ลิเธียมในไทยกำลังดัง มาดูกันครับ ขุด และ แปรรูป ส่งผลโดยอ้อมอะไร

nobody123

เนื่องกับหัวข้อกระทู้ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ headlightmag ผู้อ่านจะพบข้อมูลโดยอ้อมจากองค์กรสหรัฐ วิเคราะห์ CO2e รถยนต์ ตลอด 200,xxx กม.
แยกสามบริเวณที่กริดต่างกัน คือ California (CA) MidWest (MW) และ ทั้งสหรัฐ ซึ่งกริดคลีนกว่าบ้านเรา
โดยหัวข้อกระทู้ ดูได้จาก เฟสการผลิตแบต ใน

'Why plug-in hybrids are better for the climate than full EVs today.'

https://illuminem.com/illuminemvoices/why-plugin-hybrids-are-better-for-climate-than-full-evs-today

ซึ่งรถที่ผู้โพสต์กระทู้ขับจริงบ่อยสุด นั้น ตรงกับที่เอกสารระบุ ครับ ทั้งขนาดแบต และ อัตราส่วนการใช้ไฟฟ้า / น้ำมัน
บางคนขับ PHEV โดยใช้ภาคไฟฟ้าเยอะ / น้อย กว่านี้ ก็อาจจะต่างออกไป

อันนี้ มันสะท้อนให้เห็นเลยครับว่า ประเทศที่ข้อมูลเรื่องรถแน่นหนา อย่างเยอรมัน
จะมีช่วงเปลี่ยนผ่าน ICE -> HEV -> PHEV -> BEV
โดยจะเห็นว่า แม้ปีที่เขาซื้อ BEV กันเยอะ ๆ ได้ คนยังเชื่อใจในการลงทุน PHEV มากอยู่
(ยอด PHEV ขายสูงกว่า BEV ช่วงปี 2020)

ของไทย ต้องให้คนที่ดูโครงการอบรมการไฟฟ้าแห่งหนึ่งทั้งองค์กร 2x โครงการอบรม / เป็นที่ปรึกษาทั้งบริษัทแหล่งพลังงานและบริษัทผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่สุดในไทย มาเขียนใน headlightmag ว่า PHEV ดีนะ ยิ่งในไทยดีกว่าหรือเทียบเท่า BEV ระยะยาวนะ
คนถึงจะได้ข้อมูลบ้าง

ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ข้อมูลเรื่องรถลงลึกอย่างลิงค์ด้านบน เรามีไม่เท่าประเทศตะวันตก
การกระตุ้นให้มี PHEV มีน้อยคนนักจะพูด ว่ามันดีต่อชั้นบรรยากาศ
แม้ญี่ปุ่นก็ไม่ยอมจับจุดนี้ จับแต่ HEV

แบรนด์จีนและสแกนดิเนเวีย เฟื่องฟู

ทั้งนี้ กราฟในลิงค์ด้านบน พอครบ 200,xxx กม.ที่ประมาณ 13 ปีแล้วเปลี่ยนแบต ยิ่งแบตใหญ่ การปล่อย CO2e จะยิ่งกระโดดขึ้นเยอะ ครับ

สรุปจากข้อมูลโดยอ้อมนะครับ สกัด และ แปรรูปลิเธียม ยิ่งเยอะ เตรียมตัวเตรียมใจรับอากาศที่แย่ลง (กว่าไม่ทำ) ไว้หน่อยครับ

เสริมย้ำว่า หากดูข้อมูลในจีนซึ่งเคยโพสต์แล้ว เขาวิเคราะห์ 2x จังหวัด และพบว่า เฟสวิ่งอย่างเดียว (ไม่รวม ผลิต / ซ่อม / เปลี่ยนแบต)
1. บริเวณที่ไฟฟ้าผลิตด้วยพลังงานหมุนเวียน เช่น น้ำ
รถไฟฟ้ายิ่งเยอะ อากาศยิ่งสะอาด
2. บริเวณที่ไฟฟ้าผลิตด้วยพลังงานดั้งเดิม เช่น ฟอสซิล หรือ ถ่านหินนี่ตัวดี
รถไฟฟ้ายิ่งเยอะ อากาศยิ่งสกปรก
ครับ

