ผู้เขียน หัวข้อ: ิbase oil group  (อ่าน 13776 ครั้ง)

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
ิbase oil group
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 11:59:47 »
หาเอามาแปะให้ใหม่ ครับ เพราะ ผู้พิมพ์ข้อมูลได้พิมพ์ไว้นานพอดู : คุณ แจ้ (Jae) กันยายน 01, 2014, 12:56:20
ปล. 1 : ขอบคุณ คุณ แมวดราม่า ด้วยเช่นกันครับ ที่ให้ คำแนะนำ และ ข้อมูล ที่ดีเสมอมา

Group I, II ก็เป็นพวกน้ำมันเครื่องที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ผ่านกระบวนการทางเคมีเป็นหลักเพื่อลดสภาพความเป็นขีี้ผึ้งให้น้อยลง  เพราะพวกขี้ผึ้งมันจะเหนียวตอนอุณหภูมิต่ำ และ ใสหรือบางเกินที่อุณหภูมิสูง สร้างความเสียหายให้กับเครือ่งยนต์มาก ก็เลยต้องทำการ De-Wax ที่นิยมใช้ก็คือการเอา Chorine ชนิดนึงไปทำการแปรรูป แล้วแยกเอาของที่ไม่ต้องการออก  กลุ่มนี้ อายุสั้น ราคาถูก ปกป้องดีไม่แพ้Group อื่น ๆ แน่นอน ผสมกับเคมีชนิดอื่น ๆได้ดีด้วยเหมาะกับการเติมสารปรุงแต่ง ผลิตง่าย แต่สำคัญเน้น ๆ คือ อายุมันสั้นที่สุดเทียบกับกลุ่มBase oil ที่สูงกว่าเมื่อเจอความร้อนสูง (150 ขึ้นไป) เพราะมันก็จะกลับมากลายเป็น พาราฟินอีกโดยกระบวนการภายในเครื่องยนต์ ที่เทียบกับ Pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน คุณสมบัติที่มักเห็นของสองกลุ่มนี้คือ VI อย่างน้อย 80 และมักจะไม่เกิน 120 Group I พบได้ตามร้านขายน้้ำมันที่บอกว่า "หัวเชื้อ" นั่นแหละครับเนื่องจากมันหนืดมาก ทำให้สามารถยกเบอร์น้ำมันขึ้นได้แม้ใส่ลงไปเพียงเล็กน้อย

Group III ต่างกับกลุ่ม I, II ตรงที่กระบวนการ ที่ใช้การนึ่งน้ำมันโดยตรง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Hydrocrack คือ ความร้อนและความดันสูง ทำให้เกิดการเรียงโมเลกุลใหม่ กลุ่ม Hydrocrack มีหลายวิธีแล้วแต่บริษัทจะถนัด  ดีกว่าgroup II, I ตรงที่มันจะมีความสามารถในการต้าน Oxidation ได้ดีขึ้นนิดนึง VI มากกว่า 120 โดยไม่ต้องปรุงแต่ง กลันออกมาก็เป็น 0W-20, 0W-30 ได้เลย

I-III เป็นพวกที่มาจากน้ำมันพื้นฐานทั้งหมด ราคาก็เลยถูก โรงกลั่นไม่ต้อง Hightech ก็สามารถทำใช้เองได้

Group IV คือ PAO เท่านั้น จะกลั่นมาจาก Ethylene ซึ่งได้มาจากไอที่เกิดขึ้นของการกลั่นน้ำมัน โดยเจ้าไอนี้มันจะถูกแปรรูปเป็นของเหลวด้วยการบวนการสังเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ ผลที่ได้คือน้ำมันที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบ ให้ความฝืดน้อย ทนทานต่อสภาวะความเป็นกรดได้ดี  ไม่แตกตัวไปกับความชื้น  แต่ก็มีข้อเสียคือ  มันไม่ค่อยผสมกับใคร เกาะกับผิวโลหะได้ไม่เก่งนักที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก ไหลได้แม้อุณหภูมิต่ำ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผลิตยากและแพงไม่ต่างกับ Group V

Group V คือ พวกที่ยังไม่เข้ากับกลุ่มไหนเลย ที่พบมากที่สุดตอนนี้คือ Phosphate Esterที่มักเรียกกันสั้น ๆว่า Ester ซึ่งผลิตจากแอลกอฮอล ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์เช่นกัน มีคุณสมบัติการเกาะผิวโลหะได้ดี โมเลกุลเล็กมากแทรกไปยังส่วนต่าง ๆ ได้ดี ทนความร้อนได้ดีหากผสมเป็นเบอร์หนา ตัว Ester เองมีปัญหาเรื่องความชื้น เพราะมันทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดีในความร้อนสูง เพราะโดยพื้นฐานมันคือแอลกอฮอลเป็นหลัก เอาน้ำใส่ เอาความร้อนใส่ มีอากาศ ก็จะเปลี่ยนตัวเองเป็นกรดได้อย่างรวดเร็ว แต่เพราะมันเกาะกับโลหะได้นานจึงถูกนำไปใช้เติมในน้ำมันสังเคราะห์ตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังมี Silicone, Biolubes, PAG ที่จัดในกลุ่มหล่อลื่น Group V ด้วย

