ผู้เขียน หัวข้อ: อัตราส่วนกำลังอัด?  (อ่าน 42513 ครั้ง)

ออฟไลน์ Larry

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 562
อัตราส่วนกำลังอัด?
« เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 23:21:41 »
อ่านในสเปครถมาก็เยอะ ชักจะสงสัยครับว่าอัตราส่วนกำลังอัด

1.  มันคืออะไร
2.  มีความสัมพันธ์กับแรงบิด หรือ แรงม้าใน อย่างไรบ้าง
3.  จำเป็นหรือไม่ที่เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูง จะมีแรงบิดที่ดี
4.  มีเครื่องยนต์ในรถรุ่นใดบ้าง ที่อัตราส่วนกำลังอัดน้อยแบบเวอร์ๆ หรือสูงแบบเวอร์ๆ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ art_duron

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 989
Re: อัตราส่วนกำลังอัด?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 01:15:02 »
1.  มันคืออะไร
คืออัตราการเปลี่ยนแปลงความดันจากการที่อากาศในห้องเผาไหม้ (ไอดี) ถูกบีบอัดตัว จากการเคลื่อนที่ของลูกสูบซึ่งทำให้ห้องเผาไหม้มีขนาดเล็กลง
แต่สเปกที่ผู้ผลิตเอามาแสดง สามาถคิดได้ง่ายๆ จากอีกทางหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของห้องเผาไหม้เทียบเป็นเท่าตัวของน้อยสุดเทียบมากสุด จากเมื่อห้องเผาไหม้ปริมาตรมากสุดเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงสุดที่ bottom dead center และปริมาตรน้อยสุดที่ top dead center
แต่ที่ผมได้อ่านๆ มาจากคอมลัมน์ของ อ.ศิริบูรณ์ ไอตัวเลขที่แสดงข้างต้นนั้นมีเป็นเรื่องพื้นๆ มาก
ในความจริงแล้วอากาศนั้นไม่ได้ไหลเข้ามาตอนลูกสูบอยู่นิ่งๆ ดังนั้นปริมาตรห้องเผาไหม้นั้นมันเป็น dynamic หรือ non steady state คือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ผสมกับการที่อากาศไหม้เข้ามามีแรงเฉื่อยทำให้สามารถเอาชนะแรงดันคือย้อนกลับ เมื่อตอนที่ลูกสูบกำลังเคลื่อนที่ขึ้นได้
ทำให้ค่าการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศไอดีจริงๆ แล้วอาจไม่เท่าค่าที่ผู้ผลิตแสดงมาก็ได้
ดันนั้นแม้ตามสเปกที่ผู้ผลิตแสดงจะค่าหนึ่ง แต่เวลาเครื่องทำงานจริงก็ใช้ตัวเลขนั้นไม่ได้เลย

2.  มีความสัมพันธ์กับแรงบิด หรือ แรงม้าใน อย่างไรบ้าง
คำตอบแบบแม่นๆ และชัวร์ๆ มีเหตุผล รอจากท่านอื่นดีกว่าเพราะผมยังไม่รู้เรื่องเท่าไร

3.  จำเป็นหรือไม่ที่เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูง จะมีแรงบิดที่ดี
เท่าที่ผมเห็นในสูตรตามทฤษฎีที่เรียนมา อาจจะตอบไม่ตรงประเด็นเสียทีเดียว
แต่จะได้ว่า ตามสูตรประสิทธิภาพของเครื่องสันดาปภายในนั้น ยิ่งกำลังอัดมากประสิทธิภาพก็จะสูงตาม
แต่จะทำให้มีผลต่อแรงม้าหรือแรงบิด ในช่วงรอบไหน ผมก็ลืมไปแล้วเหมือนกัน

4.  มีเครื่องยนต์ในรถรุ่นใดบ้าง ที่อัตราส่วนกำลังอัดน้อยแบบเวอร์ๆ หรือสูงแบบเวอร์ๆ
ถ้าเบนซินสูงเวอร์แล้วมีผลิตจริงก็ของ Mazda ในเครื่องที่อยู่ในกลุ่มของ Skyactiv-G ที่สูงถึง 14 ต่อ 1 ในเครื่องที่ต่างประเทศ
แต่รู้สึกว่าอีกเครื่องที่สูงมากเหมือนกันแต่เป็นแค่เครื่องต้นแบบคือเครื่องของ Saab ช่วงต้นยุค 2000 โดยเครื่องนี้สามารถแปรผันอัตราส่วนการอัดได้ด้วย
ถ้าเครื่องดีเซลต่ำเวอร์ก็ของ Mazda ในเครื่องที่อยู่ในกลุ่มของ Skyactiv-D ที่ต่ำถึง  14 ต่อ 1 ครับ

ก็เท่าที่ผมเข้าใจมาก็ราวๆ นี้ครับ

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
Re: อัตราส่วนกำลังอัด?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 01:42:05 »
อัตราส่วนกำลังอัด บ่งบอกได้ว่าพื้นที่ห้องเผาไหม้ตอนที่ลูกสูบขึ้นสุดนั้นเล็กหรือใหญ่แค่ไหน
สมมติว่าเครื่อง4 สูบ 2.0 ลิตรบอกว่าอัตราส่วน(CR)นี้เท่ากับ 10.0ต่อ1
ก็เท่ากับว่าพื้นที่ห้องเผาไหม้มีความจุราว 50 c.c. (2.0ลิตร 4 สูบ คือกระบอกละ 500c.c.
อัตราส่วน 10.0:1 ก็คือ ความจุกระบอกสูบ10ส่วน ห้องเผาไหม้1ส่วน)

ถ้า 8.0:1 ห้องเผาไหม้ก็มีความจุประมาณ 62 c.c.

