ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ  (อ่าน 16184 ครั้ง)

NgoH

  • บุคคลทั่วไป
ได้มาจากนี้ครับ

http://www.fordfiesta-club.com/Club/ford.fiesta.club.alternative.energy.za.lpg.ngv/6925-sa.sa.lpg.html

ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG เรามีคำตอบ

พี่ที่ESSOส่งมาให้ครับ (ทำไมรัฐต้องพยายามหาทางขั้นราคา LPG)


ผมได้มีการรวบรวมข้อมูลและประมวลสถานะการ์ณต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้

เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล
NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่
กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วย
งานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG
อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจาก
แหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ

ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย
สนันสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ
ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean
fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้
เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผล
เสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ
รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่ง
เสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์

ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้
หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช้ LPG เหมือน
กับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ

แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัท
เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ
เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่
ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคง
ราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มา
เร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบ
ผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก

... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้

1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี
ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุน
ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็น
ต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็นค่าแก๊ส
3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้
บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่
สูงลิ่ว
4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคา
ถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบ
ส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่า
ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า
LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ

การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ
ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์
ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้
NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก้ส NGV
ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับ
ประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้พลังงานทางเลือก และควร
กำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม

เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ
เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขาย
แก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่าการเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล
แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิต
ในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพง
มาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV

... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG
LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ
(ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)
NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมาณ 66 mol% LPG
(c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมาก
ลั่นทำไม

อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่
http://www.eppo.go.th/info/T25.html

เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้
568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจาก
พม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า

ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่
http://www.eppo.go.th/info/T34.html
ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %
จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก้ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของ
ไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก้ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลือ
อีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม


LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน
ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก้ส ถ้าไม่
ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก้สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก
การกลั่นจากแก้สธรรมชาติ

NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยากราคาสูงและต้องใช้ถัง
แก้สความดันสูงจำนวนมาก

จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ
เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์
ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก้สธรรมชาติ
จากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศ

ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก้ส
LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล
ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่ง
เองเหมือนประเทศไทย

ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแทกซี 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก้ส LPG ด้วยการให้เงิน
สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก้ส LPG
(ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล

เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร
ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%)
ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร


ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ???

ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน
อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน

แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แกส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะ
รัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชด
เชยให้ใครกัน?

ชดเชยให้คนใช้รถ . 200x6 = 1,200 ล้าน
ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน . 1,000x6 = 6,000 ล้าน (สาธุ)
ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน (ก็ .. ยังดี .. ของ
จะได้ไม่แพง)
ชดเชย ((Embedded image moved to file: pic06840.gif)Huh!!!!?? ชด
เชยทำไม) ให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!!

บ.น้ำมัน ไม่รวยพุงปลิ้นวันนี้ ก็ไม่รู้จะพูดงัยแล้ว...

เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 %
แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วน
หนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 % แต่รัฐบาลโปรโมตสุดลิ่มทิ่ม
กบาล
LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊ส
ธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ
ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูก็แล้วกันครับ
ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่
มากกว่า
ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกลั่นเหลือ
ใช้จนต้องขายต่างประเทศ
การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือ
เบนซินในแก๊สโซฮอล 80กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน
(ให้อัตราสิ้นเปลืองLPGมากกว่าประมาณ 10 %)แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติ
มากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้อง
ไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน
***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน
แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิม
หากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้น
ใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่

อย่าเพิ่งไปกลัวเลยครับ ผมว่าที่ปตท ออกมาขู่เรื่องราคาแก๊ส lpg ว่าราคาจะลอยตัว
ราคาที่แท้จริงต้องบวกเพิ่มอีก 9บาท ต่อลิตร ตกลิตรละ18บาท สงสัยจะเป็นอุบาย
ของปตท ที่จะทำให้คนที่คิดจะติดlpg ลังเลใจแล้วมาติด ngvแทน เพราะปัจจุบัน ngv
ขายไม่ออก ที่เขาบอกว่าlpg ราคาขึ้นเป็น600ดอลล่า/ตัน ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ตันหนึ่งมี
1000 กก 1กกมี1.8ลิตร 1ตันเท่ากับ 1800ลิตร 600ดอลล่าเท่ากับ 24000บาท คิด
แล้วลิตรหนึ่งตก 13บาทกว่าเท่านั้นเอง นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งที่มาของราคาที่เขาใช้เป็น
ราคากลางด้วยว่า600ดอลล่า/ตัน มาจากที่ไหน ที่อื่นที่ถูกกว่านี้ก็มี เช่นซื้อมะม่วงแถว
ต่างจังหวัด ราคาย่อมถูกกว่าที่ไปซื้อที่สีลมอยู่ดี อีกอย่างlpg เราก็ผลิตได้เองบางส่วน
จะมาอ้างราคาตลาดโลกได้อย่างไร ทำไมไม่ตั้งราคาขาย มะม่วงทุเรียน และผลผลิต
ทางการเกษต ที่เราผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาสูงเหมือนที่ขายในญี่ปุน ในอเมริกาละ
โดยอ้างราคาตลาดโลกบ้าง ขายทุเรียนลูกละซัก2000บาทไปเลยซิ คิดว่าประชาชนโง่
เหมือนควายเหรอครับ รัฐบาลอย่ามาขูดรีดขูดเนื้อประชาชนเลยครับ


นี้คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ขอให้ทุกท่านร่วมหาทางแก้ไขอีกทั้ง รัฐบาลเราคงหวัง
เพิ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว   Tweet   

ออฟไลน์ nuionline

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 248
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 18:52:11 »
เป็นอย่างงี้นี้เอง

ออฟไลน์ Nikle_pk

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,677
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 19:06:57 »
เรื่องรายละเอียดเชิงลึกผมไม่ทราบเท่าไหร่
แต่ที่แน่ๆเรื่องการบีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริง

2 ปีที่แล้ว ผมเดินเรื่องขออนุญาตเปิดปั๊มแก๊ส

ก่อนอื่นก็ต้องไปขออนุญาตที่โยธาธิการจังหวัด

พอดีรู้จักกับพี่ที่นั่น พี่เค้าเอาเอกสารที่ได้รับการ Fax
มาจากรัฐบาลถึงทุกจังหวัดทั่วประเทศ เนื้อหาระบุไว้ว่า

ณ. ช่วงเวลานี้การขออนุญาตเปิดปั๊ม LPG ขอให้ชลอกาสรอนุญาตก่อสร้างไปก่อน

แต่ หากเป็นการขออนุญาตสร้างปั๊ม NGV ให้อนุญาตก่อสร้างได้ทันที

จบข่าว เรื่องจริงเพราะเห็นกับตาครับ
My Review !!! New Vellfire 2.5ZG Edition !!!
http://community.headlightmag.com/index.php?topic=44242.0

ออฟไลน์ adobe

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 454
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 19:38:57 »
NGV เบื่อตรงต่อคิวเติมนาน

ออฟไลน์ KAKASHII

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,635
  • งามปะละ
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 19:41:15 »
เพราะ  ปตท รัฐบาลถือหุ้น 51%   ถ้ารายได้ลด  รัฐบาลก็มีเงินใว้โกงกินน้อยสิ  ;D

ออฟไลน์ 9iC

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 121
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:00:28 »
นี่ยังดีนะที่แปรรูปแค่ปตท.

