ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมในทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย รถยนต์ต้องเล่นเครื่องยนต์ซีซีสูงมาก  (อ่าน 23543 ครั้ง)

ออฟไลน์ eaowpj

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 610
มันวัดคนละหน่วยครับ ที่นี่วัดเป็น MON เมืองไทยวัดเป็น RON
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ถามต่อนะครับ แล้ว อเมริกา ยุโรป ออสเตรเรีย น้ำมันลิตรละเท่าไหร่ครับ  :)

เยอรมันลิตรละประมาณ 1.49 EUR ครับ เบนซิลนะครับ ::)
เบลเยี่ยมลิตรละประมาณ 1.561 EUR ครับ เบนซิน 98 นะครับ
แต่ตอนนี้เห็นว่าขึ้นเป็น 1.618 EUR ได้ 2-3วันแล้ว
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
น้ำมันเบลเยี่ยม เบนซิน 98 ราคาประมาณ 67.11 บาท
น้ำมันเยอรมัน เบนซิน        ราคาประมาณ 61.80 บาท
น้ำมันออสเตรเลีย เบนซิน 98 ราคาประมาณ 50 บาท
น้ำมันอเมริกา เบนซินประมาณ 98 ราคาประมาณ 29-30 บาท
น้ำมันไทย โซฮอล์ 95 ราคา 33.69 บาท เบนซิน 95 ราคา 38.50 บาท

สรุปว่าน้ำมันไทยแพงกว่าอเมริกาแต่ถูกกว่าออสเตรเลียและยุโรป แม้หลังปีใหม่จะขึ้นก็ตามครับ ว่าทำไมยุโรปจึงนิยมเครื่องยนต์เล็ก ๆ แต่ก็ยังงงว่าออสเตรเลียน้ำมันก็ค่อนข้างแพงแต่ทำไมนิยมเครื่องใหญ่ ๆ แต่ถ้าลดค่าเงินออสเตรเลียให้เหมือนเมื่อก่อนน้ำมันก็ราว ๆ 44 บาทก็ยังแพงอยู่ดี ส่วนอเมริกาน้ำมันถูกจังเลยครับ ผมก็ยังงงว่าทำไมเห็นมีคนบอกว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ใช้เครื่องใหญ่ ๆ เพื่อเก็บภาษีเยอะ ผมว่าราคาขนาดนี้ภาษีำก็ไม่น่าจะเยอะนะครับ (ไปเที่ยวหรือเรียนต่อที่อเมริกาประหยัดกว่า )
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  :)

ออฟไลน์ golf32

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 681
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ถามต่อนะครับ แล้ว อเมริกา ยุโรป ออสเตรเรีย น้ำมันลิตรละเท่าไหร่ครับ  :)

ผมอยู่ออสครับ ราคาน้ำมันขึ้นๆลงๆทั้งอาทิตย์ครับ ปกติวันอังคารกับพุธจะถูกที่สุด ราคาอยู่ช่วงประมาณ $1.30-$1.43 สำหรับ 91

95 และ 98 บวกเข้าไปอีก 10 และ 15 เซนต์ ตามลำดับครับ

ดีเซลแพงกว่า 91 ประมาณ 10-15 เซนต์ (ผมไม่ค่อยได้สังเกตดีเซล)

LPG ประมาณ 65 เซนต์ ครับ 

คูณค่าเงินกันเองนะครับ  แต่แพงกว่าไทยแน่นอนครับ  อิอิ

 


แพงกว่าตอนผมอยู่อีก

ออฟไลน์ Duke of Austria

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 140
    • อีเมล์
ให้ดูสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะเมือง คุณภาพและลักษณะของถนนไว้ครับ

ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่น้อย คนเมืองนิยมรถไฟมากกว่าเพราะรถหาที่จอดยาก รถก็เลยออกมาเป็นรถคันเล็กๆ
ประเทศอิตาลี ภูเขาเยอะ ถนนแคบ รถเลยต้องแรงๆเกาะๆและเล็กๆ (รถเฟียต รถอัลฟ่าสมัยก่อน)
ฝรั่งเศษ สมัยก่อนเป็นถนนอิฐ รถเลยช่วงล่างต้องดี เครื่องก็งั้นๆ เพราะวิ่งไม่เร็ว วิ่งบนถนนที่ขรุขระต้องเหมือนลอยไปบนพรม
เยอร์มันถนนยาว ถนนดี รถเลยต้องแรงช่วงล่างดี เครื่องดี
อเมริกา ถนนยาว เลนเยอะ วิ่งข้ามรัฐ กฏหมายแรง รถเลยต้องใหญ่ เครื่องใหญ่วิ่งไกลๆจะได้ไม่พังง่าย และวิ่งไม่เร็ว ขับสบาย