ไทยเรา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ชุดก่อน วางแผนจะนำถ่านหินกลับมาใช้มากในอนาคต
ผมรอแผนพลังงานรัฐบาลเศรษฐา สมาชิดท่านใดทราบแล้วโพสต์ได้ครับ จะได้รู้กันไปเลยว่า ประเทศเราจะเป็นทิศทางใด
(ถ้าเอาถ่านหินกลับมาเหมือนคุณยิ่งลักษณ์นำรัฐบาล เตรียมตัวคุณภาพอากาศโน้มไปอย่างทางจีนได้เลย แต่ก็ไม่น่า)

ในอนาคต ที่น่าสนใจในอนาคต EV คือ แบต Solid-state ครับ
ถึงแม้ยังใช้ลิเธียมอยู่ แต่ อายุแบตนานขึ้น

หรือถ้าแบตไม่ใช้ลิเธียมเลย ก็เช่น Sodium-ion ของสวีเดน ครับ
(แร่นี้ เต็มโลก)
'10-20 kg of CO2 per kWh, compared to the 100-150 kg of CO2 per kWh associated with current comparable batteries'
; https://think.ing.com/articles/can-sodium-ion-batteries-replace-lithium-ion-batteries



turbofever

มีคนของรัฐบาลออกมายอมรับแล้วไม่ใช่เหรอว่าข่าว ปลอม   ไม่มีนะลิเธี่ยม แค่อยากเบิกงบไปทำงานสำรวจวิจัยผลาญงบไปวันๆนั้นแหละ



Turin

แชร์ประเด็นใกล้เคียงกันครับ ... เมื่อวันก่อนเพิ่งไปฟังอาจารย์ MIT มาพูดเรื่อง CO2 emission ... Net-Net แล้วตอนนี้ full EV กับ full ICE สร้าง CO2 พอๆกัน (แม้ว่าโรงไฟฟ้าจะมี efficiency สูงกว่าเครื่อง ICE แต่ loss จากระบบส่ง ระบบแบต รวมแล้วไม่ต่างกันจากเครื่อง ICE)

Premise สำหรับสนับสนุน full EV ณ เวลานี้ คือ โรงไฟฟ้าปรับปรุงให้คลีนขึ้นได้ง่ายกว่าเครื่อง ICE



punn

มุมมองมันลักลั่นกันอยู่ยากที่จะสรุปให้โดนใจทุกฝ่ายได้ครับ  :-\

เหมือนมองเศรษฐกิจแบบไมโครกับมาโคร คนทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาระดับมาโครเช่นโรงไฟฟ้าได้
แต่ในมุมนึง ถ้าภาครัฐเอาจริงเรื่องมาตรฐานโรงไฟฟ้าผลักดันให้สูงขึ้นลดมลพิษลงมันง่ายกว่า

การไปจับมือแต่ละคนบำรุงรักษารถยนต์สันดาปของตัวเองให้ได้มาตรฐานเพื่อลดมลภาวะ
แม้แต่หน่วยงานรัฐยิบย่อยก็ยังยากมากที่จะคุมได้โดยพร้อมเพรียงกัน

เราก็ได้แต่เลือกที่จะลดผลกระทบที่เกิดใกล้ตัวให้ได้ก่อน ถ้าใกล้ตัวยังจัดการไม่ได้
แต่จะไปคาดหวังให้กริดสะอาดก่อนแล้วเราถึงจะค่อยมาเลือกให้รถเราไม่ปล่อยฝุ่นมลพิษขณะใช้งาน?