ไม่อยากคิดถ้าการไฟฟ้าโดนเข้าไปอีก

ประชาชนคงไม่รอดอ่ะครับ

:(

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,153
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:07:34 »
ผมอ่านไม่หมดนะ แต่อะไรก็โทษแต่ ปตท.?

ปีสิ้นสุดวันที่ 31/12/2010
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 1,900,004.56 ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 99,930.04 ล้านบาท

ส่วนตัวผมถือว่าน้อยมากเลยนะ กำไรแค่นี้

ออฟไลน์ Disk™

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,153
  • High Society Sallon Gallery
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:16:12 »
ผมสงสัยว่า ทำไมไม่สนับสนุน LPG ทั้งๆที่ต้นทุนต่อการเดินทางต่อกิโลเมตรก็ถูกกว่าน้ำมัน จะได้ลดการขาดดุลการค้าด้วยครับ
User Review : ฟิล์มเซรามิค SolarFX (รีวิวแรกของผมครับ)
http://community.headlightmag.com/index.php?topic=53654.0

User Review : Remap ECU Toyota Fortuner ที่ ECU Thailand by RPT
http://community.headlightmag.com/index.php?topic=71384.0

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,153
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:21:19 »
ส่วนตัวผมคิดว่า เป็นเพราะ ปตท.สผ. มากกว่าครับ

ออฟไลน์ jones

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 937
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:24:31 »
เปงงี้นี่เอง เฮ๊ยย~~ เซ็งกะไอ้บริษัทบ้านี้จัง


แต่อย่างน้อยก้ดีจัยนะที่ไม่ได้เติมน้ำมันกะไอ้ป.ต.ทวยนี้มาเปงปีละ เบื่อหน่ายกับไอ้น้ำมันห่วยๆของมัน เกลียดป.ต.ทวยมากกกกก >:(
ผู้ชายลัลล๊า อิอิอิ

ออฟไลน์ MJunior

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 343
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:30:14 »
ผมอ่านไม่หมดนะ แต่อะไรก็โทษแต่ ปตท.?

ปีสิ้นสุดวันที่ 31/12/2010
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 1,900,004.56 ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 99,930.04 ล้านบาท

ส่วนตัวผมถือว่าน้อยมากเลยนะ กำไรแค่นี้

ที่มันโชว์ตัวเลขกำไรน้อยนั้นมันเป็นแต่ตัวเลขที่เข้าปั้นขั้นครับ
จริงๆแล้วกำไรกว่านี้มาก หลายแสนล้านครับ
การที่ตัวเลขกำไรน้อย เขาก็แค่พยายามลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เหลือเงินสด
บางส่วนก็เอาไปซื้อบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับปตทมากมาย ทั้ง Thai oil, บางจาก IRPC .....
จนตอนนี้ปตทแทบไม่มีคู้แข่งแล้วครับ

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,013
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:39:23 »
ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไร แต่อ่านแล้วหมั่นไส้จังเลย

"พลังไทย เพื่อใคร???"
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ Sarutino

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 757
  • อยากออกไปกอดเมืองไทย^ ^
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 20:44:01 »
แต่ความจริงอีกอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคือ ปั๊ม NGV ไม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเลย

ยกตัวอย่างใกล้ตัวผมตอนนี้

หัวเมืองหลักในภาคใต้อย่างหาดใหญ่ คนท้องถิ่นต้องต่อคิวเติมถึง 1-3 ชั่วโมงก็มีออกบ่อยครั้ง

อาจไม่เห็นรถมาต่อคิวยาวเป็นกิโลๆ เหมือนบางปั๊ม เพราะคนที่นี่ใช้มอเตอร์ไซค์มาต่อคิวครับ ::)
"Lose who you are to save what you love."

ออฟไลน์ TTTY

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:13:47 »
ขอเสริมนิดนึงว่า

ทำไมราคาเชื้อเพลิง ทองคำ หรือ วัตถุกดิบ อื่นๆ เช่น ทองแดง ฯลฯ หรือ ยางพารา ต้องอิงราคาตลาดโลก

เคยมีผู้รู้ท่านให้ความรู้ว่า เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศที่ผลิตสิ่งเหล่านั้นได้เองเพียงผู้เดียว และเป็นสินค้าที่ทุกประเทศต้องการใช้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความโกลาหลในตลาดโลก จึงต้องใช้ราคากลาง อย่างน้ำมันของไทยก็ใช้ตลาดที่สิงคโปร์เป็นหลัก ไม่ว่าแหล่งน้ำมันนั้นจะมาจากที่ใดๆ ในโลกนี้

สิงคโปร์ก็เหมือนตลาดค้าส่ง ถ้าเปรียบให้เห็นภาพก็คือ ตลาดไท เป็นต้น มะนาวจะส่งมาจากที่ใดๆ ก็มาขายที่ตลาดไท และกำหนดราคาขายโดยพ่อค้าในตลาดไท ที่ร่วมมือกันขายสิค้าในราคาต่อกิโลกรัม ที่ราคาเดียวกัน

อย่างทองแดง ก็เลือกใช้ราคาที่ตลาดของลอนดอน เป็นราคากลางเป็นต้น ทีนี้จาไมก้าจะซื้อทองแดงก็ต้องอิงราคาที่ตลาดกลางลอนดอน

คราวนี้ก้มีบางประเทศที่ต้องการชดเชยสวัสดิการของรัฐกลับไปให้ประชาชน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เดินต่อไปได้ รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ก็จะเข้าชดเชยตามแต่เงินที่มีอยู่ในคงคลังต่อไป เช่น ไทย ก็เลือกชดเชยน้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ แอลพีจี หรือ มาเลเซียก็ชดเชยราคาน้ำมันหลายๆ ประเภทของเขาให้กับประชาชนของมาเลเซีย

ซึ่งปัญหาของความเหลื่อมล้ำของราคาที่ตามมาก็คือ อย่างมาเลเซียก็ต้องออกกฎมาตรการไม่ให้รถยนต์จากไทยที่อยู่ตามตะเขบชายแดนข้ามไปซื้อน้ำมันที่เขาชดเชยให้ประชาชนของเขาในปริมาณมากๆ คือให้ซื้อได้เพียงพอแก่การเดินทาง เช่น 1 ถัง 50 ลิตรอะไรแบบนี้

