ผู้เขียน หัวข้อ: BMWรุ่นหลังปี06มา ส่วนใหญ่เหล็กบางลง เบาลง มันจะแข็งแรงเท่าเดิมไหมครับ?  (อ่าน 5125 ครั้ง)

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
ได้เห็นได้จับรถชนๆ รถซากมาหลายคัน
ไปเอาเศษชิ้นส่วนโครงสร้างมา ว่าจะเอามาทำหุ่นเหล็ก ถ้าสมัยก่อน เอาของพวก E46 E39มาตัด ยากมากครับ โดยเฉพาะช่วงเสาต่างๆ

แต่พอได้ตัดE90 E60 มันง่ายกว่าเดิมมาก เหมือนๆกับตัดรถญี่ปุ่นเลย และไม่ค่อยทนArc weld เจอแต้มเบาๆก็ทะลุเลย

คือมันบางและเบากว่าเก่าอยู่ล่ะ

คราวนี้ในแง่โลหะวิทยา มันยังแข็งแรงในฐานะโครงสร้างไหม? รับแรงฉีกแรงบิดได้เท่าเดิม? 

หรือการที่ตัดง่าย เชื่อมทะลุ น้ำหนักเบาไม่ได้บอกถึงความแข็งแรงของโลหะปล้วครับ?

ออฟไลน์ rapee001

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 366
    • อีเมล์
1.คราวนี้ในแง่โลหะวิทยา มันยังแข็งแรงในฐานะโครงสร้างไหม? รับแรงฉีกแรงบิดได้เท่าเดิม? 

อันนี้พูดถึงโครงรถเต็มๆอยู่ใช่มั้ยครับ ถ้าใช่มันยังแข็งแรงอยู่ เพราะเหล็กรุ่นใหม่ (Ultra High Tensile) สามารถทนแรงดึงได้เป็น 3 เท่าเมื่อเทียบ
กับเหล็กรุ่นเก่า ดังนั้น วิศวกรออกแบบจึงได้ลดความหนาเหล็กลงเพื่อให้ราคารถไม่เพิ่มจากเดิมมากนัก (เพราะเหล็ก Ultra High Tensile แพงทั้ง
ค่าวัตถุดิบ และกระบวนการแปรรูป)

2.การที่ตัดง่าย เชื่อมทะลุ น้ำหนักเบาไม่ได้บอกถึงความแข็งแรงของโลหะปล้วครับ?

การตัดเชื่อมด้วยความร้อนนั้นบ่งบอกถึงคุณสมบัติการทนความร้อนของโลหะ ซึ่งในงานโครงสร้างรถ การทนร้อนไม่ใช่ปัจจัยหลัก ดังนั้นเหล็กโครงสร้างรถ
ถึงได้เป็นรูได้ง่ายเนื่องจากทนร้อนได้ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก (เหล็กยิ่งบางยิ่งเป็นรูได้ง่าย)

ออฟไลน์ NONT4477

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9,851
  • Let the SKYFALL
ผมว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้คำนวนการกระจายแรงปะทะตอนชนหรือรับแรงบิดจากเครื่องยนต์น่าจะฉลาดขึ้น
เลยช่วยลดต้นทุนการประกอบและต้นทุนวัสดุไปได้เยอะ อีกอย่างส่วนผสมของโลหะที่ใช้ประกอบก็ไม่เหมือนเดิมมีทั้ง รวมไปถึงการนำอลูมิเนียมมาใช้ในชิ้นส่วนบางชิ้นของรถ BMW ใหม่ๆ
รวมๆ คล้ายสร้างตึก 10 ชั้น ถ้าไม่คำนวนอะไรเลย  ขุดฐานรากลึกๆ ใส่เหล็กเบอร์ใหญ่ๆ วางถี่ๆ มันก็เป็นตึก 10 ชั้นได้ แต่พอมีการคำนวณหรือใช้เทคนิกการคิดอะไรที่เพิ่มเข้ามา การใช้วัสดุต่างๆ มันก็ลดลงได้เหลือเท่าที่จำเป็น
Top Gear's Biggest FAN!!! (IN MY House)
I'm NAC1701  ^ ^

ออฟไลน์ O_o"

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,381
อยู่ที่งานออกแบบโครงสร้างด้วยครับ กับการเลือกวัสดุแต่ละชนิดมา ประกอบเข้าส่วนต่างๆของรถ

BMW ยุคหลังๆมาก็ ใช้วัสดุพวก อลูมิเนียม และ คารบอนไฟเบอร์ มากขึ้นแล้ว

เรื่องความการกระจายแรงการชนต่างๆ ถือว่าสุดยอดมากๆแล้วครับ




ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
ถือว่าเป็นข้อสังเกตที่เป็นวิทยาศาสตร์ครับ น่าสนใจ แต่ข้างบนก็ตอบค่อนข้างชัดเจนว่าความร้อนไม่เกี่ยว?