คร่าวๆประมาณนั้นครับ


ขออนุญาตแย้งนะครับ ผมว่าการวิเคราะห์ลักษณะนี้ยังไม่ตรงจุดเท่าไหร่นัก

การที่รถญี่ปุ่นคันเล็กเป็นเพราะคนญี่ปุ่นนิยมใช้รถไฟฟ้า ที่จอดรถหายากนั้น ที่ยุโรปก็คงไม่ต่างกันเพราะคนยุโรปในเมืองใหญ่ชอบใช้รถไฟฟ้ากันมาก ถ้าไม่ใช่รถรางก็รถไฟฟ้าใต้ดิน แม้กระทั่งการเดินทางระหว่างเมืองก็ใช้รถไฟฟ้า เพราะบริการสาธารณะในทั้งยุโรปนั้นมีประสิทธิภาพ ให้บริการได้ทั่วถึง อีกทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาอย่างดี ทำให้คนนิยมใช้บริการกันมาก นอกจากนี้ ในตัวเมืองยุโรปก็ใช่ว่าจะหาที่จอดรถง่าย ๆ ที่จอดหายาก เล็ก และคิดค่าจอด อีกทั้งการขับรถเข้าเมืองในหลาย ๆ เมืองใหญ่ในยุโรป เค้าคิดค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเมือง (Toll) นะครับ ก็เพื่อลดปัญหาการจราจรและหันมาใช้บริการสาธารณะที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า รวมถึงลดมลพิษ ดังนั้น ในยุโรปและญี่ปุ่น ค่านิยมการใช้รถจึงคล้าย ๆ กัน นั่นคือ นิยมรถขนาดเล็ก เครื่องบล็อกเล็ก ประหยัดน้ำมัน ค่ามลพิษต่ำ แต่สิ่งที่บ่งชี้ว่าคนยุโรปมีค่านิยมที่แตกต่างจากคนญี่ปุ่นเรื่องการใช้รถนั้น มาจากสภาพถนนและสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของยุโรปและญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนกัน

ว่ากันที่สภาพถนนก่อน ถนนในญี่ปุ่นเป็นสายเล็ก ๆ และไม่ได้คดเคี้ยวมากเท่ากับถนนในยุโรป แม้ว่าภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเป็นภูเขาซะส่วนมากก็ตาม ยิ่งว่านั้น ถนนจะเป็นลาดยางหรือซีเมนต์ซึ่งมีความเรียบซะมาก รถญี่ปุ่นเลยไม่เน้นประสิทธิภาพความมั่นคงของช่วงล่างมากนัก โค้งก็น้อย อีกทั้งกฎหมายจำกัดความเร็วแค่ 180 กม./ชม. (เห็นได้จากรถนำเข้าทั้งคันจากญี่ปุ่นที่ไม่ได้มีการแปลงมาตรวัดความเร็วจะมีมาตรวัดสูงสุดที่ 180 เท่านั้น) ขณะที่ในยุโรป สภาพถนนมีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ สวิส ออสเตรีย เช็ก ฯลฯ มีตั้งแต่ลาดยาง ซีเมนต์ ไปจนถึงถนนปูลาดด้วยหินแบบยุคโบราณ ยิ่งกว่านั้น ถนนปูลาดก็มีหลายแบบ ทั้งที่ใช้หินก้อนใหญ่ไปจนถึงหินก้อนเล็ก และถนนพวกนั้นก็ยังคงใช้รถยนต์สัญจรไปมาตามปกติอีกด้วย ไหนจะรวมถึงหลาย ๆ ประเทศที่ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ถนนก็ต้องคดโค้งมะโรงมะเส็งตามไปด้วย ช่วงล่างรถยุโรปจึงต้องทำมาเพื่อรองรับกับสภาพความราบเรียบและลาดชันในทุกระดับเพื่อให้การขับขี่มีความน่าประทับใจตลอดเส้นทาง นี่คือความแตกต่างประการแรก