จะเห็นว่าไม่มีตัวไหนที่เป็นน้ำมันที่สมบูรณ์แบบ เพียงแต่การใช้งานทั่วไปเพียงพอทุกกลุ่มเพราะต้องการ Additive เพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติทั้งนั้น ESTER มีมากก็ทนชื้นไม่เก่งกลายเป็นกรดเร็ว , PAO ถึงจะใช้มากดีแต่ช่วงสตาร์ทก็เกาะโลหะไม่เท่า Ester, GroupIII, II, I ก็ไม่ได้มี VI สูงพอกับสภาพอากาศหลากหลาย ก็ต้องอาศัย Viscosity Index Improver (VII)

น้ำมันอีกตัวที่ไม่ได้กล่าวถึงคือ น้ำมันเครื่องที่ทำจากน้ำมันดิบตรง ๆที่เป็น By-product กลิ่นแรง เหม็น พวกนี้จะพบได้ในกลุ่มที่เป็นเกรดเดียว เช่น SAE40 หรือไม่มันก็ถูกนำไปผลิตอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันเครื่องซะมากกว่าครับ
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:11:03 »
กลุ่ม ของ Additives : รบกวนช่วยแย้ง ใน กลุ่ม ของ สารเคมี ที่อาจอยู่ ผิดกลุ่ม ด้วย น๊ะ ครับ
สารต้านออกซิเดชนั่ Oxidation Inhibitors
ลดการทำปฏิกิริยาของน้ำมันในการรวมตัวกับออกซิเจน ส่งผลให้ลดการเกิดโคลน (Sludge) ในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้น้ำมันเบสเสือมสภาพ(ความหนืดเพิ่มขึ้น) สารทั่วไปจะใช้ เคมี Organic
•ลดการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน •ลดการเกิดกรด •ลดการเกิดตะกอน •ยืดอายกุารใช้งาน

•Zinc dialkydithioposphate •Bis-phenols •Aromatic Amines ,กลุ่มเอมีน (Amines) ,กลุ่มฟีนอล (Phenols) ,Calcium hydroxide
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:13:19 »
สารป้องกนัสนิม Rust Inhibitors
•ป้องกนัสนิม
•Metallicsoaps •Organic acid •Amines
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:17:27 »
สารป้องกันการสึกหรอ Antiwear Additive
ทำหน้าที่ในการเคลือบผิวของโลหะที่มีการเคลื่อนตัวเสียดสีกันในแนวนอน (Sliding Surface) แลัวตัวมันเองก็จะหลุดออกไปด้วยแรงเสียดสีของผิวโลหะที่มันเคลื่อบอยู่
แล้วก็กลับมาเคลือบใหม่ แล้วก็หลุดออกไป เป็นวัฏจักร
Zinc dialkyldithiophosphate(ZDDP) ,Zinc dithiophosphates(ZDTP) ,Zinc Polyphosphates(ZP) ,Tricresal phosphate
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:32:59 »
สารรับแรงกดสูง Extreme-Pressure และ Friction modifiers
•เพิ่มความแข็งแรงของฟิล์ม น้ำมัน •รับภาระงานสูง •ช่วยป้องกนัการสึกหรอ
•สารลดความฝืดถูกนำมาใช้เพื่อลดค่าความฝืด ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น เป็นสารเติมแต่งเพื่อเสริมประสิทธิภาพการหล่อลื่นของน้ำมันเบส
•Organic compound ได้แก่ - Sulfur - Phosphorous - Chlorine
•Lead naphthenate
•Molybdenum disulfide
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:36:08 »
สารลดการแข็งตวั Pour-point Depressants
•ลดการตกผลึกของขี้ผึ้ง •ลดจุดแข็งตัวของน้ำมัน •ทำให้น้ำมันไหลได้ที่อณุหภมูิต่ำ
•Methacrylate  polymer •Wax alkylated phenol and polymer
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:38:35 »
สารปรับปรุงดัชนีความหนืด Viscosity index improver
•ลดอัตราการเปลี่ยนแปลงความ ข้นใสของน้ำมันเมื่ออณุหภมูิ เปลี่ยนไป
•Polysobutylene •Methacrylate •Crylatecopolymers •polymethacrylate
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:42:47 »
สารชะล้างและกระจายสาร Detergents & Dispersants
•สารชำระล้าง หน้าที่ของมันคือชำระล้าง และคอยป้องกันไม่ให้ สารแปลกปลอมเปลี่ยนสภาพเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะก่อตัวเป็นโคลน (Sludge) และจะไปเกาะอยู่กับชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ สารทั่วไปจะใช้
•ชะล้างความสกปรกออกจากผิวของชิันส่วน •กระจายไม่ให้รวมตัวเป็นโคลน •ทำให้เครื่องเดินเรียบ
Metallic sulfonate •Amines, pheno •Alkyl substituate Salicylate •Succinimides
Magnesium Sulfonates ,Benzene Sulfonic acid ,Sodium salts ,Calcium hydroxide
หมู่ alkyl : ไฮโดรคาร์บอนที่เป็นโซ่กิ่ง (branched chain) C10-60-Alkyl derivs ,Alkaryl Amine
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:49:13 »
สารป้องกันฟอง Defoamants
•ป้องกันการเกิดฟองของน้ำมันที่หมนุเวียนในระบบ
•Silicone polymer •Organic polymer
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 12:50:31 »
Alkaline additives
ค่าสะเทินกรด(TBN : Total Base Number)
KOH (potassium hydroxide)
สารเติมแต่ง ที่ช่วยค่า TBN และยังได้มาจากกลุ่ม Detergent อีกด้วย
magnesium and calcium sulphonates, salicylates, and phenates
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 13:35:35 »
 :) เจอเทพของน้ำมันเครื่องอีกคนแล้ว
เรื่องนี้ผมก็ชอบครับ แต่ก่อนก็ตามอ่านของคุณแจ้ กับคุณแมวดราม่าตลอด
ตอนนี้มีคน Nismo มาอีกคน ดีใจครับ 8)

