ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเวป Link ทฤษฎีหลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินและ เครื่องยนต์ดีเซลครับ  (อ่าน 10004 ครั้ง)

ออฟไลน์ patzahut

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,091
ขอเวป Link ทฤษฎีหลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินและ เครื่องยนต์ดีเซลครับ
ขอแบบอ่านแล้วเข้าใจง่าย 

ขอบคุณมากครับ

ปล.หาให้รุ่นน้องเอาความรู้ไปสอบครับ 

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,088
ยูทูบเลยครับ หลักการทำงานมันคล้ายๆกัน ต่างกันแค่วิธีจุดระเบิดเอง น้องอยู่ชั้นอะไรเหรอครับที่จะสอบ?

ออฟไลน์ Good Boy

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 57
    • อีเมล์
ลิ้งผมว่าหาจาก Google น่าจะเยอะแยะนะครับแล้วก็เลือกอ่านเอา

แต่ผมขออธิบายไว้ให้คร่าวๆละกันนะครับ (พอดีภูมิรู้น้อย)

เครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน คือเึครื่องยนสันดาปภายในเหมือนกัน แต่ใช้กลไกการสันดาปที่ต่างกัน

เครื่องยนต์ดีเซล ใช้หลักการการอัดอากาศจุดระเบิด

-ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนลงวาล์วไอดีเปิดให้อากาศไหลเข้ามาในกระบอกสูบจนถึงจุด BDC(จุดศูนย์ตายล่าง)   ----> จังหวะดูด

-ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นวาล์วไอดีและวาล์วไอเสียปิดสนิท อากาศในกระบอกสูบจะถูกอัดด้วยการเึคลื่อนที่ขึ้นของลูกสูบ เมื่ออากาศถูกบีบตัว
ในขณะที่มวลโมเลกุลเท่าเดิม แต่ปริมาตรกลับลดลง(เนื่องจากลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น) ทำให้โมเลกุลของอากาศถูกบีับทำให้มันเบียดเสียดกันนั่นล่ะ เอาง่ายๆ
มันก็จะเกิดความร้อนสูงงงงมากในกระบอกสูบ  ------> จังหวะอัด

-ในขณะัที่อากาศถูกอัดจนมีความร้อนสูงมากนั่นเ้อง ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นถึงจุด TDCเล็กน้อย (จุดศูนย์ตายบน) เล็กน้อย(ตามแต่องศาไดอะแกรมของการ
จุดละเบิด)น้ำมันก็จะถ่ายจ่ายเข้าไปในกระบอกสูบ(ห้องเผาไหม้)  น้ำมันดีเซลซึ่งมีค่าการต้านทานการวาปไฟ(ค่าอ๊อกเทน) ที่ต่ำ พอเจอกับอากาศร้อนที่กำลังลุกไหม้ ก็จะระเบิดลุึกไหม้ สร้างแรงดันลูกสูบกลับลงไปด้านล่าง ด้วยแรงระเบิดทำให้เครื่องยนต์มีกำลังหมุนต่อไป -----> จังหวะระเบิด/จังหวะักำลัง
*ในส่วนนนี้อาจจะสงสัยแล้วลูกกำลังเคลื่อนที่ขึ้นจากจังหวะอัด แล้วพอระเบิดมันจะไม่การเป็นแรงสวนทางกันหรอ คือน้ำมันจะถูกจ่ายเข้าไปหลังจากลูกสูบนั้นเข้าใกล้จุด TDC มากๆองศาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มันจะพอดีกับจังหวะที่มันควรจะลงหรือครบการวิ่งขึ้นอยู่แล้ว
*อีกหนึ่งข้อในจุดนี้คือ ก้านสูบและลูกสูบจะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการระเบิดแบบนี้ เพราะฉะนั้นเวลาที่้ช่างประกอบเครื่องยนต์(ในกรณีที่บิ้วเครื่องใหม่) ช่างที่ดี
จะต้องรู้ว่าจะต้องใส่ลูกสูบทางด้านไหน จากมาร์ค(เครื่องหมาย)บนหัวลูกสูบและก้านสูบ เพราะที่สลักสูบและก้านสูบจะถูกออกแบบมาแบบเยื้องศูนย์เพื่อให้รอง
รับแรงจากการจุดระเบิดนี้