บวกกับประเทศเรามันประเทศที่ประชาชนไม่ได้ร่ำรวยเมื่อเทียบกับประเทศผู้นำต่างๆมันก็ประมาณนี้หละครับ
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ



Teera

มองว่า ประเทศที่มี เยอะๆ เช่น โบลิเวีย อาเจน
ก็ไม่เห็นรวย
คนที่รวยคือ เจ้าของ บ.ผลิตรถ !!!!!!



mhujee

  มาๆอีกแล้ว กริดไม่คลีน คือ รถไฟฟ้าไม่คลีน
  คลีนสุดคือ PHEV
  ผมก็ยังมองว่าคุมโรงไฟฟ้า มันง่ายกว่าคุมรถบนถนนยุนะ แต่ก็เป็นแค่ความคิดส่วนตัว
  และหลายคนคง คิดว่า ใครแคร์ ตอนนี้แคร์แต่เงินในกระเป๋าที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าไฟฟ้า/กิโลเมตร
  ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ



เนื้อน่องไม่หนัง

  มาๆอีกแล้ว กริดไม่คลีน คือ รถไฟฟ้าไม่คลีน
  คลีนสุดคือ PHEV
  ผมก็ยังมองว่าคุมโรงไฟฟ้า มันง่ายกว่าคุมรถบนถนนยุนะ แต่ก็เป็นแค่ความคิดส่วนตัว
  และหลายคนคง คิดว่า ใครแคร์ ตอนนี้แคร์แต่เงินในกระเป๋าที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าไฟฟ้า/กิโลเมตร
  ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

อันนี้เห็นด้วยครับ คุมที่โรงไฟฟ้าไม่กี่จุด ยังไงก็ง่ายกว่าคุมที่ปลายท่อไอเสียรถทุกคัน
โรงไฟฟ้ายังไงก็น่าจะต้องมีใบอนุญาติ ถ้าอยากคุมจริงๆ หน่วยงานที่ดูแล น่าจะเข้าตรวจ และควบคุมได้อยู่แล้ว

รถไฟฟ้า / phev ผมก็คิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ซื้อ ให้น้ำหนักเรื่องของสมรรถนะกับค่าเชื้อเพลิง มากกว่ามองว่ามันสะอาดอยู่แล้วครับ อันนั้นเป็นผลพลอยได้
คิอเวลาเจอรถติด มันถนนบนถนน ไม่ได้ติดหน้าบ้านเรา...

ทุกคนมีสิทธิจะใช้รถอะไรก็ได้ เพราะโจทย์ของแต่ละคนใหม่เหมือนกัน
จะ ice / diesel / phev / bev ขอให้ดูแลรถให้มันอยุ่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก็พอ



nobody123

มันไม่ใช่แค่กริดไม่คลีนครับ
ตอนนี้รัฐสนับสนุนตั้งโรงผลิตแบต สิบเจ้าแล้ว ใช่ไหมครับ
และมีการสำรวจอย่างด้านบน ว่าจะ ขุดแร่ในไทยอีก เห็นออกข่าว TNN เป็นต้น

คือ แบตรถ 80 kWh แค่ผลิตขั้นที่ทำอยู่ 'มากกระบวนการ' ในไทยบางบริษัท ไม่นับตั้งแต่ขั้นขุด
มันปล่อย CO2 = Corolla HEV 0-100 7.7 วิ 'ผลิตทั้งคันยันวิ่งไป 50,000 กม.'
ถ้าอนาคตทั้งขุดทั้งผลิตทั้งระบบในไทย 'Corolla ผลิตทั้งคันยันวิ่งไป 75,000 กม.'

CO2 ผลิตเฉพาะแบตรถคัน 80 kWh ทั้งกระบวนการ สามก้อน ต่ออายุรถ 2x ปี = ผลิต Corolla สามคัน แต่ละคันวิ่งไป 75,000 กม.
นะครับ

คือ อาจารย์ MIT หรือมหาลัยดังในญี่ปุ่น (ผมจำชื่อมหาลัยไม่ได้) ออกมาเตือนแล้ว
ว่า รถ BEV 'ไม่คลีน' นะ

และที่บอกประหยัดค่าน้ำมัน ตอนนี้ ในแคลิฟอเนีย คนซื้อรถไฟฟ้าลดลง คนซื้อ HEV เยอะขึ้น
คือ คนที่นั่นเริ่มเปลี่ยนแบตแล้ว เริ่มรู้แล้วว่า กระเป๋าฉีก ก็คงบอกกันปากต่อปาก
คนซื้อรถใหม่กลับมากซื้อ HEV กัน เพียบ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2024, 12:55:20 โดย nobody123 »