ผู้เขียน หัวข้อ: รถเล็ก เครื่องใหญ่ รถใหญ่ เครื่องเล็ก เมื่อไหร่เล็ก เมื่อไหร่ใหญ่ ??  (อ่าน 5456 ครั้ง)

ออฟไลน์ 911turbo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 288
คือลองอ่านมานานแล้วนะครับ
มีคำถามว่า
อย่าง accord camry crv  เครื่อง 2.0  มักจะมีบางคนบอกว่า เครื่องมันเล็ก  ลากรถใหญ่ ทำให้เปลืองน้ำมันมากกว่าเดิม สมรรถณะด้อยลง

พอมาพวก march fiesta aveo เครื่อง 1.2 1.4  ก็บอกว่า เครื่องเล็กเกิน ไปไหวไหวหรอก อะไรแบบนั้น

แต่พอ vios turbo  บางคนก็บอก โอย แรงเกิน ช่วงล่างแค่นั้น ควบคุมยากไม่ไหวหรอก

ผมสงสัยว่า
รถ accord camry นี่ ต้อง 2.4
altis civic ต้อง 1.6 1.8 2.0
vios city ต้อง 1.5
เวลามีรถ ที่ใช้เครื่องแบบอื่นมาในตลาดทีไร  โดนโจมตีจุดนี้กระจาย

คำถามคือ ความคิดแบบนี้ มันเข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่หรือครับ  (หรือผมคิดไปเอง ??)
แล้วที่บอกกันว่า เครื่องเล็ก ไม่่ดี นี่มันจริงหรือครับ ??




ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,179
สำหรับผม ผมคิดว่าน้ำหนัก น่าจะเป็นตัววัดนะครับ

วีออสหนักราวๆ1ตัน + - นิดหน่อย
เครื่อง1.5 ถือว่าแรงแล้วครับ เกินตัวด้วยซ้ำ

ตัวหนักหนักกว่านี้ ถ้าใช้เครื่อง1.5 ผมถือว่า รถใหญ่ เครื่องเล็กครับ

ออฟไลน์ Okino

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 156
Wish ที่ญี่ปุ่น ยังมีเครื่อง1.8เลยครับ  อืดหรือปล่าวก็ไม่รู้เหมือนกัน

แต่ผมว่า วีออส 1.3 นี่พอตัวแล้วนะ

แต่ทุกอย่าง ผมคิดว่าน่าจะอยู่ที่นิสัยของคนประเทศนั้นนะ 
????? MD02 ??????????!!

ออฟไลน์ Newhang

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,338
น่าจะอยู่ที่การขับขี่มากกว่านะครับ ถ้าเครื่องไหนดีสมตัวก็เครื่องนั้นแหละครับ เท่ากับว่าเครื่องอื่นไม่เหมาะ

ออฟไลน์ Valkilrey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 646
    • อีเมล์
คือผมสังเกตุเหมือนกันนะ และมองว่าส่วนมากเจ้าตลาดอย่าง To/Hon จะเป็นผู้ตั้งมาตรฐานตรงนี้ (รถที่คุณ 911turbo ยกตัวอย่างมา ก็เข้าข่าย To/Hon) ทำให้ผู้เล่นอื่นในตลาดที่ขายเครื่องที่ cc น้อยกว่า (ถ้ามากกว่า ก็ไม่โดน) ถูกมองเบื้องต้นว่าน่าจะอืด กินน้ำมัน บลาๆๆ

ออฟไลน์ traveller

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 266
โลก อยู่ใน กฎฟิสิกส์ เดียวกันครับ

ดังนั้น คนใช้รถ ต้องรู้ ข้อจำกัด ข้อดี ข้อเสีย ของ รถยนต์ ร่วมสมัย ที่ขายกันอยู่ เป็น รถตลาดครับ
พูด ง่ายๆ คือ รถตลาด ที่ผลิตโดย โรงงานโหล ต่างใช้ เทคโนโลยี่ ใกล้เคียงกัน

