ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle  (อ่าน 4033 ครั้ง)

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,418
    • อีเมล์
ผมขอเปิด หัวข้อใหม่เลยแล้วกันครับ
พอดี ที่ คุณ Turin มาถาม ว่า อะไร คุมรอบ
ผมเลยไป ทำ datalog ของรถผม
เป็น Lancer EX 1.8
ความถี่ในการเก็บข้อมูล 0.1 sec
เกียร์ CVT
ระยะทาง 20 กว่ากิโล
ผมว่า ให้กราฟ มันบอกความ สัมพันธ์ ระหว่าง ข้อมูลพวกนี้ดีกว่า

DATA ที่เก็บมา และเอามาทำเป็นกราฟ
1.RPM
2.Engine Load (ไม่รู้หน่วย คาดว่า % )
3.Throttle position (%)
4.Speed ( km/h)

ลองวิเคราห์จากกราฟแล้ว มาคุยกันครับ
......

เข้ามาอ่านความเห็น
ก็เห็นว่าเข้าใจถูกแล้ว เครื่องยนต์ เป็นการทำงาน เหมือน จักรยานแบบ FIX GEAR BMX 
ตอนออกตัว ใช้พลังงาน ระดับนึงเพื่อ สร้างแรงเหวี่ยง หนีศูนย์

แต่ จากข้อมูล ที่ผม บันทึกมา
มีแปรแปรนึ่ง ที่ทำให้รูปแบบกราฟ RPM เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ
เกียร์ CVT โดยรอบเครื่องและความเร็ว จะเป็นตัวกำหนด ให้เกียรเปลี่ยนแปลง อัตราทด ดูได้จาก กราฟแรก
จะเห้นว่า มีบางช่วง รอบพุ่งขึ้นไปแล้วลดลง แต่ความเร็วกลับเพิ่มขึ้น  โหลดคงที่ ลิ้นปีกค่อยๆ ผ่อนลง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2016, 15:07:26 โดย mamaman »

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,768
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 12:47:48 »
แอบดูแล้ว มึน เดินออกไปจากกระทู้อย่างเงียบๆ  ::) ::) ::) ::) ::)

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,059
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 13:07:00 »
ผมว่าผมอาจจะใช้คำถามไม่ถูก .. อะไร ”คุม” รอบ ยังไงต้องเป็นคันเร่งแน่นอนครับ... แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ (และอาจสื่อสารได้ไม่ดีนัก) คือ อะไรทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ของรอบ ครับ ซึ่งมันเป็นไปได้ 2 อย่าง คือ
a). เครื่องมันหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้วถ้าไม่ถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อ (แปลว่าการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อให้อากาศเข้ามันเป็นการ “ยอม” ให้เครื่องหมุนเร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ “ทำให้” เครื่องหมุนเร็วขึ้น)
หรือ
b). มีกลไกอะไรอย่างอื่น”ทำให้"เครื่องหมุนเร็วขึ้น
 
ตามความเข้าใจที่มีบางท่านอธิบายมา ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นแบบ (a) มากกว่า
 
ปล. ผมควรไปหา ROMRaider มาเล่นซะที ดูน่าสนุกดี  ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2016, 13:16:19 โดย Turin »

ออฟไลน์ akewizard

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,620
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 13:31:34 »
ขออนุญาตมาแจมนะครับ

ถ้าตามความเห็นผม ผมจะไล่ดูกราฟที่ 3 ก่อน Throttle Position : Engine Load
กราฟ 2 สองวิ่งคู่กันไปและมีรูปร่างเหมือนกัน แปลความง่ายๆว่าตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อมีผลโดยตรงต่อ Engine Load อย่างฉับพลัน เปิดน้อยมาน้อยเปิดมากมามากแบบทันทีทันใด