หรืออย่าง สปป.ลาว ไม่ได้ชดเชยน้ำมันหรือก๊สซธรรมชาติให้กับประชาชนของเขาเลย ก็จะมีรถยนต์จาก สปป.ลาว ข้ามมาเติมน้ำมันดีเซลจากบ้านเราอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถขนไปเป็นทีละ 200 ลิตรได้ จะนำเข้าไปเพื่อใช้กับธุรกิจใดๆ แล้วอยากให้รัฐสนับสนุน ก็ต้องทำเรื่องไปตามขบวนการ และได้รับอนุญาตจึงจะนำเข้าในปริมาณมากได้ (ลองไปถามก๊าซหุงต้ม LPG ที่ฝั่งลาวดูสิครับ ถังหนึ่งราคาแพงกว่าฝั่งไทยอยู่เกือบ เท่าตัวมั๊ง ถ้าจำไม่ผิดนะครับ เพราะต้องนำเข้าเป็นถังๆ จากไทย) แต่ต่อไป สปป.ลาวอาจจะได้ใช้น้ำมันในราคาถูกลง หากรัฐต้องการจะสนับสนุนประชาชนเขา เพราะขณะนี้มีการเจรจากับกลุ่มประเทศอาหรับ ที่ต้องการจะเข้าไปตั้งโรงกลั่นน้ำมันใน สปป.ลาว

แล้วกลับมาที่ ทุเรียน มังคุด กล้วยหอมทอง มะม่วงน้ำดอกไม้ ของไทย ที่ทำไมไม่ขยายของเหล่านี้ในราคาเดียวกับที่ส่งไปขายใน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ สวิสเซอร์แลนด์ ก็เพราะสถานที่ตั้งต้นของสินค้าคือประเทศไทย และเราก็ส่งออกเป็นหลัก แต่ผลไม้เหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมของคนทั้งโลก ที่ทุกประเทศต้องการ ฉะนั้นประเทศปลายทางจึงนำเข้าไปและไปบวกราคาขายตามแต่ระยะทางและการรักษาคุณภาพสินค้าให้พร้อมส่งมอบ แต่หากวันหนึ่ง ทุกๆ คนบนโลกนี้ต้องกินมังคุด หรือมะม่วงน้ำดอกไม้ ขึ้นมา วันนั้นก็คงจะมีตลาดกลาง เช่น สิงคโปร์ เป็นคนเข้ามากำหนดราคาซื้อขาย

ซึ่งการกำหนดราคาของตลาดกลางเหล่านี้ก็มาจาก การเข้าทำการซื้อขายของกองทุน หรือผู้มีเงินทุนจำนวนมาก ที่เข้ามาเป็นคนปั่นราคา เหมือนตลาดหลักทรัพย์ พวกคนเหล่านี้จะวิเคราะห์ว่า ทั้งโลกมีความต้องการสินค้าเหล่านี้ในปริมาณเท่าใด และจะผลิตได้เท่าใดในช่วงเวลานั้นๆ ฉะนั้นราคาจะขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยการไล่ซื้อกันต่อๆ ไป จนเกินความเป็นจริง ถ้าสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการ ในทางกลับกัน หากสินค้ามีมากกว่าความต้องการ ราคาก็จะตก เพราะถูกเทขายทิ้งราวกับสินค้าไร้ค่า แล้วพวกนายทุน กองทุน ก็จะหันไปเก็งกำไรจากการซื้อขายล่วงหน้าแบบนี้ในสินค้าตัวต่อๆ ไป

สังเกตุดูว่า ทำไม ราคาน้ำมันตก ทองถึงขึ้น ทองตก น้ำมันขึ้น อะไรแบบนี้เป็นต้น

เมื่อประเทศผู้นำของโลกตกลงกันว่าจะใช้ราคากลางจากตลาดเหล่านี้ ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา ก็ต้องโอนอ่อนไปใช้ราคาตามที่เขาตกลงกันไว้ หากเราจะต้องการก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ต้องว่ากันตามกฎที่เขาตกลงกัน หากไม่ต้องการทำตามกฎก็ต้องออกจากกลุ่มไป และก็จะไม่มีใครมาทำมาค้าขายด้วย เหมือนเป็นการปิดประเทศเป็นต้น

ฉะนั้น ณ เวลานี้ เราคงต้องมาดูว่าเราจะบริหารจัดการตนเองอย่างไรเพื่อให้เงินทุกบาที่จ่ายออกไปคุ้มค่ามากที่สุด มิใช่มานั่งบ่นและต้องการให้คนอื่นแก้ไขตามใจเรา ยกเว้นเราจะมีเงินมหาศาลและสามารถเข้าไปทุบตลาด ยอมซื้อของแพงมาขายขาดทุนได้ ลำพังประชาชนอย่างเราๆ คงไม่มีอำนาจพอเพียงที่จะไปกดดันนโยบายของรัฐบาลได้มากนัก

เลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่ามากที่สุดกับเงินจำนวนที่เราจะต้องจ่ายไป และใช้มันให้คุ้มค่า ทนทาน ยาวนานพอ เป็นดีที่สุดครับ
888-8888

ออฟไลน์ Arado_kung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,062
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:24:56 »
ขอเสริมนิดนึงว่า

ทำไมราคาเชื้อเพลิง ทองคำ หรือ วัตถุกดิบ อื่นๆ เช่น ทองแดง ฯลฯ หรือ ยางพารา ต้องอิงราคาตลาดโลก

เคยมีผู้รู้ท่านให้ความรู้ว่า เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศที่ผลิตสิ่งเหล่านั้นได้เองเพียงผู้เดียว และเป็นสินค้าที่ทุกประเทศต้องการใช้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความโกลาหลในตลาดโลก จึงต้องใช้ราคากลาง อย่างน้ำมันของไทยก็ใช้ตลาดที่สิงคโปร์เป็นหลัก ไม่ว่าแหล่งน้ำมันนั้นจะมาจากที่ใดๆ ในโลกนี้

สิงคโปร์ก็เหมือนตลาดค้าส่ง ถ้าเปรียบให้เห็นภาพก็คือ ตลาดไท เป็นต้น มะนาวจะส่งมาจากที่ใดๆ ก็มาขายที่ตลาดไท และกำหนดราคาขายโดยพ่อค้าในตลาดไท ที่ร่วมมือกันขายสิค้าในราคาต่อกิโลกรัม ที่ราคาเดียวกัน

อย่างทองแดง ก็เลือกใช้ราคาที่ตลาดของลอนดอน เป็นราคากลางเป็นต้น ทีนี้จาไมก้าจะซื้อทองแดงก็ต้องอิงราคาที่ตลาดกลางลอนดอน

คราวนี้ก้มีบางประเทศที่ต้องการชดเชยสวัสดิการของรัฐกลับไปให้ประชาชน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เดินต่อไปได้ รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ก็จะเข้าชดเชยตามแต่เงินที่มีอยู่ในคงคลังต่อไป เช่น ไทย ก็เลือกชดเชยน้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ แอลพีจี หรือ มาเลเซียก็ชดเชยราคาน้ำมันหลายๆ ประเภทของเขาให้กับประชาชนของมาเลเซีย

ซึ่งปัญหาของความเหลื่อมล้ำของราคาที่ตามมาก็คือ อย่างมาเลเซียก็ต้องออกกฎมาตรการไม่ให้รถยนต์จากไทยที่อยู่ตามตะเขบชายแดนข้ามไปซื้อน้ำมันที่เขาชดเชยให้ประชาชนของเขาในปริมาณมากๆ คือให้ซื้อได้เพียงพอแก่การเดินทาง เช่น 1 ถัง 50 ลิตรอะไรแบบนี้

