ผู้เขียน หัวข้อ: รถญี่ปุ่นเริ่มได้รับความนิยมในเมืองไทยช่วงไหนครับ  (อ่าน 6392 ครั้ง)

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
สอบถามผู้รู้ทุกท่านครับ

ผมอ่านนิยาย "พล นิกร กิมหงวน"
เหตุการณ์ในเรื่อง น่าจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2480 - 2510 โดยประมาณ
ซึ่งรถยนต์ที่พูดถึงในนิยาย มักจะเป็น

ดอดจ์เก๋ง พลีมัธ ออสโมบิส สโกด้า เอ็มยีสปอร์ตตอนเดียว ช่วงหลัง ถ้ารถหรูก็จะเป็นคาดิลแลค
ไม่ค่อยเห็นพูดถึงรถญี่ปุ่นในนิยายเรื่องนี้บ้าง

อยากสอบถามทุกท่านว่า

1. รถญี่ปุ่น เริ่มได้รับความนิยมในเมืองไทย ตั้งแต่ช่วงปีไหนครับ

2. เหตุใดรถอังกฤษกับรถอเมริกัน จึงเสื่อมความนิยมไปครับ

ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าที่ช่วยตอบครับ
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,603
  • may the force lead your way ...
น่าจะช่วง 2520 +- นี่หละครับ
เหมือนจะมีคนนำรถมาจากญี่ปุ่นกันเยอะ
คนทำอาชีพรายได้สูงๆ เริ่มขับแต่สปอร์ตญี่ปุ่น
บ้านผมก็ได้มา 1 คันจากคุณหมอ

ก็เห็นกระจายไปทั่วประเทศเลยครับรุ่นช่วงนั้น

ปล ผมก็เดาเอาจากที่เห็นในมุมแคบๆครับ
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ V221

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,823
น่าจะช่วง 2520 +- นี่หละครับ
เหมือนจะมีคนนำรถมาจากญี่ปุ่นกันเยอะ
คนทำอาชีพรายได้สูงๆ เริ่มขับแต่สปอร์ตญี่ปุ่น
บ้านผมก็ได้มา 1 คันจากคุณหมอ

ก็เห็นกระจายไปทั่วประเทศเลยครับรุ่นช่วงนั้น

ปล ผมก็เดาเอาจากที่เห็นในมุมแคบๆครับ
ใช่ครับ ประมาณปี2520กว่าๆนั่นแหละที่รถญี่ปุ่นเริ่มได้รับความสนใจ สมัยนั้นจำได้ว่าเริ่มมีLancerไฟLเข้ามาก่อนพอๆกับToyota KE10
http://car.boxzaracing.com/news/18745
BMW 750E M SPORT

ออฟไลน์ 123ruj

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 194
    • อีเมล์
น่าจะ 2510 กว่าๆครับ
เพราะ TYT Corolla KE10 เข้ามาช่วงนั้น
ก่อนหน้านั้นเป็น Toyopet ที่มาเปิดตลาด

ออฟไลน์ Sit: )

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,476
    • อีเมล์
ผมว่ามาบูมมากๆ ช่วง  toyota ae100 vs  civic EG มีการขยายโรงงานผลิตบ้านเรา ราคารถอาจจะไม่ได้ถูกลงมาก แต่พออุตสาหกรรมมันโต โรงงาน part เกิดมากมาย ราคาอะไหล่ถูกลงไปอีก และ model ที่ขายในบ้านเรา common กันทั่ว Southeast asia รวมถึงไต้หวัน ในขณะที่อะไหล่ข่วงล่าง เครื่องยนต์ ใช้ร่วมกับมือสองจากญี่ปุ่นได้ สมการเลยลงตัว พ่วงด้วยสถาบันการเงินแข่งขันปล่อยกู้

ระรอกต่อมาคือ sub compact ราคาจับต้องได้ง่ายขึ้นอีก แล้วตามมาด้วย eco car พอมีผู้บุกเบิก  mazda ford ก็ตามมา เพราะตลาดใหญ่พอจะเข้ามาเล่น ยิ่งเล่นยิ่งมันพาลถึงรถ  indy รถจีน มากันหมด