จากนั้นมากราฟที่ 2 RPM : Engine Load
การฟ 2 เส้นมีรูปร่างลักษณะสัมพันธ์กัน ผมก็แปลความง่ายๆอีกว่า Engine Load มีผลกับ RPM โดยตรง
แต่มีจุดสังเกตุเพิ่มอีกนิด คือกราฟของ RPM จะมีลักษณะเป็นยอดภูเขาสูงอยู่ 2-3 ช่วง ซึ่งตรงกับที่ช่วง Engine Load เป็นเส้นนอนหรือเอาง่ายๆคือ RPM จะดีดสูงขึ้นทุกครั้งที่มี Engine Load มากระทำในลักษณะที่ต่อเนื่องและคงที่เป็นระยะเวลาหนึ่ง

เอากราฟที่ 2 กับ 3 รวมกันจะได้กราฟความสัมพันธ์ของกราฟที่ 4 Throttle position : RPM
รอบเครื่องยนต์จะสัมพันธ์กับระดับของลิ้นปีกผีเสื้อ แต่จะว่าโดยตรงเลยก็ไม่แน่ใจนักเพราะมันจะไปอิงผ่านค่า Engine Load อีกทีนึง
แต่ก็สรุปจากกราฟนี้ได้ระดับหนึ่งว่า ลิ้นปีกผีเสื้อมีผลโดยตรงต่อรอบเครื่อง

กราฟ 1 ผมมองว่าเป็นของแถมก็แล้วกันครับ

ออฟไลน์ domutsu

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 108
    • อีเมล์
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 13:43:18 »
ผมว่าRPM มาจากภาระของเครื่องยนต์มากกว่า ส่วนคันเร่งไว้เติมพลังงานให้เครื่องยนต์ สมมติเหยียบคันเร่งค้างที่20%ในเกียรว่างรอบรถได้3000รอบ พอใส่เกียร์1ออกตัวรอบก้อตกลงไป2000รอบเพราะอตัราทดเกียร์ที่สูงเพื่อเอาไปสร้างแรงบิดให้รถขยับ ต่อมาเกียร์2,3,..รอบก้อค่อยสูงขึ้นมาใกล้เคียงเดิมเพราะภาระเครื่องยนต์ลดลง โอ้มมึน :(

ออฟไลน์ sukhontha

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,491
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 13:48:45 »
   ผมกลับมองว่าตัวควบคุมจริง ๆ เป็น แอร์แมส  ค่าอากาศ+ความร้อน ผ่านออกมา  จะบังคับให้กล่องสั่งให้จ่ายปริมาณน้ำมันให้เหมาะสมกัน  ส่วนรอบจะเร็วขึ้นแค่ไหน  อยู่ที่การระเบิดในห้องเผาไหม้ เป็นตัวส่ง   จากนั้น  โอสอง  เป็นตัวตรวจสอบว่าสั่งไปนั้นถูกหรือผิด  จะแก้ไขอย่างไร

  แต่ถ้ากรณีที่ไม่มีแอร์แมส    เช่นคาบู  ก็ใช้แบบเดียวกัน  แต่อาศัยจากการดึงของลูกสูบ  และการไหลของ ๆ ไหลเป็นหลัก  เมื่อมีแรงระเบิดที่สูงขึ้น ทำให้เกิดแรงดูดที่รุนแรงขึ้น  ไอดีก็ดูดได้ปริมาณมากขึ้น  ระเบิดแรงขึ้นไปอีก  เป็นวงจรไป.....

  แสดงความเห็นแบบ  .....ช่างข้าเถอะ.....ไม่ได้รู้จริงหรอกครับ...