หรืออย่าง สปป.ลาว ไม่ได้ชดเชยน้ำมันหรือก๊สซธรรมชาติให้กับประชาชนของเขาเลย ก็จะมีรถยนต์จาก สปป.ลาว ข้ามมาเติมน้ำมันดีเซลจากบ้านเราอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถขนไปเป็นทีละ 200 ลิตรได้ จะนำเข้าไปเพื่อใช้กับธุรกิจใดๆ แล้วอยากให้รัฐสนับสนุน ก็ต้องทำเรื่องไปตามขบวนการ และได้รับอนุญาตจึงจะนำเข้าในปริมาณมากได้ (ลองไปถามก๊าซหุงต้ม LPG ที่ฝั่งลาวดูสิครับ ถังหนึ่งราคาแพงกว่าฝั่งไทยอยู่เกือบ เท่าตัวมั๊ง ถ้าจำไม่ผิดนะครับ เพราะต้องนำเข้าเป็นถังๆ จากไทย) แต่ต่อไป สปป.ลาวอาจจะได้ใช้น้ำมันในราคาถูกลง หากรัฐต้องการจะสนับสนุนประชาชนเขา เพราะขณะนี้มีการเจรจากับกลุ่มประเทศอาหรับ ที่ต้องการจะเข้าไปตั้งโรงกลั่นน้ำมันใน สปป.ลาว

แล้วกลับมาที่ ทุเรียน มังคุด กล้วยหอมทอง มะม่วงน้ำดอกไม้ ของไทย ที่ทำไมไม่ขยายของเหล่านี้ในราคาเดียวกับที่ส่งไปขายใน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ สวิสเซอร์แลนด์ ก็เพราะสถานที่ตั้งต้นของสินค้าคือประเทศไทย และเราก็ส่งออกเป็นหลัก แต่ผลไม้เหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมของคนทั้งโลก ที่ทุกประเทศต้องการ ฉะนั้นประเทศปลายทางจึงนำเข้าไปและไปบวกราคาขายตามแต่ระยะทางและการรักษาคุณภาพสินค้าให้พร้อมส่งมอบ แต่หากวันหนึ่ง ทุกๆ คนบนโลกนี้ต้องกินมังคุด หรือมะม่วงน้ำดอกไม้ ขึ้นมา วันนั้นก็คงจะมีตลาดกลาง เช่น สิงคโปร์ เป็นคนเข้ามากำหนดราคาซื้อขาย

ซึ่งการกำหนดราคาของตลาดกลางเหล่านี้ก็มาจาก การเข้าทำการซื้อขายของกองทุน หรือผู้มีเงินทุนจำนวนมาก ที่เข้ามาเป็นคนปั่นราคา เหมือนตลาดหลักทรัพย์ พวกคนเหล่านี้จะวิเคราะห์ว่า ทั้งโลกมีความต้องการสินค้าเหล่านี้ในปริมาณเท่าใด และจะผลิตได้เท่าใดในช่วงเวลานั้นๆ ฉะนั้นราคาจะขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยการไล่ซื้อกันต่อๆ ไป จนเกินความเป็นจริง ถ้าสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการ ในทางกลับกัน หากสินค้ามีมากกว่าความต้องการ ราคาก็จะตก เพราะถูกเทขายทิ้งราวกับสินค้าไร้ค่า แล้วพวกนายทุน กองทุน ก็จะหันไปเก็งกำไรจากการซื้อขายล่วงหน้าแบบนี้ในสินค้าตัวต่อๆ ไป

สังเกตุดูว่า ทำไม ราคาน้ำมันตก ทองถึงขึ้น ทองตก น้ำมันขึ้น อะไรแบบนี้เป็นต้น

เมื่อประเทศผู้นำของโลกตกลงกันว่าจะใช้ราคากลางจากตลาดเหล่านี้ ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา ก็ต้องโอนอ่อนไปใช้ราคาตามที่เขาตกลงกันไว้ หากเราจะต้องการก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ต้องว่ากันตามกฎที่เขาตกลงกัน หากไม่ต้องการทำตามกฎก็ต้องออกจากกลุ่มไป และก็จะไม่มีใครมาทำมาค้าขายด้วย เหมือนเป็นการปิดประเทศเป็นต้น

ฉะนั้น ณ เวลานี้ เราคงต้องมาดูว่าเราจะบริหารจัดการตนเองอย่างไรเพื่อให้เงินทุกบาที่จ่ายออกไปคุ้มค่ามากที่สุด มิใช่มานั่งบ่นและต้องการให้คนอื่นแก้ไขตามใจเรา ยกเว้นเราจะมีเงินมหาศาลและสามารถเข้าไปทุบตลาด ยอมซื้อของแพงมาขายขาดทุนได้ ลำพังประชาชนอย่างเราๆ คงไม่มีอำนาจพอเพียงที่จะไปกดดันนโยบายของรัฐบาลได้มากนัก

เลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่ามากที่สุดกับเงินจำนวนที่เราจะต้องจ่ายไป และใช้มันให้คุ้มค่า ทนทาน ยาวนานพอ เป็นดีที่สุดครับ


ปุ่ม Like อยู่ไหนเนี่ยจะได้กดให้สาระล้วนๆเลย LPG ขึ้นราคาเฉพาะภาคขนส่งก็พอแล้ว จะได้ดัดสันดานพวกรถซึ่งติดแก๊สซะมั่ง น้ำมันแพงแทนที่จะขับช้าลงหน่อยจะได้ประหยัดเงินได้เพิ่มขึ้น มันก็ติดแก๊สแทนแล้วก็มาโม้กับคนอื่นตรูติดแก๊สแล้วยังซึ่งได้เหมือนเดิมแต่จ่ายน้อยลง ทั้งๆที่พวกนี้หลายๆคนมันไม่ได้มีธุระด่วนต้องซึ่ง แต่ชอบขับเร็วก็เท่านั้น

ออฟไลน์ nick007

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 426
  • ความรักนั้นมันคืออะไรยิ่งเรียนรู้ยิ่งไม่เข้าใจ!!!!
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:34:38 »
เล่นกันแบบนี้เลยหรอคับเนี่ย ป.ต.ท.  :-\ :-\ :-\
เป็นธรรมดาของกลุ่มมีอำนาจคับ  ประชาชนอย่างพวกเราต้องยอม
แต่ถึงแก็สจะขึ้นยังไง อย่างน้อยก็ราคาต่ำกว่าน้ำมันอยู่ดีคับ