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,772
ผมว่าวัสดุศาสตร์เจริญมากขึ้นนะ  ;)

ออฟไลน์ NavaneS

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 649
    • อีเมล์
โครงสร้างสมัยก่อนต้องแข็งแกร่ง ไม่บุบไม่งอ.. พอชนมันเลยกระแทกเข้าหาผู้โดยสาร

สมัยนี้ล้วนออกแบบให้มันสามารถยุบตัวได้ เพื่อซับแรงกระแทก ผ่อนให้เบาบางลง

ประมาณนี้ที่ผมเข้าใจนะครับ

Peugeot505
BMW 318i
Honda Accord G6
Toyota Wish
Honda City
Honda Accord G9
BMW 528i M Sport
KIA Grand Carnival

ออฟไลน์ HLRx

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,279
    • อีเมล์
ลองเข้าไปดูทดสอบการชน ใน iihs ก็จะได้คำตอบครับ ว่าที่ความเห็นบนๆ ให้ข้อมูลมา ถูกต้องหรือไม่
ส่วนค่าย benz รุ่นล่าสุดปี 2016 พัฒนาขึ้นมาจนได้ good แต่รุ่นก่อนๆ ก็ถือว่า พอๆกับ BMW

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
ถือว่าเป็นข้อสังเกตที่เป็นวิทยาศาสตร์ครับ น่าสนใจ แต่ข้างบนก็ตอบค่อนข้างชัดเจนว่าความร้อนไม่เกี่ยว?
ตัดด้วยเลื่อยจิ๊กครับ ไม ่ได้ใช้ไฟตัดครับ

เดี๋ยวคงต้องลองเอามางัดกับเหล็กจากรุ่นเก่าๆดูว่าปล้วล่ะสิ

ออฟไลน์ prayut

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 61
    • อีเมล์
โครงสร้างห้องโดยสารนิรภัยรถยนต์ แบบเก่า VS แบบใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=85OysZ_4lp0&feature=youtu.be

ออฟไลน์ JigkoBannok

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 120
  • ชายคนจน ณ ที่ราบสูง
    • ประตูสู่อีสาน
ชายชรานายหนึ่งเข้าไปยังเด้นท์รถ เดินไปเคาะฟังเสียงไป จนเกือบจะครบทุกคันในเต้นท์

เซลล์ : พี่เคาะทำไมครับ
ชายชรา : ฟังเสียงความหนาบาง
เซลล์ : แหม่พี่ก้อ นี่รถครับไม่ใช่แตงโม หรือทุเรียน ที่จะเคาะฟังเสียงว่าสุกพอดีกิน
ชายชรา : ???!!!@#$%??&

 ::) ::) ::) ::) ::) ::) ;D ;D
งานฟรีผมไม่ว่าง งานจ้างเชิญเลยครับ

ออฟไลน์ bahamu

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 687
รถรุ่นใหม่กม.ยุโรป เมกา ยุ่นกำหนดให้ต้องปกป้องคนถูกชนจากหน้ารถด้วย

ถ้าใช้เหล็กแบบรุ่นเก่า คนโดนชนจะสาหัสมาก
การใช้เหล็กบางลง เหนียวขึ้น เข้าพับตะเข็บแบบใหม่
ทำให้รับแรงได้ไม่ด้อยกว่ารุ่นเก่า แต่คนถูกชนจะเจ็บน้อยกว่า
แค่ชนหมา รถรุ่นเก่าเยินน้อยกว่ารุ่นใหม่เยอะ

รถที่แข็งแกร่งกว่ารุ่นเก่า ต้องระดับเอสคลาสขึ้นไป
พวกเมบัค แฟนทอม ดีครบเครื่อง ไม่ลดต้นทุน

รุ่นพิมพ์นิยม เจอวัสดุรักษ์โลกก็แย่อยู่แล้ว ยิ่งเจอโครงสร้างเหล็กแบบใหม่
ทำให้รถดูไม่ต่างจากยุ่นนัก โดนหนักตัดหัวเชื่อมง่ายกว่า
เพราะโครงรถจะหักลงเพื่อปกป้องห้องโดยสาร คว่ำทีไม่ต้องเคาะ
สวมทะเบียนง่ายกว่า เป่าไฟไปเยินหมด