ออฟไลน์ tarahlm

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 915
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 14:09:22 »
ผมว่าผมอาจจะใช้คำถามไม่ถูก .. อะไร ”คุม” รอบ ยังไงต้องเป็นคันเร่งแน่นอนครับ... แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ (และอาจสื่อสารได้ไม่ดีนัก) คือ อะไรทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ของรอบ ครับ ซึ่งมันเป็นไปได้ 2 อย่าง คือ
a). เครื่องมันหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้วถ้าไม่ถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อ (แปลว่าการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อให้อากาศเข้ามันเป็นการ “ยอม” ให้เครื่องหมุนเร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ “ทำให้” เครื่องหมุนเร็วขึ้น)
หรือ
b). มีกลไกอะไรอย่างอื่น”ทำให้"เครื่องหมุนเร็วขึ้น
 
ตามความเข้าใจที่มีบางท่านอธิบายมา ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นแบบ (a) มากกว่า
 
ปล. ผมควรไปหา ROMRaider มาเล่นซะที ดูน่าสนุกดี  ;)

ขอลองอธิบายอีกทีเผื่อพอให้เข้าใจ ..เอาเป็นว่าไม่มีอะไรไปสั่งให้เครื่องหมุนเร็วขึ้น

แต่การการที่เครื่องหมุนเร็วขึ้น เกิดจากกลไกการทำงานของระบบเครื่องยนต์เอง (ผลจากการเหยียบคันเร่งมากขึ้น)
ลองดูรูปการทำงานของลูกสูบเครื่องยนต์จากข้างล่างก่อน
http://animagraffs.com/how-a-car-engine-works/

จะเห็นลูกสูบจุดระะเบิด ดันก้านสูบไปหมุนcrankshaht อย่างเนิบๆช้าๆตามรูป
ครบรอบ หนึ่งstroke cycle (1ดูด 2 อัด 3 จุดระเบิด 4 คาย) , crankshaftหมุนหนึ่งรอบ

มาเริ่มตรงถ้าลิ้นปีกผีเสื้อ(throttle)เปิดมากขึ้น อากาศเข้าไปในท่อร่วมไอดีมากขึ้น
กลไก(เมื่ออากาศผ่านเข้ามากขึ้น)ก็จะปล่อยน้ำมันเชื้อเพลิงมาผสมกับอากาศที่เข้าไปก็มากตามไปด้วย
ปริมาณน้ำมันที่ถูกดูดเข้าไปในตอนขั้น 1.ดูด จะมากขึ้น     เมื่อไปถึงขั้น 3.จุดระเบิด ที่ให้พลังมากขึ้น
จะไปดันลูกสูบ+ก้านกระบอกให้เคลื่อนตัวลงเร็วขึ้น จึงไปหมุนcrankshftเร็วขึ้น

(จริงๆทุกขั้นตอนของstroke cycleจะเร็วขึ้นหมด) ทำให้การทำงานของstroke cycleเร็วขึ้น
ไม่ได้เนิบๆช้าแบบภาพข้างต้นแล้ว crankshaftจะหมุนเร็วขึ้น
หรือจะกล่าวว่า ครบหนึ่งรอบเร็วขี้นไวขึ้น
ถ้านับหนึ่งนาทีก็(RPM)จะได้จำนวนรอบมากขึ้น

ไม่แน่ใจว่าพอจะเข้าใจไหม สรุปว่าปริมาณเชื้อเพลิงและอากาศที่ถูกทำให้เข้าไปมากขึ้น ทำให้รอบเครื่องเพิ่มขึ้น(เอง)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2016, 14:27:34 โดย tarahlm »

ออฟไลน์ tarahlm

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 915
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 14:22:35 »
ส่วนจากกระทู้เก่าผมอ่านของคุณTurin อีกตอนหนึ่งที่สื่อเหมือนว่า(ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง) ถ้าการทำงานลื่่นขึ้น จะเพิ่มรอบเครื่อง ?

ผมก็เห็นด้วยครับ ถ้าลื่นขึ้นพลังไม่เสียไปกับแรงเสียดทาน ไม่เสียเป็นความร้อนจากการขัดสี ทำให้เพิ่มรอบขึ้น(ยิ่งกว่าเดิม)

