ผู้เขียน หัวข้อ: แบตเตอรี่แบบน้ำ, Maintenance free และแบบแห้ง มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร  (อ่าน 10818 ครั้ง)

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
ผมมีข้อสงสัยเรื่องแบตเตอรี่ ดังนี้

1. แบตเตอรี่แบบน้ำ, Maintenance free และแบบแห้ง มีส่วนผสมของวัสดุที่ใช้ในการเก็บประจุ หลักการเก็บประจุ ที่แตกต่างกันอย่างไร

2. แบตเตอรี่แบบน้ำ, Maintenance free และแบบแห้ง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร อายุการใช้งานของแต่ละแบบกี่ปีครับ

3. ทำไมราคา แบตเตอรี่แบบน้ำ และ Maintenance free ถึงราคาแตกต่างกันไม่มากนัก บางยี่ห้อ มีทั้ง 2 แบบต่างกัน 100-300 บาทครับ
บางยี่ห้อ เช่น pana พวกลูกเล็กๆ ราคาเท่ากับของ GS ตัวปกติ (น้ำ) เลยครับ

4. ทำไมราคาแบตเตอรี่ แบบแห้ง ถึงแพงกว่า แบบน้ำและ Maintenance free ครับ มีข้อดีกว่าตรงไหนครับ

5. ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาแบตเตอรี่มันถูกลงหรือไม่ครับ พอดีผมเคยเปลี่ยนแบบ Maintenance free สมัยก่อน จำได้ว่า 2000 ขึ้นเลย

แต่ตอนนี้เห็นบางเจ้าขาย พันกลางๆ-ปลายๆ เช่น 65 amp แบตพิเศษ i-stop ของ GS ราคาประมาณ 2000 ต้นๆ ครับ หรือแบตแบบ Maintenance free 35 แอมป์

ราคาประมาณ 1500-1700 บ. (pana - แบตศูนย์รถยนต์) ครับ

6. ทำไมผมถึงรู้สึกว่าเหมือนร้านแบตจะพยายามขายแบบ Maintenance free มากกว่าแบตแบบเดิมครับ ไปไหนก็เชียร์แต่แบบ Maintenance free

7. ยี่ห้อของแบตเตอรี่ มีผลต่อความทนทานหรือไม่ครับ ยี่ห้อไหน ทน อึดที่สุดครับ ยี่ห้อไหนราคาค่อนข้างถูกกว่าชาวบ้าน (เรียงตามลำดับด้วยครับ)

ขอคำแนะนำเป็นความรู้นะครับ ขอบคุณครับ ;)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 13:49:26 โดย G...G »

ออฟไลน์ dunghill

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 316
รุ้แต่ว่าแบตน้ำทนสุด ส่วนแบบ maintenance free ก็คือแบตน้ำนี่หล่ะ แต่ไม่ต้องเติมน้ำบ่อยคือ หกเดือนดูทีไม่ใช่ไม่ต้องดูนะครับตรงรูมันจะต้องเอาเหรียญเปิด ต่างจากแบบนำ้ที่เป็นตุ่มมือบิดได้เลย ส่วนแบ็ตแห้ง ไม่มีรูเปิดไม่ได้ ข้อดีคือไฟจะแรงกว่าแบ็ตน้ำ นิยมใช้ในรถที่ใช้เครื่องเสียงเยอะพวกยี่ห้อ Bose ไรพวกนี้

ได้ยินร้านแบตฯจะบอกว่าถ้ารถขับทุกวันขับหนักๆ (รถแท็กซี่) ให้ใช้แบ็ตน้ำจะทนใช้ได้นานกว่าสองแบบหลัง ส่วนแบบ maintenance free เหมาะกับคนที่ใช้รถไม่มาก(ใช้รถปกติ) เช้าขับไปทำงานจอด เย็นขับกลับบ้านจอด และสุภาพสตรีที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรถ (คือนานๆถึงจะตรวจเช็คที) ส่วนแบบแห้งก็สำหรับคนที่ต้องการไฟแรงๆ

เข้าใจว่าแบบน้ำทางร้านต้องทำการเติมน้ำและชาร์ตไฟ ส่วน maintenance free จะพร้อมใช้แล้ว รวมทั้งแบบแห้ง เลยเชียร์แบบ maintenance free มั้งครับ

ส่วนยี่ห้อจากประสบการณ์ ผมว่ามีส่วนอยู่บ้าง ในกรณีที่ไดร์ชาร์ตเราสมบูรณ์นะครับ เคยใช้ยี่ห้อไทย ปีนิดๆ พังสองสามลูก เปลี่ยนเป็นยี่ห้อยี่ปุ่น สองปีกว่า แต่ก็แล้วแต่จังหว่ะและประสบการ์ครับ เอายี่ห้อที่ประกันเยอะๆก็ดี แต่ก็ต้องดูร้านด้วยนะครับ บางทีประกัน 1 ปี เอากลับไปร้านที่ซื้อพวกดองไว้บอกเคลมไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องซื้อใหม่อยู่ดี เรื่องร้านที่ขายนี่ก็สำคัญ ร้านเพิงหมาแหงนนี่ผมไม่เข้าไปเปลี่ยนอีกเลย เข็ด

