« ตอบกลับ #43 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2021, 20:10:22 »
ผมว่าอุตสาหกรรมรถนรต์นี้สำคัญเพราะเดิมในช่วง 10 ปีที่ผ่านเป็นอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดของไทยก็ว่าได้มั้ง ในหลายๆปี
แต่ว่า สถาบันอุตสาหกรรมผลิตรถยนค์ภายในประเทศ สำคัญ หรือเป็นตัวถ่วงอย่างไรผมไม่ทราบ เหมือนกัน
แต่ส่วนตัวผมอยากให้ข้อมูลและมุมมองแง่ระหว่างรถยนต์สันดาป (ICE) กับรถไฟฟ้า (EV) แล้วกันนะคับ
แต่ผมข้อตั้งข้อสังเกตุเรื่องคำว่ารถ EV ก่อนแล้วกัน ส่วนใหญ่คนมักพูดว่า EV หมายถึง BEV
แต่ในมิติของผมนะ น่าจะมองว่าแยกระหว่างรถ ICE และ EV ด้วยการขับเคลื่อนรถออกไปมากกว่า ICE คือมาจากเครื่องยนต์ส่งกำลังผ่านไปยังล้อผ่านเพลา หรืออะไรที่เป็น mechanic
ส่วน EV ที่มองคือการใช้ motor ในกับขับเคลื่อนล้อให้เคลื่อนที่เพียงแต่จะเอามอเตอร์แต่ละตัวบังคับข้างหน้า หรือข้างหลังแยกกัน หรือจะขับตรงแต่ละข้อก็แล้วแต่ โดยผมไม่สนใจว่าพลังงานมาขับมอเตอร์มาจากไหนนะ
เพราะถ้ามองแบบนี้จะเห็นชัดว่า ส่วนของ ระบบขับเคลื่อนเน้นใช้ motor หรือ ใช้ การส่งกำลังผ่านกลไก mechanic มาทำงานนะครับ
ดังนัี้นโดยส่วนตัว พวก Series Hybrid จริงผมอยากเรียกรวมว่าเป็น EV ถึงแม้มันจะใช้น้่ำมันมาเติมเป็นพลังงานได้นะครับ
และส่วนตัวผมว่า ตัวนี้นะเป็น interrim ที่เหมาะสมที่สุดเพราะว่า การซ่อมบำรุงจะต่ำ และใกล้เคียงกับ BEV มากทีสุด แถมไม่ต้องรอสถานีชารต์ไฟด้วย
แต่ขอกลับมาที่ BEV ที่คนเรียกมันว่า EV แบบทั้วไปนะ
ส่วนตัวผมมองว่ามันจะมาไวกว่าที่คิดมากนะครับ และการที่ไม่ให้ความสำคัญกับมัน เท่ากับการฆ่าอุตสาหกรรรมรถยนต์ ของประเทศไปด้วย และ อุตสาหกรรมที่เคยเป้นอุตสาหกรรมหลักนี้ ก็จะตายจากประเทศไทยไปภายในปี 2035-2040 โดยเหลือเป็นอุตสาหกรรม เล็กๆ
ทำไมผมถึงพูดแบบนั้น เพราะเทคโนโลยีกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่ง ในช่วง ที่ผ่านใน 2-3 ปีนี้อย่างเห็นได้ชัด และจะยิ่งเร่งไปอีกมากในอีกช่วงถัดจากนี้ไป
กลับมาที่ EV ทำไมคนส่วนใหญ่ไม่ใช้เยอะ
ฺBEV Battery Technology ยังไม่พร้อมเช่น ได้แก่
- ราคา Battery ยังสูง คือปี 2020 ต้นทุนราคาแบตเตอรี่คือ 145$/kWh (4500บาท) ถ้าจำไม่ผิด Tesla บอกว่า 2025 จะทำให้ต้นทุนลงมาต่ำกว่า 90$/kWh (2700 บาท)
ทำไมราคาแบตเตอรี่สำคัญ สำหรับรถ BEV ในปัจจุบัน ขนาดแบตก็ต้องมีความจุระหว่าง 50-100 kWh โดยประมาณ นี่ึคือนับตัวแบตเพียวๆไม่นับการ packaging ที่จะบรรจุติดบนตัวรถและระบบควบคุมแบตอีก ซึ่งอาจต้องคิดรวมไปอีกราว 1.2-1.3 เท่าจากราคาแบต์นะ ดังนั้นแค่ส่วนแบตเตอรี่จาผู้ผลิตสำหรับรถคันๆหนึ่งในปี 2020 ก็อยู่ราวๆ 260,000-570,000 บาทได้แล้วขึ้นอยู่กับขนาดความจุ แต่ในปี 2025 ที่ความจุเท่าๆกันต้นทุนแบตเตอรีจะลดลงเหลือเพียง 160,000-310,000 บาท
