ไม่รู้ว่ามีใครเคยลงหรือยังจากเว็ป alfathailand.com นะคับAlfa Romeo 156เป็นรถที่เข้ามาทำตลาดในช่วงประมาณปี 99-00 ผมเองก็ยังจำได้ไม่แน่ชัด
โดยบริษัท ไทยเพรสทีส เป็นผู้นำเข้ามาจัดจำหน่าย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 2 ล้านไปถึง 2.4ล้าน
แล้วแต่ออปชั่นของแต่ละคัน
ด้วยราคาที่ใกล้เคียงกับรถ บีเอ็ม 318 และเบนซ์ C180 แต่ราคาจะต่ำกว่านิดหน่อย
และชื่อเสียงของ Alfa 156 ตอนนั้นจริงๆก็เหนือชั้นกว่านิดหน่อย
เนื่องจากได้รางวัล car of the year มาหมาดๆ และเป็นยุคทองของ 156
ที่ก้าวมาแทนยุคตกต่ำของ 155 ได้พอเหมาะพอเจาะพอดี
ทำให้สาวก Alfa ที่รอคอยกันมานาน ได้จับจองเอามาไว้ที่บ้านกันคนละคัน
แต่ยอดขายก็ไม่ได้ดีอะไรมากมาย แต่ผลตอบรับก็ถือว่าใช้ได้ระดับนึง
ทำให้ทางบริษัทแม่ที่อิตาลี่มีโปรเจคที่จะประกอบตัว 156 ในประเทศไทย
โดยใช้โรงงานของ GM (โอเปิ้ลในอดีต)เป็นฐานการผลิต และส่งขายในแถบเอเชีย และออสเตรเลีย
หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2002 ทางไทยเพรสทีสก็ได้เปิดตัว Alfa Romeo 156 รุ่น CKD
โดยใส่ออปชั่นไว้เต็มๆจริงๆ กับราคาเปิดตัวที่ 1.79 ล้าน ถูกกว่ารุ่น CBU ออปชั่นครบๆประมาณ 5 แสนบาท
และก็อย่างที่คาด ยอดขายถล่มทลายจริงๆในปีแรก
แต่หลังจากมียอดขายที่เยอะมาก แต่การบริหารงานเซอร์วิสไม่ได้โตตามไปด้วย
และช่างที่ไม่ได้มีประสบการณ์การซ่อมเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง เซอร์วิสเยอะมากๆ
จนทำให้ชื่อเสียงของ Alfa เป็นลบอย่างมาก จนหลายๆคนถึงกับส่ายหัว
และขายรถทิ้งโดยยอมขาดทุนในราคาที่เยอะมากๆ ทำให้ Alfa หลังจากเปิดตัวได้ 2-3 ปีราคามือสองตกดิ่งลงเหวอย่างรวดเร็ว
-----------------------------------------------
จบเรื่องประวัติคร่าวๆกันไปแล้ว ทีนี้มาถึงตัวรถบ้างนะครับ
สิ่งแรกเลยที่คนที่จะซื้อรถอัลฟ่าสงสัยกันมากว่า
156 รุ่นประกอบใน
CKD กับประกอบนอก
CBU ต่างกันตรงไหน
อย่้างแรกเลยที่จะสังเกตุได้ง่ายๆคือ
คิ้วกันชนหน้าและกระจกข้างของรุ่น CBU จะเป็นสีดำครับ
ส่วนรุ่นประกอบในจะเป็นสีเดียวกันกับตัวรถ
แต่ตอนนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะดูกันง่ายๆแล้ว
เพราะว่ารุ่นประกอบนอกทั้งหลาย อายุก็ปากันไป 8-9 ปีแล้ว
ส่วนใหญ่จึงผ่านการทำสีกันมา ทำให้ใช้เป็นจุดที่จะสังเกตุไม่ได้แล้ว
ว่ารุ่นไหนประกอบในหรือประกอบนอกกันแน่
* รูปของรถประกอบในครับ สังเกตุว่าคิ้วกันชนและกระจกข้างเป็นสีเดียวกับตัวรถ
