมากกว่าครับ

คิดว่ามาถึงตรงนี้ น่าจะไปหาอ่านเพิ่มศึกษาต่อเองได้นะครับ

ออฟไลน์ SETTHASART

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,306
  • รักชาติ ไม่คลั่งชาติ
ได้ความรู้เพียบ  :D