- แต่เดิมใช้เวลาในการชาร์ตค่อนข้างนาน เมื่อ 2 ปีก่อน ชาร์ตแบตรถ EV ขนาด 50 kWh Quick charge อาจใช้เวลาเกิน 1 ชม แต่เวลานี้รถ hyundai iconiq 5 ราว 73.6 kWh Quick charge อาจใช้เวลาประมาณ แค่ 18 นาที (ใน Europe ถ้าหาหัวชาร์ต ขนาด 350 kW DC ได้) ลองคิดว่าในอีก 5 ปี ไปไหนจอดแวะเข้าห้องน้ำ ซื้อกาแฟ กินข้าวระหว่าง 15-20 นาทีสามารถชาร์ตแบตรถวิ่งไปได้ 200-400 km คนคิดว่าจะจูงใจให้ใช้ไหม
- ความจุต่อน้ำหนักยังไม่มากพอ ตอนนี้อยู่ราว 160-180 Wh/1kg แต่ทาง CATL บอกจะสามารถทำให้แบตที่ความจุ ได้ถึง 350 Wh/kg ทำไมถึงต้องกล่าวประเด็นนี้
สมมติรถขนาดความจุแบตเตอรี่ 50/100 kWh จะต้องแบกน้ำหนักแบตเตอรี่ไม่นับรวม packaging เท่ากับ 278-312kg/555-624kg มันก็น้ำหนักไม่น้อยนะครับ ซึ่งจะมีผลต่อ performance หรือความสิ้นเปลืองด้วยเช่น แต่ถ้าในปี 2025 ไปแล้วที่แบตใหม่ของ CATL ออกมาแล้วนะ ความจุแบตเตอรี 50/100 kwh จะมีน้ำหนักส่วนแบตเตอรีเพียง 142/284 kg ซึ่งส่วนตัวน้ำหนักขนาดนี้ก็จะไม่แตกต่างกับ เครื่องยนต์,ระบบส่งกำลัง, ระบบไอเสีย และถังน้ำมันและเชื้อเพลิงที่หาย ซึ่งหมายความว่า ระยะทางที่จะวิ่งได้ต่อรถที่มีความจุที่เท่ากันเทียบกับรถไฟฟ้าปี 2021 กับรถไฟฟ้า หลังปี 2025 ที่ใช้แบตของ CATL รถใหม่หลังปี 2025 น่าจะวิ่งได้ระยะทางที่ไกลกว่า
HEV หรือ PHEV ไม่น่าใช้เพราะ ราคาสูงจากต้นการผลิต และการดูแลรักษาที่ต้องแบบถึงอย่างน้อย 2 ระบบ
จริงถ้าเราพยายามดัน Series Hybrid ก็จบสำคัญช่วง Interrim แต่ว่า ผู้ขายก็ดันเอาเปรียบตั้งราคาสินค้าแพง แถมโง่ ไม่เข้าใจพฤติกรรม คนในประเทศอื่นๆ คิดว่าคนจะใช้แต่ในเมืองใส่ แบตลูกเล็กเกินเหตุ จนประสิทธิภาพไม่เหมาะเลยถ้าจะไม่ใช้ในเมืองที่รถติด
ในมุมผมนะหลังปี 2025 มีแนวโน้มว่า ราคารถ BEV น่าจะมีราคาถูกว่ารถ ICE ในขนาดและฟังก์ชั่นที่ใกล้เคียงกัน แถมต้นทุนการดูแลรักษารถไฟฟ้าก็จะต่ำกว่ามากๆด้วย
ในแง่ของจะพยุงอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ อยากให้รัฐเลิกคิดแต่จะสนับสนุนนักลงทุนรายใหญ่ได้แล้ว
ให้มองให้ไกล ให้สนับสนุน SME startup และมองว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ ทีมีชิ้นส่วนน้อยชึ้นแบบนี้ให้มอง model การประกอบรถยนต์ของรายเล็กๆ แบบการซื้อชิ้นส่วนคอมมาประกอบเป้นคอมพิวเตอร์ ที่รัฐต้องทำคือ ให้ภาคการศึกษา ศึกษาหา model หรือ platform ที่สามารถนำมาใช้กำหนดมาตรฐาน เพื่อให้นำมาใช้เป้นจุดเริ่มต้น ของมาตรฐานที่จะให้เกิดการ ประกอบ และจัดตั่้งศูนย์ที่จะกำหนดมาตรฐาน และทดสอบ รถไฟฟ้าทีจะประกอบกันเอง เพียงแต่รถประกอบเองอาจมีการกำหนดข้อจำกัด ในช่วงเริ่มต้นเช่นความเร็วสูงสุด ไม่เกิน เท่าไรใช้ แรงม้าสูงสุดของมอเตอร์ไม่เกินเท่าไร เพื่อความปลอดภัย และศูนย์ทดสอบกำหนดมาตรฐานต้องสามารถจะทดสอบ ระบบ ต่างของรถที่จดประกอบว่า ทำงานระบบต่างๆที่ติดตั้งในใช้งานได้จรืงและได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป้น ABS, VSC, etc.. มากมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาของรายย่อยต่อไปในการพัฒนาชิ้นส่วน และการประกอบในระดับ SME ให้เกิดนะ งั้นอุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเราคงจะหายไปในอนาคต ถ้าคิดแต่รอพึ่งรายใหญ่เพียงเท่านั้น