อันนี้จากความเห็นส่วนตัวนะครับ อันไหนไม่ถูกต้องก็ขออภัยด้วย รอท่านอื่นมาตอบต่อ
HondaCity 03'
Mazda 323 Astina 91'
HondaCity 12'

ออฟไลน์ Devil13

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,002
ขอตอบแบบสรุปละครับ

แบทแห้งจริงๆต้องไม่ใช้น้ำกลั่นครับ ข้างในจะเป็นเจลใสๆ
ที่เห็นๆขายกันอยู่ส่วนใหญ่เป็นงแบบกึ่งแห้งกึ่งน้ำ ราคาเลยดูไม่แพงมาก

อายุใช้งานไม่ต่างกันเหรอกครับอยู่กับการใช้งาน
1.ขับระยะทางสั้นๆ แล้วดับเครื่องและสตาทบ่อยๆแบทก็จะไปไวกว่าครับ
2.ขับยิงยาวระยะทางไกลๆ อันนี้แบทจะทน

แบทอะไรก็ดีทนเท่ากันให้เอาอะไรสักอย่างจะน้ำก็น้ำ จะแห้งก็แห้ง
ส่วนใหญ่ซื้อแบทกึ่งแห้งแล้วคิดว่าเป็นแบทแห้งเลยไม่เติมน้ำกลั่นปีเดียวก็เจ๊ง

ราคาแบทมันก็ไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่เหรอครับ
ราคา=คุณภาพ  ของถูกแล้วดีไม่มีในโลก
แบทตัวเดียวกันแต่อีกเจ้า Made in Japan ประกัน 2ปี แอมป์แท้ ก็แพงไปตามนั้น
อย่าดูแต่ยี่ห้อ กับแอมป์ ดูรุ่นและอายุรับประกันด้วยครับ

ร้านจะเชียร์ตัวไหนอย่าไปสน เค้าก็แค่จะระบายตัวที่ค้างสต๊อกให้คุณเท่านั้นแหละ

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,864
แบตน้ำ ก็คือ ต้องเติมน้ำกลั่นครับ
แบตแห้ง ก็คือ ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น เขาจึงเรียก maintenance free(แปลว่าไม่ต้องดูแล)

กายภาพทั้งสองชนิดเหมือนกันครับ
คือมีแผ่นธาตุไฟกะดินกะไฟเป็นตัวให้พลังงาน

แบตแห้งคือแบตที่ต่อยอดมาจากแบตน้ำครับ
เดิมทีแบตน้ำใช้ตะกั่วแบบแข็ง(แอนติโมนี่) เป็นโครงสร้างและมีไฟเบอร์กลาสกั้นระหว่างแผ่นธาตุดินกับไฟ
ข้อเสียคือ แผ่นธาตุโครงใหญ่ ต้องใช้ตะกั่วกรดเบอร์เข้ม น้ำในระบบสูญเสียไวเพราะจุดเดือดเร็วจากการต้องใช้
Voltage ในการชาร์จสูง ทำให้ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ

ต่อมาจึงมีคนพยายามแก้ไขและพัฒนาให้ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ แบตแห้ง(ที่เขาเรียกๆกันนะ)จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นคือ
-ใช้ไฟเบอร์แทนไฟเบอร์กลาส เพื่อกักเก็บน้ำได้มากขึ้น แต่ยังคงเป็นตัวกั้นระหว่างแผ่นดินและไฟอยู่
-เปลี่ยนจากตะกั่วแอนติโมนีเป็นตะกั่วแคลเซียม เพื่อลดความแข็งและเพิ่มความเหนียวและยังทำให้โครงสร้างบางลงได้
-มีการใช้วาล์วเพื่อลดการสูญเสียน้ำในระบบ
ข้อดีคือ
-ไม่ต่องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน
-แอมป์สูงขึ้นเล็กน้อย
-ใช้ voltage ในการชาร์จน้อยลงและเต็มเร็วขึ้น
ข้อเสียคือ
-แผ่นธาตุทนสู้แอนติโมนีไม่ได้
-อุณหภูมิที่ดีที่สุดในการทำงานคือ 25-30องศาเซลเซียสเท่านั้น(แต่ในเมืองร้อนนั้น มีการแก้ไขโดยการเติมเกลือเข้าไปเพื่อให้
  ทนขึ้นครับ แต่ได้เล็กน้อยเท่านั้น)
-และเนื่องจากแผ่นกั้นเป็นไฟเบอร์ที่มีรูพรุน จึงทำให้เกิดการช๊อตได้ง่าย การไม่ได้ใช้งานนานๆจึงทำให้มันเสียได้(แต่บางยี่ห้อ
 แก้ด้วยการเอาฟิล์มพลาสติกห่อแผ่นกั้นอีกที)