-ในจังหวะที่ลูกสูบเกือบจะถึงจุดศูนย์ตายล่าง BDC วาล์วไอเสียก็จะค่อยๆเปิดออกเล็กน้อยเพื่อคายไอเสียจากการเผาไหม้ และลูกสูบก็จะวนขึ้นไปเพื่อผลักดันขับไล่ไอเสียออกจากระบบ จนก่อนถึงจุด TDC วาล์วไอดีก็จะเปิดเล็กน้อยเพื่อเอาไอดีเข้ามาไล่ไอเสียออกจากระบบให้หมดจดมากยิ่้งขึ้น  จังหวะนี้เองที่ศัพท์ทางช่างจะอธิบายว่าเป็นจังหวะ Over Lap คือจังหวะที่ไอดีกำลังจะเปิด ไอเสียกำลังจะปิด และก็จะวนเข้าสู่จังหวะดุดต่อไป
 (ผมชอบใช้จังหวะนี้ในการตั้งไฟ) ----->จังหวะคาย

-อธิบายเพิ่มเติ่มน้ำมันดีเซลที่ฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้นั่นจะเป็นฝอยละอองจากปั๊มน้ำมันจะมีความละเอียดสูงมาก ยิ่งเป็นปั๊มคอมมอนเรลรุ่นไหม้ที่มีกำลังการฉีดมากขึ้น ก็จะละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
-ลูกสูบของเครื่องคอมมอนเรลจะไม่เหมือนกับพวกเครื่องยนต์ทั่วไป หัวลูกสูบจะเว้าลงไป ในขณะที่แบบปกติจะเปนลูกสูบหัวเรียบ
-เครื่องยนต์ดีเซลสมัยเก่า วาล์วจะเป็นแบบก้านกระทุ้ง เป็นต้นเหตุของเสียงดังของเครื่องดีเซลเลยล่ะครับ
-ในขณะที่รุ่นใหม่ๆจะเป็นแบบ OHV กันหมดแล้วเลยเงียบกริบกันแบบทุกวันนี้


ในส่วนของเครื่องยนต์เบนซินก็มีหลักการจังหวะการทำงานตามข้างบนนั่นเลยครับ
เพียงแต่เปลี่ยนจากการจุดด้วยอากาศมาจุดด้วยไฟ จากหัวเทียนเพราะ
-ค่าต้านทานการวาปไฟของเบนซินจะต่ำกว่า แต่ค่าต้านทานการน๊อกจะสูงกว่าป้องกันการชิงจุดระเบิดได้ดีกว่า
-เครื่องยนต์เบนซินจะมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องยนต์ดีเซลเพราะ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับแรงอัดมากมายมหาศาล
-เบนซินหัวฉีดรุ่นเก่าจะฉีดเข้าท่อร่วมไอดี อันนี้เปลืองน้ำมัน
-เบนซินรุ่นใหม่ๆจึงฉีดตรง
-ระบบฉีดเชื้อเพลิงล่าสุดตอนนี้(เท่าที่ความรู้ผมอำนวย) คือฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้


เท่าที่นึกออกตอนนี้นะครับ อันนี้ผมว่าด้วยระบบแบบ แมคคานิคล้วนๆ จะเข้าใจได้ง่ายกว่าครับ ถ้าเป็นรุ่นใหม่หลักการก็จะไม่หนีจากนี้
แต่จะมี รายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเข้ามาเป็นที่มาของความเงียบความแรง อัตราเร่งที่ดีแบบพวกเครื่องรุ่นใหม่้ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2010, 23:31:46 โดย Good Boy »

ออฟไลน์ TTL

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,276
ขอบคุณมากครับ ได้ความรู็้่ ้ มากๆเลยครับ