(แต่ในรูปเป็นรถเมืองนอกนะครับ จะมีที่ฉีดล้างไฟหน้าด้วย แต่เมืองไทยเราไม่มีนะครับ)
ถ้าอยากจะให้รู้กันจริงๆต้องดูที่ภายในนะครับ
จะสังเกตุได้ง่ายมากๆ โดยรุ่น CBU (เฉพาะเมืองไทย)
จะมีแผงคอนโซลเป็นลายเคฟล่าและบางคันเป็นสีเงิน
ส่วนระบบแอร์จะเป็นแบบแมนนวล
ทางด้านพวงมาลัยก็จะเป็นแบบสามก้านธรรมดา
ไม่มี Paddle shift และ ปุ่ม control วิทยุ
เวลาจะเปลี่ยนเกียร์จะใช้กดปุ่ม + - ที่พวงมาลัยแทน
รุ่น CBU จะมี 2 รุ่นให้เป็นจุดสังเกตุนะครับคือ
หน้าปัดดำ กับหน้าปัดขาว
รุ่นหน้าปัดขาวคือรุ่น ธรรมดาครับ
ส่วนหน้าปัดส้มคือรุ่น sport package
จะมาพร้อมช่วงล่างที่กระชับและเตี้ยกว่าประมาณ 1 นิ้ว
และหน้าปัดเป็นสีดำ รวมทั้งมี skirt ด้านข้างมาให้ด้วย
รุ่นหน้าปัดส้ม
Skirt ด้านข้าง
คอนโซลกลางของรุ่น CBU แบบเต็มๆครับ
(รูปแทนนะครับ ในเมืองไทยไม่มีรุ่นลายไม้)
เทียบกับคอนโซลกลางของรุ่น CKD
สังเกตุรถ CKD พวงมาลัยที่สวยงามและไฮเทค พร้อมกับคอนโซลกลางที่ดูดีมีระดับ
ระบบแอร์ที่เป็นดิจิตอล ระบบ Full Auto และช่องเป่าลมแอร์ตรงกลาง ที่มี digital onboard
เพื่อแสดงผลการทำงานต่างๆของรถ ทั้งระยะขับขี่ น้ำมันคงเหลือ และสิ่งผิดปกติต่างๆของรถ
พวงมาลัย CKD
คอลโซล CKD
จอ onboard ของ CKD
ส่วนที่แตกต่างกันอย่างอื่นคือ
เครืื่องยนต์ของรุ่น CUB จะแรงกว่ารุ่นประกอบใน 5 แรงม้า
เนื่องจากรุ่นใหม่มีมาตราฐานการปล่อยกาซคาร์บอนน้อยลง
ทำให้กำลังแรงม้าและแรงบิดลดลงเล็กน้อย
เบรคของรุ่น CBU จะแตกต่างกันเล็กน้อย
โดยเฉพาะผ้าเบรคหลังที่ใช้แทนกันไม่ได้(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ)
เพื่อนๆคนไหนที่จะซื้อผ้าเบรคเองให้ระวังกันนิดนะครับ
ระบบ ABS ที่ต่างกันเล็กน้อย เพราะ CKD จะพ่วงระบบ EBD
ที่ช่วยกระจายน้ำหนักเวลาเบรค และระบบ (VCD)Tracktion control ที่รุ่น CBU ไม่มี
นอกนั้นไม่แตกต่างกันมากมายเท่าไหร่
รูปของแอร์ของรุ่น CBU ครับ
จะเป็นแบบมือหมุนง่ายๆเลย ใช้งายสะดวกดีครับ
แต่ความไฮเทคสู้แบบประกอบในไม่ได้ ทั้งสวยกว่า และใช้งานดีกว่า
รุ่น CBU บางคันจะมีโลโก้ alfa ติดมาให้ที่เบาะด้วย เท่ห์มาก
จบเรื่องการดูรถ CBU กะ CKD ไปแล้วนะครับ
อันนี้แล้วแต่คนชอบละว่าอยากได้รถแบบไหน
ผมจะลองแยกเป็นหัวข้อให้ดีงนี้นะครับ
ข้อดีของ CBU1.ราคาถูกกว่า
2.การดูแลรักษาง่ายกว่าเพราะระบบอิเลคโทรนิคน้อยกว่า
3.วัตถุดิบในการผลิดดีกว่าบางอย่าง เช่นเบาะ กระจก
4.แรงกว่า (หลายคนบอกว่ารู้สึกได้เลย)
5.เบรคดีกว่า