ออฟไลน์ Pegasus7700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,814
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 14:29:24 »
ผมว่าผมอาจจะใช้คำถามไม่ถูก .. อะไร ”คุม” รอบ ยังไงต้องเป็นคันเร่งแน่นอนครับ... แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ (และอาจสื่อสารได้ไม่ดีนัก) คือ อะไรทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ของรอบ ครับ ซึ่งมันเป็นไปได้ 2 อย่าง คือ
a). เครื่องมันหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้วถ้าไม่ถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อ (แปลว่าการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อให้อากาศเข้ามันเป็นการ “ยอม” ให้เครื่องหมุนเร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ “ทำให้” เครื่องหมุนเร็วขึ้น)
หรือ
b). มีกลไกอะไรอย่างอื่น”ทำให้"เครื่องหมุนเร็วขึ้น
 
ตามความเข้าใจที่มีบางท่านอธิบายมา ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นแบบ (a) มากกว่า
 
ปล. ผมควรไปหา ROMRaider มาเล่นซะที ดูน่าสนุกดี  ;)

ขอลองอธิบายอีกทีเผื่อพอให้เข้าใจ ..เอาเป็นว่าไม่มีอะไรไปสั่งให้เครื่องหมุนเร็วขึ้น

แต่การการที่เครื่องหมุนเร็วขึ้น เกิดจากกลไกการทำงานของระบบเครื่องยนต์เอง (ผลจากการเหยียบคันเร่งมากขึ้น)
ลองดูรูปการทำงานของลูกสูบเครื่องยนต์จากข้างล่างก่อน
http://animagraffs.com/how-a-car-engine-works/

จะเห็นลูกสูบจุดระะเบิด ดันก้านสูบไปหมุนcrankshaht อย่างเนิบๆช้าๆตามรูป
ครบรอบ หนึ่งstroke cycle (1ดูด 2 อัด 3 จุดระเบิด 4 คาย) , crankshaftหมุนหนึ่งรอบ

มาเริ่มตรงถ้าลิ้นปีกผีเสื้อ(throttle)เปิดมากขึ้น อากาศเข้าไปในท่อร่วมไอดีมากขึ้น
กลไก(เมื่ออากาศผ่านเข้ามากขึ้น)ก็จะปล่อยน้ำมันเชื้อเพลิงมาผสมกับอากาศที่เข้าไปก็มากตามไปด้วย
ปริมาณน้ำมันที่ถูกดูดเข้าไปในตอนขั้น 1.ดูด จะมากขึ้น     เมื่อไปถึงขั้น 3.จุดระเบิด ที่ให้พลังมากขึ้น
จะไปดันลูกสูบ+ก้านกระบอกให้เคลื่อนตัวลงเร็วขึ้น จึงไปหมุนcrankshftเร็วขึ้น

(จริงๆทุกขั้นตอนของstroke cycleจะเร็วขึ้นหมด) ทำให้การทำงานของstroke cycleเร็วขึ้น
ไม่ได้เนิบๆช้าแบบภาพข้างต้นแล้ว crankshaftจะหมุนเร็วขึ้น
หรือจะกล่าวว่า ครบหนึ่งรอบเร็วขี้นไวขึ้น
ถ้านับหนึ่งนาทีก็(RPM)จะได้จำนวนรอบมากขึ้น

ไม่แน่ใจว่าพอจะเข้าใจไหม สรุปว่าปริมาณเชื้อเพลิงและอากาศที่ถูกทำให้เข้าไปมากขึ้น ทำให้รอบเครื่องเพิ่มขึ้น(เอง)
+1 คุณเข้าใจถุกแล้ว
วานนี้ก้อถุก
...ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป...

MERCEDES BENZ W212 '12
FORD FOCUS 2.0 Gdi '13
HONDA Civic RS '20
VOLVO XC60 Hybrid Inscription '19
FORD EVEREST 2.0 Bi Turbo '22

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,059
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 14:35:31 »
ผมว่าผมอาจจะใช้คำถามไม่ถูก .. อะไร ”คุม” รอบ ยังไงต้องเป็นคันเร่งแน่นอนครับ... แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ (และอาจสื่อสารได้ไม่ดีนัก) คือ อะไรทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ของรอบ ครับ ซึ่งมันเป็นไปได้ 2 อย่าง คือ
a). เครื่องมันหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้วถ้าไม่ถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อ (แปลว่าการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อให้อากาศเข้ามันเป็นการ “ยอม” ให้เครื่องหมุนเร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ “ทำให้” เครื่องหมุนเร็วขึ้น)
หรือ
b). มีกลไกอะไรอย่างอื่น”ทำให้"เครื่องหมุนเร็วขึ้น
 