ออฟไลน์ patzahut

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,091

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,088
เบนซินไม่ได้จุดติดยากกว่าดีเซลนะครับ (ลองเอาไฟแช๊คจุดดู) แต่แรงดันในกระบอกสูบ มันต่ำจนไม่สามารถลุกไหม้เองได้เฉยๆ แต่ของดีเซลแรงดันมันมากพอจะทำให้เกิดการเผาไหม้อยู่แล้วครับ เครื่องยนต์เลยต้องแข็งแรงกว่า และเพราะอุณหภูมิสูงกว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อน จึงสูงกว่า ดีเซลจึงประหยัดน้ำมันกว่าเบนซินครับ

ถ้าน้อง จขกท. เรียนวิศวะเคมี ก็ต้องเน้นไปทางด้านประสิทธิภาพ(เทอร์โมไดนามิก) แต่ถ้าเครื่องกล ก็เป็นกลไก แต่ถ้าเป็นเด็กมัธยม เอาแค่ข้อดีข้อเสียแหละครับ

ออฟไลน์ bill125

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
ชอบกระทู้แบบนี้จังครับ ผู้บริโภคสนใจหาความรู้เพื่อต้องการรถดีๆ
แบบนี้โลกเจริญแน่ครับ

แต่เมืองไทยไม่มีสารคดีเครื่องยนต์มากเท่าไหร่นักเพราะเอาเวลาไปอัพโหลดหนังโป๊แล้วชักว่าว

ผมเชื่อว่าภาพหนึ่งภาพอธิบายได้เยอะครับ ที่ต่างกันจริงๆคือจังหวัดฉีดน้ำมันครับ

vol1 เครื่องดีเซลครับ
http://www.grandprixgroup.com/new/magazine/grandprix/detail.asp?Detail_Id=533&Column_Name=TECHNICALS
http://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยียานยนต์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2010, 21:29:37 โดย bill125 »

ออฟไลน์ patzahut

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,091
เบนซินไม่ได้จุดติดยากกว่าดีเซลนะครับ (ลองเอาไฟแช๊คจุดดู) แต่แรงดันในกระบอกสูบ มันต่ำจนไม่สามารถลุกไหม้เองได้เฉยๆ แต่ของดีเซลแรงดันมันมากพอจะทำให้เกิดการเผาไหม้อยู่แล้วครับ เครื่องยนต์เลยต้องแข็งแรงกว่า และเพราะอุณหภูมิสูงกว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อน จึงสูงกว่า ดีเซลจึงประหยัดน้ำมันกว่าเบนซินครับ

ถ้าน้อง จขกท. เรียนวิศวะเคมี ก็ต้องเน้นไปทางด้านประสิทธิภาพ(เทอร์โมไดนามิก) แต่ถ้าเครื่องกล ก็เป็นกลไก แต่ถ้าเป็นเด็กมัธยม เอาแค่ข้อดีข้อเสียแหละครับ

น้องเค้าเรียนวิศวเคมีครับ  แต่ว่าที่สอบนี้มันเป็นแค่วิชาเลือกทั่วไป ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นเฉพาะ จึงขอข้อมูลเชิงเน้นความเข้าใจก็พอครับ

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,627
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
Pat

ให้เค้าเปิด http://www.howstuffworks.com แล้วเสริชหาดู เจอแน่นอน เข้าใจกระจ่างแจ้งชัวร์ๆ มี เอนิเมชัน ให้ดูด้วยครับ

ออฟไลน์ Good Boy

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 57
    • อีเมล์
เบนซินไม่ได้จุดติดยากกว่าดีเซลนะครับ (ลองเอาไฟแช๊คจุดดู) แต่แรงดันในกระบอกสูบ มันต่ำจนไม่สามารถลุกไหม้เองได้เฉยๆ แต่ของดีเซลแรงดันมันมากพอจะทำให้เกิดการเผาไหม้อยู่แล้วครับ เครื่องยนต์เลยต้องแข็งแรงกว่า และเพราะอุณหภูมิสูงกว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อน จึงสูงกว่า ดีเซลจึงประหยัดน้ำมันกว่าเบนซินครับ