ข้อเสียของ CBU1.สภาพโทรมกว่า หาสวยๆไม่ค่อยได้
2.ระบบความปลอดภัยน้อยกว่า เช่น แอร์แบคน้อยกว่า และไม่มี VCD และ EBD
ข้อดีของ CKD1.ภายในสวยกว่า
2.ระบบความปลอดภัยดีกว่า
3.รถสภาพสวยๆเยอะ
ข้อเสียของ CKD 1.ราคาแพงกว่า
2.ซ่อมเยอะกว่า เพราะอิเลคโทรนิคเยอะ
ถ้าผมเลือกได้ ผมจะซื้อรถ CBU เป็น Sportwagon แบบในรูปครับ
( ไงๆมาถึง sport wagon แล้วขอพูดถึงมันหน่อยนะ
รุ่นนี้มีนำเข้ามาแบบ CBU อย่างเดียว โดยค่าตัวตอนแรกๆจะแพงกว่ารุ่น Sedan ปกติอยู่ประมาณ 1 แสนมั้งครับถ้าจำไม่ผิด
โดยผมไม่แน่ใจว่าเมืองไทยมีถึง 10 คันไหม แต่หายากมากๆ น่าสะสมเป็นที่สุด)
มาพูดกันถึงรูปทรงภานนอกกันบ้างรถ ALFA รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ถือว่าเป็นยุคทองของ Alfa เลย
หลังจากที่ตกอยู่ในมรสุมช่วง 155 มาพอสมควร
รุ่น 156 นี้ได้รับรางวัลเยอะมากๆ ดังนี้
Best Compact Executive 1998 โดยนิตยสาร Whats Car
Best Compact Executive Car 1998 โดยนิตยสาร Auto Express
Auto 1 Europa 1998 โดยนิตยสาร AutoBild
Auto Trophy 1998 โดยนิตยสาร Auto Zeitung
Trophee Du Design 1998 โดยนิตยสาร Automobile Magazine
European Award for Automotive Design
Car of the Year in Denmark, Spain, Holland, Luxembourg, Germany, Portugal, France and Croatia 1998
Car of the Year in South Africa 1999
The most beautiful car in the world in Italy 1997
ภายนอกแม้ผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังดูทันสมัยอยู่
เป็นรถที่คนที่ไม่รู้จัก เมื่อได้เห็นก็ต้องหันเหลียวมอง
เนื่องด้วยกระจังหน้าที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์
เส้นลายคาดตั้งแต่กระจังหน้าสามเหลี่ยม ไปจรดบั้นท้าย
และที่ติดป้านทะเบียนแบบเอียงๆ จนต้องไปนั่งทะเลาะกับตำรวจหลายรอบ
กระจกข้างที่เป็นทรงเรียวยาวคล้ายใบไม้ ดูเหมือนทัศนวิศัยไม่น่าจะดี
น่าจะมองลำบาก แต่พอได้ไปขับแล้ว จะรู้ว่าไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะมุมมองกระจกออกแบบได้ดีมาก
มีเพื่อนๆคนไหนเห็นว่ามันดีไซน์ไม่สวยบ้างไหมครับ
ส่วนด้านท้ายกลับไปคล้ายกับมิตซูตัวใหม่ซะนี่กระไร
ไม่รู้ว่ามิตซูเขาจงใจ หรือเผอิญคล้ายกันโดยไม่ได้ตั้งใจกันแน่
มือเปิดประตูด้านหลังที่ซ่อนเอาไว้อย่างแนบเนียน
จะหลายคนคิดว่าเป็นรถคูเป้ซะอีก
มือเปิดประตูหน้าแบบย้อนยุค
ต้องกดก่อนถึงจะเปิดได้
เก๋ไก๋ไปอีกแบบครับ
สรุปภายนอก ถ้าเทียบกับรถ sedan ด้วยกัน