ส่วนเจลที่มีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งกล่าวถึง
แบตเตอรี่ประเภทนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาใกล้ๆแบตน้ำครับ ที่เยอรมันหรือประเทศที่มีอุณหภูมิติดลบ
น้ำกรดจะแข็งตัว ทำให้ไม่สามารถสตาร์ทรถติดได้
นักวิทยศาสตร์จึงได้หาทางทำให้นำกรดไม่แข็งตัว โดยการผสมซิลิกาลงไปในน้ำกรด จนมีลักษณะเป็นเจล
เมื่ออุณหภูมิติดลบ กรดก็จะไม่แข็งตัว และเมื่ออุณหภูมิอุ่นๆ กรดก็จะเหลวๆ แต่เมื่อเจอความร้อนน้ำในระบบก็จะสูญเสียอยู่ดี
     แบตประเภทนี้ยังไม่พบข้อเสีย แต่แค่แอมป์น้อยกว่าสองประเภทแรกและน้ำในระบบสูญเสียแล้ว กำลังไฟจะหายไปเร็ว
     อันเนื่องมาจาก กรดถูกแทนที่ด้วนเจลในปริมาณพอสมควร เบอร์กรดจึงอ่อนกว่ามาก(แต่ก็ทนเช่นกัน)

สุดท้าย แบตแห้งแท้ๆ...

คือจะไม่มีน้ำใดๆในระบบเลย เช่นพวก นิคเกิลหรือลิเทียม
แต่ด้วยต้นทุนต่อแอมป์ยังสูงอยู่ จึงยังไม่มีการนำมาใช้ และยังไม่จำเป็นเสียทีเดียว
ยกเว้น ที่เขานำมาใช้ในการให้พลังงานของรถไฮบริดครับ เนื่องจากน้ำหนักต่อแอมป์น้อยกว่าตะกั่วกรดเยอะในกำลังไฟที่เท่ากัน


*****อธิบายมาซะยืดยาวเลย*****
มาตอบคำถามข้อ 3 เลยนะครับ ข้อ 1 และ 2 ผมอธิบายไปแล้ว
3+4.ค่าการตลาดของแบตไทยนี่สูงปรี๊ดเลยครับ พูม่า นำเข้ามาปุ๊บ ก็ขายปั๊บ
        จริงๆแล้วต้นทุนของแบตน้ำก็ยังถูกกว่าแบตแห้งพอสมควร
5. สมัยก่อนแพงเพราะเทคโนโลยีการผลิต+การที่มันเป็นของใหม่
6. มันไม่ต้องยุ่งยากร้านที่ต้องมาเติมนำกรดงัยครับ เหม็นก็เหม็น แถมต้องตั้งชาร์จให้เดือดผุดๆอีก
7. ยี่ห้อไหนๆที่เห็นอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์มันก็คือๆกันแหละครับ
    จริงๆ เขาจะทำให้ใช้กัน 5ปีเขาก็ทำได้ แต่ทำแบบนั้น turn over มันจะต่ำครับ
    ถ้าอยากใช้ทนๆนานๆ ใช้แบตน้ำแล้วขยันเติมน้ำกลั่น พอค่า ถพ ต่ำ ก็หยอดกรดไปหน่อย
    รับรอง ทนชัวร์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 23:41:35 โดย kiwiwi »

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณครับ ได้ความรู้ด้านนี้มากๆ ครับ :D

ออฟไลน์ J_Serie5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,206
ขอตอบให้ความรู้แบบรวมๆนะครับ

- ความร้อนมีผลต่ออายุแบตเตอรี่ รถบางคันย้ายแบตไปไว้ข้างหลังรถ อายุการใช้งานเพิ่มขึ้น เนื่องจากแทบไม่โดนความร้อน
- ถ้าใช้รถเยอะ เลือกแบตแบบกึ่งแห้งครับ คอยดูแลเช็คน้ำกลั่นทุกๆ 6 เดือน อย่าปล่อยให้น้ำกลั่นแห้งเป็นพอ
- แบตแห้งแบบซีลปิด 100% อายุการใช้งานน้อยกว่าแบตน้ำ และแบตแบบกึ่งแห้ง
- ยี่ห้อแบต ผมเลือก Boliden ตอนนี้ใช้แบบ 100Amp ใช้กับรถ 2 คัน คันนึงใช้ได้ 3 เกือบ 4 ปี อีกคันตอนนี้ 2 ปีกว่ายังดีอยู่เลยครับ
- อย่าเชื่อยี่ห้อที่ร้านเชียร์ ให้เชื่อตัวเอง
- ควรเปลี่ยนแบตให้ Amp สูงขึ้น เช่น เดิมใช้ 75 ควรเปลี่ยนเป็น 100 ข้อดี จุไฟได้มากกว่า , และเวลาแบตเสื่อมหนักจริงๆ รถยังสตาร์ทติดง่ายเพราะกำลังไฟเหลือเยอะกว่า , เวลาขับรถทางไกล ดับเครื่องแล้วเปิดแต่พัดลมได้นานเป็นชั่วโมงๆ พอที่ร่างกายจะฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้า (อย่าลืมแง้มกระจกซัก 1 cm ) , ถ้าอยากนอนในรถนานๆให้หาซื้อพัดลมที่ใช้ไฟจาก usb ผมเองใช้อยู่เปิด 5 ชั่วโมงแบตยังเหลือเฟือเลยครับ