ออฟไลน์ jakkagy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 40
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:35:12 »
โพสต์นี้ขอนอกเรื่องที่เกี่ยวกับรถยนต์หน่อยนะครับ
    พอดีมีคนรู้จักทำงานอยู่กับองค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งนะครับ   เค้าเคยเล่าให้ฟังว่า  ถ้ารัฐวิสาหกิจไหนออกมาเข้าหุ้น ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางตรงก็คือพนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ  เพราะจะได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น สวัสดิการที่ดีขึ้น มีการพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นเพราะต้องแข่งขันสูงขึ้น  ส่วนผลประโยชน์โดยรวมต่อประเทศนั้นจะเกิดในทางอ้อม คือ การทำงานจะมีความโปร่งใสมากขึ้น  ลดปัญหาการทุจริตคอรัปชันในองค์กร  ลดขั้นตอนในการดำเนินการภายในองค์กรที่ยังอิงกับระบบราชการอยู่  การบริการประชาชนที่รวดเร็วทันใจขึ้น  มีเทคโนโลยีทันสมัยไม่แพ้ต่างชาติ  ซึ่งก็คือความเจริญที่เข้ามาแทนนั่นเอง  แต่นั่นก็ต้องแลกกับค่าไฟที่คงไม่ได้เสียกันอยู่แค่หน่วยละ 3 บาท อาจจจะมากกว่า 2-3 เท่าตัว  ค่าน้ำต่อหน่วยที่อาจจะแพงกว่าน้ำดื่มใน 7-11  ส่วนเรื่องรัฐบาลจะมีนอกมีในแบบ ปตท. มั้ย  แน่นอนมันต้องมีอยู่แล้ว  พี่ที่รู้จักเค้าได้รับเงินเดือนราวๆ หมื่นกว่าบาท   ถ้าออกไปอยู่ บ.เอกชน ในระดับกลางๆ ที่ไม่ดังมาก  เงินเดือนจะเริ่มที่ สองหมื่นขึ้น  ทุกวันนี้ข้าวของแพง ข้าวกะเพราไ่ข่ดาวจานละ 37 บาท  และคงไม่มีทีท่าว่าจะลดลง  พนักงาน บ.เอกชน ทั่วไปยังแทบกระอักเลย  แล้วคนเงินเดือนหมื่นกว่าบาทจะอยู่ได้หรือ นั่นจึงทำให้บางคนที่เก่งๆ หลายคนย้ายออกไปทำงานกับ บ.เอกชนใหญ่ๆ ก็คงจะรู้กันดีว่าเป็นบริษัทอะไร  ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ประเทศชาติสมองไหล(ขาดบุคลากรที่เก่งในการทำงานจริงๆ ทำงานให้ประเทศ)  ส่วนบางคนก็ไปเอาดีในการทำงานเสริมมากกว่างานหลัก(รายได้ดีกว่า แต่ก็ยังไม่ทิ้งงานเก่า) จนทำให้การทำงานประจำขาดประสิทธิภาพ  ซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ว่างานประจำก็คืองานบริการสาธารณูปโภคให้กับประชาชนนั่นแหละ  บางคนก็ทุจริตคอรัปชันซึ่งถือเป็นเรืองปกติขององค์กรรัฐ ซึ่งด้วยระบบการบริหารงานแบบอิงราชการมันไม่สามารถเอาผิดกับคนกลุ่มนี้ได้  โชคดีเค้ายังทำงานอยู่ได้  เค้าบอกว่าเค้าเข้าใจคนเหล่านั้น  คนทุกคนมันต้องกินต้องใช้ ต้องมีภาระที่ต้องใช้เงินกันบ้าง ค่าครองชีพสูงขึ้นทุกวัน แต่เงินเดือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม  แต่ละคนเลยเลือกทางออกที่ต่างกัน  ยังดีที่ทางบ้านเค้ายังพอมีฐานะบ้าง  จึงไม่เดือดร้อนอะไรมาก  เค้าบอกผมว่า ใจจริงก็อยากให้เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบ บ.มหาชน เหมือนกัน   เพราะกลัวว่าต่อไปอาจจะเป็นเหมือนแบบ การรถ........(คงรู้กันนะครับ) ประเทศจะได้เจริญ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด  แต่แน่นอนถ้าทำแบบนั้น คนที่เดือดร้อนคือประชาชน  สุดท้ายเค้าก็ถามผมว่า  ถ้าผมเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผมจะเลือกทางไหน   ผมคิดอยู่นานนะ สุดท้ายก็บอกไปว่า "เป็นผมจะลาออกไปเปิดปั้ม ปตท. ครับ"  ไม่เดือดร้อนใคร  อิอิ      แต่ก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่ายนะครับ  สมมติถ้าคุณเป็นพนักงานรัฐ   คุณละจะเลือกทางไหนระหว่างเป็นผู้เสียสละ  กับผู้รับได้ผลประโยชน์

ออฟไลน์ Infinity

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:46:20 »
อย่าไปงมงายกับข้อมูลโบราณครับ
เป็นข้อมูลที่ปล่อยมาจากทางฝั่งตรงข้ามของ ปตท. ซึ่งจริงบ้าง พูดไม่ครบบ้าง
บทความนี้มีการวิจารณ์ถกเถียงกันมานานแล้ว และขึ้นกระทู้แนะนำของเวปพันไปหลายครั้ง ล่าสุดก็ไม่ถึงเดือน
ซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน ไม่ได้ออกมาแก้ตัวให้ทาง ปตท. ครับ แต่ราคาสินค้าสมัยนี้ผูกโยงกันทั้งโลก
อะไรที่เป็นของจริง ดีจริง วันเวลาจะพิสูจน์ด้วยจำนวนผู้ใช้เองครับ
ถ้าอ่านใจความดีๆจะเข้าใจว่า

คนพูดต้องการจะสื่อข้อมูลเท็จจริง หรือว่าพูดเพื่อสร้างอารมณ์ทางลบกับปั้มน้ำมันบางยี่ห้อ

ออฟไลน์ TTTY

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 21:51:49 »
NGV เป็นสินค้าหอกข้างแคร่ที่คอยทิ่มตำหัวใจ ปตท. ตลอดเวลา เพราะมันเป็นสินค้าที่ถูกนำมาโปรโมตเพื่อเรียกคะแนนจากประชาชนในสมัย ทักษิณ 1 และ ปตท. ก็ไม่เคยได้กำไรจากการขาย NGV เลยสักนิด เพราะรายได้ที่ได้มาก็ต้องนำไปใฃ้จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบ แรงงาน และยังต้องนำไปก่อสร้างปั๊ม และพัฒนาการขนส่งอีกด้วย จึงทำให้ NGV เป็นสินค้าที่ขาดทุยของ ปตท. และยังต้องเบียดบังกำไรจากสินค้าตัวอื่นๆ ที่ได้กำไรมากๆ เช่น LPG, 91, 95 อีกทั้งปริมาณที่ผลิตได้ก็ไม่ได้มากพอที่จะมาซัพพอร์ตการใช้ของรถยนต์ทั้งประเทศได้เพียงพอ หากต้องการใช้กันมากๆ ก็ต้องนำเข้ามาเสริมอีกด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงบริษัทอาจจะบักโกรกได้ ทั้งๆ ที่แต่เดิม ใช้จุดไฟเผาทิ้งไปเสียด้วยซ้ำ