ตามความเข้าใจที่มีบางท่านอธิบายมา ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นแบบ (a) มากกว่า
 
ปล. ผมควรไปหา ROMRaider มาเล่นซะที ดูน่าสนุกดี  ;)

ขอลองอธิบายอีกทีเผื่อพอให้เข้าใจ ..เอาเป็นว่าไม่มีอะไรไปสั่งให้เครื่องหมุนเร็วขึ้น

แต่การการที่เครื่องหมุนเร็วขึ้น เกิดจากกลไกการทำงานของระบบเครื่องยนต์เอง (ผลจากการเหยียบคันเร่งมากขึ้น)
ลองดูรูปการทำงานของลูกสูบเครื่องยนต์จากข้างล่างก่อน
http://animagraffs.com/how-a-car-engine-works/

จะเห็นลูกสูบจุดระะเบิด ดันก้านสูบไปหมุนcrankshaht อย่างเนิบๆช้าๆตามรูป
ครบรอบ หนึ่งstroke cycle (1ดูด 2 อัด 3 จุดระเบิด 4 คาย) , crankshaftหมุนหนึ่งรอบ

มาเริ่มตรงถ้าลิ้นปีกผีเสื้อ(throttle)เปิดมากขึ้น อากาศเข้าไปในท่อร่วมไอดีมากขึ้น
กลไก(เมื่ออากาศผ่านเข้ามากขึ้น)ก็จะปล่อยน้ำมันเชื้อเพลิงมาผสมกับอากาศที่เข้าไปก็มากตามไปด้วย
ปริมาณน้ำมันที่ถูกดูดเข้าไปในตอนขั้น 1.ดูด จะมากขึ้น     เมื่อไปถึงขั้น 3.จุดระเบิด ที่ให้พลังมากขึ้น
จะไปดันลูกสูบ+ก้านกระบอกให้เคลื่อนตัวลงเร็วขึ้น จึงไปหมุนcrankshftเร็วขึ้น

(จริงๆทุกขั้นตอนของstroke cycleจะเร็วขึ้นหมด) ทำให้การทำงานของstroke cycleเร็วขึ้น
ไม่ได้เนิบๆช้าแบบภาพข้างต้นแล้ว crankshaftจะหมุนเร็วขึ้น
หรือจะกล่าวว่า ครบหนึ่งรอบเร็วขี้นไวขึ้น
ถ้านับหนึ่งนาทีก็(RPM)จะได้จำนวนรอบมากขึ้น

ไม่แน่ใจว่าพอจะเข้าใจไหม สรุปว่าปริมาณเชื้อเพลิงและอากาศที่ถูกทำให้เข้าไปมากขึ้น ทำให้รอบเครื่องเพิ่มขึ้น(เอง)
ชัดเจนครับ ขอบคุณมาก ... ตอนที่ผมตั้งคำถามทีแรกผมยังไม่เห็นภาพแบบนี้ แต่พอมีพี่ๆเพื่อนๆมาอธิบายก็เข้าใจแล้วครับ  ;)

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,983
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 15:53:16 »
ผมว่าผมอาจจะใช้คำถามไม่ถูก .. อะไร ”คุม” รอบ ยังไงต้องเป็นคันเร่งแน่นอนครับ... แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ (และอาจสื่อสารได้ไม่ดีนัก) คือ อะไรทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ของรอบ ครับ ซึ่งมันเป็นไปได้ 2 อย่าง คือ
a). เครื่องมันหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้วถ้าไม่ถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อ (แปลว่าการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพื่อให้อากาศเข้ามันเป็นการ “ยอม” ให้เครื่องหมุนเร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ “ทำให้” เครื่องหมุนเร็วขึ้น)
หรือ
b). มีกลไกอะไรอย่างอื่น”ทำให้"เครื่องหมุนเร็วขึ้น
 
