ผู้เขียน หัวข้อ: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)  (อ่าน 64797 ครั้ง)

ออฟไลน์ LoveYouToo

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 167
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 19:17:09 »
อย่าว่าแต่นำเข้าเลยครับ รถผลิตในประเทศก็เก็บภาษีแพงกว่าชาวบ้านเขา

บอกว่ารถเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ประเทศที่จะพูดแบบนี้ได้ต้องเป็นประเทศที่ระบบขนส่งมวลชนดีจนไม่ต้องใช้รถก็ได้


+100

ออฟไลน์ wooot

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 304
    • อีเมล์
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 19:31:41 »
นั่นเป็นเพราะที่ลาวผลิตรถเองไม่ได้ครับ ส่วนเราผลิตได้เองเมื่อผลิตได้เองจะให้นำเข้ามาขายถูกๆได้ยังไงเนื่องจากภาษีนำเข้าได้แค่ต่อเดียวคือเก็บตอนเข้ามาส่วนรถที่ผลิตในประเทศได้โดยอ้อมเยอะมาก ทั้งตัวรถ บ.ประกอบ บ.ชิ้นส่วน อะไหล่ พนักงานของแต่ละบ. ผู้รับเหมา จะเห็นได้ในหลายๆประเทศว่าอันไหนผลิตได้เองก็ต้องหามาตรการกีดกันการนำเข้าส่วนอันไหนผลิตเองไม่ได้ก็นำเข้าถูกหน่อย

อย่างเหล็กที่โรงงานผมทำอยู่ เกรดไหนที่ผลิตในประเทศไม่ได้แล้วนำมาผลิตเพื่อส่งออกจะได้สิทธิพิเศษ BOI แต่ถ้าในประเทศมีแล้วนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกหละภาษีบาน

+1  ชัดเจนดีครับ

อยากรู้ว่าประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้ อย่าง ญี่ปุ่น เก็บภาษีรถนำเข้าเท่าไหร่ครับ

เสียแค่ VAT ครับ ไม่มีภาษีนำเข้า  แต่ตอนนี้ไม่รู้เปลี่ยนไปหรือยัง ประเทศที่ผลิตรถขายเองอย่างญี่ปุ่น ไม่สามารถตั้งกำแพงภาษีรถนำเข้าได้หรอกครับ


ถ้าผลิตจากโรงงานญี่ปุ่นแล้วไม่ว่าผลิตจากประเทศอะไรก็ไม่เสียภาษีนำเข้าทั้งนั้นครับเพราะเค้าถือเป็นของตัวเองเลย มีหลายๆรุ่นที่ผลิตจากไทยไปขายยังญี่ปุ่นครับอย่างมาร์ชเป็นต้น แต่ที่น่าเจ็บใจก็คือผลิตบ้านเราเองแท้ๆของเค้ามีระบบความปลอดภัยมากกว่าเลยทำให้ของเราแพงมากกว่า อีกอย่างการส่งกลับไปขายที่ประเทศแม่ของเค้านั้นเค้าไม่เน้นเรื่องกำไรเป็นหลักครับ

ที่ว่าเสียแค่ VAT ไม่เฉพาะรถญี่ปุ่นนะครับ รถนำเข้าของประเทศอื่นๆ Benz, BMW, Porsche ก็เสียแค่VAT ครับ
ขอบคุณครับ  อยากรู้ว่าคนญี่ปุ่นซื้อรถยุโรป อิตาลี เยอรมัน อเมริกา ต้องเสียภาษีแค่ vat ใช่มั้ยครับ

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 19:39:34 »
ประเทศไทยยากจน ดังนั้นคนบ้านเรา ต้องอดทน ใช้ของแบบพอมีพอกิน รถก็เช่นกันครับ

ทำใจ :D

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,941
    • อีเมล์
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 21:29:24 »
ผมว่า เรื่องภาษีนำเข้ารถยนต์ .... มันเป็นเรื่องรองนะ เราลองมามอง ราคาพลังงานในบ้านเราก่อนไหมครับ

ว่า มันแพงกว่าทั่วโลกเค้ามากมายขนาดไหน ....