ด้วยรูปทรงที่กี่ปีก็ไม่มีเบื่อ ยังดูทันสมัยกว่ารถรุ่นปัจจุบันนี้อีกหลายๆรุ่น
และคงจะเข้าทำเนียบคลาสสิคคาร์ในอีกไม่ช้า
ผมเองให้ไปเลย 8 เต็ม 10 ครับเบาะรุ่นแรกๆที่เป็น CBU ให้มาจะเป็นเบาะผ้า recaro
และมีรุ่นพิเศษที่ต้องเพิ่มเงินสามารถเลือกเป็นหนังแท้ momo ได้
ส่วนรุ่น CKD ให้มาเป็นอุปกรณ์มาตราฐานอยู่แล้ว แต่คุณภาพเบาะต้องยอมรับว่า
CKD คนละตัวกับ CBU อย่างสิ้นเชิง
ราคาเบาะ momo เบิกใหม่ๆนี่น่าจะเกินแสนคับ
หรือสองแสนกว่าจำไม่ได้แน่ชัด
เบาะนั่งกระชับและสบายมากๆ
คนที่ตัวใหญ่อาจจะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย เนื่องจากปีกด้านข้าง และปีกตรงเบาะที่ใหญ่พอสมควร
แต่เท่าที่สอบถามเพื่อนๆที่ตัวใหญ่ๆระดับเกือบร้อยโล ก็ยังบอกว่าไม่อึดอัดเท่าไหร่
เบาะฝั่งคนขับปรับขึ้นลง เดินหน้า ถอยหลัง เอนหน้าหลังได้
สะดวกมากทีเดียว ดีกว่าหลายยี่ห้อที่ปรับขึ้นลงไม่ได้
ส่วนที่ปรับเอนหน้าหลังเป็นระบบหมุน
สามารถเลือกปรับได้ละเอียดมากๆ ดีกว่าระบบก้านดึงที่เป็นเสต็ป
เพราะบางที่อาจจะปรับได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ส่วนพวงมาลับก็สามารถปรับขึ้นลง เข้าออกได้
ตรงส่วนเรื่องปรับเบาะและพวงมาลัยนี่ ผมให้ 9 คะแนนเต็ม 10 เลย
ตั้งแต่ผมขับมาก็หลายคันยังไม่มีรถคันไหน ถูกใจเรื่องเบาะเท่า 156 คันนี้เลยครับ
(ยกเว้น รถที่มีระบบปรับไฟฟ้า ซึ่งปรับได้ละเอียดกว่านี้)
ส่วนเลกรูมฝั่งผู้โดยสารด้านข้างนี่ แย่ครับ พื้นที่ด้านการวางเท้าแย่มากๆ
เกะกะช่วงหัวเข่ามากๆ และช่วงปลายเท้าด้านในก็มีกล่องอะไรเกะกะอีก
สังเกตุจากรูปดูช่วงเลกรูม ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ
รูปก้อนหมุนปรับเบาะเอนหน้าหลัง
และก้านดึง ปรับสูงต่ำของเบาะครับ
(ในรูปจะเป็นรุ่น Ti ของ 147 นะครับ
ในบ้านเราไม่มี เบาะสวยมากๆๆๆๆ
เป็นเบาะตัวเดียวกับรุ่น Ti ของ 156 และ Alfa GT ครับ)
บาะด้านหลังมีเลกรูมเหลือน้อยมากๆ
ถ้าใครที่สูงประมาณ 180 หัวก็แทบจะชนเพดานเลย
และเ่ขาก็แทบจะชนเบาะหน้าแล้ว ถ้าสูงเกิน 180 ขึ้นไป
เรียกได้ว่ามีปัญหาพอสมควรครับ
สังเกตุจากรูปนะครับ เบาะหลังนี่พื้นที่น้อยมากๆ
ถ้าเทียบกับบีเอ็มและเบนซ์แล้ว ยอมรับว่าเป็นรองเรื่องพื้นที่ด้านหลังนี้พอสมควรครับ
ดีไซน์ภายในรูปบางรูปเอามาจากรถผมเองนะครับ เป็นรุ่น CBU
อาจจะมีรายละเอียดต่างจากรุ่น CKD บ้างนิดๆหน่อยๆ อย่าเพิ่งงงกันไป
เพราะรายละเอียดส่วนใหญแทบจะเหมือนกันครับ
หน้าปัด มีความเป็นสปอตร์สูงมาก สวยมากๆในยุคนั้นๆ (ตอนนี้เกร่อไปแล้ว)