ในสมัยที่ ปตท. เิปิดตัว NGV ใหม่ๆ นั้น นโยบายของ ปตท. คือ จัดตั้งปั๊ม NGV ตามแนวท่อส่งก๊าซเท่านั้น แต่ก็ติดที่ปั๊มของ ปตท. เองก็มีจำนวนไม่มากในแนวท่อก๊าซที่มีพื้นที่ภายในปั๊มพอที่จะัตั้ง หัวจ่ายก๊าซ หรือ ตั้งแทงค์ที่เก็บ

ต่อมาทีมวิจัยของส่วน NGV ก็มีแนวคิดที่จะทำให้ NGV มีสถานะเป็นของเหลว จากสถานะเดิมคือก๊าซ ด้วยการลดอุณหภูมิของก๊าซลง เพราะถ้ายังคงให้เป็นก๊าซต่อไป และยังต้องขยายปั๊มให้ทั้วถึงทั้งประเทศ ปตท. ก็จะต้องขนถ่ายก๊าซด้วยรถบรรทุกก๊าซขนาดใหญ่ ซึ่งครั้งหนึ่งๆ ขนส่งได้ไม่คุ้มค่า หากต้องเดินทางในระยะทางไกลๆ และยังขนได้ไม่มากพอด้วย

แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวจึงผุดขึ้นมาให้ทำการศึกษาต่อไป ด้วยข้อดีคือ ต้นทุนขนส่งต่ำ สามารถส่งได้คราวละมากๆ ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย (แทงค์ของเหลวสร้างให้สูงๆ ได้ แต่ก๊าซต้องสร้างแนวนอน หรือวางไว้ใต้ดิน) มีความปลอดภัยมากกว่าก๊าซ (เพราะกว่าจะถึงจุดเดือดจนลุกเป็นไฟ ต้องใช้เวลานานมาก ดีไม่ดี อาจจะดับไปเสียก่อนจะได้ลุก) จนสามารถก่อสร้างปั๊มในเขตเมืองหลวงชั้นในได้ เพราะในต่างประเทศเองก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

แต่ทีมวิจัย ปตท. ก็ไม่สามารถผลักดันได้สำเร็จ (เดาเองนะครับเพราะทุกวันนี้ปั๊มยังมีน้อยเหมือนเดิม ไม่ได้เพิ่มมากมาย) เพราะต้องใช้เงินทุนมหาศาล และแม้ว่าวิธีการขนส่ง NGV ที่ถูกแปลสถานะให้เป็นของเหลวจะมีต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยต่ำกว่าเดิมมาก แต่ก็ต้องไปลงทุนก่อสร้างเครื่องแปลงสถานะจากของเหลวกลับไปเป็นก๊าซที่ปั๊ม หรือที่หัวจ่าย ก่อนที่จะเติมให้กับประชาชนอยู่ดี โครงการนี้จึงต้องชะลอต่อไป

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเดาเอาเองก็คือ ในอนาคตอันใกล้นี้ โลกเรามีพลังงานทางเลือกตัวอื่นที่จะโดดเด่นที่สุดเข้ามาแทนที่น้ำมัน นั้นคือ พลังงานไฟฟ้า (ดูได้จากการที่ ปตท. ไปร่วมมือกับ ช.การช่าง ไปเจรจาขอสร้างโรงไฟฟ้าที่ไชยะบุรี สปป.ลาว แต่ก็ถูกชะลอออกไปอีก 10 ปี จากการร้องขอจากเวียตนาม)

ในขณะที่ ณ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก็มีหลากตัวเลือกให้ประชาชนเลือกใช้อยู่ดี ทั้ง แอลพีจี เอ็นจีวี 91 95 แก๊สโซฮอล ดีเซล ไฮบริด และค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็พยายามออกผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้พลังงานออกมาอยู่ตลอดเวลา

และในอนาคตรถยนต์จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น จากการใช้พลังงานร่วมในช่วงแรก เช่น ไฮบริด จนถึง ไฟฟ้าเพียวๆ (แม้จะต้องรออีก 10 ปี) ค่ายรถญี่ปุ่น (มิตซูบิชิ, นิสสัน รุ่นลีฟ เป็นต้น) เกาหลี ยุโรป (โฟล์ค, มินิ ในอเมมริกา) ก็เริ่มพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพียวๆ กันแล้ว ณ วันนี้ ซึ่งไม่เกิน 10 ปี มีให้ขี่กันถ้วนหน้าแน่ๆ

ผมจึงคิดว่า ปตท. ก็สู้อยู่เฉยๆ หรือทำอะไรตามน้ำที่รัฐบาลสั่ง / ร้องขอ มาบ้าง เพื่อไม่ให้ประชาชนด่าไปมากกว่านี้ แล้วก็ซุ่มตัวไปพัฒนาสินค้าตัวใหม่ นั่นคือ "ไฟฟ้า" เพื่อมาขายประชาชน ตอบสนองเทรนด์การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคต ไม่ดีกว่าหรือ ต่อไปเราก็ขับรถไฟฟ้าไปเติมกระแสไฟฟ้าที่ปั๊ม ปตท. ต่อไป ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2011, 21:56:22 โดย TTTY »
888-8888

ออฟไลน์ Pasakorndvm

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,310
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 22:01:27 »
เป็นข้อมูลในแง่หนึ่ง ผมไม่มีความรู้พอที่จะวิเคราะห์ แต่ผมมองว่า LPG เหมาะสมกับใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์
มากกว่า CNG (NGV) แน่นอน
'19 Honda Civic EL

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,153
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 22:16:10 »
ตอนนี้ ปตท. ก็วิจัยแบตเตอรี่สำหรับรถ EV อยู่ครับ รู้สึกจะร่วมกับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง แต่ไม่ออกข่าวมากมาย

ออฟไลน์ TTTY

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 22:23:22 »
เป็นข้อมูลในแง่หนึ่ง ผมไม่มีความรู้พอที่จะวิเคราะห์ แต่ผมมองว่า LPG เหมาะสมกับใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์
มากกว่า CNG (NGV) แน่นอน

ขอเสริมนะครับ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้กับรถยนต์มาตั้งนานแล้วครับ ถ้าจำไม่ผิดในสมัยแรกเริ่ม Benz เองก็ตั้งใจจะพัฒนารถยนต์ของตนให้ฉีกแนวออกไปจากค่ายอื่นๆ ที่ใช้น้ำมัน ด้วยการใช้ LPG

แต่ปัจจุบันเราใช้ LPG เป็น "ก๊าซหุงต้ม" ซึ่งเราใช้ CNG หรือ NGV มาหุงต้มไม่ได้ (ดีเท่า LPG) และอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้มากกว่า LPG ด้วย หากใช้ในระบบปิด เช่นบ้านเรือนที่ไม่มีการถ่ายเทของอากศที่ดีพอ