และมีแนวโน้มว่าจะแพงขึ้นเรื่อยๆด้วย



ใครสนใจเรื่องนี้ ติดตามได้ที่หน้าเพจ "ทวงคืน พลังงานไทย" ครับ

โดนหลอกอยู่นะ. เช็ค fact. ก่อน share. ดีกว่า
ทั้งเรื่องราคาน้ำมันประเทศที่นำมาเปรียบ ทั้งเรื่องเพ้อเจ้ออย่างเมืองไทยมีน่ำมัน. เพ้อเจ้อทั้งนั้น
ข่าวลือที่มีคนเสียประโยชน์เยอะ มักจะมีคนเชื่อเยอะ เพราะนึกว่าเขื่อแล้วจะได้ประโยขน์


แหม มาว่าผมมั่วผมโดนหลอกซะแล้ว ... งั้น

ไทยมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบรวม 22 แหล่ง แบ่งเป็นแหล่งผลิตในทะเล 11 แหล่ง อาทิ เบญจมาศ นางนวล ปลาหมึก สุราษฎร์ แหล่งผลิตบนบก 11 แหล่ง อาทิ สิริกิติ์ นาสนุ่น วิเชียรบุรี แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในอ่าวไทย ที่เป็นผลพลอยได้จากการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ  ..... (อ้างอิงค์จากกระทรวงพลังงาน แต่ตอนนี้ กลับไปค้น รายชื่อบ่อน้ำมันในไทย ได้ถูกเอาออกไปแล้ว)

ถามว่าจริงไหมครับ ไทยไม่มีน้ำมันจริงๆหรอ ..... ผมข้อมูลเก่า  OK ยอมรับครับ แต่มันอ้างอิงเปรียบเทียบค่าแรงต่างประเทศ เปรียบเทียบค่าแรงคนไทย ต่อหน่วยน้ำมันที่ต้องจ่ายต่างหาก บางคนไม่เข้าใจไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน ...

แต่ที่บอกไทยมีน้ำมันเพ้อเจ่อ ... ผมว่า ศึกษาก่อนไหมครับ ...... ?????

ถ้าบอกเพ้อเจ่อ แล้วที่มันโชว์อยู่กระทรวงพลังงานนี่อะไรหว่า ...

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,941
    • อีเมล์
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 21:43:55 »
เอามาให้คุณ ohmx อ่านเพิ่มเติม เผื่อไม่รู้จริงๆ และคิดว่า ผมเพ้อเจ่ออยู่ ...

ข้อมูลนี้ หาได้จากเว็ปกระทรวงพลังงาน (www.energy.go.th)

ส่วนข้อมูลที่บอกว่าเราไม่มีแหล่งน้ำมันนี่ สงสัยว่า คุณ ohmx เอามาจากไหนครับ หรือไปฟังใครเค้ามาผิดๆหรือเปล่า ...

----------------------------------------------------------------------------------

ทรัพยากรปิโตรเลียมบนบก
แหล่งน้ำมันดิบฝาง
ในปี พ.ศ. 2461 ชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบน้ำมันไหลขึ้นมาบนผิวดิน บริเวณบ่อต้นขาม ต่างเล่าลือกันว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาใช้ทาตัวเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกกันว่า “บ่อเจ้าหลวง” หรือ “บ่อหลวง”
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงติดต่อว่าจ้าง “Mr. Wallace Lee” นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำในกิจการ รถไฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2465 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ แร่ เชื้อเพลิง และปิโตรเลียมอย่างแท้จริง