ออฟไลน์ ABUSEz

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 612
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 13:36:13 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ความรู้ทั้งนั้นเลย

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 13:46:27 »
:) เจอเทพของน้ำมันเครื่องอีกคนแล้ว
เรื่องนี้ผมก็ชอบครับ แต่ก่อนก็ตามอ่านของคุณแจ้ กับคุณแมวดราม่าตลอด
ตอนนี้มีคน Nismo มาอีกคน ดีใจครับ 8)

ผมยัง ม่ายล่าย ตาย คราบ ไม่อยากเป็น เทพ ครับ 555
แต่ก่อนนานมาก สนใจ ครับ แต่ จะไปหาซื้อ ตามยี่ห้อ ที่ ต้องการ ไม่ได้ เลย เพราะแต่ละร้านก็มี ยี่ห้อประจำ ของเขาอยู่ พอมี ชอบปี้ เลยหาซื้อง่าย และ ลองเอามาใช้สะเปะสะปะดู ครับ
ปล. ผมแค่ รวบรวม และ พยายามเกลา ข้อมูลให้กระชับ และ ผิดพลาด น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ครับ  :) :)
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 14:09:04 »
:) เจอเทพของน้ำมันเครื่องอีกคนแล้ว
เรื่องนี้ผมก็ชอบครับ แต่ก่อนก็ตามอ่านของคุณแจ้ กับคุณแมวดราม่าตลอด
ตอนนี้มีคน Nismo มาอีกคน ดีใจครับ 8)

ผมยัง ม่ายล่าย ตาย คราบ ไม่อยากเป็น เทพ ครับ 555
แต่ก่อนนานมาก สนใจ ครับ แต่ จะไปหาซื้อ ตามยี่ห้อ ที่ ต้องการ ไม่ได้ เลย เพราะแต่ละร้านก็มี ยี่ห้อประจำ ของเขาอยู่ พอมี ชอบปี้ เลยหาซื้อง่าย และ ลองเอามาใช้สะเปะสะปะดู ครับ
ปล. ผมแค่ รวบรวม และ พยายามเกลา ข้อมูลให้กระชับ และ ผิดพลาด น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ครับ  :) :)
;D ;D ผมก็ขาประจำออนไลน์นะครับ ส่วนตัวเป็นแฟนบอยน้ำมันเครื่องเชลล์ครับ รถทุกชนิดผมใช้เชลล์หมด ติดใจเทคโนโลยี่ GTL เขา
แต่ก่อนใช้โมบิล 1 แต่หาซื้อยากเลยใช้เชลล์แทน รู้สึกไม่ต่างกันมากและเชลล์หาง่ายกว่าเลยใช้มาตลอด แต่ติดอยู่ยี่ห้อนึงซึ่งเหมือนจะไม่ชอบน้ำมันเครื่องเชลล์ คือฮอนด้า และด้วยเหตุที่เชลล์ไม่ทำน้ำมันเบอร์ 30 ผมจึงต้องใช้วาโวลีนแทนสำหรับคันนั้น ในสูตรบอกเลยว่าผสม PAO แต่ใช้จริง
ยืนระยะความต่อเนื่องสู้เชลล์ไม่ได้เลยครับ อาจเพราะเบสออยคนละเกรดด้วย ล่าสุดผมเห็นเจ้าประจำเข็นตัว ultra 5w40 มาขาย ยังไม่ได้ลองใช้เลย
เห็นเคลมว่าดีกว่า ultra 0w40 อีก ผมจะลองดูซิ โม้หรือจริง ::) ::) 8)