ตามความเข้าใจที่มีบางท่านอธิบายมา ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นแบบ (a) มากกว่า
 
ปล. ผมควรไปหา ROMRaider มาเล่นซะที ดูน่าสนุกดี  ;)

ตราบใดที่ อากาศกับน้ำมันคงตัว  รอบจะคงที่ครับ  เครื่องไม่มีทางหมุนได้เร็วขึ้นเองแน่นอน   เสมือนเราถอนคันเร่ง ECU สั่งงดฉีดน้ำมัน  ลิ้นก็หรี่ลงผลคือรอบก็ตก   แค่มีเกียร์กับระบบส่งกำลังมาช่วยให้ตกเร็วขึ้น

แต่ถ้าสมมุติเราสั่งให้น้ำมันจ่ายเป็นรอบเดินเบาที่ 3000 รอบเลยก็ได้ครับ ก็เปิดลิ้นกับเพิ่มน้ำมัน  สตาร์ทปุ๊บ  3000 รอบเลย

กลไกอื่นๆุถ้าลิ้นไม่เปิดเพิ่ม คืออากาศครับหากอากาศเย็นขึ้น ก็ทำกำลังได้ดีขึ้น
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,059
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 16:46:30 »

ผมว่าเราเข้าใจเหมือนกัน แต่มองคนละมุมครับ
 
คือผมเข้าใจแบบนี้ .... ความสามารถในการดูดอากาศที่เกิดหลังจากจังหวะจุดระเบิด มากกว่าปริมาณอากาศที่เครื่องดูดเข้าไปจริงพอสมควร (ยกเว้นจังหวะ WOT ที่น่าจะใกล้เคียง) เพราะลิ้นปีกผีเสื้อคอยหรี่เอาไว้ (จึงเกิดเป็นสูญญากาศหลังลิ้นปีกผีเสื้อ) ... ถ้าไม่เปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพิ่ม ระบบก็จะสมดุลย์อยู่ตรงนั้น โดยที่รอบคงที่ เป็น Dynamic equilibrium.... แต่พอเมื่อเปิดลิ้นปีกผีเสื้อมากขึ้น อากาศจึงไหลเข้าไปได้มากขึ้น (ตามที่มันพยายามจะเข้าไปอยู่แล้ว) เมื่ออากาศเข้ามากขึ้น ecu สั่งจ่ายน้ำมันเพิ่ม จึงระเบิดแรงขึ้น สร้างแรงดูดมากขึ้น .... วนไป พร้อมๆกับรอบที่สูงขึ้น
 
ทีนี้จะมองว่าเป็นเพราะลิ้นปีกผีเสื้อ หรือ เพราะการถีบของลูกสูบ ก็แล้วแต่จะมองแหละครับ เพราะมันวนกันเป็น loop

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,418
    • อีเมล์
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 17:09:55 »


เอางี้ครับ เดี๋ยว ว่าง ๆ ผมลอง Log ในสภาวะ  ไม่มีโหลดที่ล้อดูครับ
รถวิ่ง ตัวแปรเยอะ ทั้ง เกียร์ วาวล์แปรผัน  ที่ไม่คงที่ กราฟ อาจจะไม่เนียน