แบบที่ดีแม็กทำ คัชซีสามชิ้นแบบยุโรปรับแรงได้ดี เปลี่ยนชิ้นได้
แต่บางคนไม่ค่อยเห็นค่า หาว่าบรรทุกไม่ดี ทั้งที่ออกแบบใส่ใจคนนั่งที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2016, 19:51:23 โดย bahamu »

ออฟไลน์ Jhinz

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 161
โครงสร้างห้องโดยสารนิรภัยรถยนต์ แบบเก่า VS แบบใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=85OysZ_4lp0&feature=youtu.be

รถญี่ปุ่นรุ่นเก่านี่คนขับเละเลย รุ่นใหม่ๆเน้นโครงสร้างห้องโดยสารให้แข็งแรงที่สุดจุดอื่นไว้ใช้ซับแรงกระแทก

ปล.น่าลองเอารถยุโรปเก่ามาลองกับใหม่ดู
2005 Honda CRV 2.0 Gen2 (Sold)
2007 Toyota Camry 2.4V ACV40
2014 VW Tiguan 2.0 TSI R-Line (drive in CN)
2015 Volvo S60 (Sold)
2016 Mazda CX-5 2.2XDL mc

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
จุดที่น่าสนใจที่คุณ Jae บอกคือการตัดด้วยเลื่อย และตัดที่เสาค้ำหลังคาซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนที่มีความสำคัญ

ผมคิดว่าปลอดภัยน้อยลงมั้ย ก็คงไม่ครับ เพราะถ้าไปทดสอบ Rollover test แล้วพบว่ามาตรฐานต่ำลง จะกลายเป็นที่ครหาได้ ดังนั้นบริษัทรถจึงต้องทำให้เทสต์แล้วได้คะแนนดีเท่าเดิมเป็นอย่างต่ำ

ปัญหามันอยู่ที่ว่า ค่ายรถพัฒนาโดยการทดสอบชนรถคันจริงในทุกลีลาท่าทางหรือเปล่า หรือว่าแค่ดูว่าการทดสอบชนในโลกนี้มีการชนในลักษณะไหนบ้าง ก็ทดสอบชนจริงให้ผ่านเฉพาะมาตรฐานนั้นๆ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็น่ากลัว แต่ถ้ามองโลกในแง่ดี วิศวกรอาจจะพยายามทำรถให้เบาลงโดยนึกถึงเรื่องของวัสดุและจุดรับ/กระจายแรงกระแทก

สมัยก่อน คอมพิวเตอร์เรายังไม่เจ๋ง แข็งไว้ก่อน ย่อมได้เปรียบ
พอคอมพิวเตอร์พัฒนามากขึ้น แข็งไม่ได้เจ๋งเสมอไป กระจายแรงกระแทกยังไงคือเรื่องสำคัญกว่า ดังนั้นเขาอาจจะไม่ได้มองความแข็งแรงของส่วนใดส่วนหนึ่งของรถเป็นจุดๆไป

เช่นไม่ได้มองว่า เสาแข็ง ตัดยาก คือดีงาม แต่เสาที่เบาและทำงานร่วมกับกรอบประตูกับหลังคาในการยันหลังคาไม่ให้มาทุบกบาลคนนั่งได้ คือได้ทั้งเบา ต้นทุนค่าเหล็กลดลง แต่ต้นทุนการวิจัยเพิ่ม บริษัทรถอาจมองว่าวิจัยดีๆ 1 ครั้ง เสียเงินเยอะ แต่เอาไปใช้ได้ตลอด แต่ถ้าลงงบวิจัยน้อย ใช้เหล็กดีๆแพงๆไปตลอด ก็ต้องแบ่งรับต้นทุนไปตลอด

ผมลองคิดแบบนี้..แล้วลองเทียบกับวัสดุหลายๆอย่างในโลก ลวด กับ เชือกฟาง ถ้าขนาดเส้นโตเท่ากัน ดึงแรงๆ เชือกขาดก่อน แต่ถ้างอไปงอมาสัก 20-30 รอบติดๆกัน ลวดขาดเฉย แต่เชือกไม่เป็นไร หรือเอาง่ายๆ กระจก..กระจกแบบปกติ ถ้าเราเอาฆ้อนตอกไปตรงกลางบาน มันจะแตกทันที แต่ถ้าตอกตรงขอบ มันจะแตกแค่ตรงนั้น

แต่กระจก Tempered ใช้แรงตอกเท่ากัน ไปตรงกลางบ้าน กระจกไม่สะเทือนสักนิด แต่พอตอกตรงขอบปุ๊บ แตกทั้งบาน