คนนั่งด้านข้างแทบจะมองอะไรไม่เห้นเลย เพราะจะเป็นหลุมลงไป
การที่เป็นหลุมลึกลงไป ทำให้มองหน้าปัดได้ชัดเจนดีมาก เพราะไม่ต้องมีแสงสะท้อนจากแดด
ที่ทำให้มองเห็นหน้าปัดได้ยาก และไม่ต้องกลัวเวลาขับเร็วๆ คนนั่งข้างๆก็ไม่รู้ว่าเราขับด้วยความเร็วเท่าไหร่
มุขนี้ผมใช้บ่อยมากๆ 5555
คอนโซลกลางเรียบง่ายใช้งานง่ายมาก
โดยส่วนตัวผมเองชอบมากๆ ไม่เหมือนหลายๆยี่ห้อที่ปุ่มยุบยั่บไปหมด
ไม่รู้จะกดปุ่มไหนกันแน่
3 ช่องแรกเป็นอุณหภูมิ นาฬิกา และ น้ำมัน
ช่องต่ำลงมามาเป็นวิทยุ
และถัดลงมาเป็นระบบแอร์
สุดท้ายของรุ่น CKD จะเป็นปุ่มคอนโทรต่างๆเล็กๆน้อยๆที่ CBU ไม่มี เช่น VCD เป็นต้น
เรื่องแอร์ อัลฟ่าเป็นรถที่ผมชอบที่สุดอีกคันนึง ซึ่งมีช่องแอร์เยอะมากๆ
ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านข้าง
หรือจะเป่าลงเท้าคนขับ หรือคนนั่งหลังก็ยังมีเป่าลงเท้าด้วย
แต่ว่าปรับให้มันลงตัวได้ยากมากๆ เนื่องจากไอ้ตัวปรับกลมๆ
หมุนให้ตรงใจได้ยากมากๆ ไม่เหมือนช่องแอร์แบบธรรมดา ตามพวกรถกระบะ
แอร์ก็เย็นสบายดีครับ แต่ไม่ถึงกับฉ่ำมากมายอะไร
เรื่องระบบแอร์นี่ผมให้ 8 เต็ม 10 ครับ
ถ้าแอร์มันเย็นฉ่ำกว่านี้สักหน่อย แล้วปรับให้โดนตัว โดนหน้าง่ายกว่านี้อีกนิดนี่แจ๋วเลย จะให้สัก 10 เต็มไปเลยรูปช่องแอร์ด้านหลังครับ
ส่วนฝากระโปรงหลังและถังน้ำมัน สามารถเปิดได้จากในรถ
แต่กระโปรงหลังคับแคบไปสักหน่อย ใส่ของไม่ค่อยได้เท่าไหร่
แต่มีช่องเปิดตรงที่วางแขนด้านหลังให้ทะลุไปกระโปรงหลังได้
ผมใช้ประโยชน์ตรงช่องนี้หลายทีแล้วครับ ใช้วางของยาวๆได้
แต่ในชีวิตประจำวันสำหรับเมืองไทย คงไม่ได้ใช้เท่าไหร่
เรื่องห้องโดยสาร ผมให้ไป 7 คะแนนจาก 10 คะแนนครับ สรุปเป็นข้อๆดังนี้1.ห้องโดยสารยังรุ้สึกเล็กกว่ารถในระดับเดียวกันพอสมควร
2.เบาะจาก momo นี่มันนั่งสะบายเสียนี่กระไร กระชับก้น กระชับหลังดีแท้
เทียบกับเบนซ์และบีเอ็มแล้ว ยังไงผมก็ยังยกให้ Alfa เหนือกว่าหลายขุม
วัสดุหนังแท้ที่ให้มา ก็ยังเหนือกว่าเบนซ์และบีเอ็มเยอะ
3.ระบบปรับเบาะก็ยังดีกว่ายี่ห้ออื่นเขา
4.ช่องเก็บของที่น้อย และไม่มีที่วางแก้วน้ำ
5.ทัศนวิสัยใช้ได้ ไม่ได้แย่กว่ารถระดับเดียวกัน
6.พื้นที่เก็บของในกระโปรงหลังน้อยกว่ารถระดับเดียวกัน
7.ช่องแอร์เยอะมากๆ แต่เป่าไม่ค่อยโดนและเย็นไม่ฉ่ำใจเลย
8.เบาะ แผงข้าง คอนโซล หน้าปัด ดูแล้วทำให้คึกคักมากๆ แค่เข้าไปนั่ง อะดีนาลีนก็หลั่งแล้ว
มาถึงเรื่องการขับขี่กันบ้างรูปอาจจะไม่ค่อยมีสักเท่าไหร่นะครับ...