ออฟไลน์ tom46

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,726
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 06:41:27 »
ความรู้ทั้งนั้นเลย ขอบคุณมากครับ
M52TUB30 NA TUNING
STROKER M54B30
SCHRICK CAM 248/248
aa tuning software custom
K&N performance air intake kit
Exhaust systems thailand hand made
Rear exhaust EISENMANN

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 10:18:32 »
ถามคุณ Nismo ซักนิด

1. ถ้าไม่อยากเป็นเทพ (เพราะเทพต้องตายแล้ว) = ผมยกให้เป็นเซียนแล้วกันครับ  ;) ;)

2. เคยอ่านผ่านตาจากเว็บบอร์ดแห่งนึง ว่ามีเบสน้ำมันจาก Group 6 แล้ว = จริง เท็จ ประการใดครับ

3. อยากขอคำแนะนำว่า จากคุณสมบัติของ Base Oil + สารต่างๆ ที่เติมเข้าไปนั้น

นมค. ยี่ห้อไหน รุ่นไหน เบอร์อะไร
มีความสามารถครอบคลุมในทุกด้านมากที่สุดครับ การใช้งานกับรถญี่ปุ่นบ้านๆ ทั่วไป เครื่อง NA

และจากข้อมูลด้านบน เหมือนว่า PAO จะมีข้อด้อยมากกว่าข้อดี ??
เพราะ PAO ไม่ค่อยผสมกับสารอื่น & เกาะผิวโลหะไม่เก่งที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก


--สารป้องกันสนิม
--สารต้านออกซิเดชั่น เช่น Phenate ?? ลดการเกิดโคลน ใน นมค. Shell, Caltex
--สารป้องกันการสึกหรอ (ใช้สารเคลือบเครื่องยนต์ของ Luqui Moly แทนได้ไหม ??)
--สารรับแรงกดสูง
--สารลดการแข็งตัว
--สารปรับปรุงดัชนีความหนืด = พี่ ปอ น่าจะใช้สารตัวนี้ เห็นค่า VI มักจะสูงกว่าชาวบ้าน
--สารชะล้างและกระจายสาร
--สารป้องกันฟอง

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ




My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 11:31:53 »
2. เคยอ่านผ่านตาจากเว็บบอร์ดแห่งนึง ว่ามีเบสน้ำมันจาก Group 6 แล้ว = จริง เท็จ ประการใดครับ
เคยผ่านตามาเหมือนกันครับ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ เลยไม่ได้หาข้อมูลต่อครับ ถ้ามีและใส่มาให้ เราๆ ท่านๆ คงต้องจ่ายค่าตัวของเขา ในราคา 2 พันขึ้นไป ต่อ จำนวน 4 ลิตรเป็นแน่แท้ ครับ
น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ ตั้งแต่ตัวล่าง ขึ้นไปสมัยนี้ดีกว่าสมัยก่อนมากนะครับ Group 3 / 3+
เครดิต(Mr. Jae) : วันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป Group III ถูกพัฒนาสูงมากถึงขั้น
--สะอาดกว่า เสถียรกว่า PAO เกรดต่ำ ๆ VI สูงเมื่อเทียบกับPAO เกรดดี ๆเช่น PAO แบบ Tri-Iso.
-- มีการสร้าง Additive ที่ทำให้น้ำมันดีได้มากมายหลายชนิด บริษัทน้ำมันใหญ่ ๆ ก็เลย สามารถผลิตน้ำมันโดยไม่ต้องพึ่งพา PAO ESTer มากนัก เอามาแค่ผสมทำเป็นตัวเพิ่มความหนืดก็ดี ทำเป็นสารจับเขม่าก็ดี
----แถมยังมีความหนืดที่ต้องการได้ง่ายๆอีกด้วย

3. อยากขอคำแนะนำว่า จากคุณสมบัติของ Base Oil + สารต่างๆ ที่เติมเข้าไปนั้น

นมค. ยี่ห้อไหน รุ่นไหน เบอร์อะไร
มีความสามารถครอบคลุมในทุกด้านมากที่สุดครับ การใช้งานกับรถญี่ปุ่นบ้านๆ ทั่วไป เครื่อง NA

