ผู้เขียน หัวข้อ: ขอสอบถามเรื่องจังหวะบั้ม กับ รีบาว ของโช๊คหน่อยครับ  (อ่าน 3133 ครั้ง)

ออฟไลน์ Thanyanon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 329
ถ้ายกตัวอย่างตอนรถขึ้นลงลูกระนาด  บั้ม คือ จังหวะขึ้นลูกระนาด  และ รีบาว คือจังหวะลงลูกระนาด ใช่มั้ยครับ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ sukhontha

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,479
ถ้าเอาแบบนั้นก็ใช่ครับ

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,226
    • อีเมล์
ถ้ายกตัวอย่างตอนรถขึ้นลงลูกระนาด  บั้ม คือ จังหวะขึ้นลูกระนาด  และ รีบาว คือจังหวะลงลูกระนาด ใช่มั้ยครับ

ขอบคุณครับ

ใช่ครับ

ขึ้นลูกระนาด หรือ บั้ม = จังหวะยุบ = compress
ลงลูกระนาด = จังหวะยืด = rebound

ออฟไลน์ Newhang

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,338
ตามที่ผมเข้าใจ จังหวะขึ้นลูกระนาด พอกระแทกแล้วรีบาว
ส่วนจังหวะลงลูกระนาด ก็กระแทกและรีบาวครับ

ทุกครั้งที่กระแทกก็ต้องรีบาวครับ
ไม่งั้นเราขึ้นลูกระนาด แล้วไม่ลงลูกระนาดแล้วบอกว่ามีแต่บัมป์ น่าจะไม่ใช่ ผมเข้าใจแบบนี้นะครับ อาจจะผิดก็ได้

ออฟไลน์ XMSL

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 831
ยุบตัว คือ คอมเพรสชั่น มีแบบกระแทกหลุม/อุปสรรค (hi speed comp) กับการโยนตัวแบบเจอเนิน (low speed comp) ส่วนการคลายตัว คือ รีบาวน์ เกิดได้ทุกจังหวะภายหลังการยุบตัว

ออฟไลน์ #อินเดียหน้าโจร

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,404
    • Need for slow - ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุน
    • อีเมล์
เห็นด้วยตามด้านบนครับ คห. บนๆ ตอบแบบให้เข้าใจง่ายๆ คห. ที่แล้ว ตอบแบบละเอียดๆ ซึ่งในการทำงานจริง ขึ้นอยู่กับความไวของโช๊คสปริง+ความเร็วของรถที่ใช้ อีกที ว่าจะไวพอจนเกิด 4 จังหวะ แบบ คห. ที่แล้ว บอกหรือเปล่าน่ะครับ ถ้ามาไวๆผ่านลูกระนาด อาจจะยุบตอนขึ้นลูกระนาด ยังไม่ทันได้รีบาว พอลงพื้นก็ยุบต่อเนื่อง แล้วค่อยรีบาวทีเดียวครับ

ผมก็เดาอีกแล้ว
Altis 1.6 AT 2004 (Swap 2zz-ge 6MT)
Mazda 1.3 Sky

ออฟไลน์ nuntapon.s

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,910
    • อีเมล์
ตามที่ผมเข้าใจ จังหวะขึ้นลูกระนาด พอกระแทกแล้วรีบาว
ส่วนจังหวะลงลูกระนาด ก็กระแทกและรีบาวครับ

ทุกครั้งที่กระแทกก็ต้องรีบาวครับ
ไม่งั้นเราขึ้นลูกระนาด แล้วไม่ลงลูกระนาดแล้วบอกว่ามีแต่บัมป์ น่าจะไม่ใช่ ผมเข้าใจแบบนี้นะครับ อาจจะผิดก็ได้

วิ่งช้าก็ตามนี้ครับ   แต่ถ้าวิ่งรูดก็ตามเม้นบนๆแล้วก็ตามมาด้วยบั้มรีบาวด์อีกสองสามcycle555