ลอง คิดว่า เราปั่นจักยานครับ

เราใช้แรงถีบมากตอนออกตัว และเพื่อเร่ง รอบ ไปที่ จุดๆ นึ่ง ซึ่งมีแรงเหวี่ยงหนี ศูนย์ รถลอยตัว
หากเรายังใส่แรงเข้าเพิ่มก็จะเป็น การเร่งไปเรื่อยๆ ปัญหาของคนคือจเหวี่ยงขาและมีแรงรึเปล่า ถ้า จัวหวะ ถีบคันเร่งใส่แรงคงที่ ไปถึงจุดๆนึง รถก็จะไม่เร็วขึ้นนะครับ
แต่รถใช้การระเบิดเพื่อผลักแทน ซึ่งถ้าไม่ลดแรงผลัก รถมันก็จะไปเรื่อยๆ จนถึงลิมิตของมัน ที่ WOT เร่งยังไงก็ไม่ไปเพราะเปิดอากาศสุดแล้ว ที่ รอบสูง อากาศจะเข้ามากกว่า รอบต่ำ เพราะมี vaccum ที่ดี ระเบิดได้ไหลลื่น สมูท แต่เร็วและแรง แต่ ไม่สามารถเอาชนะ แรงเหวี่ยง หนีศูนย์ได้แล้ว

จะเห้นว่า รอบจะค่อยไต่ๆ ช้าลง  ที่รอบสูง เพราะ มันได้เปิด WOT มาสักพักแล้ว และถึง Limit ของเครื่อง

แรงระเบิด ที่ รอบ 1000 RPM  กับ 6000 RPM กรณี เปิด ลิ้นปีกสูงสุดตั้งแต่แรก คงต่างกันที่ ประสิทิภาพการดูดอากาศ ซึ่ง คงไม่ได้ต่างอะไรมากมาย
หรือในทาง อุดมคติ แรงระเบิด มันควรจะเท่ากัน ตั้งแต่เริ่ม

ก็เหมือน ความแรงรถ ดูเผินๆ วัดที่ CC ซึ่งก็คือ ปริมาตาร ประจุอากาศ เพื่อ สร้าง แรงอัดระเบิดนั่นเอง

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,059
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 18:26:50 »
อืมมมมม ... เห็นด้วยกับหลักการทำงานของเครื่องยนต์ทุกอย่างเลยครับ ... แต่ชวนคิดอย่างงี้แล้วกันครับ

เครื่อง K20A เปล่าๆ 2 ตัว เหมือนกันทุกอย่าง ตั้งแต่ hardware ยัน software ... ต่างกันแค่จุดเดียว คือ ตัวนึง crank forged เบากว่า 20% ....
- เครื่อง 2 ตัว ทำแรงม้า/แรงบิดได้เท่ากันไหม
- จากจุดที่เป็นรอบเบาถ้ากด WOT พร้อมๆกัน เครื่อง 2 ตัวนี้ ตัวไหนไต่รอบได้เร็วกว่ากัน

ผมไม่รู้คำตอบเหมือนกัน แต่ "เดา" จากความเข้าใจ(งูๆปลาๆ)ของผมว่า ทั้ง 2 ตัวให้แรงม้า/แรงบิดเท่ากัน แต่ตัวที่ crank เบากว่า จะไต่รอบได้เร็วกว่า ... ซึ่งก็จะเหมือนการใช้ flywheel น้ำหนักเบา .. ไม่ได้แรงขึ้น แต่รอบจะกวาดเร็วกว่า

จริงๆแล้วคำถาม Between-the-line ของคำถามที่ผมถามเมื่อวาน จริงๆก็คือ ถ้าเราต้องการให้รถ"ไต่รอบ"ได้เร็วขึ้น จะต้องทำอย่างไร โดยไม่ได้เพิ่มแรงม้า/แรงบิด

ออฟไลน์ tarahlm

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 915
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 19:46:23 »