รถยุโรปมึนๆไปพักนึงว่าเอาไงดี บวกกันเจอกำแพงภาษีรถนำเข้าหลังจากนำเข้าเสรียุค 90' สุดท้ายไหวตัวกดราคาด้วยการออกรุ่นใหม่ๆ หรือ การประกอบในให้ราคาเร้าใจ วางรถทะลุกำแพงภาษีมาได้อย่างสวยงาม

ระหว่างนั้นก็มีปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจขึ้นๆลงๆ
คนรวยมากๆอาจไม่เดือดร้อน แต่คนชั้นกลางก็มักอยากได้รถเวลาอู้ฟู่ เวลาทีเงินก้อนแรกๆอาจจะนึกถึงรถญี่ปุ่นก่อน เพราะราคาเข้าถึงง่าย ประหยัดน้ำมัน จะปล่อยออกก็ไม่ขาดทุนมาก

ผมมองว่าหมดนี่คือ ตัวแปรให้คนมาใข้รถญี่ปุ่นกันแพร่หลาย

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยตอบครับ

รถญี่ปุ่นน่าจะเริ่มเข้ามาช่วงปี พ.ศ. 2510+
ด้วยราคาที่น่าจะย่อมเยากว่า รถยุโรป รถอเมริกัน ทำให้ได้รับความนิยม

แล้วเหตุที่รถอังกฤษกับอเมริกัน ไม่เป็นที่นิยม เพราะเรื่องขนาดรถที่ใหญ่+กินน้ำมันมากหรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2019, 10:28:48 โดย lonely »
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ ภูมิใจไหม?

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,147
  • SNK vs Playmore
ตั้งแต่เราตั้งกำแพงภาษีนำเข้าครับ รถยุโรปดับสนิทเลย

รถญี่ปุ่นประกอบในประเทศก็เลยได้เปรียบ

TheRealMeaw

  • บุคคลทั่วไป
รถญี่ปุ่นได้รับความนิยมมาตั้งแต่รุ่นแรกๆที่เข้ามาถึงประเทศไทยแล้วครับ ต้องเข้าใจว่านิยายชุด พล นิกร กิมหงวน มันคือการเอาชีวิตของคนรวยยุคนั้นมาเล่า เพราะงั้นรถแต่ละคันจะเป็นรถหรูก็ไม่แปลกอะไร แต่คนทั่วๆไปเขาไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น เขาก็ขับรถญี่ปุ่นกัน แม้แต่ในปัจจุบันก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นลูกเจ้าของบริษัทนะครับ ถ้าไม่เก็ต มันก็เหมือนคุณถามว่า ดูเลือกข้นคนจางมาทำไมคนไทยใช้แต่ Volkswagen ใช้แต่ Benz กันนะครับ

ปัญหาคือ รถญี่ปุ่นเอง เพิ่งเริ่มมีการส่งออกอย่างจริงจัง ประมาณ พ.ศ. 2500 ก่อนหน้านั้นแม้แต่รถราคาถูกก็เป็นรถยุโรป (อย่างเช่น Austin A35 หรือ Morris Minor) และรถญี่ปุ่นมีให้เลือกไม่กี่รุ่น ส่วนมากจะเป็นรถเพื่อการพาณิชย์แบบ Mitsubishi Jeep เสียด้วย

แต่พอรถญี่ปุ่นที่เป็นรถเก๋งเริ่มส่งออกมาอย่างหลากหลายขึ้น จำนวนรถมันก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ ครับ จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ โรงงานรถยนต์แห่งแรกๆของไทย ที่เข้ามาช่วงยุค 2500 เนี่ยแหละ ตอนนั้นมีทั้ง Datsun, Prince, Toyota เข้ามาทำโรงงานพร้อมๆกับ Fiat, Ford