ความแตกต่างประการต่อมาก็คือ ประเทศในยุโรปมีพรมแดนติดกันและหลาย ๆ ประเทศในสหภาพยุโรป (EU) อยู่ภายใต้ข้อตกลงเชงเก้น คนในประเทศสมาชิกข้อตกลงดังกล่าวสามารถผ่านแดนได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า นั่นก็เท่ากับว่าถ้าคุณจะข้ามแดน มีพาสปอร์ตก็เดินตัวปลิวเข้าไปได้เลย และก็ไม่แปลกอะไรที่ทำไมจึงมีคนยุโรปบางส่วน ยังนิยมการขับรถข้ามประเทศ ซึ่งระยะทางไม่ใช่น้อย ๆ นะครับ คุณลองนึกดูว่าถ้าคุณอยู่เมืองฮัมบวร์กทางตอนเหนือของเยอรมนี แต่จะขับรถไปเที่ยวกรุงเวียนนาในออสเตรีย ระยะทางประมาณ 1000 กิโลเมตร ซึ่งถ้าใช้รถที่สมรรถนะช่วงปลาย (ตีนปลาย) แย่ การทรงตัวห่วย โคลงไปมา คงไปถึงได้ลำบาก ดังนั้น รถยุโรปจึงต้องเกาะถนน อัตราเร่งช่วงปลายต้องไหลต่อเนื่อง ต่อให้เป็นรถ B-Segment ที่เครื่องเล็กไม่ถึง 2.0 ก็ต้องมีสมรรถนะช่วงปลายที่ดีพอตัว ไม่งั้นเร่งแซงลำบาก ขณะที่ญี่ปุ่น สภาพทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะและไม่มีพรมแดนติดกับประเทศอื่น อีกทั้งไม่มีอุโมงค์เชื่อมกับประเทศอื่นเหมือนอังกฤษ เพราะทำได้ยาก นั่นก็ไม่มีความจำเป็นที่รถญี่ปุ่นจะต้องมีตีนปลายที่ไหลอย่างต่อเนื่องมากนัก เน้นใช้ในเมืองและขับชิล ๆ นอกเมืองอย่างเดียวจบ ไม่ต้องเผื่อการเร่งแซงช่วงปลายเท่าไหร่ นี่คือความแตกต่างอีกประการหนึ่ง

นอกจากนี้ แม้ว่าประเทศในยุโรปจะมีความแตกต่างและหลากหลายในสภาพภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม แต่ผมต้องบอกว่าวัฒนธรรมและทัศคติก็มีส่วน อย่างคนอิตาลีเค้าให้ความสำคัญเรื่องความสุนทรีย์และมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับชีวิตมากกว่าคนเยอรมันและคนฝรั่งเศส เพราะอากาศอบอุ่นกว่า สบายกว่า ศิลปะก็สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกมาก ๆ สิ่งเหล่านี้จึงถ่ายทอดออกมาในการทำรถด้วย โดยจะต้องมีฟิลลิ่งที่เร้าอารมณ์คนขับนอกเหนือจากความยอดเยี่ยมในเชิงสมรรถนะและวิศวกรรม จะเห็นได้ว่าในบททดสอบรถในหลายสื่อต่างประเทศ มักจะมีความเห็นออกมาว่า รถเมืองพาสต้านั้นให้ฟิลลิ่งการบังคับควบคุมที่ให้อารมณ์ความรู้สึก ออกแนวเสียว ๆ อย่างมีศิลปะ ดุร้ายได้อารมณ์พอตัว ไม่แหกโค้งแบบดิบเถื่อนไร้รากเหง้าแบบรถมะกัน ไม่นุ่มนิ่มละมุนแบบรถเมืองน้ำหอม ไม่ให้ฟิลลิ่งเกาะถนนเป็นเชิงเรขาคณิตแบบรถเมืองไส้กรอก และไม่ให้ฟิลลิ่งแบบติดแอคท์แบบรถเมืองผู้ดี นั่นก็เพราะวัฒนธรรมคนอิตาเลียน

ขอวิจารณ์เท่านี้แหละครับ