ผู้เขียน หัวข้อ: โรงไฟฟ้าเอกชนเกิดขึ้นเยอะมาก เกี่ยวกับหระแสรถไฟฟ้าไหม  (อ่าน 4174 ครั้ง)

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์

โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม คือ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ เป็น คลีนเพาเวอร์แพลน
แถวระยอง เริ่มมีโรงไฟฟ้าเอกชน เกิดใหม่
รวมถึง โรงไฟฟ้า พลังงาน แสงอาทิตย์ ลม และ น้ำ

คิดว่า เกี่ยวข้องกับ กระแส รถไฟฟ้า ในปัจจุบันไหม

รัฐบาลจะอุ้ม รถยนต์ น้ำมัน ไปอีกกี่ปี
ปตท จะรับมือยังไง
การไฟฟ้า ผ่ายผลิต เริ่มแสดงออกชัดเจน

ออฟไลน์ Arado_kung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,070
    • อีเมล์
- ปัจจุบันนี้กำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศยังไงก็ไม่พอใช้อยู่แล้วครับ  การอนุญาตโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวนมากไม่น่าเกี่ยวกับเรื่องรถไฟฟ้าซักเท่าไหร่ครับ

- ปตท. ไม่เดือดร้อนหรอกครับ โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซก็ต้องซื้อจากปตท.อยู่แล้ว

- กฟผ. เค้าสนับสนุนอยู่แล้วด้วยเหตุผลข้อแรก ตัวเองปั่นไฟมาให้ กฟภ.,กฟน. จะไม่พอเอาอยู่แล้วต้องการตัวช่วยเพิ่ม

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,057
ไม่น่าเกี่ยวหรอกครับ

พวกโรงไฟฟ้าแบบใหม่ๆ (ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม) พวกนี้ขายไฟได้ราคาดี การไฟฟ้าเค้าส่งเสริม รับซื้อด้วยราคาที่สูงลิ่ว (สูงกว่าราคาขายออกเสียอีก) ใครๆก็อยากทำครับ

ออฟไลน์ Fly to dream

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,640
รัฐบาลจะอุ้ม รถยนต์ น้ำมัน ไปอีกกี่ปี

จนกว่าโลกเค้าไม่มีให้ใช้


ปตท จะรับมือยังไง

รับมือ ? เค้าต้องแคร์ทำไมหรอครับ ในเมื่อหลักๆคือปิโตรเคมี คือรายได้หลักๆเค้า และน้ำมันเค้าก็ขายได้ ถ้าอนาคตไฟฟ้าใช้เยอะเค้าก็สร้างที่ชาจน์มา เค้าก็สบาย เพราะปั๊มเค้าเยอะ ถ้าเป็นห่วงควรห่วงปั๊มต่างชาติครับ


การไฟฟ้า ผ่ายผลิต เริ่มแสดงออกชัดเจน

กฟผ ผลักดันถ่านหินให้ผ่านก่อนครับ ในฐานะคนในที่รู้มา ก็เรื่อง NGO นี่แหละครับ พวกนั้นเงินหนา และให้ทุนนักวิชาเกินไปเสี้ยมคนในชุมชน ซึ่งหลายๆชุมชนเข้าใจ กฟผ นะ ยกเว้นพวกที่ไม่เกี่ยวกับชุมชน เช่นโรงแรม อะไรพวกนี้จะต่อต้านมากๆ ชาวบ้านจะมีฝ่ายชุมชน กฟผ ไปให้ความรู้ตลอด ตอนนี้เริ่มมีความเข้าใจเยอะ ยกเว้นพวกทุน
ขยะของโลกออนไลน์​ในปัจจุบั​นคือเชื่อคนโง่ที่มีคำพูดสวยหรู​ หาข้อมูล​ไม่จริงมาโกหกคำโตๆ​ อีกอย่างคือพูดความจริงไม่หมด กับพวก​ Avatar ที่ทำเป็น​เก่ง​แต่เก่งน้อยในโลกความจริง​ซึ่งจะหาได้ง่าย

ออฟไลน์ zgmx9900

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 240
ไม่เกี่ยวกับรถพลังงานไฟฟ้า

ลำพังกำลังการผลิตไฟฟ้าของหน่วยงานรัฐเพื่อใช้ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ภาครัฐจึงรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากเอกชนในประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนเรื่องนี้มากขึ้น
รวมไปถึงโครงการของการไฟฟ้านครหลวง ก็รับซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือนประชาชนที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ด้วย