ดังนั้น นโยบายของภาครัฐก็เลยสนับสนุนให้ใช้ CNG หรือ NGv (เมื่อมันสามารถใช้แทน LPG ได้) กับรถยนต์ หรือ อุตสาหกรรมแทน เพราะไม่เช่นนั้นปริมาณ LPG ก็จะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่ารายได้จากการส่งออกไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการหุงต้ม ในต่างประเทศ ก็จะต้องพลอยกระทบไปด้วย

หากตัดเอาเรื่องกำไรหรือรายได้ของ ปตท. ออกไป ผมยังเชื่อว่า การสงวน LPG ไว้ให้ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม น่าจะดีที่สุด และผลักดันให้รถยนต์ LPG ไปใช้  NGV แทน แม้ว่า LPG จะเหมาะสมกับรถยนต์มากกว่า และ มีปั๊มให้เติมมากกว่า หรือแม้แต่ใช้เวลาในการเติมมากกว่า รวมถึงจะทำลายเคร่องยนต์ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ NGV โดยตรงมากกว่าการใช้ LPG เล็กน้อย

เพราะยังมีคนที่มีรายได้น้อย และไม่มีรถยนต์ใช้อย่างเราๆ ที่เขายังต้องใช้ LPG เพื่อหุงต้มต่อไป รวมถึงเราเองก็ต้องกินอาหารที่ใช้ LPG ในการหุงต้มกันทุกมื้อ หรือเราจะแฏิเสธ LPG แล้วหันไปหาอาหารแช่แข็งที่ต้องทำให้ร้อนหรืออุ่นด้วย "ไมโครเวฟ" แทน เพียงแค่ผมเดินเข้าร้านอาหารที่ใช้ Microwave มาอุ่นอาหารให้ ยังรู้สึกว่าเหมือนถูกเอาเปรียบนิดๆ (คิดไปเอง) เพราะอยากกินอาหารที่ปรุงสุก หรืออุ่นจาก LPG มากกว่า ด้วยรสชาติและคุณภาพที่เหนือบรรยาย

ถ้าจะให้หันกลับไปใช้ถ่านฟืนจากไม้ ก็ดูจะเป็นการเอาเปรียบและทำร้ายธรรมชาติมากไป และผลกระทบของการทำร้ายธรรมชาติ มนุษย์ก็เป็นห่วงโซ่สุดท้ายของการรับเคราะห์กรรมนี้เช่นกัน

แต่ก็น่าเห็นใจคนที่ติดตั้ง LPG มาแล้วต้องเปลี่ยนไปใช้ NGV โดยที่ราคาชุดติดตั้งก็แพงกว่า LPG มหาศาลจนอาจจะนำมาคำนวณได้ว่าไม่คุ้มที่จะเปลี่ยน ยกเว้นรถคันนั้นๆ จะเป็นคันที่ติดตั้งระบบเชื้อเพลิง CNG มาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต และออกแบบโดยผู้ผลิตค่ายนั้นๆ ไม่ใช่ที่ค่ายญี่ปุ่นทำกันอย่างทุกวันนี้ ที่นำเอารถยนต์ของตนไปปรึกษากับบริษัทที่รับติดตั้ง NGV แล้วก็นำไปติดตั้งมาเพื่อขายในนามของค่ายของตนเอง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เชื่อว่าค่ายนั้นๆ เป็นคนออกแบบมาแต่ต้น แม้ว่าจะมีการรับประกันก็ตามที

ผมเอง คนหนึ่งก็อยากติด LPG แต่ก็มาดู NGV ด้วย เพราะไม่อยากรบกวนภาค LPG แต่เมื่อเอาค่าติดตั้งมาคำนวณแล้ว ก็พบว่า เอาไปเติมน้ำมันเหมือนเดิมจะยังวิ่งต่อไปได้อีกปี สองปี ซึ่งก็ถึงเวลาของการเปลี่ยนรถคัยใหม่พอดี และหากออกไปต่างจังหวัดล่ะก็ เครียดเลยครับ ถ้าต้องไปจอดรอในปั๊มครั้งละ 30-45 นาที สำหรับการเติม 1 ครั้ง และวิ่งได้เพียงแค่ ร้อยกว่าโลเท่านั้น

ฉะนั้นขอเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ต่อไป ดีกว่า 555+

ประสบการณ์ตรง ... ผมเคยเช่าเหมารถตู้ NGV แบบเหมารวมเชื้อเพลิงด้วย โดยวิ่งจาก กรุงเทพไปหนองคาย ซึ่งมีเพื่อนและลูกน้องต้องการไปเที่ยวแถบนั้น ส่วนผมต้องข้ามไปทำงานที่ สปป.ลาว และกลับเครื่องบินในขากลับ โดยออกจากกรุงเทพกันตอน 21.00 น. ไปถึง หนองคาย 08.30 น. ซึ่งเวลาที่เสียไปหมดไปกับการเข้าปั๊มน้ำมัน คนขับดูไม่ค่อยพร้อมเพราะกลางวันคงจะขับอีกงานหนึ่ง

ออกจากกรุงเทพ ได้ไม่เท่าไรก็แวะปั๊ม NGv ปั๊มนี้เสียเวลาเติมราวๆ 15 นาที เพราะไม่มึคน วิ่งไปอีกสักครึ่งชั่วโมง คนขับจอดแวะปั๊มน้ำมันเพื่อฉี่และดื่มกาแฟอีกสัก 15 นาที วิ่งต่อไปอีก 40 นาที แวะเติม NGV เสียเวลาเติมสัก 20 นาที วิ่งไปอีกชั่วโมงครึ่ง แวะเข้าปั๊มล้างหน้าสัก 10 นาที

วิ่งต่อไปเรื่อยๆอีกชั่วโมงหนึ่ง คนขับแวะปั๊มอีกที คราวนี้จอดรถนอนครับ นอนบนรถเลย ทุกๆ คนบนรถงงมาก สรุปจ้างมานอนโดยแท้ ผ่านไป ราวๆ 1 ชั่วโมง ก็ออกรถวิ่งไปอีก 30 นาที ก็แวะปั๊ม NGv ตรงก่อนเข้าขอนแก่น คราวนี้เสียเวลาอีกร่วมๆ 40 นาที เพราะปั๊มนี้มีรถบรรทุกและรถเก๋ง รถกระบะ มาเติม NGv จำนวนมาก จนต่อคิวยาวเหยียด จนคนขับหลับคาพวงมาลัย และเด็กปั๊มต้องมาเคาะดระจกเรียกให้ขยับรถเข้าไปยังช่องจ่ายก๊าซ แถมมีหน้ามาโมโหคนบนรถว่าทำไมไม่ปลุกกัน จะปลุกยังไงตูก็ง่วงและเพลียกับการขับรถของพี่เหลือเกิน

วิ่งต่อไป จนจะเข้าอุดรธานี ก็แวะเติม NGV อีกรอบ ซึ่งรอบนี้คิวยาวจนเลยออกมานอกปั๊ม ผมจึงตัดสินใจจ่ายค่าน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล 91 ให้เพิ่มอีก 1,000 บาท เพื่อให้รีบๆ ไปที่หนองคายโดยด่วน ซึ่งตามกำหนดแล้วต้องไปถึงตั้งแต่ตี 4-5 หรือช้าสุดไม้เกิน 6 โมงเช้า แต่นี่พี่แกล่อไปถึงเอาซะ แปดโมงครึ่ง เข็ดกับรถตู้ NGV ทางไกล ไปชั่วชีวิต คราวหน้าขอ ดีเซลดีกว่าครับ