แหล่งน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์
การพบแหล่งน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์ เป็นการพบจากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ในที่ราบภาคกลางตอนบน พื้นที่สำรวจประมาณ 20,000 ตารางกิโลเมตร โดยบริษัทไทยเชลส์ เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดัคชั่นที่ได้รับสัมปทานในแปลง S1 และ S2 จำกัดพบแหล่งน้ำมันดิบจากหลุมแรกขื่อหลุมประดู่เฒ่า –1 ได้ก๊าซธรรมชาติ มีอัตราการไหล 2 ล้านลูกบาสก์ฟุต ต่อวัน และมีน้ำมันดิบเป็นประเภทพาราฟินิก เบสไหลรวม 400 บาร์เรลต่อวัน ต่อมาจากการเจาะหลุม ลานกระบือ A-01 ในอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีน้ำมันดิบไหลรวม 700-4000 บาร์เรลต่อวันโดยที่หินต้นกำเนิดนำมันเป็นหินดินดานและหินโคลนหมวดหินชุมแสง และหินกักเก็บน้ำมันเป็นหินทรายในหมวดหินลานกระบือและหินปิดกั้นเป็นหินโคลน และหินดินดานและรอยเลื่อน และต่อมาได้พัฒนาเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยโดยได้รับพระ ราชทานนามว่า “แหล่งสิริกิติ์” มีกำลังการผลิตมากกว่า 20,000 บาร์เรลต่อวัน และได้มีการสำรวจเพิ่มเติมและสามารถพัฒนาผลิตน้ำมันดิบได้ในแหล่งบึงหญ้า อำเภอคิรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และแหล่งบึงม่วง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งนี้คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 75 เมกกะวัตต์ ปัจจุบันนี้ มีบริษัทการผลิต ปิโตรเลียม 12 แหล่งคือ แหล่งสิริกิติ์ แหล่งสิริกิติ์ F-1 แหล่งสิริกิติ์ ตอนไต้ แหล่งสิริกิติ์ตะวันตก แหล่งปรือกระเทียม แหล่งวัดแตน แหล่งทับแรด แหล่งประดู่เฒ่า แหล่งหนองตูม แหล่งสิริกิติ์ตะวันออก แหล่งหนองมะขามอี แหล่งสิริกิติ์ที และกำลังของแหล่งหนองมะขาม เอ น้ำมันที่ผลิตได้ จะกักเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ แล้วขนถ่ายโดยรถบรรทุกน้ำมันไปถ่ายลงรถไฟที่สถานีบึงพระ ลำเลียงไปยังโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นไทยออยล์ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ จำหน่ายต่อไป

แหล่ง วิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ และแหล่งอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรีและแหล่งกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมในปี พ.ศ. 2525 บริษัทเซาธ์เวสคอนโซลิเดทเตท รีซอร์ส ได้รับสัมปทานสำรวจในแปลงที่ SW1 และ SW2 และได้พบน้ำมันดิบที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรพ์และในปีพ.ศ. 2527 บริษัท บริทออยล์ จำกัด ได้รับสัมปทานสำรวจในแปลง BT ได้พบน้ำมันดิบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งต่อมาบริษัทปตท. สผ.จำกัด มหาชนได้มีการพัฒนาผลิตน้ำมันดิบ น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากสามแหล่งนี้มีจำนวนน้อย รวมกันต่ำกว่า 1000 บาร์เรล ต่อวัน

แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง
ในปี พ.ศ. 2522 บริษัทเอสโซ เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดัคชั่น โคราช อิงค์ ได้รับสัมประทานแปลงสำรวจที่ E1, E2, E3, E4 และ E5 และจากการเจาะสำรวจ 15 หลุม ได้พบก๊าซธรรมชาติในโครงสร้างน้ำพอง 8 หลุม และได้พัฒนามาผลิตกระแสไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่อำเภอน้ำพอง ขนาด 720 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ได้มีการสำรวจพบก๊าซธรรมชาติ ที่โครงสร้างดงมูล มีอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติ 3 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน และพบที่หลุมชนบทและหลุมภูฮ่อม แต่บริเวณเหล่านี้ยังไม่มีการพัฒนานำมาใช้พบบ่อน้ำมันแหล่งใหญ่ที่เพชรบูรณ์ เขต พื้นที่ภูเขาไฟ 1 หมื่นบาร์เรล/วัน รวมตัวเลขผลิตน้ำมันได้เองสูงถึง 2 แสนบาร์เรล/วัน แซงหน้าปริมาณการส่งออกของบรูไนแล้วเผยว่า “จากราคา น้ำมันที่แพงขึ้นและจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม ทำให้ประเทศไทยผลิตน้ำมันและคอนเดนเสตเพิ่มขึ้น เป็น 200,000 บาร์เรลต่อวัน แซงหน้าปริมาณการส่งออกของบรูไนแล้ว “ทำ ให้ประเทศไทยพึ่งพาพลังงานจากแหล่งในประเทศเพิ่มขึ้นล่าสุดได้รับแจ้ง จากบริษัทแพนโอเรียนท์ เจ้าของสัมปทานแหล่งนาสนุ่น อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ว่า ได้ผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 10,000 บาร์เรล/วัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา จากเดิมที่เคยผลิตเพียง 800 บาร์เรลเท่านั้นทั้งนี้ คาดว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 20,000 บาร์เรล

ทรัพยากรปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ใน ปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้ให้สัมปทานแปลงสำรวจในอ่าวไทยแก่ 7 บริษัท ซึ่งในเวลาต่อมา บริษัท ยูเนียนออยล์ ได้พบแหล่งปิโตรเลียม ส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งปัตตานี ในอ่าวไทย ซึ่งต่อมาเป็นแหล่งผลิตก๊าชธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และพบน้ำมันดิบในแอ่งชุมพรโดยมีบริษัทต่าง ๆ ถือครองสัมปทานสำรวจจำนวน 18 สัมปทาน 25 แปลง และมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วเป็นก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 7,800 ล้านล้านลูกบาสก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 170 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบ 65 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโครงการสำรวจร่วมกับ ประเทศเวียตนาม และมาเลเซียอีกด้วย ส่วนทางด้านทะเลอันดามันนั้น ถึงแม้จะมีการให้สัมปทานแปลงสำรวจ และทำการสำรวจหลายครั้ง แต่ยังไม่พบแหล่งที่สามารถผลิตในเชิงพานิชย์ได้ การใช้ประโยชน์ ของปิโตรเลียมในอ่าวไทยมีดังนี้

แหล่งก๊าซเอราวัณ
บริษัทยูโนแคล ไทยแลนด์ จำกัด ได้ประสบความสำเร็จในการสำรวจแอ่งปัตตานี ในอ่าวไทยและได้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซเอราวัณ ที่ถูกสำรวจพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 ในแปลงสัมปทานที่ B12 และ B13 อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 150 กิโลเมตร แท่นผลิตเอราวัณต่อเชื่อมกับแหล่งก๊าซอื่น ๆ ของบริษัท ฯ ที่สำรวจพบในเวลาต่อมาคือ แหล่งกะพง ปลาทอง ปะการัง ตราด ปลาหมึก ปลาแดง โกมินท์และสุราษฎร์ รวมส่งขายให้ บริษัทปตท. สผ. จำกัด(มหาชน)โดยผ่านท่อ ขนาด 36 นิ้ว เป็นระยะทาง 450 กิโลเมตร ไปขึ้นฝั่งที่จังหวัดระยองผ่านท่อ ขนาด 24 นิ้ว เป็นระยะทาง 161 กิโลเมตร ไปขึ้นฝั่งที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก๊าซธรรมชาติเหล่านี้จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซในโรงงานแยกก๊าซ ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและทำก๊าซหุงต้ม ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกส่งไปยังเรือกักเก็บนำส่งขายต่อไป

แหล่งน้ำมันดิบในอ่าวไทย
การพบน้ำมันดิบเริ่มแรกพบที่แหล่งนางนวลในแอ่งชุมพร โดยบริษัทไทยเชลส์ เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดัคชั่น และได้ทำการผลิตอยู่ระยะหนึ่ง และได้หยุดไปเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค แต่จากการสำรวจในแอ่งปัตตานีและตอนบนของอ่าวไทยของบริษัทต่าง ๆหลายบริษัท ได้พบแหล่งปิโตรเลียมที่ให้ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งไพลิน แหล่งมรกต แหล่งดาราตะวันตก แหล่งช้างแดง แหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งผกากรอง แหล่งมะลิวัลย์ และแหล่งนวมินทร์ ซึ่งในขณะนี้ ได้มีการผลิตขึ้นมาแล้วเป็น ส่วนใหญ่