ออฟไลน์ rut191

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,212
โรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดยาก เขื่อนก็โดนต่อต้าน นิวเคลียนี่เลิกคุยเลยครับ

JONNY

  • บุคคลทั่วไป
 รถยนต์ไฟฟ้าไทยแจ้งเกิด ลดภาษีนำเข้าเหลือ 0%
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
ไทยรัฐ 23 ก.ค. 2559 05:01


วันเสาร์สบายๆวันนี้ไปคุยเรื่อง “รถยนต์ไฟฟ้า” อีกวันนะครับ ความฝันของผม ที่อยากเห็น คนไทยใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดมลพิษในอากาศจากรถยนต์ใช้น้ำมัน เริ่มเป็นจริงขึ้นมาแล้ว เมื่อ คุณอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ได้เรียก สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไปหารือ แนวทางส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV) ในประเทศไทย ตามนโยบายของ นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการผลักดันให้มีรถยนต์ไฟฟ้าใช้ภายในปี 2559 นี้

เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ข่าวบอกว่า เบื้องต้น รัฐมนตรีอุตสาหกรรม กำหนดโควตา ให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 5,000 คัน ทั้ง รถยนต์นั่ง และ รถยนต์โดยสาร โดย ยกเว้นภาษีนำเข้าศุลกากรเป็น 0% แต่ให้เก็บ ภาษีสรรพสามิต 10% เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่มีข่าวล่าว่า กรมสรรพสามิต ก็มีแนวคิดที่จะ ลดภาษีสรรพสามิตลงมาเหลือ 5% เพื่อจูงใจเช่นเดียวกัน ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกลงไปอีก

รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีราคาแพงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมัน เพราะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีราคาแพง แต่ก็จ่ายเพียงครั้งเดียวใช้ได้เป็นสิบปี ใน สหรัฐฯ ยุโรป ใครที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ถือว่าช่วยชาติในการลดภาวะโลกร้อนและมลพิษในอากาศ จะได้คืนภาษีคันละหลายพันดอลลาร์ บางคันก็ได้คืนเป็นหมื่นดอลลาร์ เพื่อจูงใจให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

ปี 2015 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกอยู่ที่ 72.37 ล้านคัน แต่เป็นยอดขาย รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เพียง 540,000 คันเท่านั้น เป็น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด อีกราว 500,000 คัน ถือว่าน้อยมาก แค่ 1.38% ของจำนวนรถยนต์ที่ขายได้ทั้งหมด

แต่ ปรากฏการณ์รถยนต์ไฟฟ้าเทสลา ที่ผมเขียนถึงหลายครั้ง กำลังจะเปลี่ยนโลกไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้าเทสลา โมเดล 3 ที่มีการจองล่วงหน้าถล่มทลายเกือบ 400,000 คัน ทั้งที่ยังไม่ได้ผลิต จะเริ่มผลิตในต้นปีหน้า

เทสลาโมเดล 3 ตั้งราคาขายในสหรัฐฯคันละ 35,000 ดอลลาร์ ราว 1.225 ล้านบาท ถ้านำเข้ามาขายในเมืองไทย ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เสียแต่ภาษีสรรพสามิต 5% ราคาขายน่าจะอยู่ที่คันละไม่เกิน 2 ล้านบาท รับรองว่าขายระเบิดไม่แพ้ในสหรัฐฯแน่นอน

ปลายปีนี้ ค่ายจีเอ็ม ก็จะผลิต รถยนต์ไฟฟ้า รุ่น เชวี โบลท์ ออกมาขายแข่งกับเทสลา ตั้งราคาขายที่คันละ 35,000 ดอลลาร์ เช่นเดียวกัน

สิ่งมหัศจรรย์ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยก็คือ ทุกกระทรวงที่เกี่ยวกำลังร่วมมือกันผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง รวมทั้ง กระทรวงพลังงาน ก็จัดทำแผนสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว เดือนสิงหาคมจะประกาศ โครงสร้างค่าไฟฟ้าภาคขนส่ง ประกาศจดทะเบียนมาตรฐานสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ถ้าชาร์จไฟในช่วงกลางคืนจะคิดค่าไฟ 2.60 บาทต่อหน่วย ถ้าชาร์จในเวลากลางวันจะคิดค่าไฟ 6 บาทต่อหน่วย เพื่อจูงใจให้ชาร์จไฟในเวลากลางคืน จะได้ลดการใช้ไฟฟ้าพีกในเวลากลางวัน