เพราะ ทุกยี่ห้อ ต่าง กู้ เงิน ธนาคาร มา สร้างรถขาย ครับ
ต้นทุน การเงิน ของ ทุกยี่ห้อ ไม่ต่างกันมาก
ผม หมายถึง เงินกู้ นะครับ
แต่ ถ้า ยี่ห้อไหน กู้มากมาตลอดสิบปี ผัดผ่อน เจ้าหนี้ ทุกปี ก็ จะ มี ต้นทุนทางการเงิน สูงกว่า ยี่ห้ออื่นๆ
นี่เป็น สาเหตุ หลัก ที่ ทำให้ รถตลาด หลายยี่ห้อ กด ราคาไม่ลง
กด ราคา ไม่ลง ต้อง ขายแพง
เพราะ ต้นทุน กู้เงิน เสียดอกเบี้ย แพงกว่า เขา นั่นเองครับ

คนซื้อ ที่ไปเชื่อ การตลาดรถยี่ห้อที่กู้แพง ว่า รถดี ต้องขายแพง
แล้ว หลงซื้อไปใช้
ใช้ไป ก็ จะ ถึงบางอ้อ เองว่า รถมันไม่ได้ดีอะไรเลย เสีย จุกจิก ตลอด
กว่า จะรู้ว่า ที่ จ่ายแพง ไป นั้น
ที่แท้ เป็น overhead cost ที่ ยี่ห้อนั้น บริหารไม่ดี ต่างหาก
หาใช่ คุณภาพ รถ ที่ เหนือว่า ไม่

Bigger is better ครับ
นี่เป็น กฎ หลัก ที่ ต้องจำ ถ้า คิดจะซื้อ รถตลาด ครับ
เครื่องใหญ่ กว่า ย่อม ดีกว่า ครับ

รถตลาด ที่ ราคาอยู่ระดับใกล้ เคียงกัน
เลือก ยี่ห้อ เครื่องใหญ่กว่า ไว้ก่อน
รับรองว่า ถูกต้อง เสมอ ครับ

เพราะ เทคโนโลยี่ เครื่องยนต์ ระดับ รถตลาด ไม่ต่างกันมาก
ได้ เครื่องใหญ่ จะ หมายถึง คุ้มค่าเงิน กว่า นั่นเอง

รถตลาด ที่ ขายราคาระดับเดียวกัน
ยี่ห้อ ที่ใส่ เครื่องเล็กกว่า คือ ยี่ห้อ ที่ คนซื้อ ต้องจ่าย overhead cost ที่บริหารไม่ดีครับ

รถตลาด ระดับเดียวกัน
เครื่องใหญ่ ทนทาน กว่า เครื่องเล็ก
เครื่องใหญ่ มีแรงฉุด คอมเพรสเซอร์แอร์ มากกว่า ระบบแอร์ จะทำงานได้เย็นกว่า
เครื่องใหญ่ วิ่งทางไกล ประหยัดน้ำมัน กว่า เครื่องเล็ก
เครื่องใหญ่ ออกตัว ตามไฟแดง ชิง เลน ดีกว่า เครื่องเล็ก
เครื่องใหญ่ มี แรงบิดรอบต่ำ มากกว่า เครื่องเล็ก จึง ชับง่าย ไม่ต้อง ลากรอบสูง ทำให้ ขับในเมือง ซอกแซก ดีกว่า
เครื่องเล็ก ประหยัดน้ำมัน กว่า ถ้า เจอ รถติด นาน นับชั่วโมง