ผมว่าเราเข้าใจเหมือนกัน แต่มองคนละมุมครับ
 
คือผมเข้าใจแบบนี้ .... ความสามารถในการดูดอากาศที่เกิดหลังจากจังหวะจุดระเบิด มากกว่าปริมาณอากาศที่เครื่องดูดเข้าไปจริงพอสมควร (ยกเว้นจังหวะ WOT ที่น่าจะใกล้เคียง) เพราะลิ้นปีกผีเสื้อคอยหรี่เอาไว้ (จึงเกิดเป็นสูญญากาศหลังลิ้นปีกผีเสื้อ) ... ถ้าไม่เปิดลิ้นปีกผีเสื้อเพิ่ม ระบบก็จะสมดุลย์อยู่ตรงนั้น โดยที่รอบคงที่ เป็น Dynamic equilibrium.... แต่พอเมื่อเปิดลิ้นปีกผีเสื้อมากขึ้น อากาศจึงไหลเข้าไปได้มากขึ้น (ตามที่มันพยายามจะเข้าไปอยู่แล้ว) เมื่ออากาศเข้ามากขึ้น ecu สั่งจ่ายน้ำมันเพิ่ม จึงระเบิดแรงขึ้น สร้างแรงดูดมากขึ้น .... วนไป พร้อมๆกับรอบที่สูงขึ้น
 
ทีนี้จะมองว่าเป็นเพราะลิ้นปีกผีเสื้อ หรือ เพราะการถีบของลูกสูบ ก็แล้วแต่จะมองแหละครับ เพราะมันวนกันเป็น loop

ออกตัวก่อนนะครับ ผมไม่ได้เป็นช่างหรือวิศวกร แต่เป็นนักอ่านมากกว่า เคยลุยกับรถยนต์คันเก่าเลยสนใจอ่านเรื่องเครื่องยนต์มากหน่อย
แต่ความเห็นอ่าจจะผิดพลาดไปได้เพราะไม่ใช่ตัวจริงด้านนี้นะครับ ต้องขออภัยและโต้แย้งได้ น้อมรับครับ

ตัวที่คุมปริมาณอากาศที่เข้าไปจุดระเบิดจริงก็คงเป็นขนาดความกว้างของช่องลิ้นปีกผีเสื้อที่เปิด(ไม่ขอกล่าวถึงปริมาณน้ำมันที่เป็นตัวตาม)

ส่วนแรงดูดอากาศเข้ากระบอกสูบ ถ้ามองผิวเผินการจุดระเบิดที่แรงน่าจะมีแรงดูดที่แรงขึ้นเช่นกัน ตามลูกสูบเคลื่อนลงเร็วขึ้น
แต่ในความเป็นจริง จะไปโดนหักล้างที่เวลาในการดูดก็สั้นลงเช่นกัน(วาล์วไอดีปิดเร็วขึ้น)ตามStroke cycleที่เร็วขึ้น
อากาศที่เข้าไปจึงอยู่ใต้อิทฺธิพลของช่องลิ้นปีกผีเสื้อ

เผื่อบางท่านอาจจะสับสนกับแรงดูดอีกอย่างที่เราเรียกกันว่าแรงดูดสูญญากาศของเครื่องยนต์(Engine vacuum หรือ Manifold vacuum)
แรงนี้จะมากสุด(มีแรงดูด)ในขณะรอบเดินเบา-ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดน้อย
แรงนี้จะน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น จนไปน้อยที่สุดเมื่อWOTลิ้นปีกผีเสื้อเปิดสุด
https://en.wikipedia.org/wiki/Manifold_vacuum





ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,418
    • อีเมล์
Re: ตัวอย่าง ความการทำงาน ของ RPM LOAD SPEED Throttle
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2016, 08:17:39 »
จริงๆแล้วคำถาม Between-the-line ของคำถามที่ผมถามเมื่อวาน จริงๆก็คือ ถ้าเราต้องการให้รถ"ไต่รอบ"ได้เร็วขึ้น จะต้องทำอย่างไร โดยไม่ได้เพิ่มแรงม้า/แรงบิด

งั้นคงต้องไป ดูเรื่องลด Loss ในระบบนั่นละครับ
ถามผม ก็ก็คงทำเหมือน จักรยาน คือ ลดน้ำหนัก ลดแรงเสียดทาน
ซึ่ง ไม่รู้ เงินที่ลงไป จะคุ้มไหม สู้เอาเวลามาเพิ่มกำลังขาตัวเองดีกว่า

เพราะเห็น จักรยานเทพ เบา ลื่น แค่ไหน
ก็วัดกันที่ พละกำลังคนขี่