ปตท. ก็โดดลงมาเล่นด้วย จับมือค่ายรถยนต์ยุโรปและญี่ปุ่นจัดตั้ง สถานีชาร์จไฟฟ้าฟรี ในปั๊มน้ำมัน ปตท. เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องจ่ายค่าไฟ ปตท.จ่ายให้เอง มีทั้ง สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบรวดเร็วใช้เวลาชาร์จ 30–40 นาที ชาร์จได้ 80% ของความจุ และ การอัดประจุไฟฟ้าแบบธรรมดาใช้เวลาชาร์จ 8 ชั่วโมง ชาร์จได้เต็ม 100% ปัจจุบันมี 4 แห่ง จะเพิ่มเป็น 6 แห่งในปีนี้ และเป็น 20 แห่งในปีหน้า

เห็นความร่วมมือแบบนี้แล้ว ผมเชื่อว่า รถยนต์ไฟฟ้าไทยเกิดเร็วแน่นอนครับ ต่อไปก็คงจะได้เห็น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ตุ๊กๆไฟฟ้า วิ่งเต็มเมือง ล่าสุดมีข่าว เทสลา จะสร้าง รถปิกอัพไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า เพิ่มเติมออกมาอีก โลกยุคไร้น้ำมัน คงมาเร็วแน่นอน.

“ลม เปลี่ยนทิศ”

promt

  • บุคคลทั่วไป
ไม่เกี่ยวครับ

นโยบายของ คสช. ทำให้เกิดขึ้นได้
รัฐบาลก่อน คสช. มีนโยบายแต่ยังไม่ประกาศใช้ เพราะสารพัดปัญหาภายใน

มิ.ย. 2558 รัฐให้ครัวเรือนผลิตไฟฟ้าได้ 10 kwh

ก่อนหน้านั้นให้เอกชนผลิตขายให้ กฟผ. ได้ หากผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์จะได้รับค่า adder เข้าไป น่าจะ 6-8 บาท ต่อยูนิตครับ

มีเอกชนหลายเจ้าทำขายมากมาย EPCO, EGCO, PPP, SUPER, ฯลฯ

ออฟไลน์ alpha14

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,109
อ่านเจอเหมือนกันในไทยรัฐ ปตทก็ถือโอกาสเพิ่มหัวชาร์ทไฟฟ้าในปั๊มเลยเข้าท่าตรงที่เจ้าของรถไม่ต้องจ่ายตังแต่ไปจ่ายค่ากาแฟขนมในเซเว่นระหว่างรอ. อิอิ

ออฟไลน์ Mr.Boogie

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 395
ไม่น่าเกี่ยวน่ะครับ เห็นบริษัทญาติผมไปประมูลของรัฐมา ได้มาเยอะเหมือนกัน ;D

ออฟไลน์ O_o"

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,387
ไฟฟ้าไม่พอจะใช้ครับ ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านมายังไม่พอเลย ไม่แหล่งพลังงานใหม่ๆด้วย

ใช้ของเก่าจนจะหมดแล้ว ต่อไปคงได้ซื้อเอาอย่างเดียว เพราะจะไปสร้างโรงไฟฟ้าที่แถวไหนก็ต่อต้านไปหมด

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,970
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
กฟน กับ กฟผ   รับซื้อในราคาที่สูงเกินจริงไปเยอะครับ ในยุโรปรับซื้อ 3 บาทกว่า  ในไทย 5 บาทกว่า ทำ 10ปีก็คืนทุนแล้ว     


เลยแห่ทำกันเยอะ
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ !note!

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 137
เท่าที่ผมพอรู้ กฟผ. ไม่ต่อสัญญาซื้อไฟกับโรงไฟฟ้าเก่าครับ เนื่องจากเทคโนโลยีเก่าใช้พลังงานมาก จะลงทุน upgrade ก็ราคาพอกับสร้างโงใหม่ ทำให้เจ้าใหม่ๆเข้ามาได้เยอะครับ

ออฟไลน์ Boycm009

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 643
เป็นผลจากการที่ กฟผ. ได้เปลี่ยนวิธีการรับซื้อไฟฟ้า จากเดิมแบบ Adder มาเป็นแบบ Fit ที่ให้ผลตอบแทนที่ควรจะเป็นมากกว่า ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา
ค่าของ FT ติดลบ ทาง กฟผ.ก็จะคิดค่า FT ซื้อติดลบไปด้วยนะครับ โรงงานเอกชนแทบไม่มีกำไรเลยในช่วงที่ผ่านมา เลยทำให้ความสนใจลงทุนในโรงไฟฟ้า
ของเอกชนมีมากขึ้นครับ ซึ่งทาง กฟผ.ก็ไม่ได้ซื้อไฟฟ้าในราคาที่เกินจากราคาขายนะครับ