ข้อดี ของ เครี่องใหญ่ กว่า ใน รถตลาด ระดับราคาเดียวกัน มีมากมาย ครับ

ดังนั้น เลือก เครื่องใหญ่ ใน รถตลาด จึง ถูกต้อง ที่สุด แล้วครับ

อย่า ไปเป็น เหยื่อ ของ overhead cost ที่บริหารไม่ดี ของ ยี่ห้อ ที่ใช้ เครื่องเล็กกว่า เลยครับ
กุ้เงิน มาสร้างรถ แพงกว่า ยี่ห้อ อื่น
จึง ต้อง ขายรถตลาด เครื่องเล็ก กว่าเขา ชดเชย
แล้ว ให้ การตลาด ใช้ความสามารถ กล่อม คนซื้อ ให้ เชื่อ ว่า กำลัง จ่ายเงิน ซื้อ รถตลาดที่ดี คุ้มค่า
ทำอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ ใน ตลาดเปิด นะครับ

ดุ Chevrolet Aveo 1.4 เป็น ตัวอย่าง ได้ครับ
และ กำลังจะมี Ford Fiesta 1.4 ตามออกมา ให้ ได้จดจำ กันอีก ว่า
จะมี คนซื้อ ที่ เชื่อ ว่า ได้ซื้อ รถตลาดที่ดีกว่า ยี่ห้ออื่น แลกกับ เครื่องเล็กกว่า อยู่ กี่ คน ครับ

ออฟไลน์ keng.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,551
  • ฅ.ฅนรักรถ
แล้วแต่สไตล์การขับขี่เป็นหลักน่ะครับ ผมว่า

ออฟไลน์ Valkilrey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 646
    • อีเมล์
ขอบคุณ traveller อีกครั้งครับ ที่ให้สัจธรรมในเรื่อง overhead cost และขนาดเครื่องยนต์ ถึงบางอ้อแล้ว

ออฟไลน์ maggie

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 724
    • อีเมล์
คุณ traveller อธิบายได้น่าสนใจดีนะครับ แต่ผมว่ามันน่าจะมีเหตุผลอื่นอีกนะครับ แต่ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องหลักการบริหารเท่าไร 5 5 5

ผมเชื่อเรื่องใหญ่ไว้ก่อนได้เปรียบครับ เพราะที่บ้านเมื่อก่อนมีแต่รถ6สูบ3000cc ขึ้นไปขับออกต่างจังหวัดสบายมากๆกำลังเหลือๆ วิ่งเกิน150นี่ ก็ยังนิ่งอยู่เลย แต่ก็ค้องแลกกับค่าน้ำมันและค่าดูแลรักษาอีกเป็นเท่าตัว

ตอนนี้ที่บ้านพอมีคันเล็กๆเข้ามาบ้าง มันให้ความรู้สึกกลับกัน คือใช้ในเมืองคล่องตัวมาก หาที่จอดง่าย ค่าน้ำมันและค่าดูแลรักษาถูกลงเป็นเท่าตัว แต่วิ่งเร็วๆออกต่างจังหวัดนี่มีเสียว มีลุ้น วิ่งเร็วๆหวิวๆ วิ่งทางรถสวนกันจะแซงต้องกะจังหวะดีๆ

รถเล็กรถใหญ่ เครื่องเล็กเครื่องใหญ่ ผมว่า เลือกซื้อให้ถูกกับลักษะณการใช้งานของตัวเองดีที่สุดครับ คงไม่มีรถรุ่นไหนยี่ห้ออะไร ทำออกมาได้ดีในทุกการใช้งานหรอก จริงไม็

Chariot

  • บุคคลทั่วไป
ไม่เห็นด้วยกับคุณ Traveller ในทฤษฎี bigger is better เลยอ่ะครับ

เพราะรถสมัยนี้ต่างก็ทำให้ซีซีน้อยลง แต่รีดแรงม้าออกให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่อง 1.4 twincharger ของโฟล์ค ที่แรงด้วยระบบอัดอากาศ
หรืออย่างเครื่อง 1.3 ทำให้มี 200 กว่าม้าได้ด้วยกลไลลูกสูบแบบหมุน
อย่างรถบางคันเครื่องแค่ 1.2 แต่จับเกียร์ทดต่อเนื่อง ก็ช่วยลดเวลาทดเกียร์ได้อีก