ก่อนอื่นต้องพูดถึงเรื่องระบบเกียร์กันก่อน
เกี่ยร์ตัวนี้จะต่างกับเกียร์อัตโนมัติทั่วๆไป
คือตัวนี้จะเป็นเกียร์แบบแมนนวล แต่เป็นระบบครัชไฟฟ้า
ทำให้การเปลี่ยนเกียร์กระตุกบ้างบางจังหวะ
แต่ถ้าลากรอบเกิน 5 พันรอบแล้วเกียร์ตัวนี้จะทำงานเร็วและสนุกมากๆ
ผลักขึ้นเป็นเกียร์สูงขึ้น ผลักลงเป็นเกียร์ต่ำลง
ผลักมาทางขวาเป็นเกียร์ว่าง
กดปุ่ม city จะเป็นระบบออโต
เวลาสตารท์เครื่องทุกครั้งต้องเข้าเกียร์ว่างก่อน
หรือถ้าเป็นเกีนร์อื่นๆ เราก็สามารถเหยียบเบรคก็ได้
จะทำให้สตาทร์ได้เช่นกัน
และเมื่อจอดรถติดไฟแดงสักพัก เกียร์ก็จะเปลี่ยร์ให้เป็นเกียร์ว่างเอง
แต่เวลาติดบนเนินต้องระวัง เพราะเกียร์ตัวนี้จะทำให้ไหลลง ไม่จอดนิ่งๆเหมือนเกียร์ออโตทั่วๆไป
และเวลาจะถอยจอดรถ ต้องเหยียบคันเร่งเอง แทนที่จะเหยียบเบรค เพราะรถมันไม่ไหลเดินหน้าให้เอง
(งงกันไหมครับ ถ้างง เดี๋ยวขับสักรอบก็จะเข้าใจเอง)
เครื่องตัวนี้ไม่ได้แรงมากมายสักเท่าไหร่นะครับ
150 สำหรับประกอบใน 155 สำหรับประกอบนอก
แต่อัตราทดรอบเกียร์จัดจ้านพอใช้ได้
ทำให้อัตราเร่งเร้าใจกว่ารถระดับเดียวกันพอสมควร
แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร
โรงงานเคลมว่า 0-100 ภานใน 9วิกว่า
แต่เห็นหลายๆหนังสือทดสอบกัน มันจะำได้ที่ 10วิกว่าๆครับ
ส่วนตัวผมเองไม่เคยจับเวลาสักที แต่ถ้าไปเทียบกับรถที่ 150 แรงม้าเหมือนกัน
ดูแล้ว 156 วิ่งดีกว่าพอสมควรครับ
สิ่งที่ทำให้คนที่เคยขับ 156 นี้ยังรักและติดใจมากๆคือ
เสียงเครื่องและพวงมาลัย
เสียงเครื่องที่เพราะและเร้าใจ ทำให้เวลาขับรู้สึกรถแรงขึ้นอีกเป็นกอง
ส่วนพวงมาลัยก็เซ็ทมาให้คมใช้ได้เลย เมื่อรวมกับรอบเครื่องที่ทดมาให้จัดจ้าน
และช่วงล่างที่แข็งกว่ารถปกติทั่วไป ทำให้เวลาขับ เร่งแซง และมุดเข้าออก รู้สึกมั่นใจมาก
ให้ความรู้สึกที่หาไม่ได้อีกแล้วในรถแสตนดาดท์ระดับเดียวกันที่ไม่ได้โมดิฟายอะไรเลย
แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบ ก็จะบอกว่านั่งแล้วจะอ๊วกบ้าง มึนหัวบ้าง
ขับยากบ้าง เพราะเกียร์ที่ผิดปกติจากชาวบ้าน และช่วงล่างที่แข็งพอสมควร ทำให้คนที่ไม่รักก้เกลียดกันไปเลย
