ในความคิดของผม
ผมมองว่า นี่เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เจตนาของการออกกฏหมายกับวิธีการ มันขัดกันเอง
ถ้าเจตนาในการให้ทำบัตรตั้งแต่เจ็ดขวบ เพื่อจะรักษาสิทธิความเป็นพลเมือง
จริงๆ ประชากรทุกคนได้สิทธินั้น ตั้งแต่เกิดและไปจดสูติบัตรแล้วครับ
ส่วนสิทธิในการรักษาพยาบาลหรือสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสวัสดิการรัฐ
สิทธิเหล่านี้มันมีโครงการของรัฐมา support อยู่แล้ว เช่น บัตรประกันสุขภาพ หรือการเป็นสมาชิกโครงการต่างๆ
บัตรสมาชิกของโครงการเหล่านี้ ก็เป็นตัวให้สิทธิกับผู้ถือไปแล้ว และช่วยให้การแจกจ่ายประโยชน์นั้น มันไปถึงแก่ผู้ที่จำเป็นและมาแสดงความต้องการ
ดีกว่าการแจกสิทธิประโยชน์ไปทั่วๆ แต่ไม่ได้ดูว่ามีคนที่ต้องการและจำเป็นจริงๆกี่คนครับ
และประเด็นสำคัญ ในเรื่องการ Identity ตัวบุคคล ในรัฐธรรมนูญของไทยได้ให้สิทธิกับผู้เยาว์ไว้น้อยอยู่แล้ว
ทุกๆกิจกรรม ต้องทำภายใต้การยินยอมและรับรู้จากผู้ปกครองทั้งสิ้น ดังนั้น ชื่อผู้ปกครองมันก็เป็นตัวระบุอยู่แล้วครับ
ว่าเด็กคนนั้นเป็นใคร การจะมีบัตรประชาชน หรือไม่มี ผมมองว่ามันไม่แตกต่างกันเลยครับ
และหากจะเอาปัญหาการสวมตัวบุคคลของต่างด้าวมาโยงเป็นเหตุผล
การสวมชื่อในปัจจุับัน เค้านิยมสวมชื่อกับผู้เสียชีวิตที่อาจจะเสียก่อนวัยอันควรหรือไม่ได้ไปแจ้งตาย หรือ ใช้การสวมชื่อซ้อนไปเลย
การสวมชื่อกับเด็กนั้นเสี่ยงมากครับ ต่อการเป็นปัญหาในภายหลัง เพราะวันหนึ่งเด็กโตขึ้นมาไปแจ้งทำบัตรหรือมีรายชื่อเลือกตั้ง
แค่นั้น การสวมชื่อที่ขบวนการลักลอบทำไว้ มันก็ฟ้องขึ้นมาแล้วครับ ขบวนการลักลอบต่างด้าวไม่นิยมใช้วิธีสวมชื่อเด็กกันหรอกครับ
จากเหตุผลที่ระบุมาถึงความจำเป็นที่เด็กเจ็ดขวบต้องมีบัตรประชาชน ส่วนตัวผมเองคิดแล้วมันไม่สมเหตุสมผลเลยครับ
ผมอยากเห็น การทำใบขับขี่รถยนต์ให้เด็กอายุ 15 ปี และการเปลี่ยนการสอบใบขับขี่ให้มีการวัดทัศนคติในการรับผิดชอบสังคมเพิ่มไปด้วย มากกว่า
ผมมองว่า สองอย่างนี้ หากเกิดขึ้นจริงเมื่อไหร่ จะมีผลทำให้เด็กไทยมีวุฒิภาวะมากขึ้นและมีจิตสาธารณะอย่างที่อยากให้มีกันเหลือเกิน
เพราะการที่เด็กได้ฝึกรับผิดชอบ และรู้จักว่าทุกการกระทำของตนนั้นมีผลต่อสังคมทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้มากกว่า
ที่จะไปทำอะไรซ้ำซ้อนกับสิ่งที่มันมีอยู่แล้วครับ
ทุกข้อความเป็น ความเห็นส่วนตัวครับ