ออฟไลน์ Smith686

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,953
    • อีเมล์
เห็นด้วยตามด้านบนครับ คห. บนๆ ตอบแบบให้เข้าใจง่ายๆ คห. ที่แล้ว ตอบแบบละเอียดๆ ซึ่งในการทำงานจริง ขึ้นอยู่กับความไวของโช๊คสปริง+ความเร็วของรถที่ใช้ อีกที ว่าจะไวพอจนเกิด 4 จังหวะ แบบ คห. ที่แล้ว บอกหรือเปล่าน่ะครับ ถ้ามาไวๆผ่านลูกระนาด อาจจะยุบตอนขึ้นลูกระนาด ยังไม่ทันได้รีบาว พอลงพื้นก็ยุบต่อเนื่อง แล้วค่อยรีบาวทีเดียวครับ

ผมก็เดาอีกแล้ว

          น่าจะเป็นตามนั้นครับ  ถ้าเราใช้โช้กอัพแข็งๆบวกกับสปริงหนืดๆ  ถ้าขับเร็วจะไม่ค่อยรู้สึกกระเทือน  แต่ถ้าขับช้าๆจะกระเทือนมาก

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,226
    • อีเมล์
เห็นด้วยตามด้านบนครับ คห. บนๆ ตอบแบบให้เข้าใจง่ายๆ คห. ที่แล้ว ตอบแบบละเอียดๆ ซึ่งในการทำงานจริง ขึ้นอยู่กับความไวของโช๊คสปริง+ความเร็วของรถที่ใช้ อีกที ว่าจะไวพอจนเกิด 4 จังหวะ แบบ คห. ที่แล้ว บอกหรือเปล่าน่ะครับ ถ้ามาไวๆผ่านลูกระนาด อาจจะยุบตอนขึ้นลูกระนาด ยังไม่ทันได้รีบาว พอลงพื้นก็ยุบต่อเนื่อง แล้วค่อยรีบาวทีเดียวครับ

ผมก็เดาอีกแล้ว
          น่าจะเป็นตามนั้นครับ  ถ้าเราใช้โช้กอัพแข็งๆบวกกับสปริงหนืดๆ  ถ้าขับเร็วจะไม่ค่อยรู้สึกกระเทือน  แต่ถ้าขับช้าๆจะกระเทือนมาก

ผมว่าไม่น่าใช่นะครับ ถ้าสปริงแข็ง+โช้คหนืดมาก เจอรอย หรือ ลูกระนาด ขับเร็วๆ ผ่านนี่กระแทกใส้แตกได้นะครับ โช้คซิ่ง โช้คแต่ง จะเจอแบบนี้หมด เขาถึงต้องชะลอ หรือ หยอด ไงครับ แต่มันจะดีเมื่อเจอถนนเรียบ ขับเร็ว มีการโยน หรือ เข้าโค้ง สปริงยุบ(compress)น้อย อาการรถก็จะโยนตัวน้อย รถก็ยิ่ง แรงเหวี่ยงก็จะไม่พลักรถออกด้านข้าง

แต่ถ้ารถวิ่งเร็วๆ แล้วรวดหลุม หรือ ลูกระนาดได้เนียนๆ คือ โช้คที่มีการปรับ pre-load หรือ low speed / hi speed หรือ by pass ครับ อันนั้นเขาแยกช่วงการทำงานได้ แบบยุบช่วงแรกปล่อยแรงฟรีไปเลย(แบบไม่มีแรงต้านขา compress ของโช้คเลย แต่ยังมี rebound อยู่) มีหน้าที่แค่สปริงทำงานอย่างเดียว แล้วไปมีแรงต้านช่วงกลางถึงปลาย(ก่อนโช้คจะยัน) ครับ