ตอบแบบ ฟันธง เลย ครับ ไม่มีครับ เป็นคำตอบที่ยากมากเลย ครับ
จ่ายไม่แพงมาก แนะนำ 0W-30 ,5W-30 ,5W-40 ,0W-40 ยี่ห้อคุันหูทั่วไปได้เลยครับ เราแค่ทำได้เพียงชะลอความสึกหรอ
ชอบฟิลลิ่ง ลื่นเหยียบเบาเท้า แบบเบอร์ 30 แต่อยากได้ ความหนาของน้ำมันเบอร์ 40(เพราะปกป้องความสึกหรอได้ดีอีกหน่อย) ดูค่า viscosity at 100 C
ให้ใกล้เคียง 12.5 cSt (SAE No. 40 : ค่าอยู่ระหว่าง 12.5 < 16.3) เป็นแนวทางจาก PDS หรือ  MSDS เบื้องต้น

และจากข้อมูลด้านบน เหมือนว่า PAO จะมีข้อด้อยมากกว่าข้อดี ??
เพราะ PAO ไม่ค่อยผสมกับสารอื่น & เกาะผิวโลหะไม่เก่งที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก

ค้นมาตอบให้ ครับ
PAO มันมีข้อดีอีกอย่างคือ ผลิตมาปุ๊ป มีความหนืดที่คงที่แม้อุณหภูมิเปลี่ยน และสามารถผลิตได้หลาย SAE ตั้งแต่ 0-100 เลย แต่ที่นิยมมากคือเบอร์ 20,30 เกิดมาก็เป็น 10W-20 15W-30 15W-40 เลย ไม่ต้องเติมนั่นนู่นนี่ลงไป PAO เกรดดี มันดีอยู่แล้ว ครับ ข้อเสีย อย่างเดียว ที่ชาวบ้านทั่วไปอย่างเรารับรู้ได้ คือ มีเขาเมื่อไหร่ ราคาสูงขึ้นทันที

ย้ำ ครับ น้ำมันทุก กรุ๊ป ต้องทำงานร่วมกันครับ เก่งเด่นอยู่อย่างเดียวไม่ได้ครับ เขาถึงต้องใช้ ศาสตร์ และ ศิลป์ ในการปรุงผสม(blend) ครับ  :) :) :)
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 12:08:27 »
2. เคยอ่านผ่านตาจากเว็บบอร์ดแห่งนึง ว่ามีเบสน้ำมันจาก Group 6 แล้ว = จริง เท็จ ประการใดครับ
เคยผ่านตามาเหมือนกันครับ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ เลยไม่ได้หาข้อมูลต่อครับ ถ้ามีและใส่มาให้ เราๆ ท่านๆ คงต้องจ่ายค่าตัวของเขา ในราคา 2 พันขึ้นไป ต่อ จำนวน 4 ลิตรเป็นแน่แท้ ครับ
น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ ตั้งแต่ตัวล่าง ขึ้นไปสมัยนี้ดีกว่าสมัยก่อนมากนะครับ Group 3 / 3+
เครดิต(Mr. Jae) : วันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป Group III ถูกพัฒนาสูงมากถึงขั้น
--สะอาดกว่า เสถียรกว่า PAO เกรดต่ำ ๆ VI สูงเมื่อเทียบกับPAO เกรดดี ๆเช่น PAO แบบ Tri-Iso.
-- มีการสร้าง Additive ที่ทำให้น้ำมันดีได้มากมายหลายชนิด บริษัทน้ำมันใหญ่ ๆ ก็เลย สามารถผลิตน้ำมันโดยไม่ต้องพึ่งพา PAO ESTer มากนัก เอามาแค่ผสมทำเป็นตัวเพิ่มความหนืดก็ดี ทำเป็นสารจับเขม่าก็ดี
----แถมยังมีความหนืดที่ต้องการได้ง่ายๆอีกด้วย

3. อยากขอคำแนะนำว่า จากคุณสมบัติของ Base Oil + สารต่างๆ ที่เติมเข้าไปนั้น

นมค. ยี่ห้อไหน รุ่นไหน เบอร์อะไร
มีความสามารถครอบคลุมในทุกด้านมากที่สุดครับ การใช้งานกับรถญี่ปุ่นบ้านๆ ทั่วไป เครื่อง NA

ตอบแบบ ฟันธง เลย ครับ ไม่มีครับ เป็นคำตอบที่ยากมากเลย ครับ
จ่ายไม่แพงมาก แนะนำ 0W-30 ,5W-30 ,5W-40 ,0W-40 ยี่ห้อคุันหูทั่วไปได้เลยครับ เราแค่ทำได้เพียงชะลอความสึกหรอ
ชอบฟิลลิ่ง ลื่นเหยียบเบาเท้า แบบเบอร์ 30 แต่อยากได้ ความหนาของน้ำมันเบอร์ 40(เพราะปกป้องความสึกหรอได้ดีอีกหน่อย) ดูค่า viscosity at 100 C
ให้ใกล้เคียง 12.5 cSt (SAE No. 40 : ค่าอยู่ระหว่าง 12.5 < 16.3) เป็นแนวทางจาก PDS หรือ  MSDS เบื้องต้น

