ผู้เขียน หัวข้อ: รถยนต์ควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ จึงจะทำให้ช่วงล่างนุ่มสบาย และมีความมั่นคง ครับ  (อ่าน 23359 ครั้ง)

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,969
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
ความนุ่มสบาย ของแต่ละคนต่างกันครับ  ฉะนั้นเอาความรู้สึกมาเป็น บรรทัดฐานไม่ได้

ที่นี้ นน. มาถามต่อว่า น้ำหนักเกี่ยวไหมที่จะทำให้นุ่มขึ้น มั่นคงขึ้น ?   คำตอบคือเกี่ยวครับ 
ลองรถรุ่นเดียวกัน สเปคเดียวกัน  ช่วงล่างเหมือนกัน  แต่จาก Std.  เข้าไปไล่เบาที่ อู่แห่งหนึ่ง   
คันไล่เบาสิ่งที่ทำ เอากระจกออกเปลี่ยนเป็น อครีลิก กระจกข้าง คราฟสแควร์ เปลี่ยนกระโปรงหน้า เปลี่ยนแก้มข้าง กระบะฝาท้าย (เป็นคาร์บอนไฟเบอร์)เอาเบาะแคปออก เอาพรมออก เอาล้อสำรองไปเก็บ  เรียกว่าเบากว่ารถ Std ร่วมๆ300กิโล    ออกจากอู่   วิ่งเส้นเดิม  รถกระด้างขึ้นครับชัดเจนเลย  ลูกระนาดเดียวกัน  รอยต่อถนนเส้นเดียวกัน  กระแทกคนละเรื่อง 
ทั้งที่ช่วงล่าง ยาง ล้อ เหมือนเดิมหมด     

มาถามต่อ หนึบเกี่ยวกับ น้ำหนักไหม ?   
ตอบตรงๆเอาง่ายๆคงบอกว่าไม่เกี่ยว  ดูมาสด้า MX-5 เกาะถนนซิ ทั้งที่น้ำหนักตัวไม่ถึงตัน มันก็เกาะถนนหนึบได้ 
เพราะค่าศูนย์ถ่วงทำมาดี  พอรถเบา ค่าศูนย์ถ่วงต่ำ  การโยกย้ายซ้ายขวาเป็นเรื่องง่ายกว่าน้ำหนักเยอะ(นัยนึงคือช่วงล่างคม)  อาจจะไม่ต้องใชเโช้คที่แข็งมากแต่รถมันเบา มันทำให้คุมง่ายเกาะถนน   ยางไม่รับภาระหนักมากเกินไป   

ต่อมา  หนึบกับน้ำหนัก ตอบยากๆให้ฟังหน่อยเกี่ยวยังไง?      คอบง่ายๆคือการบาลานซ์รถ น้ำหนักควรจะทิ้งไว้ระหว่าง ล้อหน้ากับล้อหลัง ให้เยอะที่สุด  รถจะเป็นนึงเดียวกันมากกว่า
เช่น รถคันนึงขยับจุดวางเครื่องให้ย่นเข้ามาในตัวรถมากกว่า (ขยับเครื่องให้เข้ามาใกล้ตัวห้องโดยสารมากกว่าอีกคันนึง)   คันที่เครื่องใกล้ห้องโดยสารมากกว่าย่อมจะเกาะถนนมากกว่าอยู่แล้วเป็นปกติจากการบาลานซ์

รถบางคันพอวิ่งตัวเปล่า เด้งๆ พอคนนั่งเต็มรู้สึกพอดี เคยรู้สึกอย่างนี้บ้างไหม (ผมรู้สึกกับพวก PPV นะเห็นชัดเลยล่ะ)


โยงมาถึงคำถามคุณ  คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า นุ่มหนึบแค่ไหนกำลังพอดีสำหรับคุณ 
คนรู้จักเอามาสด้า3ตัวเก่า5ประตู พวกเอาไปติดแก็ส กลับมาบอกเออดีหวะน้ำหนักถังแก็สช่วยให้รถไม่กระด้างเหมือนแต่ก่อน อย่างนี้ก็มีครับ
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ madboy

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
    • อีเมล์

ออฟไลน์ e:smart Hybrid

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,705
 :)ขอบคุณทุกความเห็นครับ

ออฟไลน์ Mr.Chaw

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 116
เท่าที่เรียนมานะครับ สมัยยังเป็นนิสิตคณะวิศว

การดูดซับแรงกระแทก - น้ำหนักมีผลแน่นอน แต่ ... ไม่ใช่น้ำหนักอย่างเดียว ... ต้องเป็น อัตราส่วนระหว่าง sprung weight/unsprung weight
ยิ่งมาก รถจะนุ่มขึ้น (เมื่อใช้ช่วงล่างชุดเดียวกัน) sprung weight คือ น้ำหนักที่สปริงรองรับ (พูดง่ายๆก็ตัวรถนั่นแหล่ะ) unsprung ก็คือน้ำหนักที่สปริงไม่ได้รองรับ (ก็คือของชิ้นส่วนช่วงล่าง)
ที่นี้เวลาคนมาเทียบกันมันเทียบยากครับ เพราะเราจะต้องเทียบรถที่ใช้ช่วงล่างเดียวกันแต่น้ำหนักต่างกัน
ผมยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือ teana 2.0 กับ teana V6 ครับ อันนี้น้ำหนักต่างกันเลย แต่อนิจจา เค้าก็ใส่สปริงมาให้คนละแบบกันซะนี่
มันก้เลยเทียบได้ยาก แต่ถ้าเอาสปริงชุดเดียวกันมาใส่เทียบ รุ่น V6 จะต้องนุ่มนวลกว่าเพราะ sprung weight  เยอะกว่า โอเคมะครับ