ฟิลลิ่งการขับ และอารมณ์ในการขับขี่ เทียบในรถระดับเดียวกันผมให้ 8 เต็ม 10 เลยครับสิ่งที่น่าติติงนิดหน่อยคือ
อิตาลี่เป็นเมืองที่เล็กและคับแคบ
ถนนต่างๆเล็กมากๆ เต็มไปด้วยตรอกซอกซอย
แต่เจ้า 156 คันนี้กลับมีวงเลี้ยงที่กว้างมากๆ
ผมว่าพอๆกับระกระบะเลยทีเดียว
ดีไม่ดีกระบะยังเลี้ยวได้แคบกว่าอีก
ปัญหาที่มักเกิดบ่อยคือกลับรถไม่พ้น
เลี้ยวรถเวลาจอดรถในห้างไม่พ้น ต้องถอยเข้าถอยออก
สิ่งที่น่าผิดหวังอีกอย่างก็คือเรื่องเบรค
เบรคของ alfa 156 นี่ เป็นอะไรที่มือใหม่ขับแล้วเครียดแบบสุดๆ
เวลากดลงไปแล้วรู้สึกเหมือนมันเบรคไม่อยู่เลย
ต้องเหยียบให้แรงและลึกถึงจะพอเบรคอยู่
แม้ว่าจะกระทืบเบรคอย่างแรงแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่ค่อยจะอยู่อยู่ดี
สำหรับผมที่เป็นสาวก alfa ก็ยังคงรู้สึกว่า alfa น่าจะทำได้ดีกว่านี้
เรื่องความเร็วสูงสุด ผมทำได้ 210 ครับ
ไม่รู้ว่าเร็วได้มากกว่านี้หรือเปล่า
ไม่ค่อยมีถนนให้วิ่ง
และกว่าจะถึง 210 ก็ต้องใช้เวลามากพอดู
ส่วนช่วงความเร็วระหว่าง 120 - 160 มาไวดีครับ
เน้นว่า ถ้าขับ alfa ต้องลากรอบหน่อย
แล้วจะรู้สึกว่า รถ alfa นี่ขับสนุกจริงๆ
การตอบสนองของเกียร์ ทำได้ดีมาก
สนุกมาก อาจจะมีช่วงที่รอบ เมื่อรอบอยู่ต่ำกว่า 3000 รอบ
เวลาเปลี่ยนเกียร์จะรู้สึกว่าหน่วงๆ จนทำให้ขาดความมั่นใจในการเร่งแซงเล็กน้อย
ก็อย่างที่บอกครับ alfa เขาต้องเล่นกันที่ 5000 รอบขึ้นไป
สำหรับอัตราเร่ง และเกียร์ ผมให้ 7 เต็ม 10 ครับ
ถ้าปรับเรื่องเกียร์ให้ไวกว่านี้ จะดีมากๆเลย
(เมื่อเทียบกับรถในระดับเดียวกันนะครับ)
การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงทำได้ดีมากครับ
มั่นใจมาก เนื่องจากช่วงล่างที่เซ็ทออกมาให้แข็งกว่าปกติ
ทำให้ไม่มีอาการโยนและยวบยาบ (เมื่อเทียบกับรถระดับเดียวกันนะครับ)
เรื่องช่วงล่างและเบรคนี่ผมให้คะแนน 7 เต็ม 10 เหมือนกัน
ถ้าเบรคดีกว่านี้จะให้สัก 8 เลยสิ่งที่เพื่อนๆบางคนที่เดินทางไกลบ่อยๆบ่นกันก็คือ
ไม่มีที่วางแก้วน้ำ ..........