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,435
ไม่เกี่ยวหรอกครับ มันจะไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาประเทศมากกว่าครับ แน่นอนว่าประเทศเมื่อพัฒนาไป ความต้องการใช้ไฟฟ้าต้องเพิ่มตามขึ้นไปด้วย

ไฟบ้าน ไฟรถยนต์ แทบไม่มีผลเลยครับ พวกที่ใช้ไฟมากจริงๆ คือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆครับ

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์

มันเป็นแบบนี้นี่เอง ขอบคุณ ทุกความเห็นครับ

ถึงว่า โรงไฟฟ้า พลังงาน ก๊าซธรรมชาติ ขึ้นเป็นดอกเห็นด ในนิคม อุคสหกรรมเลย

ออฟไลน์ NoName__???

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,147
ถ้ารถไฟฟ้านิยมในไทย ต่อไปลาวจะรวย ตอนนี้ลาวสร้างเขื่อนไว้ขายไฟให้เราเยอะแยะเลย ธนาคารไทยนี่แหล่ะที่ปล่อยสินเชื่อให้ลาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2016, 09:29:30 โดย NoName__??? »

ออฟไลน์ jobbabys

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 156
ไม่เกี่ยวกับรถไฟฟ้าครับ

แต่ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากเกินการผลิตของ กฟผ กฟภ ครับ

เมื่อจะสร้างโรงงานเอง ก้มีพวก ngo ประท้วงครับ

แต่โรงไฟฟ้าเอกชน กลับไม่มีครับ เลยเกิดขึ้นเยอะ

และต่อไป ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นครับ เพราะ กฟผ กฟภ ไ่สามารถตั้งโรงไฟฟ้าเองได้ ทั้งๆที่งบมีครับ

จากเพื่อนผม ที่ทำงานด้านออกแบบ และ คอยไปอธิบายถึงความจริงให้กับชาวบ้านครับ เพื่อนทำงาน กฟผ ครับ

ออฟไลน์ flybigbear

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,564
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีสูงขึ้นทุกปี แต่การผลิตยังเท่าเดิม ทำให้มีความเสี่ยงในพลังงานไฟฟ้า


เลยมีการอนุญาตให้เอกชนทำโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดต่างๆๆมาขายให้กับ กฟผ. ครับ

ออฟไลน์ Impulse

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 938
ไม่เกี่ยวครับเป็นนโยบายด้านพลังงานของประเทศล้วนๆ

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,772
คืนทุนยาก โดยเฉพาะ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ คลื่น  :(

ออฟไลน์ hong_G

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 683
  • I aM HoNG
    • อีเมล์
ตราบใด ที่ ประเทศไทย ไม่มีโรงไฟฟ้าที่ใหญ่เพียงพอกับ ความต้องการจริง ของการใช้งานในประเทศ

การไฟฟ้าก็ต้องพึ่งพา การซื้อไฟฟ้าจากทั้งประเทศเพื่อนบ้าน และเอกชน ตามที่เห็นครับ

จะทำ โรงไฟฟ้า นิวเคลียส์ หรือ ถ่านหิน ที่ได้ผลิตไฟฟ้าได้มาก คุ้มค่ากับการลงทุน ก็ขัดขวางกัน
จะทำ โรงไฟฟ้า พลังงานลม หรือแสงอาทิตย์ ลงทุนเยอะ แต่ไฟฟ้าที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนต่อหน่วย (มีความไม่แน่นอนในเรื่องสภาพอากาศ มาเป็นตัวแปรสูง)

ออฟไลน์ madboy

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
    • อีเมล์
พวกชีวะมวลทั้งหลาย บางทีมันเหลือแทนที่จะทิ้งก็เอามาเผาปั่นไฟได้ตังครับ  ;D

