« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 17, 2016, 13:54:01 »
ง่ายๆครับ
รถผมสมัยกล่อง Unichip ให้เพื่อนจูนแบบขอรีบเอารถไปใช้ กินน้ำมัน 8-9 โลลิตร
ต่อมาเอาใส่ F-Con S แล้วบอกว่าเอาไปจูนไปลองไปทดสอบให้เต็มที่ มันเอารถผมไป 2 เดือน
แต่พอกลับมาเสร็จ ถ้าเติม E10 เหมือนกันผมได้ 12 โลลิตร
แต่แรงม้าผมเพิ่มนะ เดิม 140 ตอนนี้ผมได้ 148 ที่ล้อ ฮาร์ดแวร์ทุกอย่างผมเหมือนเดิม บูสท์ก็เท่าเดิม
มันอยู่ที่การจูนน้ำมันด้วยส่วนหนึ่ง..น้ำมันหนาเกินนอกจากไม่แรงแล้วยังกินน้ำมันมากกว่าด้วยครับ
และอีกอย่างนึงคือเราไม่ได้เรียกม้าตรงนั้นมาใช้ตลอดนี่ครับ ผมจะทำรถผมให้มีม้า 170 ตัว 200 ตัวก็ได้
แต่ถ้าผมใช้ฮาร์ดแวร์เดิมทุกอย่าง และผมไม่ได้ไปจูนอะไรที่ช่วงคันเร่งน้อยหรือ close loop รถผมก็
แรงขึ้นโดยกินน้ำมันเท่าเดิมได้..ไม่แปลกครับ
ถ้าฮาร์ดแวร์เหมือนกันทุกอย่าง และวิ่งด้วยความเร็วคงที่ เครื่องก็ใช้พลังและน้ำมันในการสร้างแรงขับเคลื่อนเท่ากันครับ
มันจะไปต่างกันตอนที่เรากดหนักๆบ่อยๆ เรากระทืบเครื่อง 150 ม้านาน 1 ชั่วโมงกับกระทืบเครื่อง 200 ม้านาน 1 ชั่วโมง
อย่างหลังก็จะใช้น้ำมันมากกว่า..ต้องกดหนักและบ่อยๆนะ..ถ้ากดเพื่อแซง รถม้าเยอะบางทีมันแซงจบในเวลาที่เร็วกว่า
หารไปหารมาน้ำมันที่ผลาญไปออกมาเท่ากัน
อย่าง Tiida ผมสมัยไม่มีโบ มันประหยัดน่ารักในสายตาผม แต่เวลาซัดแบบรีบๆจะลงมาต่ำกว่า 10 กิโลลิตรได้โดยง่าย
แต่พอลงโบไป ม้าเพิ่มมากว่า 50 ตัว สมัยก่อนอยาก 80-120 ใน 9 วิผมต้องลาก 2 ยันเรดไลน์แล้วกดจมต่อ 3
พอมีโบ ผมใช้เกียร์ 3 และกดคันเร่งครึ่งเดียวก็ทำ 80-120 ได้ 9 วิ ดังนั้นการผลาญน้ำมันเลยไม่ต่างกันมากนัก
ขอบคุณครับ ฟังหลาย ๆ ท่าอธิบายก็พอจะเข้าใจครับ
รถของผมเดิมๆบูส 0.9 บาร์ 180 ม้าที่ล้อ จูนใหม่เป็น 1.2 บาร์ 220 ม้าที่ล้อ+มาเร็วขึ้นพอควร กินน้ำมันเท่าเดิม เหตุหลักๆผมว่ามาจาก 2 ปัจจัยครับ
1. การจูนจะเป็นการลด safety factor ลง ซึ่งหนึ่งใน safety factor คือน้ำมันหนาๆ โดยเฉพาะช่วง open loop พอปรับส่วนนี้ก็ทำให้กินน้ำมันน้อยลงได้
2. ต่อเนื่องจากข้อ 1 การขับปกติของเรา เดิมๆอาจต้องการบูส 0.7 บาร์ ซึ่งต้องกดคันเร่งลึก เครื่องเข้า open loop โปรแกรมเดิมจ่ายน้ำมันหนาไว้เผื่อ(ตามเงื่อนไขข้อ 1) ... ทีนี้พอเราเพิ่มบูส 0.7 บาร์เท่าเดิม สามารถเรียกมาใช้ได้ที่คันเร่งครึ่งเดียว เครื่องยังอยู่ใน close loop อยู่ การจ่ายน้ำมันจึงจ่ายแต่พอดี (โดยอาศัยข้อใูล feedback จาก o2 sensor)
ปล รถอะไรครับ แรงม้า/อัตราสิ้นเปลือง น่าสนใจมาก
เป็นคำอธิบายที่ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นอีกครับ
270 ม้า 10 กม./ลิตร รถผม 160 ม้ากิน 11 กม./ลิตร แต่ม้าต่างกันร้อยตัว สุดยอดเลยครับ
saab 95 2.3 T เปลี่ยนเฟิร์มแวร์จาก เสตรจ 1 เป็น 3 ใช้เวลาปรับประมาณ 15 นาที ค่าเสียหาย ไม่กี่ตังค์..
สงสัยม้าวิ่งชนกันเองน่ะคับ ^^"
ไม่น่าจะชนกันเองนะครับ ผมลองวัดจาก 100-160 (ทดลอง) ใช้เวลาราว 5 -6 วิ ที่รอบประมาณ ไม่เกินห้าพันรอบ...
มีคนงาน 100 คน ...อยากให้งานเสร็จเร็วขึ้น ก็เพิ่มประสิทธิภาพของ 100 คน ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณคน
ปรับแรงดันสูงขึ้น การระเบิดให้พลังงานสูงขึ้น ในเชื้อเพลิงที่เท่ากัน น่าจะเป็นหลักการนี้
เปรียบเทียบเข้าใจง่ายดีครับ
ถ้าส่วนผสมลงตัว การใช้เชื้อเพลิงก็พอดี ไม่กินมากจนรู้สึกน่ากลัวครับ บางครั้งเข้าใจถูกครับ แต่ถ้าจ่ายเชื้อเพลิงหนามากๆ นอกจากเปลืองและเผาไหม้ไม่สมบูรณ์แล้ว ยังทำให้ HC ในเชื้อเพลิงสามารถจับกับอากาศน้อยลงครับ ดังนั้น การจ่ายเพิ่มถูกครับ แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์คือ ต้องทำให้เชื้อเพลิงที่จ่ายนั้นเป็นละอองมาที่สุด เพื่อให้การเผาไหม้สมบูรณ์และได้กำลังงานเพิ่มขึ้นครับ ถูกผิดขออภัยครับ
บางครั้งผมก็เข้าใจเช่นนั้น กระดานแมป ของ เฟิร์มแวร์คงจะต่างกัน
ตอนนี้คงต้องทำความเข้าใจในแต่ละเรื่องให้มากขึ้น ผมคิดว่าตัวเองรู้มากพอควรแล้ว แต่จริง ๆ แล้วยังโง่อยู่ แถมรู้มายังผิด ๆอีก
ขอบคุณทุกความเห็นครับ
ปล. ผมทดสอบวิ่งหกร้อยกว่ากม.เติมเต็มจากวังน้อย ไปถึง อ.พิมาย วิ่ง ๆจอด ๆ แถว ๆ นั้นเล็กน้อย กลับมาเติม แถววังน้อย แต่คนละปั๊ม...อุณหภูมิเครื่องยนต์ ไม่เกิน 90 องศา ตลอดการเดินทาง