ผมคิดว่าบริษัทรถก็อาจจะเลือกใช้วัสดุโดยคำนึงถึงหลักความจริงว่าเวลาชน แรงกระทำไปลงตรงไหน และชิ้นนั้นทำงานร่วมกับ component รอบๆให้เกิดความปลอดภัยได้อย่างไร อีกความคิดนึงก็คือ บริษัทรถอาจจะต้องคิดถึงเรื่อง "ความยาก/่ง่ายในการกำจัดซากรถ" ซึ่งหมายความว่านอกจากปลอดภัยแล้ว เวลาจะทำลายซากหรือแยกส่วนก็ต้องทำได้ง่าย (เป็นเหตุผลว่าทำไมกันชนรถสมัยก่อนถอดยาก แต่สมัยนี้ดึงกิ๊บ 8-10 ตัวก็ออกมากองได้แล้ว)

- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณทุกคำตอบนะครับ

ผมเขียนคำถามหลวม ๆ เพราะอยากดูความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่านด้วย

จริง ๆ แล้ว หลายคนอาจจะลืมไปว่า มาครฐานการทดสอบการชน มีพื้นฐานจากการชนของตัวรถเอง ด้วย M x V ของตัวมันเอง แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายคือความปลอดภัยของคนในห้องโดยสาร

แต่

การทดสอบมีจุดอ่อนที่เขาไม่บอกเราครับ คือ มวลน้อย ก็ใช้โครงสร้างที่แข็งแรงน้อย

นั่นหมายถึงว่า ถ้าคุณขับ รถคันนึง ที่หนักราว ๆ 1.0 ตัน ด้วยความเร็ว 60km/hr ได้ 5 ดาว จากมาตรฐานการชน ถูกกระบะหนัก 1.8 ตัน ที่ผ่านมาตรฐานการชนพอ ๆกัน กระโดดข้ามเลนด้วยความเร็วเท่า ๆกัน รถที่หนัก 1 ตันจะทำตัวเป็น Cusion หรือ อุปกรณ์ผ่อนแรงให้กับรถ1.8ตันในทันที

ตามทันไหมครับ ?

ถ้าไม่ทัน เอาตัวอย่างนี้นะครับ

ผมพับกล่องกระดาษ สองใบ ใบนึงใช้ Card Board แล้วอีกใบ ใช้ 80 gsm  เอากล่องสองใบมาโยนลงพื้น การยุบตัวก็จะไม่หนีกันมาก แต่ถ้าเราเอามันมาบี้กัน แน่นอนว่ากระดาษ80 gsm ยังงัยก็รับแรงไม่เท่าคาร์ดบอร์ด

หลายปีก่อน รถ New Beetle คันนึง จอดติดไฟแดงมี Honda Jazz วิ่งเสียหลักจากอีกฝั่งแยกมา ชนเข้าด้านหน้าทั้งคู่ รถ New  Beetle แค่กระโปรงเยิน ไม่ถึงเครื่องยนต์ แต่รถ Honda Jazz เครื่องยนต์ดันไปติดพวงมาลัย  แบบนี้ เรียกว่าได้ 5 ดาวเท่า ๆ กันแต่มันไม่แข็งแรงเท่ากันครับ และอีกหลายตัวอย่างของรถที่มาตรฐานการชนเท่า  กัน แต่ผลลัพท์ เวลาชนกันเอง ไม่เหมือนกัน

ที่CommanderCheng อธิบายมา ผมเข้าใจเลยว่า มันยังแข็งแรงตามการออกแบบ และท่าทางชนที่วางไว้แน่ๆ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า คำตอบสุดท้ายของความแข็งแรงของมันยังเท่าเดิมไหมครับ

ออฟไลน์ ซิ่งเข้าส้วม

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,150
อ่อนแอลงครับ ในแง่การชนเบาๆ นะ สมมติคุณขับ BMW รุ่นเก่าๆ ไปชนรุ่นใหม่ที่ความเร็ว 30 กม/ชม รุ่นใหม่เสียหายหนักกว่าแน่นอน แต่ถ้า วิ่งชนกำแพงที่ความเร็ว 60 กม/ชม ถ้าเทียบกับ BMW รุ่นใหม่ๆ รุ่นใหม่จะดูเหมือนความเสียหายมากกว่า แต่จริงๆ ในส่วนห้องโดยสารจะเสียหายน้อยกว่า คือผู้โดยสารปลอดภัยกว่าน่ะ พูดง่ายๆ


ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,596
  • may the force lead your way ...
ขอบคุณทุกคำตอบนะครับ

ผมเขียนคำถามหลวม ๆ เพราะอยากดูความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่านด้วย