ออฟไลน์ V221

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,818
ขออธิบายให้ฟังแบบย่อๆละกันเพราะหลายๆท่านคงจะไม่ทราบถึงที่มาที่ไปครับ
โรงไฟฟ้าในไทยแบ่งเป็น3ขนาดครับ คือขนาดเล็กมากที่เรียกว่าVSPPมีขนาดกำลังผลิตไม่เกิน10เมกะวัตต์ จะต้องขายไฟให้กับPEAหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โรงไฟฟ้าประเภทนี้ไม่มีข้อจำกัดในการขายไฟ มีเมื่อไหร่ก็ขายเมื่อนั้น ไม่มีค่าปรับหรือไม่เช่นนั้นก็นำมาใช้เองก็ได้
ถัดมาคือขนาดเล็กSPPมีกำลังระหว่าง10-90เมกะวัตต์ ต้องขายให้กับEGATหรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแบบระบุเวลาและค่าปรับ
ต่อมาเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แบบอิสระหรือIPPที่จะต้องมีการประมูลถึงจะสามารถสร้างได้
ส่วนใหญ่พวกVSPPมักจะมีความหลากหลายมากที่สุดในด้านเชื้อเพลิงไม่ว่าจะใช้ขยะ ของเหลือใช้อุตสาหกรรม พลังลม ไฟฟ้า ซึ่งทางรัฐบาลอยากจะให้เป็นเช่นนั้นเพราะปัจจุบันโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆก่อสร้างยากเพราะมีการต่อต้านจากชุมชนทำให้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆของEGATจะใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติแทบทั้งหมดเพราะเป็นโรงไฟฟ้าเก่าๆจากกฎหมายเดิม
ในทำนองกลับกันโรงไฟฟ้าแบบVSPPกลับเป็นภาระให้กับEGATเพราะถ้าเมื่อไหร่ไม่ได้เดินเครื่องแต่มีความต้องการในการใช้ไฟฟ้าทางEGATจะต้องนำไฟฟ้าเข้ามาเสริมแทนให้ ซึ่งทำให้EGATไม่พอใจในเรื่องนี้ ถ้าเป็นต่างประเทศเช่นDenmarkทางรัฐบาลจะมีRegulatorที่คอยMonitorและจ่ายค่าชดเชยให้กับIPPที่เข้ามาเสริมแทนเพื่อแก้ปัญหาConflictนี้ครับ
BMW 750E M SPORT

ออฟไลน์ M-Titan Man@NacT

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 335
นโยบายโรงไฟฟ้าเอกชน มีมาเกือบยี่สิบปีแล้วครับ

ออฟไลน์ ceberos

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 780
    • อีเมล์
รถไฟฟ้ามาไทยไม่น่ากลัวหรอกครับ  กว่าจะได้ใช้แบบสะดวกเมื่อไหร่มากกว่าครับ

และกลุ่มเติมน้ำมันผมว่าก็ยังมีไม่น้อยครับถ้าเทียบกับความสะดวก และมันเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มจริงๆ

ออฟไลน์ huiimanoid

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 303
    • อีเมล์
ดูแล้วไม่น่าเกี่ยวนะครับ แต่โรงไฟฟ้าที่จะเกิดใหม่ มักจะมีปัญหาต่อต้าน ไม่ว่าจะถ่านหิน เขื่อน นิวเคลียร์ สารพัดที่จะทำให้ระบบนิเวศน์ชุมชนมีปัญหาก็ต้องโดนต่อต้านแน่นอน
แต่ถ้าไปตั้งกังหันลมในทะเล เหมือนในหลายประเทศ  หรือโซล่าฟาร์ม อันนี้ก็น่าสนับสนุนอยู่
ว่าแต่ว่า เจ้า EV ทั้งหลาย ใช้เวลา charge นานมั้ยครับ ถ้าซัก 15 นาที (ไม่ต้องถึงกับเต็ม) สถานที่รองรับก็ต้องมีจำนวนให้มากพอ ขนาดแค่ CNG จะเติมที่รอคิวกันนานมากกกกกกก
หรือตามแหล่งชอปปิ้งในที่จอดรถ ก็น่าจะมี charger แบบหยอดเหรียญ ก็ดีนะครับ เวลาเดินทางไป ตจว. และยิ่งเดินทางไกล ๆ มียิ่งความเสี่ยงมากที่ไฟจะหมดกลางทางหรือเปล่า
แต่ถ้ายังเป็นลูกผสมแบบ Hybrid ยัง OK ผมว่ายังโอเคนะ เว้นว่ามีใช้พลังงานอื่นแทนน้ำมัน อย่าง Hydrogen เป็นต้น แต่ระบบสันดาบก็มีมานานมากแล้ว การพัฒนาระบบอื่นที่จะมาทดแทน
หรือเป็นทางเลือกไปถึงไหนกันบ้างแล้วครับ

 :D