อัตราการบริโภคน้ำมันก็ไม่ขี้เหร่ครับ
เดินทางไกลแบบกดๆ 120-180
ทำได้ประมาณ 9 โลลิตร
ถ้าเหยียบแบบเรื่อยๆ 100-120
ทำได้ถึง 11 โลลิตรทีเดียว
ส่วนในเมืองนี่พูดยากครับ
รถติดบ้างไม่ติดบ้าง
คร่าวๆประมาณ 6-7 โลลิตรครับ
สรุป....สำหรับคนที่ชอบความเป็นสปอตร์
รถแบบเดิมๆ ไม่ต้องแต่งอะไรเพิ่มก็สามารถ
ใช้เป็นรถที่เพิ่มความสนุกได้ทุกครั้งที่คุณเดินทางไกล
เพื่อนๆจะรู้สึกอยากขับรถมากกว่าเดิม
เปลี่ยนการเดินทางไกลอันน่าเบื่อ เป็นการเดินทางที่สนุกขึ้นมาได้
ส่วนการใช้งานในเมือง อาจจะรู้สึกเรื่องเกียร์
ที่ทำงานไม่สัมพันธ์กันเสียเลย ทั้งกระตุก
ทั้งหน่วง จนบางคนรู้สึกผิดหวังมากๆ
ช่วงล่างที่แข็งแบบบ้านผมไม่ใครอยากนั่งด้วย
เสียงเครื่องที่ดังกลบเสียงเพลงที่เปิดในรถ(ต้องเปิดดังกว่าปกติ)
อัตราเร่งที่เร้าใจ เร่งแซงได้อย่างมั่นใจ
พวงมาลัยที่ไว เบาะนั่งกระชับตัว ทำเอาอะดรินาลีน
พลุ่งพล่านพอสมควร
เทียบกับรถในระดับเดียวกันเช่น benz c180 bmw 318i
alfa ก็ยังให้ความรู้สึกสปอตร์กว่า มั่นใจกว่า
แรงกว่า ช่วงล่างดีกว่า แต่ก็ต้องแลกกับ
ความสะดวกสบายที่น้อยกว่า อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่มีให้จำกัด
ช่วงล่างที่แข็งกว่าปกติ ห้องโดยสารที่แคบกว่า
จนผู้สูงอายุและเด็กบางคนไม่ชอบเอาเสียเลย
แต่ก็โชคดีที่ค่าบำรุงรักษา alfa ถูกกว่าพอสมควร
ปัญหาจุกๆจิกๆ ที่เพื่อนๆเจอกันพอสมควรก็คือเรื่องเกียร์ ที่มีปัญหาบ่อยมากๆ และจะเป็นกันเยอะ
เนื่องจากการดูแลรักษาระบบเกียร์ที่ไม่ทั่วถึง
ไม่เปลี่ยนของเหลว และอะไหล่บางตัวตามระยะ
ช่างฝีมือไม่ถึง และบางคันโชคร้ายใช้ได้ไม่นานแล้วเกิดปัญหาก็มี
ทำให้ผู้ใช้ 156 ถึงกับส่ายหน้าและยอมตัดใจขายทิ้งไปหลายคน
แตถ้าได้ช่างที่ดูแลดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะสามารถแก้ได้
โดยค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย
อีกตัวหนึ่งก็คือสายพานและลูกรอก
ซึ่งปกติรถทั่วๆไปใช้กันถึง แปดหมื่นหรือแสนกิโล
แต่ alfa รุ่นนี้กลับต้องเปลี่ยนที่ สี่ถึงห้าหมื่นกิโล
และค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างสูง ประมาณเกือบ 2 หมื่นบาททีเดียว
โดยรวมแล้ว ผมให้คะแนนแบบไม่ลำเอียงที่ 7.5 คะแนนจาก 10 คะแนนนะครับ
อยู่ที่ว่าใครต้องการใช้รถแบบไหนเป็นหลัก ราคาค่าตัว ณ ปัจจุบัน
รุ่นประกอบนอกจะอยู่ที่ 3.5-4 แสนบาท
รุ่นประกอบใน จะอยู่ที่ 4-6 แสนบาทครับ
เป็นตัวเลือกที่น่าเลือกมากๆ สำหรับรถมือสองราคานี้
และได้คุณภาพรถแบบคับแก้วทีเดียว
ยังไงก็ต้องเผื่อตังไว้ซ่อมด้วยสัก 3 หมื่นนะครับ
ค่าบำรุงรักษาไม่แพง แต่อาจจะมากกว่ารถญี่ปุ่นทั่วไปสักหน่อย
ค่ากรองไม่กี่ร้อย
ค่าน้ำมันเครื่องตามเสป็กแบบเซมิราคาไม่ถึงพัน
หรือเลือกเกรดดีหน่อยก็แค่พันกว่าบาท
เข้าเซอร์วิสหมื่นโลครั้ง ตกครั้งละประมาณ 2 พันบาทเองครับ