จริง ๆ แล้ว หลายคนอาจจะลืมไปว่า มาครฐานการทดสอบการชน มีพื้นฐานจากการชนของตัวรถเอง ด้วย M x V ของตัวมันเอง แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายคือความปลอดภัยของคนในห้องโดยสาร

แต่

การทดสอบมีจุดอ่อนที่เขาไม่บอกเราครับ คือ มวลน้อย ก็ใช้โครงสร้างที่แข็งแรงน้อย

นั่นหมายถึงว่า ถ้าคุณขับ รถคันนึง ที่หนักราว ๆ 1.0 ตัน ด้วยความเร็ว 60km/hr ได้ 5 ดาว จากมาตรฐานการชน ถูกกระบะหนัก 1.8 ตัน ที่ผ่านมาตรฐานการชนพอ ๆกัน กระโดดข้ามเลนด้วยความเร็วเท่า ๆกัน รถที่หนัก 1 ตันจะทำตัวเป็น Cusion หรือ อุปกรณ์ผ่อนแรงให้กับรถ1.8ตันในทันที

ตามทันไหมครับ ?

ถ้าไม่ทัน เอาตัวอย่างนี้นะครับ

ผมพับกล่องกระดาษ สองใบ ใบนึงใช้ Card Board แล้วอีกใบ ใช้ 80 gsm  เอากล่องสองใบมาโยนลงพื้น การยุบตัวก็จะไม่หนีกันมาก แต่ถ้าเราเอามันมาบี้กัน แน่นอนว่ากระดาษ80 gsm ยังงัยก็รับแรงไม่เท่าคาร์ดบอร์ด

หลายปีก่อน รถ New Beetle คันนึง จอดติดไฟแดงมี Honda Jazz วิ่งเสียหลักจากอีกฝั่งแยกมา ชนเข้าด้านหน้าทั้งคู่ รถ New  Beetle แค่กระโปรงเยิน ไม่ถึงเครื่องยนต์ แต่รถ Honda Jazz เครื่องยนต์ดันไปติดพวงมาลัย  แบบนี้ เรียกว่าได้ 5 ดาวเท่า ๆ กันแต่มันไม่แข็งแรงเท่ากันครับ และอีกหลายตัวอย่างของรถที่มาตรฐานการชนเท่า  กัน แต่ผลลัพท์ เวลาชนกันเอง ไม่เหมือนกัน

ที่CommanderCheng อธิบายมา ผมเข้าใจเลยว่า มันยังแข็งแรงตามการออกแบบ และท่าทางชนที่วางไว้แน่ๆ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า คำตอบสุดท้ายของความแข็งแรงของมันยังเท่าเดิมไหมครับ

เห็นภาพเลย ขอบคุณครับ  ;D

ไม่รู้ว่าการทดสอบอีกหน่อยจะเลื่อนจุด cg สูงขึ้นมาอีกรึเปล่า
เพราะรถที่ยกสูงครอสโอเวอร์ + SUV คนเริ่มให้ความนิยมเพิ่มขึ้นมาก
(ผมก็ดูงูๆปลาๆ แต่ไม่แน่ใจว่ามีทดสอบอยู่แล้วหรือเปล่านะครับ)

(อธิบายคร่าวๆ cg=center of gravity ตัวอย่างที่สุดโต่งเช่น รถเก๋ง ชนกับ รถบรรทุก
ทั้งมวลและจุดปะทะอาจอยู่ระดับหัวไหล่คนขับรถเก๋งกันเลยทีเดียว มันสูงกว่าจุดที่รถออกแบบให้ซับแรง ^^")
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ zipp

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 320
ชอบและเชื่อใจในแบบรถถังรุ่นเก่า 8)

ออฟไลน์ XyteBlaster

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,292
    • อีเมล์
มีคลิป เค้าเอา volvo ตัวเก่าเหล็กหนา  มาชนกับ รถเล็กอย่างที่คุณว่าเลยครับ

ดูผลลัพธ์  แล้วรถกระป๋องก็น่านั่งนะครับ


ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
เรื่องของ Head on collision ครับ

ออฟไลน์ J_Serie5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,206
รถรุ่นใหม่ๆ ออกแบบโดยเน้นให้โครงสร้างของห้องโดยสารแข็งแรงมากขึ้นครับ โดยสามารถทนแรงดึงแรงฉีกแรงกระทำได้มากขึ้น แต่ส่วนอื่นออกแบบให้ยุบง่าย เพื่อซับแรงกระแทกครับ ผลคือการผู้โดยสารบาดเจ็บลดลง รถปลอดภัยมากขึ้นครับ