มีความมั่นคง - อันนี้เริ่มยากแล้วครับ ทางวิศวกรรมเค้าจะแบ่งความมั่นคงเป็น 2 แนว คือ dynamic กะ steady state
dynamic คือแบบคุณเหวี่ยงโค้งซ้ายขวาประมาณว่า slalom สิ่งที่มีผลก็คือ จุด CG ของรถ และ จุด roll center
CG คือ จุดเสมือนว่าน้ำหนักของรถทั้งคันมันอยู่ตรงนั้น (ขึ้นอยู่กับความสูงของรถ เป็นต้น)
Roll center คือ จุดที่รถมันโคลง รอบจุดนั้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะของช่วงล่าง เช่น ปีกนกคู่ คานแข็ง บลาๆ)
ถ้า roll center อยู่ใกล้จุด CG รถก็โคลงน้อยลง
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ น้ำหนักรถและความแข็งของสปริงด้วยครับ รถหนักมันก็โคลงมาก ก็ต้องใช้สปริงแข็งขึ้น

steady state คือแบบเข้าโค้งจนรถเอียงคงที่แล้ว (คือสาดโค้งยาวๆๆๆๆ หน่ะครับ)
อันนี่น้ำหนักก็มีผลครับ แต่น้อยลงกว่าข้อที่แล้ว สิ่งที่มีผลคือ อัตราส่วนระยะฐานล้อ ต่อความกว้างของรถ

จริงๆแล้วอีกประการนึงที่คนไม่ค่อยคิดคือ เวลากดทางตรงยาวๆ นี่ น้ำหนักกะช่วงล่างนี่ส่งผลน้อยกว่าการจัดการอากาศอีกนะครับ
aero dynamic มีผลชัดๆเลยกรณีนี้
Own : Porsche Boxster 986 MT
Drive : +Volvo S80 D4 +Toyota Fortuner
Drove : Honda Accord Euro CL9, Volvo 960, Volvo S80 D5, Toyota Prado J120
Want : Porsche C2 996 MT

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,051
เท่าที่เรียนมานะครับ สมัยยังเป็นนิสิตคณะวิศว

การดูดซับแรงกระแทก - น้ำหนักมีผลแน่นอน แต่ ... ไม่ใช่น้ำหนักอย่างเดียว ... ต้องเป็น อัตราส่วนระหว่าง sprung weight/unsprung weight
ยิ่งมาก รถจะนุ่มขึ้น (เมื่อใช้ช่วงล่างชุดเดียวกัน) sprung weight คือ น้ำหนักที่สปริงรองรับ (พูดง่ายๆก็ตัวรถนั่นแหล่ะ) unsprung ก็คือน้ำหนักที่สปริงไม่ได้รองรับ (ก็คือของชิ้นส่วนช่วงล่าง)
ที่นี้เวลาคนมาเทียบกันมันเทียบยากครับ เพราะเราจะต้องเทียบรถที่ใช้ช่วงล่างเดียวกันแต่น้ำหนักต่างกัน
ผมยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือ teana 2.0 กับ teana V6 ครับ อันนี้น้ำหนักต่างกันเลย แต่อนิจจา เค้าก็ใส่สปริงมาให้คนละแบบกันซะนี่
มันก้เลยเทียบได้ยาก แต่ถ้าเอาสปริงชุดเดียวกันมาใส่เทียบ รุ่น V6 จะต้องนุ่มนวลกว่าเพราะ sprung weight  เยอะกว่า โอเคมะครับ

มีความมั่นคง - อันนี้เริ่มยากแล้วครับ ทางวิศวกรรมเค้าจะแบ่งความมั่นคงเป็น 2 แนว คือ dynamic กะ steady state
dynamic คือแบบคุณเหวี่ยงโค้งซ้ายขวาประมาณว่า slalom สิ่งที่มีผลก็คือ จุด CG ของรถ และ จุด roll center
CG คือ จุดเสมือนว่าน้ำหนักของรถทั้งคันมันอยู่ตรงนั้น (ขึ้นอยู่กับความสูงของรถ เป็นต้น)
Roll center คือ จุดที่รถมันโคลง รอบจุดนั้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะของช่วงล่าง เช่น ปีกนกคู่ คานแข็ง บลาๆ)
ถ้า roll center อยู่ใกล้จุด CG รถก็โคลงน้อยลง
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ น้ำหนักรถและความแข็งของสปริงด้วยครับ รถหนักมันก็โคลงมาก ก็ต้องใช้สปริงแข็งขึ้น

steady state คือแบบเข้าโค้งจนรถเอียงคงที่แล้ว (คือสาดโค้งยาวๆๆๆๆ หน่ะครับ)
อันนี่น้ำหนักก็มีผลครับ แต่น้อยลงกว่าข้อที่แล้ว สิ่งที่มีผลคือ อัตราส่วนระยะฐานล้อ ต่อความกว้างของรถ

จริงๆแล้วอีกประการนึงที่คนไม่ค่อยคิดคือ เวลากดทางตรงยาวๆ นี่ น้ำหนักกะช่วงล่างนี่ส่งผลน้อยกว่าการจัดการอากาศอีกนะครับ
aero dynamic มีผลชัดๆเลยกรณีนี้
ชัดเจนมาก เยี่ยมเลยครับ ... จริงๆจะทดสอบกรณีที่ 1 ผมว่าต้องลอง vary unsprung weight จะง่ายกว่า รถหลายรุ่นมีปีกนกที่เป็นเหล็กหล่อและอลูมิเนียม (เช่น Subaru legacy bp) รวมถึงล้อหล่อ vs ล้อ forged ... ไว้ถ้าผมมีโอกาสได้เจอปีกนกอลูของ legacy จะลองเอามาสลับดูแล้วรายงานผผลครับ