และจากข้อมูลด้านบน เหมือนว่า PAO จะมีข้อด้อยมากกว่าข้อดี ??
เพราะ PAO ไม่ค่อยผสมกับสารอื่น & เกาะผิวโลหะไม่เก่งที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก

ค้นมาตอบให้ ครับ
PAO มันมีข้อดีอีกอย่างคือ ผลิตมาปุ๊ป มีความหนืดที่คงที่แม้อุณหภูมิเปลี่ยน และสามารถผลิตได้หลาย SAE ตั้งแต่ 0-100 เลย แต่ที่นิยมมากคือเบอร์ 20,30 เกิดมาก็เป็น 10W-20 15W-30 15W-40 เลย ไม่ต้องเติมนั่นนู่นนี่ลงไป PAO เกรดดี มันดีอยู่แล้ว ครับ ข้อเสีย อย่างเดียว ที่ชาวบ้านทั่วไปอย่างเรารับรู้ได้ คือ มีเขาเมื่อไหร่ ราคาสูงขึ้นทันที

ย้ำ ครับ น้ำมันทุก กรุ๊ป ต้องทำงานร่วมกันครับ เก่งเด่นอยู่อย่างเดียวไม่ได้ครับ เขาถึงต้องใช้ ศาสตร์ และ ศิลป์ ในการปรุงผสม(blend) ครับ  :) :) :)

1. ดูค่า viscosity at 100 C ให้ใกล้เคียง 12.5 cSt (SAE No. 40 : ค่าอยู่ระหว่าง 12.5 < 16.3)

นมค. ที่ผมสนใจ & รวบรวมไว้ ก็ดังรูปนี้ครับ เพียงแต่บางจาก Furio F1 5W-40 ค่า VI มันต่ำไปมาก (ไม่แน่ใจว่าทางเว็บบางจากลงข้อมูลผิดหรือเปล่า)




2. แล้วค่า HTHS ของ นมค. เครื่องล่ะครับ  เป็นค่าที่ควรสนใจด้วยไหมครับ
เนื่องจาก ผมไปอ่านเจอจากคลับรถแห่งนึง ซึ่งจะให้ความสำคัญกับค่า HTHS ตัวนี้มาก เพราะรถในคลับเป็นเครื่อง Turbo


โดยในคลับนั้น ได้อธิบายไว้ดังนี้


-----Base oil ของนมค​ จึงมีส่วนสำคัญมาก 0w.​5w.ส่วนใหญ่ base oil​เป็น​ พวก PAO
จะเห็นว่า​ที่​อุณหภูมิเกิน 100C  Base​oil นมค.​ที่เป็น PAO ​จะไม่สามารถสร้างแรงยึดเกาะหรือ traction ระหว่างฟิลม์​ นมค.​ กับแหวนลูกสูบได้​
จึงทำให้​การ Seal ของแหวนลูกสูบมีปัญหา  และ​นมค.​ เกิด Oxidation จนเป็น Sludge​โคลน

ประเด็นนี้ได้คำตอบจากคุณ Nismo แล้ว = เพราะ PAO ไม่ค่อยผสมกับสารอื่น & เกาะผิวโลหะไม่เก่งที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก

---ควรใช้ นมค. ​ที่มีฟิลม์​ นมค. ที่แข็งแรงสำหรับ Heavy.duty และมีค่า​ HTHS​ 4.0 ขึ้นไป
​เช่น​ นมค. เบอร์ 5w-50 หรือ​ 15w-40 บางตัว ที่มี base oil​ เป็น Mmineral เพื่อสร้างแรงยึดเกาะที่ดีระหว่างฟิลม์ นมค. ​และแหวนลูกสูบ
เพราะรถเครื่อง Turbo ในคลับนั้น ใช้แหวนลูกสูบแบบสปริงอ่อน(low tension ring)
และมีระยะห่างระหว่างแหวนกับผนังกระบอกสูบมากกว่ารุ่นก่อนๆ
จึงทำให้กันไอ  blow by จาก นมค. ไม่อยู่ ต้องอาศัย film นมค.ที่ดีมากๆ มาช่วย Seal ช่องว่างตรงนี้
ซึ่ง film นมค.แบบ PAO ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดี เพราะมีค่า HTHS ต่ำไป  = มันจึงกั้น blow.byไม่ได้