ออฟไลน์ #อินเดียหน้าโจร

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,404
    • Need for slow - ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุน
    • อีเมล์
เห็นด้วยตามด้านบนครับ คห. บนๆ ตอบแบบให้เข้าใจง่ายๆ คห. ที่แล้ว ตอบแบบละเอียดๆ ซึ่งในการทำงานจริง ขึ้นอยู่กับความไวของโช๊คสปริง+ความเร็วของรถที่ใช้ อีกที ว่าจะไวพอจนเกิด 4 จังหวะ แบบ คห. ที่แล้ว บอกหรือเปล่าน่ะครับ ถ้ามาไวๆผ่านลูกระนาด อาจจะยุบตอนขึ้นลูกระนาด ยังไม่ทันได้รีบาว พอลงพื้นก็ยุบต่อเนื่อง แล้วค่อยรีบาวทีเดียวครับ

ผมก็เดาอีกแล้ว
          น่าจะเป็นตามนั้นครับ  ถ้าเราใช้โช้กอัพแข็งๆบวกกับสปริงหนืดๆ  ถ้าขับเร็วจะไม่ค่อยรู้สึกกระเทือน  แต่ถ้าขับช้าๆจะกระเทือนมาก

ผมว่าไม่น่าใช่นะครับ ถ้าสปริงแข็ง+โช้คหนืดมาก เจอรอย หรือ ลูกระนาด ขับเร็วๆ ผ่านนี่กระแทกใส้แตกได้นะครับ โช้คซิ่ง โช้คแต่ง จะเจอแบบนี้หมด เขาถึงต้องชะลอ หรือ หยอด ไงครับ แต่มันจะดีเมื่อเจอถนนเรียบ ขับเร็ว มีการโยน หรือ เข้าโค้ง สปริงยุบ(compress)น้อย อาการรถก็จะโยนตัวน้อย รถก็ยิ่ง แรงเหวี่ยงก็จะไม่พลักรถออกด้านข้าง

แต่ถ้ารถวิ่งเร็วๆ แล้วรวดหลุม หรือ ลูกระนาดได้เนียนๆ คือ โช้คที่มีการปรับ pre-load หรือ low speed / hi speed หรือ by pass ครับ อันนั้นเขาแยกช่วงการทำงานได้ แบบยุบช่วงแรกปล่อยแรงฟรีไปเลย(แบบไม่มีแรงต้านขา compress ของโช้คเลย แต่ยังมี rebound อยู่) มีหน้าที่แค่สปริงทำงานอย่างเดียว แล้วไปมีแรงต้านช่วงกลางถึงปลาย(ก่อนโช้คจะยัน) ครับ
เห็นด้วยกับพี่ DiKiBoyZ ครับ ยิ่งแข็ง ยิ่งกระด้าง ยิ่งสะท้าน ยิ่งกระแทก ยิ่งนุ่ม ยิ่งซับแรงกระแทกได้ดี ยิ่งสมูธ แต่มันจะมีเรื่องความไวในการตอบสนองอีกทีนะครับ ที่โดยปกติ monotube จะตอบสนองได้ไวกว่า twintube

เทียบในสันหรือคอสะพานเดียวกัน สตรัทอันเดียวกัน ถ้าปรับหนืดขึ้นจะยิ่งกระแทกมากขึ้น ถ้าปรับหนืดน้อยจะกระแทกเบาลง (แต่ย้วยขึ้น) ในทำนองเดียวกัน สตรัทอันเดียวกัน ถ้าค่า k สูงกว่า มันจะยุบน้อย รู้สึกกระแทกมากกว่า และเด้งคืนแรงกว่า ส่วนค่า k สปริงน้อยกว่า ผ่านสันเดียวกันมันจะยุบมากขึ้น ทำให้กระแทกเบาลงและขับผ่านไปแบบสมูธมากขึ้นครับ แต่ก็จะมีความย้วยมากกว่า
Altis 1.6 AT 2004 (Swap 2zz-ge 6MT)
Mazda 1.3 Sky