ห้องเล็ก ห้องใหญ่ ต่างกันยังไง..เคยดูหนังเรื่อง Armagaeddonไหม

คุณเอาประทัดวางบนมือแบๆแล้วจุด อย่างมากก็เจ็บ
แต่ถ้าคุณจุดประทัดแล้วกำมือแน่นๆ คุณอาจต้องให้เมียเปิดขวดซอสให้ไปตลอดชีวิต

การระเบิดด้วยต้นพลังที่เท่ากัน เกิดในพื้นที่ที่เล็กกว่า จะมีแรงถีบมากกว่า
เครื่องที่อัตราส่วนกำลังอัด 8 กับเครื่องที่อัตราส่วนกำลังอัด 10
ถ้าทุกอย่างเหมือนกันหมดยกเว้นพื้นที่ห้องเผาไหม้..10 แรงกว่า แต่ลูกสูบก็รับภาระมากกว่าเช่นเดียวกัน

อัตราส่วนกำลังอัดที่สูง ทำให้เครื่องมีแรงบิดดี แตะๆแล้วมา กดเต็มก็ดี
แต่เครื่องโทรมไวกว่าถ้าวัสดุเครื่องยนต์ไม่ได้ทำมาให้ทนงานแบบนั้น
และถ้าการควบคุมไฟจุดระเบิดไม่ดีพอ หรือน้ำมันออคเทนต่ำ ชิงจุดระเบิดก่อนได้ง่ายเหมือนกัน

แต่อย่าจำเป็นกฏตายตัวว่ารถอัตราส่วนกำลังอัดสูงแล้วต้องแรงหรือทำมาเพื่อแรงเสมอ
Toyota ก็ทำเครื่อง Lean Burn ในตระกูลบล็อค A อัตราส่วนกำลังอัดสูงมาก แต่แรงม้าไม่ได้เยอะ
เพราะทำอัตราส่วนกำลังอัดสูงแล้วพ่นน้ำมันน้อยลงกว่าเครื่องปกติ เครื่องพวกนี้ทำงานใต้ความร้อนสูง
เอาเสียเผาออกมาก็ร้อน ทุกอย่างจึงต้องทำมาให้รับกัน
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,179
Re: อัตราส่วนกำลังอัด?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 08:58:33 »
กำลังอัดสูง = ต้องใช้น้ำมันอ๊อคเทนสูง
รถที่ดี สำหรับผม คือกำลังอัดไม่มาก แต่ขับดี ขับสนุก และใช้น้ำมันอ๊อคเทนต่ำๆ

รถยี่ห้อ A 0-100 ได้ 10 วิ แต่ต้องใช้น้ำมันอ๊อคเทน 95 (โซฮอล 95) ในการจุดระเบิด
รถยี่ห้อ B 0-100 ได้ 10.5 วิ แต่ใช้อ๊อคเทน 91 ก็เพียงพอแล้วในการรองรับกำลังอัด
ผมเลือกรถยี่ห้อ B แน่นอน เพราะลองคิดว่าหลังจากใช้งาน 1 แสนกิโลเมตร รถยี่ห้อ B จะประหยัดกว่ากันเท่าไหร่
ในขณะที่กำลังอัด พลังจากเครื่อง เราแทบไม่ได้ใช้เลย

รถใหญ่ 2.0 ยี่ห้อนึง ต้องเติม 95 ตลอด เพราะกำลังอัดสูง
อีกยี่ห้อ 2.0 เหมือนกัน เติม 91 ก็วิ่งได้
แต่ผลทดสอบบอกว่ารถยี่ห้อแรกดีกว่า เพราะอัตราสิ้นเปลืองดีกว่า (ทั้งๆที่เติม 95)
แต่คิดเป็นบาทต่อกิโลเมตรแล้ว มันไม่ Make Sense เลย

......

ปล. กำลังอัด คือเหตุผลที่น้ำมัน E20 ดูดีขึ้นมาทันที
เพราะไม่ว่าจะยี่ห้อไหน กำลังอัดสูงแค่ไหน เติม E20 ก็เอาอยู่

ออฟไลน์ Larry

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 562
Re: อัตราส่วนกำลังอัด?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 12:32:29 »
ผมสรุปใจความสำคัญได้ว่า อัตราส่วนกำลังอัดคือ อัตราส่วนระหว่างปริมาตรกระบอกสูบทั้งหมด ต่อ ปริมาตรห้องเผาไหม้ โดยส่วนมากหากเครื่องยนต์ใดมีอัตราส่วนกำลังอัดสูงแล้ว มักจะมีแรงบิดที่ดี เพราะการระเบิดที่รุนแรงกว่า

ปล. พอดีอ่าน Exclusive First Impression Mazda 6 ของพี่จิมมี่ เห็นเครื่องเบนซินอัตราส่วนกำลังอัด 13.1:1 ในเวอร์ชั่นไทยเลยแปลกใจ เพราะที่เคยเห็นมา (ซึ่งก็ไม่ได้เยอะอะไร) เครื่องเบนซินไม่น่าจะเยอะขนาดนี้ เลยเก็บเอามาถามครับ ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ไขข้อข้องใจให้ครับ ^^