ถ้าน้อง จขกท. เรียนวิศวะเคมี ก็ต้องเน้นไปทางด้านประสิทธิภาพ(เทอร์โมไดนามิก) แต่ถ้าเครื่องกล ก็เป็นกลไก แต่ถ้าเป็นเด็กมัธยม เอาแค่ข้อดีข้อเสียแหละครับ

อ่านอันนี้แล้วทำให้ผมนึกได้

ผมสับสนระหว่างจุดวาปไฟกับค่าอ๊อกเทน เพิ่งจะนึกออกหลังคุณติติงมานี่ล่ะครับ

น้ำมันเบนซินจุดติดง่ายกว่าครับเพราะอ๊ิอกเทนสูงจุดวาปไฟต่ำ 

น้ำมันดีเซลจุดติดยากกว่าเพราะอ๊อกเทนต่ำจุดวาปไฟสูง

ขอบคุณที่มาเตือนนะครับ พอดีออกจากสายยานยนต์มานาน ^^

เด๋วจะแก้ไขข้างบนด้วยครับ

ออฟไลน์ Meen N.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 40
  • Be the change you wanna see on the "ROAD".
Pat

ให้เค้าเปิด http://www.howstuffworks.com แล้วเสริชหาดู เจอแน่นอน เข้าใจกระจ่างแจ้งชัวร์ๆ มี เอนิเมชัน ให้ดูด้วยครับ

เว็ปนี่้เค้าเจ๋งจริงพี่จิมมี่   :)
Follow MEENnarin on Twitter

ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,088
น้องเค้าเรียนวิศวเคมีครับ  แต่ว่าที่สอบนี้มันเป็นแค่วิชาเลือกทั่วไป ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นเฉพาะ จึงขอข้อมูลเชิงเน้นความเข้าใจก็พอครับ
เรียนปี 2 รึเปล่าครับนี่ อิอิ ปีที่แล้วผมก็สอบเรื่องนี้เหมือนกัน อยู่ในรายวิชา เทอร์โมไดนามิก ไม่ได้เน้นกลไกอะไรเลย
เน้น วัฏจักร  Efficeintcy แล้วก็รู้สึกจะเอนโทรปี (ไม่แน่ใจ ผมได้แค่ C - - )

ออฟไลน์ patzahut

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,091
อ๋อ เค้าเรียนปี 4 แล้วครับ  แต่ว่ามันไม่ได้เจาะจงว่าเป็น เทอโมนะครับ  มันเป็นแค่วิชาเลือก เค้าเลยฝากถามดู

ขอบคุณนะครับ

ออฟไลน์ Good Boy

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 57
    • อีเมล์
น้องเค้าเรียนวิศวเคมีครับ  แต่ว่าที่สอบนี้มันเป็นแค่วิชาเลือกทั่วไป ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นเฉพาะ จึงขอข้อมูลเชิงเน้นความเข้าใจก็พอครับ
เรียนปี 2 รึเปล่าครับนี่ อิอิ ปีที่แล้วผมก็สอบเรื่องนี้เหมือนกัน อยู่ในรายวิชา เทอร์โมไดนามิก ไม่ได้เน้นกลไกอะไรเลย
เน้น วัฏจักร  Efficeintcy แล้วก็รู้สึกจะเอนโทรปี (ไม่แน่ใจ ผมได้แค่ C - - )

ทำผมปวดหัวกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยล่ะครับ หลอกหลอนผมอยู่นาน

เอ็นทรัลปี้ เอ็นโทรปี้ กิ๊ฟฟรีเอนเนอจี เอลลิ่งแฮมไดอะแกรม อาจารย์ที่สอนผมท่านก็เก่งเกิี๊นนนนน หวังจะให้เราเยอะ ไอ้เราก็นะสมองน้อย