ประเด็นคือรถพวกนี้ ราคาพอๆกัน ญี่ปุ่นถูกกว่านิดหน่อย แต่ญี่ปุ่นทนกว่าเยอะ แถมอะไหล่ก็แพร่หลายกว่า ไม่ต้องรอนาน ซ่อมก็ง่ายกว่า หลายๆอย่างมันก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากอดีตมากหรอกครับ ไม่นานรถญี่ปุ่นก็ครองตลาด รุ่นแรกเลยที่นิยมกันคือ Datsun Bluebird 410 (ก่อนเพลาลอย) และรุ่นถัดมาที่ Codified ความนิยมจริงๆ ก็คือ Toyota Corona หน้าเทตอนปี 2507 ผมจะไม่พูดถึง Daihatsu Midget นะครับ ถ้าไม่มีรุ่นนี้ ก็ไม่มีตุ๊กตุ๊ก คิดว่าสำคัญไหมละครับ

นับแต่นั้นมา คนรวยก็ยังขับรถยุโรปอยู่ครับเป็นเรื่องปกติ คนรวยเขาคงไม่มาขับรถถูกๆนะครับ แต่คนรวยทั้งประเทศมันก็ไม่ได้มีสัดส่วนเยอะเท่าคนจนอยู่แล้ว ทีนี้ พอคนรายได้น้อยเริ่มมีรายได้สูงขึ้น มีรถขับกันได้มากขึ้น ก็ใช่ว่าจะเริ่มด้วยรถยุโรปได้เลยมันไม่ได้กระโดดข้ามขั้นไวขนาดนั้น เขาก็เริ่มจากรถญี่ปุ่นกัน รถที่ราคาจับต้องได้ มันต้องนิยมกว่าอยู่แล้วไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็ตาม

แล้วรถญี่ปุ่นมันจับต้องได้มากกว่ารถยุโรปนี่ครับ

ถามว่ารถอเมริกันสมัยก่อนนิยมกันมากขนาดนั้นไหม ก็ไม่อะครับ ใหญ่ เทอะทะ เปลืองน้ำมัน อะไหล่ก็ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมา ราคาแพง ไม่รวยจริงก็ไม่หามาใช้ให้เป็นภาระหรอกครับ

ถ้าให้เล่าหมดมันยาวครับ เอาคร่าวๆให้พอเห็นภาพกันก่อน อย่าไปคิดอะไรเยอะครับ ตลาดรถไทยตอนนี้เป็นยังไง ตลาดยุคนั้นก็ไม่ต่างกันมากหรอกครับ ทั้งนโยบายรัฐต่ออุตสาหกรรม ทั้งลักษณะการใช้รถ มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาดนั้น แต่ ภาพความเป็นจริงจะมองเห็นได้ชัดแค่ไหน มันก็อีกเรื่องนึงละครับ เราไม่มีนักประวัติศาสตร์ในเชิงร่วมสมัยมากนัก ถ้ามีก็เป็นแบบ Amateur จดจำกันเอง มันก็จะเลือนๆหน่อย เป็นเรื่องปกติ

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
รถญี่ปุ่นได้รับความนิยมมาตั้งแต่รุ่นแรกๆที่เข้ามาถึงประเทศไทยแล้วครับ ต้องเข้าใจว่านิยายชุด พล นิกร กิมหงวน มันคือการเอาชีวิตของคนรวยยุคนั้นมาเล่า เพราะงั้นรถแต่ละคันจะเป็นรถหรูก็ไม่แปลกอะไร แต่คนทั่วๆไปเขาไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น เขาก็ขับรถญี่ปุ่นกัน แม้แต่ในปัจจุบันก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นลูกเจ้าของบริษัทนะครับ ถ้าไม่เก็ต มันก็เหมือนคุณถามว่า ดูเลือกข้นคนจางมาทำไมคนไทยใช้แต่ Volkswagen ใช้แต่ Benz กันนะครับ

ปัญหาคือ รถญี่ปุ่นเอง เพิ่งเริ่มมีการส่งออกอย่างจริงจัง ประมาณ พ.ศ. 2500 ก่อนหน้านั้นแม้แต่รถราคาถูกก็เป็นรถยุโรป (อย่างเช่น Austin A35 หรือ Morris Minor) และรถญี่ปุ่นมีให้เลือกไม่กี่รุ่น ส่วนมากจะเป็นรถเพื่อการพาณิชย์แบบ Mitsubishi Jeep เสียด้วย