ดูซีซีอย่างเดียว คงจะไม่พอแล้ว ควรจะดู output ดีกว่า สมัยนี้เทคโนโลยีต่างๆมีส่วนช่วยรีดแรงม้ามากกว่าขนาดกระบอกสูบซะแล้ว

แต่สันนิษฐานว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มีต้นทุนสูง ทำกระบอกสูบโตถูกกว่า และเอาตัวเลขมาข่มง่ายกว่า
ไม่งั้นป่านนี้เราคงได้เห็น BMW 5-series เครื่องพันแปดยัด Twincharger 250 ม้าเป็นของปกติก็เป็นได้

น่าจะดู อัตราส่วนแรงม้า/น้ำหนัก มากกว่า ให้ไประมาณ 12กิโล/แรงม้า ก็พอสำหรับพวกเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 2500 รอบ

หากอยากมีแรงไว้ดึงนิดๆ สัก 8กก./ม้า ก็มันส์แล้ว ได้ลากสัก 4000 รอบ เรียกแรงบิดนิดๆ

ถ้าคนชอบกดๆ เท้าแช่คันเร่ง บางที 6กิโล/แรงม้า ยังไม่พอ ต้องลากให้แตะขีดแดง

หากตอบคำถามที่ว่า เมื่อไหร่เล็ก เมื่อไหร่ใหญ่ ??

...ก็ต้องตอบว่า เมื่อคนขับแต่ละคนคิดว่า"พอ"ครับ

ออฟไลน์ sirisak_ac118

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,579
    • อีเมล์
ไม่เห็นด้วยกับคุณ Traveller ในทฤษฎี bigger is better เลยอ่ะครับ

เพราะรถสมัยนี้ต่างก็ทำให้ซีซีน้อยลง แต่รีดแรงม้าออกให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่อง 1.4 twincharger ของโฟล์ค ที่แรงด้วยระบบอัดอากาศ
หรืออย่างเครื่อง 1.3 ทำให้มี 200 กว่าม้าได้ด้วยกลไลลูกสูบแบบหมุน
อย่างรถบางคันเครื่องแค่ 1.2 แต่จับเกียร์ทดต่อเนื่อง ก็ช่วยลดเวลาทดเกียร์ได้อีก

ดูซีซีอย่างเดียว คงจะไม่พอแล้ว ควรจะดู output ดีกว่า สมัยนี้เทคโนโลยีต่างๆมีส่วนช่วยรีดแรงม้ามากกว่าขนาดกระบอกสูบซะแล้ว

แต่สันนิษฐานว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มีต้นทุนสูง ทำกระบอกสูบโตถูกกว่า และเอาตัวเลขมาข่มง่ายกว่า
ไม่งั้นป่านนี้เราคงได้เห็น BMW 5-series เครื่องพันแปดยัด Twincharger 250 ม้าเป็นของปกติก็เป็นได้

น่าจะดู อัตราส่วนแรงม้า/น้ำหนัก มากกว่า ให้ไประมาณ 12กิโล/แรงม้า ก็พอสำหรับพวกเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 2500 รอบ

หากอยากมีแรงไว้ดึงนิดๆ สัก 8กก./ม้า ก็มันส์แล้ว ได้ลากสัก 4000 รอบ เรียกแรงบิดนิดๆ

ถ้าคนชอบกดๆ เท้าแช่คันเร่ง บางที 6กิโล/แรงม้า ยังไม่พอ ต้องลากให้แตะขีดแดง

หากตอบคำถามที่ว่า เมื่อไหร่เล็ก เมื่อไหร่ใหญ่ ??