ถ้าใช้​ นมค.สังเคราะห์​ พวก​ ​ base.oil.​ ++.PAO++
พบว่าไอ blow.by.เพราะ​ pao.อุณหภูมิ​ 100c ไม่สามารถสร้างแรงยึดเกาะ​ ระหว่าง​ แหวนกับผนังลูกสูบ

มีสมาชิกท่านนึงในคลับนั้น  ใช้ Mobil super 1000 20W-50 ครับ ค่า HTHS 4.8
โดยสมาชิกท่านนั้น บอกความรู้สึกหลังใช้ นคม. ตัวนี้ว่า
 คือ ความแน่น แต่คันเร่งเบาๆ ก็พุ่ง torque มาจนน่ากลัว ต่างจาก amsoil ตัวเดิม ที่เป็น fully synthetic ที่ลื่นมากๆ แต่ไม่แน่น



สงสัยในประเด็นที่ว่า นมค. เกรดธรรมดา อย่าง Mobil Super 1000 เบอร์ 20W-50 ค่า HTHS 4.8 กับเหมาะกับรถ Turbo ในคลับนั้น
มากกว่า นมค. สังเคราะห์ครับ


My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 13:48:48 »
1. ดูค่า viscosity at 100 C ให้ใกล้เคียง 12.5 cSt (SAE No. 40 : ค่าอยู่ระหว่าง 12.5 < 16.3)

นมค. ที่ผมสนใจ & รวบรวมไว้ ก็ดังรูปนี้ครับ เพียงแต่บางจาก Furio F1 5W-40 ค่า VI มันต่ำไปมาก (ไม่แน่ใจว่าทางเว็บบางจากลงข้อมูลผิดหรือเปล่า)

ตอบ : ผมว่าข้อมูลไม่ผิด ครับ แต่ บอกไม่ชัดเจนเท่าที่ควร บางจากระบุไว้ว่า 135 min คือ VI(Viscosity Index) ไม่ต่ำกว่า 135 ใน PDS และ MSDS ก็ไม่ได้บอกค่า viscosity at 40 C ไว้ เราก็จะสามารถ คำนวณ ค่า VI(Viscosity Index) ได้ตรับ
ตัวอย่าง link คำนวณ VI
https://wiki.anton-paar.com/en/astm-d2270-viscosity-index-vi-from-40c-and-100c/

ส่วนสูตร ผมคำนวณกลับไม่ได้ ยังไม่เข้าใจคำอธิบาย ของ L ครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Viscosity_index#cite_note-4
Viscosity index   Classification
Under 35   Low
35 to 80   Medium
80 to 110   High
Above 110   Very high จากตาราง บอกว่า สูงมาก แล้วน๊ะครับ
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 14:55:39 »
2. แล้วค่า HTHS ของ นมค. เครื่องล่ะครับ  เป็นค่าที่ควรสนใจด้วยไหมครับ
เนื่องจาก ผมไปอ่านเจอจากคลับรถแห่งนึง ซึ่งจะให้ความสำคัญกับค่า HTHS ตัวนี้มาก เพราะรถในคลับเป็นเครื่อง Turbo

- น้ำมันกลุ่ม 2 (Mineral oil:น้ำมันแร่) จะช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้มันหนาขึ้น(ฟิล์มน้ำมันหนา) เป็นตัวช่วยในกลุ่ม Emulsifier
- HTHS ควรสนใจ แต่ จุดตั้งต้นเราควรตั้งโจทย์ แบบนี้ก่อนครับ ไม่ใช่พุ่งประเด็นที่ ค่าต้องสูงเสมอ
ถ้ารถเป็น เครื่องรอบจัด ,มีเทอร์โบ ,เน้นเค้นสมรรถนะเครื่อง ,ขับรถเร็ว ,รถติดทุกวัน เป็นต้น ผมเห็นพ้อง กับ ที่ club รถยนต์แห่งนั้น ใช้เบอร์นั้น แต่ไม่จำเป็นต้องยี่ห้อนั้นก็ได้ ครับ

-ขับธรรมดา เบอร์หลัง 30 หรือ 40 เพียงพอ ครับ
ปล. อย่าถาม ผมเรื่อง ยี่ห้อ และ รุ่น น๊ะครับ ไม่มีคำตอบให้ครับ  :) :) :)
มีแต่ตารางแนะนำ ครับ ค่า HTHS ที่ระบุ หมายถึง ค่ามากว่าขึ้นไป
เบอร์ 40 มี 2 ค่า ครับ ขึ้นอยู่ กับ เลขหน้าของเบอร์ Winter grade

1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 21:24:53 »
-----Group IV คือ PAO เท่านั้น