แต่พอรถญี่ปุ่นที่เป็นรถเก๋งเริ่มส่งออกมาอย่างหลากหลายขึ้น จำนวนรถมันก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ ครับ จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ โรงงานรถยนต์แห่งแรกๆของไทย ที่เข้ามาช่วงยุค 2500 เนี่ยแหละ ตอนนั้นมีทั้ง Datsun, Prince, Toyota เข้ามาทำโรงงานพร้อมๆกับ Fiat, Ford

ประเด็นคือรถพวกนี้ ราคาพอๆกัน ญี่ปุ่นถูกกว่านิดหน่อย แต่ญี่ปุ่นทนกว่าเยอะ แถมอะไหล่ก็แพร่หลายกว่า ไม่ต้องรอนาน ซ่อมก็ง่ายกว่า หลายๆอย่างมันก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากอดีตมากหรอกครับ ไม่นานรถญี่ปุ่นก็ครองตลาด รุ่นแรกเลยที่นิยมกันคือ Datsun Bluebird 410 (ก่อนเพลาลอย) และรุ่นถัดมาที่ Codified ความนิยมจริงๆ ก็คือ Toyota Corona หน้าเทตอนปี 2507 ผมจะไม่พูดถึง Daihatsu Midget นะครับ ถ้าไม่มีรุ่นนี้ ก็ไม่มีตุ๊กตุ๊ก คิดว่าสำคัญไหมละครับ

นับแต่นั้นมา คนรวยก็ยังขับรถยุโรปอยู่ครับเป็นเรื่องปกติ คนรวยเขาคงไม่มาขับรถถูกๆนะครับ แต่คนรวยทั้งประเทศมันก็ไม่ได้มีสัดส่วนเยอะเท่าคนจนอยู่แล้ว ทีนี้ พอคนรายได้น้อยเริ่มมีรายได้สูงขึ้น มีรถขับกันได้มากขึ้น ก็ใช่ว่าจะเริ่มด้วยรถยุโรปได้เลยมันไม่ได้กระโดดข้ามขั้นไวขนาดนั้น เขาก็เริ่มจากรถญี่ปุ่นกัน รถที่ราคาจับต้องได้ มันต้องนิยมกว่าอยู่แล้วไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็ตาม

แล้วรถญี่ปุ่นมันจับต้องได้มากกว่ารถยุโรปนี่ครับ

ถามว่ารถอเมริกันสมัยก่อนนิยมกันมากขนาดนั้นไหม ก็ไม่อะครับ ใหญ่ เทอะทะ เปลืองน้ำมัน อะไหล่ก็ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมา ราคาแพง ไม่รวยจริงก็ไม่หามาใช้ให้เป็นภาระหรอกครับ

ถ้าให้เล่าหมดมันยาวครับ เอาคร่าวๆให้พอเห็นภาพกันก่อน อย่าไปคิดอะไรเยอะครับ ตลาดรถไทยตอนนี้เป็นยังไง ตลาดยุคนั้นก็ไม่ต่างกันมากหรอกครับ ทั้งนโยบายรัฐต่ออุตสาหกรรม ทั้งลักษณะการใช้รถ มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาดนั้น แต่ ภาพความเป็นจริงจะมองเห็นได้ชัดแค่ไหน มันก็อีกเรื่องนึงละครับ เราไม่มีนักประวัติศาสตร์ในเชิงร่วมสมัยมากนัก ถ้ามีก็เป็นแบบ Amateur จดจำกันเอง มันก็จะเลือนๆหน่อย เป็นเรื่องปกติ


 --อธิบายละเอียดดีครับ
หากมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วงการรถเพิ่มเติม อยากให้เขียนเล่าเพิ่มด้วยครับ

ขอบคุณครับ
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??

ออฟไลน์ samaklen

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,935
ยุคที่ Bluebird เป็นแท็กซี่ตอนแรกๆ ไงครับ
ส่วนเบนซ์หางปลาก็เป็นรถวิ่งระหว่างจังหวัด

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,462
ผมไม่ทราบครับ เกิดไม่ทัน อิอิอิอิ  :P :P :P :P :P

กระทู้แอบถามอายุนะครับเนี่ย  ;D ;D ;D ;D ;D ;D