...ก็ต้องตอบว่า เมื่อคนขับแต่ละคนคิดว่า"พอ"ครับ

เห็นด้วยครับ Smaller+Turbo is better ^^

ออฟไลน์ Pocketpack

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 12
    • อีเมล์
ไม่เห็นด้วยกับคุณ Traveller เช่นกันครับ
ส่วนตัวแล้วเชื่อว่า
1  การตั้งราคาเป็นไปตามสภาพของตลาด ตำแหน่งการวางตลาด แบรนด์ รวมไปถึงปัจจัยภายนอก
    มากไปกว่า การตั้งราคาตามต้นทุน
2  เครื่องยนต์ที่ความจุกระบอกสูบใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพดีกว่า
   ระบบส่งกำลัง น้ำหนักของตัวรถ รวมไปถึงการปรับเซท ระบบการควบคุมรถ
   ก็มีผลไม่น้อยเหมือนกัน

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051

ไม่งั้นป่านนี้เราคงได้เห็น BMW 5-series เครื่องพันแปดยัด Twincharger 250 ม้าเป็นของปกติก็เป็นได้

อ่านจากบางกอกโพสท์ บอกว่า E250 CGI ก็ใช้เครื่องพันแปด เหมือนกับ E200 แต่ใช้เทอร์โบต่างกัน
ไม่รู้ว่าเขาพิมพ์ตกหรือเปล่านะครับ

ออฟไลน์ Northbridge

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 751
ไม่เห็นด้วยกับคุณ Traveller ในทฤษฎี bigger is better เลยอ่ะครับ

เพราะรถสมัยนี้ต่างก็ทำให้ซีซีน้อยลง แต่รีดแรงม้าออกให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่อง 1.4 twincharger ของโฟล์ค ที่แรงด้วยระบบอัดอากาศ
หรืออย่างเครื่อง 1.3 ทำให้มี 200 กว่าม้าได้ด้วยกลไลลูกสูบแบบหมุน
อย่างรถบางคันเครื่องแค่ 1.2 แต่จับเกียร์ทดต่อเนื่อง ก็ช่วยลดเวลาทดเกียร์ได้อีก

ดูซีซีอย่างเดียว คงจะไม่พอแล้ว ควรจะดู output ดีกว่า สมัยนี้เทคโนโลยีต่างๆมีส่วนช่วยรีดแรงม้ามากกว่าขนาดกระบอกสูบซะแล้ว

แต่สันนิษฐานว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มีต้นทุนสูง ทำกระบอกสูบโตถูกกว่า และเอาตัวเลขมาข่มง่ายกว่า
ไม่งั้นป่านนี้เราคงได้เห็น BMW 5-series เครื่องพันแปดยัด Twincharger 250 ม้าเป็นของปกติก็เป็นได้

น่าจะดู อัตราส่วนแรงม้า/น้ำหนัก มากกว่า ให้ไประมาณ 12กิโล/แรงม้า ก็พอสำหรับพวกเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 2500 รอบ

หากอยากมีแรงไว้ดึงนิดๆ สัก 8กก./ม้า ก็มันส์แล้ว ได้ลากสัก 4000 รอบ เรียกแรงบิดนิดๆ

ถ้าคนชอบกดๆ เท้าแช่คันเร่ง บางที 6กิโล/แรงม้า ยังไม่พอ ต้องลากให้แตะขีดแดง

หากตอบคำถามที่ว่า เมื่อไหร่เล็ก เมื่อไหร่ใหญ่ ??

...ก็ต้องตอบว่า เมื่อคนขับแต่ละคนคิดว่า"พอ"ครับ


นั้นเลย ต้องมีคนพูดถึงเครื่อง 1.4 Twincharger ของ VW

เห็นด้วยนะครับผม

หลักการของคุณ traveller ผมมองว่าก็ถูกส่วนนึงนะ สำหรับการมองรถตลาด

แต่ถต้องมองอีกนะ รถตลาด ตลาดที่ไหนล่ะ ??

อย่างรถตลาดแถวยุโรป แถวนั้นก็คงเป็น VW Golf ไม่ก็พวก โฟกัส อะไรทั้งหลายนั้นแหละครับ

บ้านเรา ก็เป็นรถญี่ปุ่น ..