ส่วนขากลับนั้นคนบนรถก็รับชะตากรรมแบบเดิม คือ จอดตลอด จ้างมาจอดโดยเฉพาะ ส่วนผมก็ขอลาจากคณะ แยกไปทำงานและนั่งเครื่องกลับกรุงเทพ ตามแผนที่ได้วางไว้แต่ต้น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2011, 22:43:23 โดย TTTY »
888-8888

ออฟไลน์ E-OOD

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 102
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 00:31:02 »
คุณ NgoH พูดอย่างนี้ก็ไม่ถูกนะครับ  ปีที่แล้ว เราต้องใช้เวลาตั้ง 3 ไตรมาส  ( 9 เดือน )  กว่าจะกำไร แสนล้านนะครับ  เห็นใจกันหน่อยสิครับ  โธ่

ออฟไลน์ nicsjerry

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 497
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 03:46:22 »
.........  กลับมาอีกสมัยผมว่า การไฟฟ้าอาจจะไม่เหลือเป็นของคนไทย  ประชาชนจะถูกเอาเปรียบจากคนมีอำนาจ  รวยเท่าก็ไม่พอ ต้องการอะไรอีกT^T  อยู่ต่างประเทศไม่ต้องกลับมาแล้วนะ คุณ ..

ออฟไลน์ gorilla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,461
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 06:28:58 »
ปตท. เงินเยอะมากจริงๆครับ บริษัทลูกก็มีเยอะมาก ดำเนินงานหลากหลายธุรกิจ

กำไรเท่าไหร่ หรือว่ามาจากน้ำมันอะไรเท่าไหร่ ผมไม่ทราบหรอกครับ

แต่ที่ควรจะเป็นก็คือ กำไรตั้งเยอะแยะ มันไปเข้ากระเป๋านักลงทุนหมดครับ

แล้วที่ว่าเปลี่ยนเป็นมหาชนแล้วไม่โกง ไม่จริงอ่ะครับ

พนักงาน ปตท. โบนัสก็เยอะนะครับ ลองไปถามคนรู็จักดูซิ ว่าปีที่แล้วได้กันกี่เดือน  เหอะๆ

พูดตรงๆ มันใช้ไม่ได้กับสโลแกน "พลังไทย เพื่อไทย"

ออฟไลน์ poonshop

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 546
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 06:41:32 »
ผมเกลียด ปตท.ครับ....คนไทยทำกันเองครับ...สงสารประเทศไทยครับ....

ออฟไลน์ MoLee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,191
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 09:34:23 »
ปตท. ผมยื่นคำขาด แล้วว่าเครื่องยนต์รถผม จะไม่มีวันได้กินน้ำมัน ปตท. อีกแน่ๆ (ถ้าเลี่ยงได้นะ;D)

ออฟไลน์ SuperDOM

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 157
    • อีเมล์
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 12:31:11 »
เหมือนจะเคยอ่านที่ไหนมาก่อนน๊าาาาาาาา 

ออฟไลน์ LaTeX

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 973
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 13:57:00 »
.........  กลับมาอีกสมัยผมว่า การไฟฟ้าอาจจะไม่เหลือเป็นของคนไทย  ประชาชนจะถูกเอาเปรียบจากคนมีอำนาจ  รวยเท่าก็ไม่พอ ต้องการอะไรอีกT^T  อยู่ต่างประเทศไม่ต้องกลับมาแล้วนะ คุณ ..

ฟังดูมีกลิ่นการเมือง บอร์ดนี้ห้ามโพสเรื่องการเมืองนะครับ

เรื่องLPGอันนี้ผมเห็นในเวปโลกสวยเป็นกระทู้แนะนำ เมื่อไม่นานนี้เองครับ อ่านๆแล้วได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้คือ
1.ข้อมูลนี้ค่อนข้างเก่ากี่ปีแล้วไม่รู้ ตอนนี้ปริมาณLPGต้องนำเข้าแล้วไม่ได้เหลือส่งออกเยอะดังที่กล่าวอ้าง
2.อันนี้เป็นฟอร์เวิร์ดเมล์ มีการตีไข่ใส่ความค่อนข้างเยอะ อย่างเรื่องปั้มLPGถ้าPTTมีอำนาจห้ามเปิดจริง ตอนนี้คงไม่ผุดเต็มไปหมด
3.จากข้อ1และ2 ควรฟังหูไว้หูครับสำหรับเรื่องที่กล่าวมานี้
ความเห็นของผมคือการแปรรูปทำให้PTT องค์กรเติบโตได้อีกแต่หลายอย่างต้องปรับปรุงเช่น ความโปร่งใส(ของนโยบายที่รัฐเอื้อให้PTT) คุณภาพของน้ำมันเช่นหลายคนในเวปได้สังเกตมา  อยากเห็นองค์กรนี้เป็นองค์กรที่ดีเชิดหน้าชูตาคนไทยเหมือนกันครับแต่ตอนนี้ผมคิดว่ายังไม่ใกล้จุดนั้น

ออฟไลน์ GeneralAK

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 55
Re: ทำไมรัฐบาลไทยไม่สนับสนุน LPG มีคำตอบ
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 14:35:19 »
อยากให้ย้อนไปดูสภาพปั๊ม ปตท ก่อนแปรรูป

สภาพไม่ต่างจาก การรถไฟ ในทุกวันนี้เลย

แล้วบริษัทสภาพแบบนั้น จะมาเป็นคนชี้นำราคาน้ำมันในตลาดได้ยังไง จะแบกขาดทุนไปได้อีกขนาดไหน สุดท้ายการขาดทุนนั้นก็เป็นภาษีเราที่ไปช่วยอุดหนุน ปตท เองอยู่ดี (ผู้บริหาร พนักงาน ก็ได้โบนัสเหมือนเดิม ก็ไม่มีใครคัดค้านได้นี่ เค้าไม่ได้เป็นบริษัท)

ผมมานั่งนึกดูแล้ว ถ้าไม่แปรรูป ตอนนี้ ปตท จะเหลืออยู่กี่ปั๊มทั่วประเทศ

ถ้า ปตท ประกาศลดราคาน้ำมัน บริษัทน้ำมันต่างชาติ อย่าง เชล หรือ เอสโซ่ คงจะนั่งยิ้มในใจ

อยากลดก็ลดไป จะมีน้ำมันขายได้สักกี่วันเชียว แล้วบริษัทต่างชาติก็ตั้งราคาเองตามใจชอบ


สรุปแล้ว ผมเห็นด้วยกับการแปรรูปมากกว่า รวมถึงอยากเห็นการแปรรูปของการรถไฟ การไฟฟ้า และการประปาด้วย (แต่รัฐต้องควบคุมราคาได้ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่)