จะกลั่นมาจาก Ethylene ซึ่งได้มาจากไอที่เกิดขึ้นของการกลั่นน้ำมัน
โดยเจ้าไอนี้มันจะถูกแปรรูปเป็นของเหลวด้วยการบวนการสังเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์
ผลที่ได้คือน้ำมันที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบ ให้ความฝืดน้อย ทนทานต่อสภาวะความเป็นกรดได้ดี

ไม่แตกตัวไปกับความชื้น  แต่ก็มีข้อเสียคือ  มันไม่ค่อยผสมกับใคร เกาะกับผิวโลหะได้ไม่เก่งนักที่อุณหภูมิสูงเพราะมันบางมาก ไหลได้แม้อุณหภูมิต่ำ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผลิตยากและแพงไม่ต่างกับ Group V


จากข้อความด้านบนซึ่งเป็นคุณสมบัติของ PAO

เลยสงสัยว่า นมค. Shell Helix Ultra ที่ผ่านกระบวนการ GTL (Gas To Luquid) นั้น = จะเรียกว่า PAO ได้ไหมครับ ??
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 22:29:52 »
เท่าที่รู้แบบ หยาบๆ น๊ะครับ
PAO สังเคราะห์ขึ ้นจากกระบวนการทางเคมี สลายตัวในช่วงอุณหภูมิ 120 c
Natural gas --> Ethane --> Ethylene แล้วได้ไฮโดรคาร์บอนตัวหนี่งที่ชื่อว่า Decene สูตรเคมี คือ C10H20 ครับ

ส่วน GTL เป็นการสร้างและจัดเรียงโมเลกุลใหม่ เรียกชนิดนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า กรุ๊ป 3+
ในเวปของเชล์ บอกวิธีการผลิตคร่าวๆไว้ครับ
เลื่อนลงไปดูแถวหัวข้อล่างๆ
https://www.shell.co.th/th_th/motorists/oils-lubricants/helix-for-cars/pureplus.html
1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 23:01:59 »
เท่าที่รู้แบบ หยาบๆ น๊ะครับ
PAO สังเคราะห์ขึ ้นจากกระบวนการทางเคมี สลายตัวในช่วงอุณหภูมิ 120 c
Natural gas --> Ethane --> Ethylene แล้วได้ไฮโดรคาร์บอนตัวหนี่งที่ชื่อว่า Decene สูตรเคมี คือ C10H20 ครับ

ส่วน GTL เป็นการสร้างและจัดเรียงโมเลกุลใหม่ เรียกชนิดนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า กรุ๊ป 3+
ในเวปของเชล์ บอกวิธีการผลิตคร่าวๆไว้ครับ
เลื่อนลงไปดูแถวหัวข้อล่างๆ
https://www.shell.co.th/th_th/motorists/oils-lubricants/helix-for-cars/pureplus.html


วิธีการผลิต นมค. แบบ GTL (Gas To Luquid) ของ Shell

My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ Nismo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 267
    • อีเมล์
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 08:32:48 »
หารูปประกอบมาให้ดู จะดูง่ายขึ้นครับ
https://www.pcimag.com/articles/102266-gas-to-liquids-technology-offers-innovative-solutions-for-coatings

เชื้อเพลิง Gas-to-Liquid (GTL) เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำก๊าซสังเคราะห์ ที่มีองค์ประกอบของก๊าซไฮโดรเจนกับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งผลิตได้จากสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มาผ่านกระบวนการความร้อนทางเคมีที่เหมาะสมด้วยกระบวนการสังเคราะห์โดยตัวเร่งปฏิกิริยา สภาวะทั้งอุณหภูมิและความดัน ผ่านเตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เพื่อจัดเรียงโมเลกุลใหม่

1NZ-FE(เครื่อง) หรือ U340E(เกียร์) ใครจะทนกว่ากัน หนอ!!!

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
Re: ิbase oil group
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2020, 08:21:06 »
หารูปประกอบมาให้ดู จะดูง่ายขึ้นครับ
https://www.pcimag.com/articles/102266-gas-to-liquids-technology-offers-innovative-solutions-for-coatings

เชื้อเพลิง Gas-to-Liquid (GTL) เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำก๊าซสังเคราะห์ ที่มีองค์ประกอบของก๊าซไฮโดรเจนกับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งผลิตได้จากสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มาผ่านกระบวนการความร้อนทางเคมีที่เหมาะสมด้วยกระบวนการสังเคราะห์โดยตัวเร่งปฏิกิริยา สภาวะทั้งอุณหภูมิและความดัน ผ่านเตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เพื่อจัดเรียงโมเลกุลใหม่

แล้วคุณ Nismo = เลือกใช้ นมค. ยี่ห้อไหน รุ่นไหน เบอร์อะไร เป็น นมค. ในดวงใจครับ  ;) ;)
ขอคำแนะนำหลังไมค์ด้วย จักขอบคุณยิ่งครับ
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??