แหล่งก๊าซบงกช
แหล่ง ก๊าซบงกชตั้งอยู่ในแปลงสัมปทานที่ B15, B16 และ B17 ห่างจากชายฝั่งจังหวัด สงขลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 180 กิโลเมตร ปัจจุบันแท่นผลิตก๊าซจากแหล่งบงกชผลิตก๊าซธรรมชาติ และ ก๊าซธรรมชาติเหลว จากแท่นหลุมผลิตจำนวน 10 แท่น สำหรับก๊าซธรรมชาติ จะถูกส่งผ่านท่อ ขนาด 32 นิ้ว เป็นระยะทาง 171 กิโลเมตร ไปยังแท่นผลิตเอราวัณ เพื่อส่งต่อไปยังโรงแยกก๊าซที่ระยองต่อไป เมี่อผ่านกระบวนการแยกก๊าซในโรงงานแยกก๊าซ แล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและทำก๊าซหุงต้ม ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกส่งไปยังเรือกักเก็บนำส่งขายต่อไป

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 21:46:35 »
เห็นด้วยครับว่าไทยมีน้ำมันจริง แบบคุณ apinui แต่มันมีเรื่องลึกกว่านั้นครับ

ดังนั้น ทำใจครับ

ออฟไลน์ seamonkey

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 521
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 22:01:33 »
http://www.dmf.go.th/service/monthlyReport.php?m=12&y=2012&ln=th

ดูข้อมูลปัจจุบันกันดีกว่าครับ แหล่งไหนผลิตได้เท่าไรบ้าง ;D

ออฟไลน์ อีกนิดก็แรง

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 968
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 22:50:51 »
ผมว่า เรื่องภาษีนำเข้ารถยนต์ .... มันเป็นเรื่องรองนะ เราลองมามอง ราคาพลังงานในบ้านเราก่อนไหมครับ

ว่า มันแพงกว่าทั่วโลกเค้ามากมายขนาดไหน ....

และมีแนวโน้มว่าจะแพงขึ้นเรื่อยๆด้วย



ใครสนใจเรื่องนี้ ติดตามได้ที่หน้าเพจ "ทวงคืน พลังงานไทย" ครับ

ราคาสิงคโปร์ผิด 25 บาทนี่ราคาน้ำมันมวยปะครับ?

ออฟไลน์ Automotive Innovations

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,136
  • เตรียมสร้างอนาคต
    • อีเมล์
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 22:01:02 »
ประเทศไทยยากจน ดังนั้นคนบ้านเรา ต้องอดทน ใช้ของแบบพอมีพอกิน รถก็เช่นกันครับ

ทำใจ :D
มันไม่ได้เกี่ยวกับจนหรอกครับ เพียงแต่ว่าภาษีเราสูงเท่านั้นเองครับ ถ้าเรารวยเราก็ใช้ได้ครับ รถดีๆอ่ะ ไม่สำคัญว่าเรารวยหรือจน พี่เต้ประเมินผิดไปนะครับ
Toyota Camry 2.0G ACV41 2012 MC Black Interior
Mitsubishi Pajero Sport GT-Premium 2WD MY 2017
Ssangyong Stavic SV270  2006
Honda HR-V EL 2016
Toyota Fortuner 2.4V 2WD Big MC 2020
Haval H6 PHEV 2022
Mercedes-Benz C350e Dynamic Plug-in Hybrid 2023

ออฟไลน์ TheZero

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 594
    • อีเมล์
Re: ภาษีนำเข้ารถยนต์ (ไทย VS ลาว)
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: เมษายน 05, 2019, 12:42:18 »
แต่ละประเทศ อัตรภาษี รถแต่ละชนิดไม่เหมือนกันครับ  จะเอาตามข้อมูลด้านบนมาเทียบกันไม่ได้

ถ้าอยากเทียบเพื่อดูราคา จริง ให้ไปดูราคารถที่ ลาว เพราะเก็บภาษี รถแต่ละชนิด ใกล้เคียงกัน 70-90% เนื่องจากรถทั้งหมดนำเข้ามา  ไม่มี รง. ประกอบที่ลาว