ผู้เขียน หัวข้อ: บทความจาก Gartner "...สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าใน 3-4 ปีจากนี้..."  (อ่าน 2755 ครั้ง)

ออฟไลน์ Superpong

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 315
    • อีเมล์
Gartner บริษัทด้านวิจัยข้อมูล ออกบทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า โดยสรุปประเด็นไว้สามข้อ คือ

1. By 2027 - ต้นทุนการผลิตรถไฟฟ้าต่อคัน จะลดลงอย่างมาก เทียบกับรถน้ำมันใน segment เดียวกัน

2. By 2027 - แต่ในทางกลับกัน ค่าซ่อมแซมตัวถังหรือแบตเตอรี่ จะเพิ่มขึ้นกว่า 30% โดยเฉพาะเคสที่ชนหนักจนบริษัทประกันจะเลือกการ write-off ทำให้บริษัทประกันต้องทบทวนนโยบาย ทบทวนค่าเบี้ยใหม่ หรืออาจจะไม่รับขายประกันในรถบางรุ่น

3.By 2027 - บรรดาแบรนด์รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายๆปีที่ผ่านมา gartner คาดว่า15% มีโอกาสจะโดนซื้อกิจการ หรือทยอยปิดตัวไป จะคงเหลือเฉพาะแบรนด์ที่แข็งแกร่งทั้งด้าน products และ services ที่จะอยู่รอด

Source : https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2024-03-07-gartner-outlines-a-new-phase-for-electric-vehicles


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2024, 20:39:31 โดย Superpong »

ออฟไลน์ GT3

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 500
ข้อ 1 กับ ข้อ 2 มันย้อนแย้งกันเองไหมครับ

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,954
    • อีเมล์
ข้อ 1 กับ ข้อ 2 มันย้อนแย้งกันเองไหมครับ

อธิบายดังนี้ครับ

เนื่องจากค่ายรถผลิตรถออกมาจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตก็จะลดลง แต่ทางกลับกันตรงข้อ 2 ที่ว่าอะไหล่แพงขึ้น เพราะค่ายรถอาจจะไม่ได้ผลิตอะไหล่ออกมาสู่ตลาดเลย คือผลิตชิ้นส่วนเพียงประกอบรถขายเท่านั้น

ดังนั้นเราจะเห็นได้จากรถนำเข้าทั้งหลายที่ค่าซ่อมและอะไหล่แพง เพราะอะไหล่หายาก ต้องนำเข้าจากประเทศแม่ผู้ผลิต อย่างที่เห็นข่าวกันอยู่ว่า แบ็ต BYD ถ้าเกิดปัญหาต้องรอนำเข้าจากจีน และนั่นต้องเสียภาษีอะไหล่ ไม่ใช่ปลอดภาษีแบบนำเข้ารถทั้งคัน

ออฟไลน์ Symphonic

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,706
ข้อ 1 กับ ข้อ 2 มันย้อนแย้งกันเองไหมครับ

ข้อ 1 คือ การผลิตแบบควบรวมชิ้นส่วนจากเดิมชิ้นงานเกิดจากชิ้นส่วนย่อยหลายชิ้นเอามาประกอบกัน
เป็นการออกแบบให้เป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่ชิ้นเดียว เช่น Giga press
หรือเปลี่ยนการออกแบบชิ้นส่วนเดิมที่สามารถถอดประกอบภายหลังได้ให้กลายเป็นชิ้นส่วนที่ผนึก
สำเร็จรูปด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ  โครงสร้างพวกนี้ทำให้ผลิตได้ไว ขั้นตอนน้อย ต้นทุนถูก

ข้อ 2 คือ ต่อจากข้อ 1 ที่เมื่อรถยนต์เสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมชิ้นส่วนย่อยๆ ได้ ต้องเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นใหญ่
หรือยกโมดูลเลยครับ

ออฟไลน์ solo

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 526
    • อีเมล์
ตัวถังรถแบบดั้งเดิมมีหลายชิ้นส่วนแล้วนำมาเชื่อมอ็อกด้วยโรบอทและประกอบด้วยมือคนทำให้ต้องจ่ายค่าแรงแพงและมีต้นทุนสูง Tesla ใช้ระบบแม่พิมพ์ Giga Press รถคันนึงมีชิ้นส่วนตัวถังแค่ไม่กี่ชิ้น มันแพงตรง Giga Press เท่านั้น แต่ Variable cost อย่างชิ้นส่วนตัวถังถูกมาก ทำให้ตั้งราคาได้ต่ำ

แต่ทีนี้พอถูกชนขึ้นมาตกเปลี่ยนยกชุด และต้องรอโรงงานที่เมืองจีนผลิต ค่าซ่อมเลยแพงกว่ารถน้ำมัน และเมื่อประกันรู้ ค่าเบี้ยประกันก็แพงตาม

เครื่องยนต์ชิ้นส่วนเยอะแยะไปหมด ค่า Maintenance ก็แพงต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาการ แต่ซ่อมถูกเพราะเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนที่เสียหาย ก็กลับมาใช้งานต่อได้ ส่วนแบตราคาถูก แต่ซ่อมไม่ได้ เสียก็คือเสีย ต้องเปลี่ยนยกชุด ประกันรู้อย่างนี้เขาก็คิดค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น

ออนไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,970
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
อีกแง่นึงคือ​ economy of scale.

คุ้มค่าวิจัยพัฒนา​  ทำให้ถูกลง​.. แต่ค่าวัสดุคงเดิม

THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ Fragile

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 479
นึกถึงพวกโทรศัพท์มือถือ ทีวี เวลาจอเสีย ซ่อมแพงมาก ซื้อใหม่ดีกว่า

ออฟไลน์ adiPureII

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 248
    • อีเมล์
ต้นทุนการผลิตลด แต่ราคาขายไม่ได้ลดตาม แถมประกันยังราคาขึ้นอีก กรรมแท้ๆ

ออฟไลน์ basst

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 81
ข้อ 1 กับ ข้อ 2 มันย้อนแย้งกันเองไหมครับ
น่าจะหมายความว่าต้นทุนตอนผลิตแบบเยอะๆจะถูก คือราคาตอนซื้อมือหนึ่ง
แต่ว่าตอนซ่อม อะไรที่เกี่ยวกับแบตจะแพง และประกันก็ต้องคิดค่าเบี้ยแพงขึ้น

ออฟไลน์ Chicken Wings

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 270
ต้นทุนการผลิตลด แต่ราคาขายไม่ได้ลดตาม แถมประกันยังราคาขึ้นอีก กรรมแท้ๆ

ราคาขายไม่ลด ? ไปอยู่ถ้ำไหนมาครับ รถจีน เทสล่า ตั้งแต่ปีก่อนประกาศลดกันไปเป็นสิบรอบละมั้ง